ได้มีโอกาสดูละครซิทคอม เป็นต่อ ตอนดูบอลกับพริตตี้ มีช่วงหนึ่งของเนื้อหาเกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์เพลง บางท่านอาจสงสัยว่าลิขสิทธิ์เพลงเกี่ยวข้องอะไรกับร้านอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ว่าแก่นแท้ของธุรกิจร้านอินเตอร์เน็ตไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง ของเพลงเลย แต่ทุกวันนี้คุณเชื่อไหม ว่าร้านอินเตอร์เน็ตถูกจับเรื่องลิขสิทธิ์เพลง มากกว่าลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ และส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการ "หากิน"
เรื่องย่อ
ร้านเจ๊มิ้นท์เปิดเพลงไม่ถูกใจลูกค้า
ลูกค้าบอกเจ๊มิ้นท์ว่าอยากฟังเพลงวัยรุ่นใหม่ๆ
เจ๊มิ้นท์ จัดให้ตามความเรียกร้อง
ลุกค้าแสดงอาการ ถูกอก ถูกใจ
สักพักมาหลอกถามเจ๊มิ้นท์ ว่าเอาเพลงมาจากไหนมากมาย เจ๊มิ้นท์ตอบว่า แผ่นผี
ลูกค้าแสดงตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่มาตรวจจับลิขสิทธิ์
เจ๊มิ้นท์ร้องห่มร้องไห้ หลังจากเสียค่าปรับไป 5 หมื่นบาท
เจ๊มิ้นท์ละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ผิดตรงไหน?
ประเด็นแรก ร้านอาหารบางบาร์ ของเจ๊มิ้นท์เปิดเพลงให้ลูกค้าฟัง เรื่องนี้ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาออกมาแล้วว่า "ร้านที่เปิดเพลงให้ลูกค้าฟัง โดยไม่ได้เรียกเก็บเงินจากการฟังเพลงของลูกค้า ถือว่าไม่ผิด" (คำพิพากษาที่ 10579/2551)
ประเด็นที่สอง เราจะเห็นว่าในตอนแรกร้านเจ๊มิ้นท์ เปิดเพลงไม่ถูกใจลูกค้า และลูกค้า (ตัวแทนลิขสิทธิ์) ได้ล่อหลอกขอให้ เจ๊มิ้นท์เปิดเพลงที่ตัวเองต้องการ คือเพลงที่ตัวเองได้รับมอบลิขสิทธิ์มา ประเด็นนี้ก็ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาออกมาแล้วเช่นกัน "ตัวแทนลิขสิทธิ์ ได้เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้" (คำพิพากษาที่ 4301/2543)
ประเด็นที่สาม จากในละครเราจะเห็นว่าไม่มีตำรวจเลย ตามกฎหมายแล้ว "ราษฎรไม่สามารถจับราษฎรได้"
ถึง แม้ว่าจะเป็นเพียงเรื่องราวในละคร ที่เน้นความบันเทิงสนุกสนาน เฮฮา แต่ทีวีนั้นเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลหากนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย แล้วควรตรวจสอบก่อน เพราะไม่เช่นนั้นผู้ประกอบการ ร้านค้าอื่นๆ จะเข้าใจผิด และทำให้กลุ่มมิจฉาชีพที่ออกหากินโดยอ้างการจับลิขสิทธิ์ ลอยหน้าลอยตาหากินกันอย่างสบายใจ และเรียกค่าปรับหลักหมื่น หลักแสน ชีวิตจริงใครเจอเข้ากับตัวคงไม่ขำ ฮาไม่ออก อาจจิตตกไปตลอดชีวิต
บทความโดย : อ.แมวหลวง
www.ICT.in.th กลุ่มร้านอินเตอร์เน็ต คาเฟ่ ไทย
ขอขอบคุณภาพประกอบ จากละครเรื่องเป็นต่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2551
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดย ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องปรากฏแต่เพียงว่า จำเลยเปิดแผ่นเอ็มพีสามและซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารได้ร้องและฟังเพลง ของผู้เสียหาย 1 แผ่น “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่าจำเลยกระทำเพื่อหา กำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลงโดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจาก ลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่ม แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จั้ดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณา คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543
เมื่อ มีการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ทั้งทางแพ่ง และทางอาญาซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีอาญาจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้ ในการที่ศาลจะลงโทษจำเลยตามคำฟ้องนั้น นอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นโดยปราศจากข้อ สงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามคำฟ้องแล้ว ยังต้องได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ด้วย
จำเลย ที่ 1 ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในแผ่น บันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องก่อนที่ ส. ซึ่งรับจ้างทำงานให้โจทก์จะไปล่อซื้อ แต่จะมีการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วมีการทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใน เครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากที่ ส. ตกลงซื้อกับจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องการแถมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ ส. ตามที่ได้ตกลงกันในวันที่ ส. ไปล่อซื้อ พนักงานของจำเลยที่ 1อาจนำแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรเครื่องต้นแบบเข้ามาใช้เป็นต้นแบบบันทึกถ่าย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงไปในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง ที่ ส. ล่อซื้อในช่วงเวลาหลังจากที่จำเลยที่ 1 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โรงงานเสร็จและส่งไปที่สำนักงานจำเลยที่ 1 เพื่อรอส่งมอบแก่ลูกค้าที่สั่งซื้อตามเวลาที่นัดไว้ การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้นเป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจากวันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้วเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำให้แก่ ส. มิใช่ทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ น่าเชื่อว่าการกระทำผิดดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดโจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
http://www.ict.in.th/8164