พอดีเปิดไปเจอมา ก็เลยก๊อป มาให้เพื่อนๆอ่านกัน...
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ได้มีการแก้ไขฉบับสุดท้ายคือแก้ไขฉบับที่ 8 พ.ศ.2530 มาตราที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน มี 3 มาตรา คือ มาตรา 8 ทวิ เป็นเรื่อง ข้อห้าม ข้อจำกัดในเรื่องการพกปืน มาตรา 22 เป้นบทบัญญัติเรื่องการให้มีอาวุธปืนติดตัว มาตรา 72 ทวิ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 8
การพกปืนไม่ผิดกฎหมายมีหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ
1. เป็นอาวุธปืนของตนเองและได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ได้ตามกฎหมาย ( ป.4) อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคลนั้นผู้ใดประสงค์จะซื้อต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ต้องยืนคำร้อง ป.๑ มีใบอนุญาตให้ซื้อได้ตาม ป.3 และมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุน ป.4 กำหนดใช้ได้ 3 กรณี คือ สำหรับการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน สำหรับการกีฬา สำหรับการยิงสัตว์
กรณีปืนเถื่อน คือ ปืนไม่มีทะเบียน มีโทษ จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท
กรณีปืนผิดมือ คือ ปืนมีทะเบียน (ทะเบียนจะออกให้ผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ) แต่อยู่ในความครอบครองของคนอื่น มีโทษ จำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
2. ใบพกพา ทั่วราชอาณาจักร หรือ ในเขตจังหวัด ป.12 ผู้ใดประสงค์มีใบพกพาต้องยืนคำร้องแบบ ป.1 ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ใบพกจะออกให้ตามแบบ ป.12 บุคคลที่ควรออกใบอนุญาตให้มีใบพกนั้นนอกจากจะเป็นผู้มีใบป.4 แล้ว ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทย กำหนด ตัวอย่างเช่น เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินของรัฐบาล ข้าราชการตั้งแต่ หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามหรือการปฏิบัติงานในการฝ่าอันตราย ข้อยกเว้นในการพกปืน ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง ถึงแม้ว่าจะมีใบอะไรต่อมิอะไรถูกต้องก็ตาม มีอยู่ 2 ประการคือ
การพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยเป็นที่ปรากฏต่อสายตา โดยไม่จำกัดว่าเป็นเวลาและสถานที่ใดก็เป็นการผิดกฎหมาย
การพาอาวุธปืนไปในที่ชุมนุมชนที่มีลักษณะพิเศษ อันได้แก่ ชุมนุนชนที่ได้จัดให้กาขึ้นเพื่อนมนัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด แม้จะพกมิดชิดก็ตาม ยอมผิดกฎหมาย
3. พกได้โดยมีข้อยกเว้นตามกฎหมายที่กำหนด ดังนี้
มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ตัวอย่างเช่น ต้องขับไปส่งสินค้าต่างจังหวัด ซึ่งถือว่าต้องมีอาวุธปืนติดตัวไปได้ แต่ไม่อาจถือว่าเป็นการเร่งด่วน เพราะอ้างว่าจำเป็นป้องกันสินค้าของตนซึ่งอาจถูกปล้น กรณีดังกล่าวอาจมีการปล้นหรือไม่มีก็ได้ จึงถือว่าไม่เป็นกรณีเร่งด่วน ตัวอย่าง กรณี เพิ่งขายของได้เงิน 50,000 บาท และจำเป็นต้องนำเงินไปฝากไว้ธนาคาร และห่างจากบ้านราว 10 กม. เพื่อความปลอดภัยจากโจนปล้น ซึ่งในตามทางเคยมีการก่อคดีปล้นมาก่อน ได้พกปืนมีทะเบียน มีใบอนุญาตให้มีให้ใช้ และไม่มีใบอนุญาต พกติดตัวไปพร้อมกับเงินที่ต้องนำไปฝากธนาคารในวันนั้น ถือว่ากรณี นี้เป็นกรณีความจำเป็นและเร่งด่วนได้
บันทึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 0503(ส)/27663 ลง 30 ก.ย.25
เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจค้นบุคคลพาพาอาวุธปืนไปที่สาธารณะ มีแนวทางในการสั่งไม่ฟ้อง ดังนี้
ได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋าไว้ในช่องเก็บของท้ายรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด
ได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋า ใส่กุญแจแล้ววางไว้ในรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด
ไปเก็บเงินลูกค้าต่างจังหวัด นำอาวุธปืนติดตัวมาด้วย โดยแยกอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนออกจากกัน ใส่กระเป๋าเอกสารไว้นำไว้เบาะหลังรถยนต์
ไปเก็บเงินลูกค้าต่างจังหวัดหลายหมื่นบาทนำติดตัวมา แล้วมีอาวุธปืนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วใส่ไว้ในช่องเก็บของด้านหน้ารถเพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สิน
ห่ออาวุธปืนและซองบรรจุกระสุน แยกคนละห่อเก็บไว้ในกระโปรงท้ายรถยนต์ซึ่งใส่กุญแจ
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าพนักงานบางประเภท ลูกจ้าง เจ้าพนักงานบางประเภท มีสิทธิพกพาอาวุธปืนได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต เช่น เจ้าหน้าที่ที่คอยรักษาความสงบเรียบร้อย ทหาร ตำรวจ ซึ่งขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ป้องกันทรัพย์สินที่สำคัญของรัฐ
เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งพกพาอาวุธปืนไปไหนต่อไหนได้เห็นมีเพียง ทหารเหล่า สห. , เจ้าหน้าที่การเงิน โดยต้องแต่งเครื่องแบบประกอบ ทหารทีมีหน้าที่รักษาการณ์ ภายนอก ภายใน ออกทำการฝึก นอกนั้นไม่รอดตำรวจซักที
เอามาจากที่นี้ครับ..
http://www.geocities.com/tri129/inf08.htm