ถ้าไม่นับ "พิรุธ" ไม่นับ "ลักษณะท่าทาง" ไม่นับ "ลักษณะการแต่งกาย"
ไม่นับ "ความแบนบาง ความหนา (ทั้งลำเลื่อน ด้าม) ของปืน" แล้ว....
ก็ต้องพิจารณาไปที่ วัสดุของซองปืน และตำแหน่งในการพกพา เป็นหลัก ครับ
เทียบความแนบของวัสดุที่นำมาทำเป็นซองพกใน ครับ
ภาพเทียบความแนบระหว่างวัสดุที่ใช้ทำซองพกในและตัวปืน
รวมถึงลักษณะการหุ้มท้ายลำเลื่อนของซอง ครับ
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
ผมเคยใช้ Model 1911A1 U.S. Army อยู่พักหนึ่ง...
ลักษณะโดยรวมของปืน มีลำกล้องยาว 5 นิ้ว...มีน้ำหนักค่อนข้างมาก
ส่งผลให้เวลาพกหน้าในตำแหน่ง 2 นาฬิกา (สีเขียว) ค่อนข้างเคลื่อนไหวลำบาก ครับ
เลยต้องเลื่อนไปพกในตำแหน่ง 4 นาฬิกาของเอว...(สีดำ)
ทีนี้...ปัญหาที่ตามมา ก็คือ การแต่งกาย ครับ...คริ คริ
โดยเฉพาะเสื้อที่ใช้คลุมปืน ไม่ว่าจะเป็น Jacket หรือเสื้อ shirts ตัวโคร่ง ๆ คริ คริ
Model 1911 แบบ full size พกในตำแหน่ง 4 นาฬิกา
แล้วเนียนที่สุด เท่าที่เคยลอง ๆ มา...ก็คือ เหน็บกับเข็มขัด โดยไม่ต้องใช้ซองปืน ครับ
ส่วนเรื่องเสียดายผิวปืน หรืออย่างไรนั้น แล้วแต่ใจ...ครับ
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
สำหรับ Model 1935 นั้น ผมพกในตำแหน่ง 2 นาฬิกา (สีเขียว) ครับ
โดยสวมเสื้อยืดตราห่านคู่ เพียงตัวเดียว...
ซึ่งนุ่งกางเกงขาสั้นบ้าง กางเกงยีนส์บ้าง กางเกงวอร์มและกางเกงเล ก็เคยอยู่บ่อยครับ
ส่วน กล็อค subcompact ผมชอบใส่กระเป๋ากางเกงมากกว่า ครับ
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
ท่าน จนท. (ดอน กินโควต้า) เคยบอกว่า ตำแหน่งสูงและต่ำของปืนจากเข็มขัด..ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง
ที่ทำให้เกิดความเนียน และความสบายในการพกพา...
ซึ่ง ท่าน จนท. นิยมซองพกนอกแบบร้อยเข็มขัด มากกว่า พกใน ครับ
แต่บังเอิญว่า เท่าที่ผ่านมา เวลาผมพกนอก (ร้อยเข็มขัด)
ผมมักจะใช้ซองพกใน เสียบกับเข็มขัดไปเลย และใช้ Jacket คลุมทับ
ซึ่งผมเคยพกพาในลักษณะนี้เพียงครั้งเดียว ตอนไป 3 จชต. เท่านั้นเองครับ
ครั้งหนึ่ง ผมเคยพบปัญหาจากการใช้งานจริง และกลัวมากที่สุดจากการใช้ซองพกใน ก็คือ
ซองปืน ติดตัวปืน ขึ้นมา เวลาชักปืน ครับ
ตรงนี้ เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ต้องพึงระวัง
และทำให้ผมทราบว่า คลิปปืน มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวัสดุ เช่นกันครับ
ดังนั้น ผมจึงสรุปเอาเองว่า รูปแบบการพกพา นั้น
ไม่ตายตัว...ขึ้นอยู่กับความเคยชินของผู้พกพา และสถานการณ์มากกว่า ครับ
โหม๊ดดดดดดดดดด...พุงน้อย ๆ ของผมแว้วกั๊บ...คริ คริ
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น..
ขออนุญาติ +1 ครับ...