ที่ท่านว่ามาก็มีส่วนถูกครับ
ผมว่านิสัยของคนขับ การจราจรก็สำคัญครับ สมมุติว่าคนรุ่นเดียวกัน แต่คันนึงปิดแอร์ คันนึงเปิดแอร์ วิ่งระยะทาง+ความเร็วเท่ากัน พอก็ว่าพอๆกันครับ
แล้วส่วนไหนที่ผิด หรือไม่ครบครับ ..
อ่านคำถามแล้วต้องหาแก่นของมัน ว่าต้องการเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างอะไรกับอะไร ที่สภาพไหน .. และควรจะควบคุมตัวแปรใดบ้าง
การหาผลลัพท์เชิงวิศวกรรมหรือวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างตัวแปรที่ต้องการ จะทราบว่าต้องจำกัดตัวแปรรองทั้งหลายไม่ให้มีความแตกต่างไปจนรบกวนผลลัพธ์ ..
เมื่อต้องการเปรียบเทียบความแตกต่างของการ"ขับรถทางไกล" ระหว่าง ปิดแอร์+เปิดกระจก กับ เปิดแอร์+ปิดกระจก .. ก็ควรจะต้องแปรผันเฉพาะเงื่อนไขนี้เท่านั้น
การจราจร , ผู้ขับ , ยานยนต์ , ประเภทน้ำมัน , ความเร็ว , ระยะทาง .. ต้องไม่แตกต่างกัน(อย่างมีนัยสำคัญ) ไม่เช่นนั้นผลออกมา จะนำมาวัดผลความแตกต่างของตัวแปรต้นที่เปลี่ยนไปตามที่โจทย์ต้องการไม่ได้
ในกรณีอื่น ถ้ามีตัวแปรจำนวนมากที่ไม่ควบคุม หรือควบคุมไม่ได้ ก็ต้องใช้การออกแบบการทดลอง (Hypothesis test) ตามหลัก ...
สิ่งที่ผมพูดเพื่อตอบสนองต่อแก่นของคำถามจึงมีพื้นฐานอยู่ที่ รถคันเดียวกัน การขับขี่และผู้ขับคนเดียวกัน กระแสลมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เส้นทางและระยะทางเดียวกัน ระยะเวลาทดสอบที่ยาวพอ .. ฯลฯ
คำตอบจึงขึ้นอยู่ที่คุณลักษณะของรถคันนั้นๆ เช่น อากาศพลศาสตร์ในแต่ละช่วงความเร็ว รูปทรง/ตำแหน่งหน้าต่างของรถที่จะเปิด ความเร็วที่ใช้ ลักษณะความไว(Sensitivity)ของระบบการทำงานของแอร์ ภาระ(Load)ของคอมเพรสเซอร์แอร์ที่กระทำต่อเครื่องยนต์ ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายนอกกับอุณหภูมิแอร์ที่ปรับไว้ ...
ตรรกและศาสตร์ใดๆในโลก เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากครับ