(แจ้ง)คนกทม.ถ้าหารถขนของหนีน้ำท่วมไม่ได้ โทร.184 แจ้งพิกัดให้รถขสมก.ช่วยขนได้ฟรีนะคะ24ชม. #Thaiflood #BKKflood
Uploaded with
ImageShack.usมาแล้วสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด!! จากระบบบูรณาการข้อมูลกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บ้านใครอยู่ตรงไหน ลุ้นเอา ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้ประกาศหลักเกณฑ์และแผนการอพยพ พื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมแล้ว โดยจะแจ้งเตือนล่วงหน้าประมาณ 3 ชั่วโมง
1. มีการเปิดประตูน้ำตามคลองต่างๆ ทุกคลองเพื่อให้น้ำผ่าน ดังนั้น จะเกิดภาวะระดับน้ำสูงขึ้นจนอาจล้นตลิ่งจนถึงระดับครึ่งแข้งได้
2. ในกรณีฝนตก ซึ่งจะมีมากในช่วงเวลานี้อันเนื่องมาจากพายุต่างๆ ที่มาแล้ว และกำลังจะมาอีก ทาง กทม. จะทำการปิดประตูน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าท่วมพื้นที่ ดังนั้น จะเกิดกรณีน้ำขังจากฝนตกบ้าง ซึ่งบางครั้งอาจถึงหัวเข่าและเมื่อฝนหยุดตกแล้วจะทำการเปิดประตูระบายน้ำดังเดิม
3. พื้นที่ชุมชนที่อยู่ใกล้ลำคลองต่างๆ ทุกลำคลองจะพบกับปัญหาน้ำล้นตลิ่ง จนถึงน้ำท่วมขัง ดังนั้นแนะนะว่าควรจะขนของหนีน้ำ (ควรจะมีระดับสูงตั้งแต่ 1.00 เมตรขึ้นไป เพราะเรายังไม่อาจคาดได้ในเรื่องของมวลน้ำก้อนใหญ่ที่จะตามเข้ามาใน 2 -3 วันข้างหน้า ดังนั้นกทม. แจ้งเตือนมา ระดับที่ปลอดภัยคือ 0.60 - 0.80 เมตร) ในขณะนี้ขอยืนยันว่าจะยังไม่มีการแจ้งเตือนให้มีการอพยพใดๆ ทั้งสิ้น แต่ยังคงไว้ให้มีการเตรียมการในเรื่องของการขนของหนีน้ำเท่านั้น
4.ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถตรวจสอบได้ทางหน้า เว็บไซต์ดังนี้
1.
www.ndwc.go.th <http://www.ndwc.go.th/>
2. Facebook page ที่ศปภ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3. Twitter page ที่ GCC_111, GCC-192, Nailek507
4. เว็บไซต์และช่องข่าววิทยุและโทรทัศน์ ทุกช่อง แต่ที่อัพเดตรวดเร็วจะมี ช่อง 3, เนชั่น และ Spring News
5. กรณีที่เกิดข่าวจากการพุดแบบปากต่อปาก ขอให้ตรวจสอบมาที่ 1111 ต่อ 5, 1784 หรือ 191
หลักเกณฑ์และแผนการอพยพ ทางกรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมแผนในภารกิจอพยพในครั้งนี้โดยได้กำหนดขั้นแรก คือ
1. การจัดทำแผนที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งทุ่งตะวันตกชุมชนริมน้ำและแนวตะวันออก โดย 1.1 สำรวจชุมชนและแผนที่ที่ได้รับผลกระทบ 1.2 สำรวจจำนวนครัวเรือนและลงทะเบียนผู้รับผลกระทบ 1.3 กำหนดพื้นที่พักพิงใกล้เคียง
2. การเคลื่อนย้ายผู้รับผลกระทบ 2.1 รถขนย้าย 2.2 เรือขนย้าย 2.3 บุคลากรเจ้าหน้าที่เทศกิจ และ อภปร. 2.4 การประสานเส้นทางการควบคุมการจราจร 2.5 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คนพิการ และหน่วยแพทย์กู้ชีพ 2.6 การเตือนภัย
3. ศูนย์พักพิงซึ่งจะได้จัดเตรียมสถานที่พักและเครื่องนอน รวมทั้งปัจจัย <http://www.dmc.tv/search/ปัจจัย>สี่ และอุปกรณ์ดำรงชีพจัดบุคลากรสนับสนุนให้ข้อมูลข่าวสาร ดูแลสัตว์เลี้ยงที่ผู้อพยพมาออกมาด้วยและการจัดนักจิตวิทยา เข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจซึ่งจะต้องกระทำการอย่างทันที
4. ศูนย์ประสานงานกลางที่จะต้องดูแลทรัพย์สินบ้านเรือนของมีค่า สำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือรวมทั้งการกระจายของรับบริจาค และสนับสนุนความช่วยเหลือ การอนุมัติงบประมาณประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการแจกคู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม
5. การฟื้นฟูหลังน้ำลดซึ่งมีทั้งการเคลื่อนย้ายกลับที่พัก การสนับสนุนงบประมาณเยียวยาความเสียหายการซ่อมแซมทางกายภาพ และการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำเพิ่มเติมให้สมบูรณ์
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ
1. เมื่อแจ้งเตือนน้ำท่วม จะมีการแจ้งล่วงหน้าประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อทำการเก็บของรถยนต์หรือจักยานยนต์ ควรหาอาคารสูงเพื่อจอดรถ ตรวจสอบได้จากห้างสรรพสินค้าต่างๆ
2. ผู้อาศัยที่มีบ้านพักริมคลองหรือบ้านชั้นเดียว ควรมีการเก็บเสื้อผ้าเครื่องใช้จำเป็นให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย กรณีต้องอพยพหนีน้ำ (สำหรับพื้นที่เสี่ยงที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและ กทม. ประกาศ)
3. การจะไปซื้ออาหารมากักตุนเพื่อสำรองไว้ แนะนำว่าควรจะสำรองไว้เพียงแค่ 2 วันเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดเหตุจริง จะมีการดำเนินการเรื่องการแจกของพร้อมอาหารปรุงสำเร็จและน้ำดื่ม (ขอให้เข้าใจว่า ข่าวลือที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีการนำเอาประโยชน์ทางธุรกิจมาใช้เพื่อให้ได้กำไร ซึ่งเป็นการฉวยโอกาสของภาคธุรกิจบางส่วนเท่านั้น)สำหรับผู้ที่มั่นใจว่าสามารถพำนักอยู่ที่บ้านได้ ควรมีการเตรียมเตาและถังแก็สให้อยู่ในที่พ้นน้ำเพื่อความสะดวกในการปรุงอาหาร เนื่องจากอาจมีการตัดไฟฟ้า
4. การเตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็น ควรเตรียม เครื่องใช้เด็กยากันยุง ยาประจำตัว ยาสามัญ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ผ้าเช็ดตัวถ่านไฟฉาย ไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ค น้ำดื่ม
5. ควรประจุไฟแบตเตอรี่ให้เต็ม เมื่อเกิดเหตุใช้โทรออกแค่จำเป็นเท่านั้น
พื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมกรุงเทพฯ
1. พื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำ
1.1 พื้นที่ทุ่งรังสิตซึ่งจะทำการรับน้ำ และแยกมวลน้ำออกไปทาง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา ลาดกระบัง และทางพุทธมณฑลสาย1 และ 2 ถนนกาญจนาภิเษก
1.2 พื้นที่เสี่ยงตามคลอง 9 จุดที่จะมีการรับและระบายน้ำลงสู่อุโมงค์
1.2.1 คลองบางพรม (ถ.กาญจนาภิเษก)
1.2.2 คลองฉิมพลี - คลองบางแวก (พุทธมณฑลสาย 1)
1.2.3 คลองบางแวก (ถ.รัชดาภิเษก)
1.2.4 คลองเปรมประชากร (ดอนเมือง)
1.2.5 คลองลาดพร้าว (วัดลาดพร้าว)ปากคลองตลาด - คลองบางซื่อ (ฝั่งขวา ถ.พหลโยธิน)
1.2.6 คลองมหาสวัสดิ์ (ทั้งสองฝั่ง ถ.พุทธมณฑลสาย 2)
1.3 พื้นที่ประกาศ 15 จุดแนะนำให้ทำการเก็บของหนีน้ำ ได้แก่
1.3.1 เขตสาทร ย่านถนนจันทร์เซนต์หลุยส์สาธุ ประดิษฐ์
1.3.2 เขตพญาไทถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ
1.3.3 เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิทจากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล
1.3.4 เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และ 49
1.3.5 เขตวังทองหลางถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์
1.3.6 เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจทั้งสองฝั่ง
1.3.7 เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษกหน้าห้างโรบินสัน
1.3.8 เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว
1.3.9 เขตราชเทวีถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี
1.3.10 เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน
1.3.11 เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน \
1.3.12 เขตบางแค ถนนเพชรเกษมซอย 63 (ซอยวัดม่วง)
1.3.13 เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่-ซอยศรีบำเพ็ญ
1.3.14 เขตประเวศ ถนน ศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง
1.3.15 เขตพระนคร ถนนสนามไชยและถนนมหาร1)เขตสาทร ย่านถนนจันทร์เซนต์หลุยส์สาธุประดิษฐ์
โดย: Tawatchai Kitiyapichatkul