เพิ่มเติมให้ครับ สวัสดี..ท่านเจ้าของกระทู้ วันนี้มาตามสัญญาอีกแล้วครับท่าน
70-80-90 ต่างกันอย่างไรคำถามหนึ่ง
แนะนำข้อดี ข้อเสียระหว่างซีรีส์ อีกคำถามหนึ่ง จะภาคเป็นภาษาไทยให้ครับ
คำถามหนึ่ง เล่าเป็นประวัติไปเลยแล้วกันนะ อ่านตามไปเลย
บริษัท โคลท์ เป็นต้นตำหรับการผลิต เอ็ม 1911 และ 1911 เอ1 เอ็ม 1911 และ 1911 เอ1 โคลท์ได้ผลิตขายทั้งในแบบของส่งให้กองทัพสหรัฐ และแบบที่จำหน่ายให้พลเรือน
ก็ผลิตป้อนทั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2
พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เห็นว่าผลิตส่งกองทัพอีกเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับ 1911 เอ1
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใครๆ ทั่วโลก ก็เพิ่งจะรู้ฤทธิ์เดช ของเจ้าจีไอ ทำให้คนทั่วโลกก็สนใจปืนที่เอวของเจ้าจีไอ ...เอ..มันปืนอะไรหว่า? กระบอกใหญ่ยังกะสากกะเบือเลย
...แน่นอน โคลท์ เป็นต้นตำหรับ บริษัทอื่นแค่โดนขืนใจให้ช่วยผลิตในช่วงสงคราม(คิดดูซิครับ ใครจะอยากผลิตปืนของบริษัทคู่แข่ง ถ้ารัฐบาลไม่บังคับ)
เมื่อหลังสงคราม ก็ผลิต เอ็ม 1911 เอ1 ขายในเชิงพาณิชย์ อย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีทั้งโคลท์ม้าหลังอักษรกลาง ทั้งโคลท์อักษรสั้นๆ ม้าหลัง แกะโคลท์ฮาร์ทฟอร์ด บนสไลด์ด้านขวา ไม่ยอมแกะบนโครงปืน ก็มี หลายรุ่น ตอกตัว ซี นำหน้าซีรีส์นัมเบอร์ก็เยอะ
ผลิตเรื่อยมา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปืน 1969 ภายใต้ชื่อว่า โคลท์ กัฟเวอร์นเม้นท์โมเดล .45 ออโตเมติก คาลิเบอร์
นับแต่ช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงปี 1969 พวกเราไม่ได้มีโอกาสได้รู้ข่าวสารจากสหรัฐได้ดีเหมือนทุกวันนี้หรอกครับ ไม่เหมือนมีอินเตอร์เน็ตเหมือนทุกวันนี้ ยูเอสเอ มีอะไร เราก็รู้เรื่องทันทีเหมือนกัน สมัยก่อน ความนิยมอะไรบางอย่าง กว่าจะมาถึงเมืองไทย ที่ยูเอสเอ เขาก็เลิกเห่อกันแล้วก็มี
....ใครจะไปรู้ว่า การแข่งขัน ยิงปืนสั้นเนชั่นแนลแม็ทช์ ที่ยิงด้วยปืน 1911 มีช่างแต่งให้ฟิตเป็นกระบอก กระบอก ไป โดยสปริงฟิลล์อาร์มโมรี่ นั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1920
(รัชการที่ 6 โน่นกระมั้ง) คนไทยยังไม่รู้เรื่องอะไรเลยครับ เขาเริ่มแต่งปืนซิ่งกันแล้วครับ
หมายความว่า ซิ่งให้ปืนฟิตเพื่อยิงเข้ากลุ่มนะครับ ไม่ใช่เจาะพอร์ต
...ก็มีการแข่งขันกันเรื่อยมา เห็นว่าช่างแต่งปืน สมัยก่อนต้องพอกเชื่อมพอกปลายลำกล้องเอง ให้เข้ากับบู๊ช เพื่อความฟิต ต้องทำไกเจาะหมุดหยุดไก ทริกเกอร์สตอป์ กันเอง เนื่องจากไม่มีขายมากมายเหมือนสมัยนี้
..พอถึงปี 1970 โดยประมาณ โคลท์ได้ออก 1911 เอ1 โคลท์ กัฟเวอร์เม้นท์โมเดลตัวใหม่ ภายใต้ ชื่อว่า โคลท์ มาร์โฟว์ ซีรีส์ 70 กัฟเวอร์เม้นท์โมเดล .45 ออโตเมติก คาลิเบอร์ ออกมา
โดยมีจุดเด่นก็คือ 1.ปลายลำกล้อง หัวบวม ทั้งขนาด .45 และ .38 ซูเปอร์ (สมัยนั้น ไม่มี 9 มม.พารา เนื่องจากอเมริกัน ยังไม่ฮิต 9มม.) เพื่อให้รับกับบูชปลายลำกล้องที่เป็นกลีบจำปา เป็นสปริงอ่อน ใช้หนีบปลายลำกล้องให้แน่นกับบูช
...แต่จากประสบการณ์ของผม เห็นว่า ทำแล้วทำไม่เต็มที่ บูชแน่นแนบกับลำกล้องก็จริง
แต่ลองถอดลำกล้องออก แล้วเอาบูชใส่กับสไลด์ เปล่าๆ พบว่า บูชไม่แน่นกับสไลด์
......ไม่ฟิตกับสไลด์ แต่ดันไปฟิตกับลำกล้อง สรุปว่า ค่าเท่ากันอยู่ดี คือลำกล้องไม่นิ่งนั่นเอง
...จุดเด่นที่ 2 ซีรีส์ 70 ผลิตออกมา มีความหนาที่ผิวปืน หนามากกว่าทุกรุ่นที่เคยผลิตมา ผมขอยืนยันว่า ประมาณ 80 เปอร์เซนต์ของ ซีรีส์70 ที่ผลิตออกมา จะหนากว่ารุ่นอื่นเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมี ซีรีส์ 70 บางกระบอก ทำเหล็กมาบาง ก็ถือว่าเป็นพิเศษกว่าเพื่อนเขาก็แล้วกัน เพราะธรรมดาๆ จะหนามาก
....ทำให้ในยุคที่มีการซิ่งปืนในเมืองไทยช่วง 2526-2533 โดยประมาณ มีการบูมการแข่งขัน ไอพีเอสซีกันมากขึ้น มีคน ไปหาซีรีส์ 70 กันให้ขวัก ไม่ใช่วิเศษกว่าซีรีส์อื่นหรอกครับ
มันหนาดีครับ แกะลายกันลื่นได้สารพัดจุดตามแต่ต้องการโดยไม่ต้องกลัวปืนบางมาก
....จุดเด่นที่ 3 มีการปาดทางลาดขึ้นกระสุนที่ท้ายลำกล้อง ให้กว้างออกไปเป็นครึ่งวงกลมในส่วนล่างของท้ายลำกล้องเลยที่เดียว นัยว่า จะได้ป้อนกระสุนได้ทุกชนิด ไม่ติดขัดว่างั้นเหอะ
.....แต่ก็ผิดพลาดอีก ทางขึ้นลำกล้องของเดิม แบบ 1911 ทหารนั้น องศาดีอยู่แล้ว เพียงแต่ช่องมันแคบไปเท่านั้นเอง พอมาทำเป็น 70 ขยายพื้นที่ด้านข้างออกไปมาก แต่ปรับองศาให้ความชันมากขึ้น กระสุน จะต้องไต่ระดับขึ้นไปอีกหน่อย ก่อนจะกระโจนเข้ารังเพลิงเหมือนรุ่นก่อน ทำให้กระสุนทำมุมมากเกินไป ติดขัดตอนป้อนเข้ารังเพลิง ต้องเอามือตบท้ายสไลด์กันบ่อยๆ
....ครั้นจะขยายพื้นที่ด้านข้าง แต่ทำองศาเท่า 1911 ทหาร ก็ทำไม่ได้ เพราะเมื่อปาดเนื้อเหล็กหายมากเกินไป ไม่มีเนื้อเหล็กมาห่อหุ้มปลอกกระสุนส่วนท้าย เวลายิง ปลอกอาจแตกในส่วนขอบ ช่วงใกล้จานท้ายปลอกกระสุนก็ได้ ก็เลยเป็นปัญหาของ ซีรีส์ 70 และ 80 ในช่วงผลิตก่อนสิ้นสุน ค.ศ 19 ตลอดมา
....มันเป็นปัญหาแน่นอน แต่ไม่ค่อยจะมาคุยกัน จนมาในช่วงหลังปี ค.ศ. 2000 นี่แหละ ที่โคลท์ พัฒนาท้ายลำกล้องแบบ หารสอง คือ ทำช่องตรงกลางเล็กๆ องศา เท่าแบบ 1911 สงคราม และก็ปาดด้านข้างเหมือนซีรีส์ 70 พบกันครึ่งทาง ทำให้การป้อนกระสุนของโคลท์ เอ็ม 1911 เอ1 ที่ผลิต หลังปี 2000 มีความแน่นอนกว่ารุ่น ก่อนปี 2000 โดยประมาณ
...ใครอยากดู ไปขอดูปืนโคลท์ สไตล์ 1911 เอ1 ตามร้านขายปืนเมืองไทย แล้วของดึงสไลด์ เขาดูหน่อย ถ้าคุณมีปืนโคลท์ ที่ผลิตก่อน ปี 2000 อยู่ในความครอบครอง คุณลองเปรียบเที่ยบดู จะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนโดยไม่ต้องอธิบายมาก
...ไปกันใหญ่แล้ว หมดจุดเด่นของซีรีส์ 70
ต่อมา ในช่วง ปี 1979 โดยประมาณ สหรัฐอเมริกา ได้เน้นเรื่องความปลอดภัยของปืนพกมาขึ้น ผมไม่ทราบสาเหตุหรอกนะ จำได้แต่ว่า เขาต้องการให้ปืนพกที่จำหน่ายในสหรัฐฯ
จะต้องมีระบบล็อคเข็มแทงชนวน ปืนตก ต้องไม่ลั่น ซึ่ง บริษัทอื่นๆ เขาก็เริ่มทำกันมาก่อนหน้าปี 1980 กันแล้ว แต่โคลท์ ขาใหญ่ 1911 เอ1 ของตน ยังไม่มีระบบล็อคเข็มแทงเลย แล้วจะขายปืนแข่งกับคนอื่นเขาได้ไง
.......โคลท์ จึงออก ซีรีส์ 80 ออกมา ตัวอักษรด้านข้างสไลด้ ข้างซ้าย พิมพ์ เลขโรมัน หมายถึง 4 หรือโฟว์ นั่นแหละ
......จุดเด่น เพิ่มมาอย่างเดียว คือ มีระบบล็อคเข็มแทงชนวน ซึ่งถือว่า เยี่ยมมาก
......จุดด้อย ทำระบบล็อคเข็มแล้ว ดันตัดฮาฟล็อคออกไป คนใช้ 1911 ส่วนใหญ่ ติดใจฮาฟล็อคของโคลท์ กันทั้งนั้น (รวมทั้งผมด้วย) แต่โคลท์ดันเอาออกไป ทำให้ผู้ใช้ ที่ยังหลงไหล เจ้าฮาฟล๊อค ต้องไปหานกปืนแบบมาตรฐาน หรือปืนซิ่งมาเปลี่ยนแทนของเดิมกันเป็นแถว จุดด้อยก็คือ ต้องเสียเงินเพิ่ม อีกหน่อยนั่นแหละครับ
.....ส่วนอื่นๆ ก็ ....โคลท์เริ่มไม่มีจุดยืนแล้วครับตอนนี้ มีผู้ผลิต 1911 เอ1 ออกมาแข่งมากมาย ก็เลยเปลี่ยนโน่นนี่ มั่วไปหมด อยู่มาพักหนึ่ง ซีรีส์ 80 ก็ย้อนยุค กลับไปเอาบู๊ชแบบก่อน 1979(บู๊ชทึบ)มาใส่ ปลายลำกล้องก็เรียบๆ เหมือนโบราณ
พอมาซีรีส์ 90......ไม่ค่อยรู้เรื่องแล้วครับผม ..เพราะเริ่มทำแต่งาน ไม่ค่อยมีเวลาไปเดินร้านปืนมากนัก ....แต่เท่าที่เห็น ก็ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ในเรื่องหลักๆ ก็คือ ระบบล็อคเข็มแทงชนวนแบบ ซีรีส์ 80 ก็ยังคงอยู่มาทุกวันนี้
....มีก็แค่ มีนกรู มาบ้างละ มีหลังอ่อน งอนๆ มาบ้างละ ไกเจาะรู 3 รูบ้างละ แกะลายดึงสไลด์ที่ส่วนหน้าของสไลด์ เลียนแบบปืนอื่นๆ เขาบ้างละ อะไรทำนองนั้น ด้ามยางบ้างละ ด้ามพิเศษบ้างละ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องกระพี้ ๆ ทั้งสิ้น หลักๆ ก็เหมือนซีรีส์ 80 เกี่ยวกับเรื่องกลไกล็อคเข็มแทงชนวนเท่านั้นแหละครับ
ข้อดี ข้อเสียคือ
ซีรีส์ 70 ไม่มีระบบล็อคเข็มแทงชนวน ขึ้นลำไว้ ทำปืนตก ปืนมีโอกาสลั่นได้ เพราะเข็มเป็นอิสระ ลมอาจจะพัดเข็มแทงฯวิ่งไปชนจานท้าย หรือ ผีผลัก ก็ลั่นได้
แต่จากประสบการณ์ที่เคยเจอ ขึ้นลำ ลดนกเป็นฮาฟล็อคไว้ ก็ไม่เคยเห็นมันตกลั่นซักที
มันเป็นโอกาสทางทฤษฎี ซึ่งเราเถียงไม่ได้ว่า ถ้าผีผลัก มันก็มีโอกาสลั่นได้
แต่นักแข่ง เขาว่า ซีรีส์ 70 ดีกว่า แต่งให้ไกเบาอย่างไรก็ได้ เพราะไม่มีระบบล็อคเข็มแทงชนวนมาเพิ่มภาระในการเหนี่ยวไกอีก
ซีรีส์ 80 มีล็อคเข็มแทงชนวน ขึ้นลำไว้ ปืนตก เข็มไม่วิ่ง ปืนไม่ลั่นแน่นอน ผีผลักก็ไม่ลั่น
ข้อเสียคือ ไม่มีฮาฟล็อค ถ้าใครต้องการ ต้องไปซื้อนกใหม่ครับ ที่มีหน้าฮาฟล็อคกับเซียร์
...แต่งให้เบาสุดๆ แบบ ซีรีส์ 70 ไม่ได้ เพราะติดระบบล็อคเข็มแทงชนวน ซึ่งต้องใช้กำลังจากการเหนี่ยวไก
...คิมเบอร์ เลยคิดระบบล็อคเข็มแบบใหม่ที่ไม่ต้องใช้ ไกในการล็อคเข็ม แต่ใช้หลังอ่อนทำงานแทน ระบบของคิมเบอร์เมื่อกำหลังอ่อนแล้ว กลไกก็จะเหมือนซีรีส์ 70 ของโคลท์นั่นแหละครับ
....ซีรีส์ 80 จะแต่งให้เบาสุดๆ ก็ได้ แต่ต้องเอาระบบล็อคเข็มออกก่อน ต้องไปซื้อ... ซิม..
ซึ่งเป็นเหล็กบางๆ มาใส่แทนกลไก กระเดื่องด้านข้างเซียร์ และด้านข้างนก เพื่อให้กลไกยังอยู่คงที่แม้เอาอะไหล่บางตัวออก ไม่เซไปเซมา เหมือนเมาสุรา
...จุดอ่อนซีรีส์ 80 อีกอย่างคือ ต้องคอยเช็คระบบล็อคเข็มอยู่บ่อยๆ ถ้าผิดพลาด คนร้ายอาจหนังเหนียว ปืนเราสับไม่แตกทั้งที่นกแข็งมากก็ได้ ต้องหมั่นตรวจสอบครับ
......
.....ซีรีส์ 90 ไม่มีข้อดีข้อเสียแตกต่างไปจากนี้ ครับ มีแตกต่างก็แค่หน้าตาเท่านั้น กลไก เหมือนเดิมครับ
......มีข้อดีที่ผมชอบคือ การพัฒนาทางลาดขึ้นกระสุนที่ท้ายลำกล้องนั่นแหละครับ
ถือว่าชนะปืน ซีรีส์ 70 และ 80 อย่างชัดเจนครับ ป้อนกระสุน ง่ายขึ้น ลดอัตราความเสียงการติดขัดขณะบรรจุได้มากกว่า ซีรีส์ 70 และ 80 ครับ
จบแล้วครับ นึกภาคภาษาไทยออกแค่นี้ แหละครับ
คัดลอกข้อมูลจากเว็ปบอร์ด อวป.
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=23622.0
โดยท่าน tao bangkhaen