เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 19, 2024, 01:29:17 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: @@@ อุปกรณ์วัดขนาดลูกกระสุน @@@  (อ่าน 7553 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #15 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2011, 06:40:09 PM »

อ้างถึง.....ปล.แต่ระยะหลังผมเห็นท่านอาจารย์ ดร. ธนาสิทธิ์ เงียบหายไปเดือนเศษแล้ว  ไม่ทราบว่าท่าน..ติดภาระกิจหรือเป็นอย่างไรบ้าง..จึงมีความรู้"คิดถึงและเป็นห่วง"ขึ้นมา

ก็หลังจากหยุดเขียนกระทู้ไฟฉาย หันมาลงปืนลมได้สักพัก ผมก็กลับไปเขียนกระทู้นาฬิกามาหลายเรือน.. อีกอย่างกำลังลงกระทู้ฝรั่งเรื่อง เรือบังคับวิทยุที่ผมกำลังทดลองอยู่แบบติดพัน ส่วนปืนลมนั้น เขียนไว้แล้วอีก 1 กระบอก แต่รูปยังมีไม่ครบทุกมุม แถมตอนนี้ยังร้อนแบบตับแลบ กะว่าอีกพักคงได้ลงให้นะครับ

ส่วนการวัดขนาดลูกกระสุนนั้น ง่าย ๆ เลยก็คืออยากจะรู้ขนาดของมันเป็น "ตัวเลข" หรืออะไรสักอย่าง อะไรสักอย่างนั้นผมหมายถึง สัญญลักษณ์อะไรก็ได้ที่จะช่วยทำให้เราสามารถใช้เป็น "ตัวช่วย" ในการตัดสินใจว่า กระสุนเม็ดนี้ เข้าขั้นมาตรฐานในใจของเรา หรืออยู่ในกลุ่มที่ถือว่าใช้การได้

ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากได้อุปกรณ์วัดขนาด ที่วัดแล้วมีหน้าปัดบอกว่า "ใช้ได้" หรือ "ใช้ไม่ได้" เท่านั้นเป็นพอ หรือบอกว่ากระสุนนี้ขนาด  "ก" "ข" "ค" "ง" ฯลฯ
เพราะมันจะไม่ได้อะไรเลย ถ้าอยู๋ ๆ เราจะวัดขนาดกระสุนเพียงลูกเดียว  เราต้องการ "จัดกลุ่ม" ของกระสุน โดยให้กระสุนในแต่ละกลุ่มมีขนาดใกล้เคียงกัน โดยมีความแตกต่างมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ที่เรา "ยอมรับได้" คือเชื่อมือได้ว่า ถ้านำไปยิงในปืนกระบอกนั้น ๆ แล้วจะไม่เกิดกรณีที่ฝรั่งเรียกว่า flyer คือผิดเป้าไปแบบอธิบายไม่ได้และไม่คาดหวัง

อนึ่ง การวัดขนาดลูกกระสุนนั้น ต้องมองดูเสียก่อนว่า สภาพโดยทั่วไปมีร่องรอยบุบสลาย หรือเสียหาย ผิดส่วน ผิดทรงตรงไหนหรือเปล่า แม้แต่สีสรรก็ต้องไม่แปลกตา
พอผ่านขั้นนี้มาถึงการวัด ก็ต้องวัดแล้วหมุนไปสักครึ่งรอบแล้ววัดอีก และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ น้ำหนักที่กดลงไปบนกระสุน บางคนมือหนัก กดวัดจนลูกกระสุนเบี้ยว แบบนี้ละก็ใช้ไม่ได้ ส่วนการเตรียมกระสุนขั้นตอนอื่น ๆ จะเอาละเอียดถี่ถ้วนมากน้อย ลึกซึ้งขนาดไหน ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่นจะเข้าแข่งขันระดับตำบล หรือโอลิมปิค มีเวลามากพอหรือไม่ อุปกรณ์ครบถ้วนขนาดไหน ฯลฯ  แต่ผมสุดท้าย ก็มาตกอยู่กับฝีมือของเราเอง......

ปล. เรื่องการใช้ slide rule นั้น ผมไม่ได้ใช้จริง เพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า มันใช้การได้ คือ เอาไปกดวัดตามรูป แล้วดูว่าเส้นตรง 2 เส้นไหนที่เลื่อนมาตรงกัน ก็ทำเครื่องหมายไว้ ถ้ากระสุนผิดขนาดไป เส้นตรง 2 เส้นคู่ที่ตรงกัน ก็จะต่างจากชาวบ้าน  จะเห็นได้ชัดว่า การใช้ slide rule เราไม่ได้อ่านค่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางออกมาเป็นตัวเลข แต่เป็นค่าอะไรสักอย่างที่เราใช้ได้ 

ผมเคยคิดว่า ถ้าผมคุยกับมดรู้เรื่อง ผมจะจ้างพวกมันให้เอา ด้ายเส้นเล็ก ๆ ไปพันรอบลูกกระสุนเป็นการวัดขนาด ซึ่งผมคิดว่าจะละเอียดกว่าการวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง เพียง 1 หรือ 2 จุดเท่านั้น 
บางท่านอาจถามว่า แล้วจะไปหาเส้นด้ายเล็ก ๆ แบบนัั้นมาจากไหน?  ไม่ยากเลยครับ ขอมาจากเสื้อที่มดใส่ไง...5555

ธนาสิทธิ์ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔
 
บันทึกการเข้า
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2011, 04:31:03 AM »

อ้างถึง....ถามอาจารย์ข้อหนึ่งครับ
ผมเอาลูกกอล์ฟเป็นข้อสังเกตุ มันจะมี dimple หรือหลุมขนาดต่างกันเพื่อตัดอากาศที่ความเร็วต่างกันเพื่อให้ลูกพุ่งได้เสถียร
แล้วลูกปืนที่มีรอยขีดด้านข้างกับลูกที่ผิวเกลี้ยงจะได้ผลต่างกันไหมครับ ถ้ามีมิติรูปทรงและน้ำหนักเท่ากัน

อากาศพลศาสตร์เป็นเรื่องที่ต้องทดลองด้วยอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง  ผมจะขอตอบจากประสบการณ์เท่านั้น

เมื่ออากาศวิ่งผ่าน (ซึ่งก็เหมือนกับวัตถุวิ่งไปในอากาศ) พื้นผิวของวัตถุเรียบ พอสิ้นสุดพื้นผิวในระนาบติดต่อกันมานั้น จะเกิดการฟุ้งกระจายของมวลอากาศ ที่เกิดจากการกระทบกันของมวลอากาศที่ผ่านมาทางพื้นผิวอีกด้านหนึ่ง (เพราะโดยทั่วไปจะต้องมีพื้นผิว 2 ด้านเสมอ เช่นปีกเครื่องบินด้านบนกับด้านล่าง ยกเว้นทรงกลมที่มีการหมุน) ผลก็คือความเสถียรในการเดินทางไปในอากาศของวัตถุนั้น ถูกการผันผวนของมวลอากาศดังกล่าวรบกวน  การผันผวนนี้เรียกว่า turbulence

ได้มีการทดลองในเครื่องบินบังคับวิทยุความเร็วสูง  โดยนำแถบสติคเก้อร์แบบซิกแซกมาติดไว้ด้านบนของปีกตรงด้านหลัง  โดยเชื่อว่ารูปทรงซิกแซกดังกล่าวจะช่วยลดความปรวนแปรได้ ผลคือเครื่องบินบินได้เรียบนิ่งกว่าเดิม ผลคือความเร็วเพิ่มขึ้นด้วย  มาถึงตรงนี้หลายท่านก็คงบอกว่า งั้นเครื่องบินจริงก็น่าจะเอาแถบซิกแซกไปติดด้วย ก็เกือบจะถูกละครับ แต่จากการทดลองด้วยเสกลที่ต่างจากของเล่น เขาพบว่า turbulance จะมีมากสุดที่ปลายปีกด้านนอก ดังนั้นการแก้คือ ติดปีกแนวตั้งขนาดเล็กเอาไว้ตรงปลายปีกใหญ่ดังที่เห็นจากเครื่องบินส่วนตัวขนาดเล็ก

ลูกกอล์ฟหมุนรอบตัว เขาทำรอยบุ๋มเล็ก ๆ เอาไว้ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกับข้างบน

เรือเร็วบังคับวิทยุที่ผมเล่นอยู่ หลายคนอาจคิดว่า ผิวใต้ท้องน่าจะขัดให้เรียบและมันแว็ป จะได้วิ่งไปบนผิวน้ำได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ถูกต้องครับ เพราะผิวมันเรียบที่สัมผัสกับน้ำด้วยความเร็วสูง ก็จะก่อให้เกิด turbulance ของน้ำเช่นกัน turbulance ดังกล่าวเพิ่มความเสียดทาน ทำให้เรือวิ่งช้าลง วิธีแก้ไขคือ ต้องขัดผิวใต้ท้องเรือให้เป็นรอยขีดข่วน แต่ต้องวนเป็นวงกลม ไม่ใช่เป็นทางยาว รอยตื้น ๆ เล็ก ๆ เหล่านี้จะช่วยลด turbulance ได้

เรือใบความเร็วต่ำกว่าพาหนะอื่น แต่อย่างไรก็ตามในการแข่งขัน เขาจะใช้น้ำยาพิเศษฉีดลงไปบนใบเรือ เพื่อช่วยให้อากาศที่พัดมากระทบได้พัดผ่านไปอย่างรวดเร็ว น้ำยาดังกล่าวใช้ลดความเสียดทานของอากาศกับใบเรือ

ส่วนลูกกระสุนปืนลม เดินทางแบบ "ควงสว่าน" ด้วยความเร็วสูง รอยจีบตามขอบเอวของลูกนั้น ไม่ได้ช่วยในด้านอากาศพลศาสตร์ แต่เป็นการลดน้ำหนักของกระสุน โดยที่กระโปรงกระสุนจะได้ไม่บางเกินไป (เดี๋ยวโป๊...555)
บันทึกการเข้า
Exxx
โดนทุกที่ ยกเว้นตรงที่เล็ง
Hero Member
*****

คะแนน 694
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1113



« ตอบ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2011, 08:04:15 AM »

โค๊ด:
ส่วนลูกกระสุนปืนลม เดินทางแบบ "ควงสว่าน" ด้วยความเร็วสูง รอยจีบตามขอบเอวของลูกนั้น ไม่ได้ช่วยในด้านอากาศพลศาสตร์ แต่เป็นการลดน้ำหนักของกระสุน โดยที่กระโปรงกระสุนจะได้ไม่บางเกินไป (เดี๋ยวโป๊...555)

ขอบคุณอาจารย์สำหรับความรู้ครับ  ไหว้

ควงสว่าน (ไม่ได้ยินมานานแล้วคำนี้) อาจารย์หมายถึงการหมุนรอบแกนตัวเองใช่ไหมครับ
อย่างนี้แปลว่าลูกที่เราวัดแล้ว ใช้ได้ จะหมุนรอบแกนตัวเองได้ค่อนข้างสมบูรณ์กว่าลูกที่ใช้ไม่ได้
กระสุนที่วัดแล้วใช้ไม่ได้น่าจะจัดเป็นกระสุนโคโยตี้ครับ เพราะหมุนเอวและส่ายตูด  ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #18 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2011, 07:24:46 PM »

การที่เราว
โค๊ด:
ส่วนลูกกระสุนปืนลม เดินทางแบบ "ควงสว่าน" ด้วยความเร็วสูง รอยจีบตามขอบเอวของลูกนั้น ไม่ได้ช่วยในด้านอากาศพลศาสตร์ แต่เป็นการลดน้ำหนักของกระสุน โดยที่กระโปรงกระสุนจะได้ไม่บางเกินไป (เดี๋ยวโป๊...555)

ขอบคุณอาจารย์สำหรับความรู้ครับ  ไหว้

ควงสว่าน (ไม่ได้ยินมานานแล้วคำนี้) อาจารย์หมายถึงการหมุนรอบแกนตัวเองใช่ไหมครับ
อย่างนี้แปลว่าลูกที่เราวัดแล้ว ใช้ได้ จะหมุนรอบแกนตัวเองได้ค่อนข้างสมบูรณ์กว่าลูกที่ใช้ไม่ได้
กระสุนที่วัดแล้วใช้ไม่ได้น่าจะจัดเป็นกระสุนโคโยตี้ครับ เพราะหมุนเอวและส่ายตูด  ขำก๊าก

การที่เราวัดขนาดลูก และเตรียมอย่างอื่นมีจุดประสงค์หลักคือ ต้องการให้เวลายิงลูกนั้น ๆ ออกไปแล้ว มีความเร็วใกล้เคียงกับลูกอื่น ๆ มากที่สุด ผลลัพธ์สุดท้ายคือ ความแม่นยำที่ "คงที่" ฉนั้นการที่เราดูสภาพความสมบูรณ์ของลูก ก็มีส่วนช่วยเพราะลูกจะ "ควงสว่าน" ได้ดี เสมือนมีลำกล้องยาวยื่นไปจนถึงเป้าเลย
บันทึกการเข้า
ruger40 years
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2011, 06:38:29 PM »

อาจารย์ ดร.ธนาสิทธิ์ ครับ
  ผมติดภาระกิจของบริษัทอยู่หลายวัน..จึงเข้ามาช้าไป ผมทราบว่าอาจารย์..ได้ติดงานอยู่หลายอย่าง..ที่หายหน้าไปนาน ก็เลยหมดห่วงแล้ว ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2011, 09:59:27 PM โดย ruger40 years » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.155 วินาที กับ 24 คำสั่ง