เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 08, 2024, 09:51:37 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอถามเรื่องพระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษาครับ  (อ่าน 3751 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Half cock
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 12:36:17 PM »

คือผมสงสัยว่า ถ้าเป็นช่วงเข้าพรรษาแล้วพระสงฆ์จะปักกลดอยู่ป่า(ไม่ใช่สำนักสงฆ์,วัด)ได้ไหมครับ
คือว่าผมสงสัยว่าผมจะไปเจอพระปลอมมาครับ
และผมจะแจ้งใครให้เข้าไปตรวจสอบได้ล่ะครับ อ๋อย
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 12:38:11 PM »

ไม่น่าจะได้ครับ หากท่านไม่ได้ทำความเดือดร้อนอะไร ก็ดูๆไปก่อนก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า

~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 12:42:28 PM »

คอยสังเกตุดูก่อนจะดีกว่าครับ   ถ้ามีอะไรนอกรีตก็แอบถ่ายภาพนำไปแจ้งความได้ครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
ARTANY
Sr. Member
****

คะแนน 43
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 564



« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 01:13:51 PM »

ได้ครับ การขาดจากการเป็นพระคือการต้องปราชิก 4 เท่านั้น ส่วนการเข้าพรรษาคือการอธิฐานที่จะอยู่ในที่ๆนี้(วัด,สำนักสงฆ์,ในถ้ำ,ในกองเกวียน ยกเว้นไม่ทรงอนุญาติให้ภิกษุจำพรรษาใต้ต้นไม้) แต่ไม่ขาดจากความเป็นพระครับ
บันทึกการเข้า

"ผมจะเป็นคนดี"
ARTANY
Sr. Member
****

คะแนน 43
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 564



« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 01:18:49 PM »

อ้อก็ถือว่าภิกษุรูปนี้ไม่ได้เข้าพรรษาเท่านั้นเองครับ ไม่มีสิทธิ์รับ "กฐิน"
บันทึกการเข้า

"ผมจะเป็นคนดี"
RMAY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 02:12:29 PM »

 Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 04:34:29 PM »

การจำพรรษา  ห้ามจำพรรษาในกลดที่กลางในที่โล่งแจ้ง  ในโพรงไม้ 

ห้ามจำวัดร่วมห้องกับสามเณรหรือ  ฆาราวาส  เกิน  สามคืน 

การกลางกลดในสถานที่ที่ถือว่ามิได้เป็นเขตุสังฆาวาส  ไม่นับว่าเข้าพรรษา  ตามที่ท่าน  ARTANY  ว่ามา

การเข้าพรรษา  ปฏิบัติบัตใด้สองช่วงคือ  เข้าเข้าพรรษาปรกติ  และหากมีเหตุจำเป็น 

สามารถเลื่อนการเข้าพรรษออกไปได้อีกหนึ่งเดือน  คือเข้าหลังจากวันเข้าพรรษาปรกติหนึ่งเดือน 

ออกพรรษาหลังจากพรรษาปรกติหน฿งเดือน

ความรู้เก่าตอนบวชครับ  Grin Grin Grin Grin Grin Grin Grin



 ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 04:43:19 PM »

ที่ รพ.สงฆ์เพียบเลยครับ  แต่เหมือนเพื่อนว่า ไม่ขาดจากความเป็นพระ   Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

Half cock
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 04:49:53 PM »

ขอบคุณาครับสำหรับความรู้และคำแนะนำ
ผมจะคอยสังเกตุดูครับ
ที่ผมตั้งข้อสงสัยคือ ทิศตะวันออกก็มีวัดห่างจากตรงนี้ไปไม่น่าเกิน 700 เมตรครับ
ส่วนทิศตะวันตกก็มีวัดไม่ไกลครับ 500 เมตรน่าจะได้
ผมเคยเจอะจังๆตอนพระ(ที่ว่านี้)จะออกบิณฑบาตร ตอนนั้นเช้ามืดเลยครับ
พระที่ว่าก็เห็นผมทำท่าตกใจนิดนึง
จากนั้นก็ไม่กล้าเิดินมาที่สว่าง จนผมเดินทิ้งระยะไปสักร้อยเมตร ผมมองกลับไปจึงเห็นเิดินมาโบกแท็กซี่ ผมคิดว่าเป้าหมายบิณบาตร น่าจะดินแดง - อนุสาวรีย์ฯ เพราะแท็กซี่เข้ามอเตอร์เวย์ (ผมอยู่แถวๆลาดกระบังครับ)
บันทึกการเข้า
RMAY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 05:04:37 PM »

ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าไปตรวจสอบ บัตรประจำตัวของพระ จะดีมากครับ 
บันทึกการเข้า
สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 05:40:06 PM »

ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าไปตรวจสอบ บัตรประจำตัวของพระ จะดีมากครับ 

เขาเรียก  หนังสือสุทธิ  ครับ  แบ   Grin Grin Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
R2D2
ท้าเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
Hero Member
*****

คะแนน 366
ออฟไลน์

กระทู้: 6023



« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 06:15:59 PM »

ภิกษุเมื่อปวารณาจะจำพรรษาที่วัดแห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ถ้ามีเหตุจำเป็นสามารถลาพรรษาได้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน(เจ้าอาวาสเป็นผู้อนุญาต) เมื่อครบกำหนดวันลาก็สามารถไปจำพรรษา-ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดเดิมได้โดยถือว่าพรรษาไม่ขาด  
บันทึกการเข้า
สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 07:12:27 PM »

ภิกษุเมื่อปวารณาจะจำพรรษาที่วัดแห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ถ้ามีเหตุจำเป็นสามารถลาพรรษาได้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน(เจ้าอาวาสเป็นผู้อนุญาต) เมื่อครบกำหนดวันลาก็สามารถไปจำพรรษา-ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดเดิมได้โดยถือว่าพรรษาไม่ขาด  

เว้นไว้แต่  ตนเองป่วย  บิดา  มารดา  ป่วย  หรือผู้ซึ่งเลี้ยงดูมาตั้งแต่กำเนิดป่วย พระรูปนั้นจำต้องไปดูแลปรนนิบัต

ให้หาว่ามิได้ขาดพรรษา ครับ  และการจับเนื้อต้องตัวสตรี  ที่เป็น มารดา  หรือผู้เลี้ยงดูมาดุจบุตรตนเองมาแต่น้อย  ไม่อาบัต
 
 ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2011, 07:16:40 PM โดย สหายอ๋อง พรานปลาซิว » บันทึกการเข้า
สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 07:31:52 PM »

 วัสสูปนายิกาขันธกะ (หมวดวันเข้าพรรษา)              พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ยังมิได้ทรงบัญญัติเรื่องการจำพรรษา (คือพักอยู่ในวัดตลอด ๓ เดือนฤดูฝน) ภิกษุทั้งหลายเที่ยวจาริกไปทุกฤดูกาล. มีผู้ติเตียน ว่าเที่ยวเหยียบต้นหญ้า และเหยียบสัตว์ตาย. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัยให้ภิกษุจำพรรษา.

              ครั้งแรกภิกษุทั้งหลายประชุมกัน แต่นั่งนิ่ง ๆ ชาวบ้านจะฟังธรรมก็ไม่ได้ฟัง จึงติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ประชุมกันเพื่อกล่าวธรรม.

              แล้วทรงแสดงว่า วันจำพรรษามี ๒ อย่าง คือ วันจำพรรษาต้น และวันจำพรรษาหลัง (เมื่อดวงจันทร์เสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงแล้ว ๑ เดือน คือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เป็นวันเข้าพรรษาหลัง ซึ่งสันนิษฐานว่า ทรงบัญญัติตามปีปกติและปีมีอธิกมาส จึงมี ๒ อย่าง).

              แล้วทรงห้ามจาริกไปไหนระหว่าง ๓ เดือนของวันเข้าพรรษาแรกหรือเข้าพรรษาหลัง แล้วแต่กรณี ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

              แล้วทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้เมื่อถึงวันเข้าพรรษาแล้วไม่จำพรรษา หรือพบวัดที่จะจำพรรษาแล้วแกล้งเดินทางเลยไปเสีย.


ทรงอนุมัติการเลื่อนวันจำพรรษา
              พระเจ้าพิมพิสารทรงส่งทูตไปเฝ้า ขอให้เลื่อนวันจำพรรษาออกไปอีก ในวันเพ็ญหน้า (รวมเป็น ๑ เดือน) จึงทรงอนุญาตให้อนุวัตตามพระราชา (สันนิษฐานว่าทรงขอให้เลื่อนจำพรรษาไปตามวันอธิกมาสทางโลก).


ทรงอนุญาตให้ไปกลับภายใน ๗ วัน
              แล้วทรงอนุญาตให้เดินทางได้ในระหว่างพรรษาโดยให้กลับภายใน ๗ วัน ในเมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้น ที่เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" ดังต่อไปนี้
              ๑. ทายกปรารถนาจะบำเพ็ญกุศล ส่งคนมานิมนต์ ในกรณีเช่นนี้ ทรงอนุญาตให้ไปได้เฉพาะที่เขาส่งคำนิมนต์มา ถ้าไม่ส่งคำนิมนต์มา ไม่ให้ไป
              ๒. เพื่อนสหธัมมิก คือผู้บวชร่วมกัน (ภิกษุ, ภิกษุณี, นางสิกขมานา, สามเณร, สามเณรี) เป็นไข้จะส่งคนมานิมนต์หรือไม่ก็ตาม ทรงอนุญาตให้ไปได้. นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับเพื่อนสหธัมมิกอีก คือเมื่อเพื่อนสหธัมมิกเป็นไข้ ภิกษุปรารถนาจะช่วยแสวงหาอาหาร, ผู้พยาบาล, ยารักษาโรคก็ไปได้, เมื่อเพื่อนสหธัมมิกเกิดความไม่ยินดี เกิดความรังเกียจ หรือเกิดความเห็นผิดขึ้น ไปเพื่อระงับเหตุนั้น , เมื่อเพื่อนสหธัมมิก (เฉพาะภิกษุ, ภิกษุณี) ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปรารถนาจะอออกจากอาบัติในขั้นใด ๆ ก็ตาม หรือสงฆ์ปรารถนาจะทำสังฆกรรมลงโทษภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปที่จะถูกลงโทษต้องการให้ไป ก็ไปได้เพื่อไกล่เกลี่ยไม่ให้ต้องทำกรรม หรือให้ลงโทษเบาลงไป, เพื่อให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยพระวินัยเพื่อปลอบใจ เป็นต้น. หรือเมื่อนางสิกขมานาหรือสามเณรปรารถนาจะบวช ไปเพื่อช่วยเหลือในการนั้น
              ๓. มารดา บิดา พี่น้อง หรือ ญาติ เป็นไข้ ส่งคนมานิมนต์หรือไม่ รู้เข้า ไปได้
              ๔. วิหารชำรุด ไปเพื่อหาสิ่งของมาปฏิสังขรณ์.


ขาดพรรษาที่ไม่ต้องอาบัติ
              เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ไม่สามารถจะจำพรรษาในที่นั้น ๆ ต่อไปได้ ทรงอนุญาตให้ไม่ต้องอาบัติ ดังต่อไปนี้
              ๑. ถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น วิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม
              ๒. ชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ทรงอนุญาตให้ไปกับเขาได้ ชาวบ้านแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย
              ๓. ขาดแคลนอาหารหรือยารักษาโรค หรือขาดผู้บำรุง ได้รับความลำบาก ทรงอนุญาตให้ไปได้
              ๔. มีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ทรงอนุญาตให้ไปให้พ้นได้
              ๕. ภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกัน หรือมีผูพยายามให้แตกกัน หรือทำให้แตกกันแล้ว ไปเพื่อหาทางระงับได้.


ทรงอนุญาตการจำพรรษาในที่บางแห่ง
              มีภิกษุบางรูปประสงค์จะจำพรรษาในบางที่บางแห่งต่าง ๆ กัน ทรงผ่อนผันให้จำพรรษาได้ คือ
              ๑. ในคอกสัตว์ (อยู่ในที่ของนายโคบาล)
              ๒. เมื่อคอกสัตว์ย้ายไป ทรงอนุญาตให้ย้ายตามไปได้
              ๓. ในหมู่เกวียน
              ๔. ในเรือ.


ทรงห้ามจำพรรษาในที่ไม่สมควร
              ทรงห้ามการจำพรรษาในที่ไม่สมควร คือ
              ๑. ในโพรงไม้
              ๒. บนกิ่งหรือค่าคบไม้
              ๓. กลางแจ้ง
              ๔. ไม่มีเสนาสนะ (คือที่นอนที่นั่ง)
              ๕. ในโลงผี
              ๖. ในกลด๑ (เช่น เต๊นท์ของนายโคบาล)
              ๗. ในตุ่ม


ข้อห้ามอื่น ๆ
              ๑. ห้ามตั้งกติกาที่ไม่สมควร เช่น ไม่บวชสามเณรให้ในพรรษา
              ๒. ห้ามรับปากว่าจะจำพรรษาในที่ใดแล้ว ไม่จำพรรษาในที่นั้น.



--------------------------------------------------------------------------------
๑. อรรถกถาแก้ว่า ตั้งเสา ๔ เสา แล้วเอาร่มหรือกลดทาบลงไปบนเสานั้น
บันทึกการเข้า
โทน73 -รักในหลวง-
มือปืนกาวช้าง
Hero Member
*****

คะแนน 586
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8574


« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 07:52:39 PM »

ถ้าทำเช่นนั้นจะไม่ได้รับอานิสงค์ของการจำพรรษา  และไม่นับพรรษาให้
ถือ สัตตาหะ  ได้แค่ไม่เกิน 7คืน

ที่ จำพรรษา

- ต้องเป็นการกำหนดบอกอาณาเขตของวัด ที่พระสงฆ์จะรักษาอรุณ หรือรักษาพรรษาให้ชัดเจน (รักษาอรุณคือต้องอยู่ในอาวาสที่กำหนดก่อนอรุณขึ้น จึงจะไม่ขาดพรรษา)
 -หากมีภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ก็ทำการสมมุติเสนาสนคาหาปกะ (เจ้าหน้าที่สงฆ์) เพื่อให้เป็นผู้กำหนดให้พระสงฆ์รูปใดจำพรรษา ณ สถานที่ใดในวัด


 พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้อยู่จำพรรษาในสถานที่อันไม่สมควร สถานที่เหล่านั้นคือ
          ๑. ในโพรงไม้
          ๒. บนกิ่งหรือคาคบไม้
          ๓. ในที่กลางแจ้ง
          ๔. ในที่ไม่มีเสนาสนะ คือไม่มีที่นอนที่นั่ง
          ๕. ในโลงผี
          ๖. ในกลด
          ๗. ในตุ่ม
(ในหนังสือวินยมุข เล่ม 1 ระบุ "เต๊นท์"  ก็ห้ามใช้จำพรรษา)


กรณีอนุโลม

          พระพุทธองค์ทรงอนุญาตการอยู่จำพรรษาในสถานที่บางแห่ง แก่ภิกษุบางรูปผู้มีความประสงค์ จะอยู่จำพรรษาในสถานที่ต่าง ๆ กัน สถานที่เหล่านั้น คือ
          ๑. ในคอกสัตว์ (อยู่ในสถานที่ของคนเลี้ยงโค)
          ๒. เมื่อคอกสัตว์ย้ายไป ทรอนุญาตให้ย้ายตามไปได้
          ๓. ในหมู่เกวียน
          ๔. ในเรือ


บันทึกการเข้า

....ตามล่า...อีตอแหล
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 21 คำสั่ง