ถ้าเป็นเพียงแนวปฏิบัติภายใน คงจะไปเอาผิดผู้มีกระสุนปืนไว้ในครอบครองจำนวนมากไม่ได้ หากกระสุนปืนนั้นตรงกับชนิดอาวุธปืนที่ผู้นั้นได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ตามพรบ.อาวุธปืน ฯ พ.ศ.2490 มาตรา ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตน ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ ประกอบกับมาตรา ๗๒ ทวิ* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่งหรือ วรรคสาม มาตรา ๒๐ มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ หรือมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา ๘ ทวิ วรรคสองด้วย ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
,เพราะกฎหมายที่มีโทษอาญา ต้องกำหนดความผิดและโทษไว้ชัดแจ้ง ไม่งั้นเอาผิดผู้กระทำไม่ได้
ตัวผมก็ไม่เคยเจอว่า มีคนต้องโทษคดีมีเครื่องกระสุนไว้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอนุญาตแต่อย่างใดด้วย
อนึ่ง ถ้ามีแนวคำพิพากษาศาลฎีกา หรือศาลอะไรวินิจฉัยไว้ ขอดูตัวอย่างด้วยครับ เผื่อจะหลงๆไป ขอบคุณครับ
มีกระสุนมาก ๆ แต่มี ป.4 คุม คงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ เพราะมาตรา 8 คุ้มครองไว้ แต่ก็อาจผิดกฎหมายอื่นได้ เช่นกฎหมายศุลกากร (กระสุนผลิตต่างประเทศ) แม้แต่กระสุนในประเทศ ก็อาจจะสร้างปัญหาได้เช่นกัน เพราะที่มาของกระสุนมันเป็นสีเทา ๆ อย่างที่คุณธำรง กล่าวไว้ ตัวอย่างเช่นกระสุนที่ซื้อมา อาจจะเป็นล๊อตเดียวกับที่เคยขายให้ส่วนราชการบางหน่วย ก็ต้องตอบคำถามว่ามันมาอยู่ที่บ้านของเราได้อย่างไร