จากรูป ผมว่ามักง่ายไปหน่อยครับ ทางใต้ ที่สูงเกิน800-1,000เมตรจากระดับน้ำทะเล มีนะครับ ไม่ใช่ไม่มี
บางทีคนทำภาพคิดแค่ว่า ทางใต้มีทะเลล้อมเลยทำรูปจากจินตนาการ ส่วนอีสานใต้ ที่สูงระดับเดียวกัน
ก็ไม่ใช่ไม่มี แต่ส่วนที่เป็นที่ราบสูงก็เยอะ ที่ต่ำกว่า500เมตรเหนือระดับน้ำทะเลละแวกอีสานใต้ กลับไม่ท่วม
ผมว่าคนทำรูปไม่ได้ศึกษาแผนที่ชั้นความสูงมากนัก หากน้ำท่วมโลกจริง ก็ไม่เป็นอย่างที่เห็นครับ
หากท่วมถึงขั้นกลืนยอดเขาหลวง เขาสก หรือเทือกเขาบรรทัดทั้งเทือก แผนที่ไม่เป็นเช่นนี้แน่ๆ น่าจะเหลือ
ภาคเหนือกับอีสานบนบางส่วน
ดูเอาเพลินพอไหว ดูเอาน่าเชื่อถือไม่ได้ครับ
เรื่องโลกร้อน น้ำแข็งละลาย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ถ้าเอาให้น่าเชื่อจริงๆ เอาเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริงมาสนับสนุน
จะดีกว่าการสร้างนิยายวิทยาศาสตร์กึ่งทำนายอนาคต
ดูรูปล่างครับ
ที่เห็นคือเกาะพูมาริชาน" และ "วิลลันกูชาลลี" อยู่ในทะเลอินเดียระหว่างประเทศอินเดียและศรีลังกา
เคยเป็นชีวาลัยทางทะเลและเป็นพื้นที่สงวน ทุกวันนี้ ภาพที่เห็นเป็นอดีตไปแล้ว เพราะเกาะได้โดนน้ำท่วมไปเรียบร้อย
พื้นที่กว่า500 ตร.กม. หากจะคิดเป็นไร่ เอา625คูณเอา(1 ตร.กม.= 625ไร่) ได้นอนสงบนิ่งอยู่ใต้น้ำไปแล้ว
ระบบนิเวศน์ตรงนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง
ยังมีเกาะSouth Talpatti ขนาดเล็กๆราว10.5 ตร.กม. ในอ่าวเบงกอลที่อินเดีย กับบังคลาเทศแย่งกันเป็นเจ้าของ บัดนี้ก็ไม่
ต้องแย่ง นิวกันอีกแล้ว เพราะภาวะโลกร้อนได้ทำลายปะการังให้ผุกร่อน และทำให้เกาะยุบตัวลงไปสงบอยู่ใต้ผืนน้ำเรียบร้อย
อีกหลายเกาะแถวๆนั้น ไม่ว่านิวมัวร์, มอริเชียส, ซีเชลล์, โบรา โบร่า และอีกมากมาย ก็กำลังประสบปัญหานี้
(เกาะแถวนั้น แป็นผืนดินแบนๆ เหนือน้ำไม่มาก อย่างซีเชลล์ เหนือกว่าระดับน้ำทะเลแค่สองเมตรเอง)