สงสัยครับ สงสัยจริงๆ......
ศาลพิพากษาตัดสินโดนประหารชีวิตไปแล้ว....
ใช้เวลานานกี่วันกี่เดือนครับครับถึงจะประหารจริงๆ...
ที่ถามแบบนี้ผมดูข่าวที่ว่า นักโทษได้รับการพระราชทานอภัยโทษ
โดยที่ในนั้นมีนักโทษประหารชีวิต แล้วได้ลดหย่อนเป็นจำคุกตลอดชีวิต
ต่อมาก็ได้ลดหย่อนอีกเหลือ 50 ปี แบบนี้ครับ
ก็เลยสงสัยว่า การตัดสินประหารชีวิต ทำไมพอตัดสินแล้ว ถึงไม่ประหารเลย...
หรือให้เวลาทำใจสักอาทิตยืสักเดือน ก็นานสุด...
แบบนี้แล้วจะตัดสินประหารทำไมครับ...เพราะว่าถึงขั้นประหารแล้ว..
แสดงว่านักโทษคนนั้นต้องชั่วสุดๆแล้วครับ....
ขอตอบแบบคร่าว ๆ นะครับ
ปกติเมื่อมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ประหารชีวิตแล้ว ตัวจำเลยก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ / ฎีกา คำพิพากษาได้อีก
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งตรงนี้จะกินระยะเวลาหลายปีแล้วแต่ว่าศาลสูงจะมีคดีค้างพิจารณาเยอะหรือไม่ ซึ่ง
ระหว่างอุทธรณ์ / ฎีกา จะต้องงดการบังคับโทษตามคำพิพากษา ( โทษประหารชีวิต ) ไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ซึ่งต่างกับกรณีต้องโทษจำคุกซึ่งสามารถบังคับโทษตามคำพิพากษาได้ทันที
เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วตามกฎหมายให้นำตัวผู้ต้องโทษไปประหารเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน แต่ระหว่างนี้ผู้ต้องโทษ
ก็มีสิทธิขอยื่นขอพระราชทานอภัยโทษได้โดยให้ทุเลาการประหารชีวิตไว้จนกว่าจะพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับแต่
วันที่ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไป แต่ถ้าทรงยกเรื่องดังกล่าวก็สามารถประหารชีวิตก่อนกำหนดนี้ได้ แต่
หากเป็นกรณีที่ผู้ต้องโทษไม่ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งถ้าจำกันได้เมื่อหลายปีมานี้เคยมีนักโทษคดีฆ่าข่ม
ขืนไม่ยื่นเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ เมื่อครบกำหนดก็สามารถนำตัวไปประหารชีวิตได้ทันที
นอกจากกรณียื่นเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษโดยตัวผู้ต้องโทษดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีกรณีที่คณะรัฐมนตรี
เห็นสมควรยื่นขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผู้ต้องโทษเป็นการทั่วไปโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในวาระ
มงคลต่าง ๆ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่มักจะลดโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งนักโทษที่แม้จะได้
ยื่นเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ได้ยื่นเรื่องก็ตามก็จะได้รับประโยชน์จากพระราชกฤษฎีกาตรงนี้ด้วย
และเมื่อได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตแล้วก็จะได้รับการลดส่วนโทษในฐานะเป็นนักโทษชั้นดีตามชั้น
อีกด้วย ซึ่งสูงสุดถ้าผมจำไม่ผิดจะติด ๒ วัน ลด ๑ วัน และในปีต่อ ๆ ไปก็จะได้รับการพระราชทานอภัยโทษ
ตามปกติอีกด้วยจนกว่าจะพ้นโทษ