ไม่ถูกแล้วครับ กฏหมายต้องดูหลายบทด้วยนะครับเช่นมาตรา 78 55 24 ถ้าคุณมีปืนกลไว้ในครอบครอง มันต้องมีที่มาสักอย่าง หลักกฏหมายไทยเป็นหลักกล่าวหาซึ่งผู้ถูกกล่าวหาต้องหาหลักฐานมาแก้ต่าง การ "มี" (ดูนิยาม) ปืนกลคุณจะถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้ทำ หรือ สั่ง หรือนำเข้า คุณก็จะต้องหาหลักฐานมาแก้ต่าง
กฎหมายที่มีโทษทางอาญา จะปรับบทแบบกำปั้นทุบดินไม่ได้นะครับ จะต้องหาข้อกฎหมายให้ได้ว่าผิดอย่างไร และต้องตีความอย่างเค่งครัดด้วย จะขยายความแบบกฎหมายแพ่งไม่ได้
ผู้การกรุณาดูที่ผมตอบมาก่อนหน้าด้วยครับ ไม่อย่างนั้นจะไม่เข้าใจความหมาย เพราะเคยบอกมาแล้วว่ากฏหมายอาญาเป็นกฏหมายที่ต้องตีความโดยเคร่งครัด ถ้าเรียนกฏหมายมาก็จะรู้ว่าคำว่าเคร่งครัดหมายหมายถึงอะไร ดู ปอ.มาตรา 2 และ 3 เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนที่บอกว่าผู้ถูกกล่าวหา ต้องหาหลักฐานมาแก้ต่างให้ตัวเองพ้นผิด
อันนี้ไม่ใช่กฎหมายไทยครับ อาจจะเป็นของแอฟริกาประเทศที่อยู่ลึก ๆ หน่อย หรือถ้าของไทย ก็ต้องก่อนรัชกาลที่ 4แน่ใจหรือครับ....ว่ากฏหมายไทยไม่ใช่ระบบกล่าวหา
......
แต่เรื่องอื่น ๆ พนักงานสอบสวน กับพนักงานอัยการ จะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ศาลเชื่อว่าจำเลยกระทำผิดจริง
"แต่เรื่องอื่น ๆ พนักงานสอบสวน กับพนักงานอัยการ จะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ศาลเชื่อว่าจำเลยกระทำผิดจริง"
เรื่องมันไม่ใช้แค่นั้นหรอกครับ ผมยืนยันว่าเป็นระบบกล่าวหาป.วิ.อาญา มาตรา 2 (2) และ (11) เขียนอธิบายได้ว่าพนักงานสอบสวนมีอำนาจและหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน...เพื่อที่ทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ
พนักงานอัยการหมายถึงเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล (นอกจากผู้เสียหาย)
วิธีพิจารณาความอาญาคือเมื่อเกิดการกระทำความผิดขึ้นพนักงานสอบสวนจะทำหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นให้พนักงานอัการพิจารณาหลักฐานแล้วดำเนินการฟ้องว่าใครกระทำอะไรที่กฏหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมาตราใด ต้องระบุให้ชัดด้วย มิฉะนั้นจะเป็นฟ้องเคลือบคลุมและศาลยกฟ้องได้ เช่นฟ้องลักทัพย์และรับของโจรย่อมเป็นไปไม่ได้ จะต้องฟ้องว่าลักทรัพย์ก็ลักทรัพย์ รับของโจรก็รับของโจร อีกทั้งศาลจะพิพากษาลงโทษเกินคำฟ้องก็ไม่ได้ ดังนั้นการระบุความผิดต้องดูตามข้อเท็จจริงว่าเป็นความผิดตามมาตราใดบ้าง การกระทำความผิดบางครั้งอาจผิดข้อหาเดียว แต่บางครั้งกระทำความผิดเดียวแต่ผิดหลายบทมาตราก็ได้ซึ่งต้องฟ้องทุกข้อหา ศาลจะลงโทษในบทที่มีโทษหนักที่สุด แต่ถ้าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระก็ลงโทษเรียงกระทงความผิดไป เมื่อศาลรับฟ้องแล้วจะเปลี่ยนจากผู้ต้องหาตกเป็นจำเลยทันทีต้องถูกคุมขังหรืออาจมีประกัน ทัณห์บน
ระบบนี้คือการกล่าวหานั่นเอง ม.174 บัญญัติให้โจทย์มีหน้าที่นำสืบพยานก่อนเสมอ เสร็จแล้วให้พยานจำเลยนำพยานเข้าสืบ จำเลยมีหน้าที่นำสืบแก้ข้อกล่าวหาไงละครับ จริงอยู่ว่าถ้าจำเลยนิ่งเฉย ป.วิ.อาญาไม่ให้สันนิษฐานว่าเป็นการยอมรับ ศาลจะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาว่าเชื่อได้หรือไม่เอง แต่ก็โดนกล่าวหาไปแล้วนะครับ ถึงจะเข้ากระบวนการทางศาลได้ ที่ผมเขียนมาคงไม่ใช่ประเทศตอนในของอาฟริกานะหรือก่อนรัชกาลที่ 4 นะครับ
ในเรื่องบทสันนิษฐานว่าบริสุทธินั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญจนกว่าศาลจะตัดสินลงโทษ ถูกต้องครับแต่ไม่ใช่ความหมายเรื่องระบบกล่าวหา เป็นเรื่องวิธิพิจารณาความอาญา การตัดสินนั้นตามมาตรา 227 ป.วิ.อาญา ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำผิดนั้น เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์ความสงสัยนั้นให้จำเลย