งั้นเรียนถาม อ. หมอรุตนะครับ(คำถามที่ 1)... ว่ากรณีแพ้ยาตามกระทู้นี้ ความบกพร่องเกิดจากตรงไหน ตามประเด็นนี้มีอยู่ 3 เรื่องคือ 1) มาตรฐานวิชาชีพ, 2) ฝีมือหมอ, และ 3) ดวงของคนไข้...
ประเด็นคือมันต้องมีข้อบกพร่องแน่ๆ หากไม่บกพร่องแล้วเรื่องแบบนี้ต้องไม่เกิด แล้วหากเราไม่รู้ว่าบกพร่องตรงไหนอย่างไร เรื่องแบบนี้มันก็จะเกิดได้เรื่อยไม่รู้จักจบ... แค่อ้างว่าไม่มีเวลาดูแลให้ถ้วนทั่ว ที่เหลือก็ต้องลุ้นกันเอง...
หากหมอทุกคนทำตามมาตรฐานวิชาชีพแต่ยังมีเรื่องแบบนี้ แล้วกรณีเกิดเรื่องแบบนี้ปุ๊บ ไม่ว่าหมอเก่งหรือหมอฝีมือไม่ดี คนไข้ก็จะมีผลกรรมเหมือนกันหมด... ถ้าเป็นเช่นนี้ แสดงว่ามาตรฐานมีปัญหาครับ เพราะทำตามมาตรฐานแล้วก็ยังได้ผลลัพธ์คนไข้เจียนตาย...
อีกคำถามก็(คำถามที่ 2)คือหมอฝีมือดีกับหมอฝีมือไม่ดี ผลลัพธ์ตามกระทู้นี้จะเหมือนกันหรือไม่เล่าครับ...
แล้วคำถามที่ 3 คือทำยังไงไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้เล่าครับ...
ขอตอบพี่สมชายเท่าที่ทราบข้อมูลจากข่าวครับ...
๑.ไม่มีประวัติแพ้ยามาก่อน แต่เกิดการแพ้ยาขึ้นมา เป็นคราวเคราะห์ของคนไข้ครับ...
เหมือนตัวอย่าง"ตัวผม"ที่ยกมาไงครับ...
ไม่มีประวัติแพ้ยา ยาที่จ่ายเป็นยากิน(ตามมาตรฐานไม่ต้องทดสอบการแพ้ยาก่อน) แล้วแพ้ยารุนแรงขึ้นมา...
๒.เหมือนกันครับ หมอท่านไหนก็ตามถ้าหากซักประวัติตรวจร่างกายแล้วไม่ได้ประวัติแพ้ยา...
จ่ายยาตามมาตรฐานการรักษา ผลก็ไม่แตกต่างกันครับ...
๓.ตอบไม่ได้ครับ...
ทุกวันนี้ก่อนจ่ายยาผมก็ถามคนไข้เสมอว่าแพ้ยาหรือเปล่า...
จ่ายยารักษาตามมาตรฐานการรักษาโรค(ตามแนวทางการรักษาโรคของแต่ละราชวิทยาลัยฯ)...
ก็ยังคงเจอการแพ้ยามาเป็นระยะๆ ซึ่งผมก็จะให้การรักษาและอธิบายให้คนไข้ฟัง...
จดชื่อยาใส่บัตรแพ้ยาให้พกติดตัวเอาไว้...
ขอบคุณที่ อ.หมอรุต ตอบคำถามนะครับ...
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าในภาพรวมยอมรับไม่ได้ครับ สำหรับเรื่องที่ว่าผลลัพธ์มีคนไข้เจียนตาย แต่ปรากฎว่าทั้งระบบไม่มีข้อบกพร่องที่ใดทั้งสิ้น ดูเหมือนว่าทุกอย่างสมบูรณ์หมดทุกสิ้นทุกประการ... เพียงแต่คนไข้ถึงคราวเคราะห์เอง ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ต้องรับผิดชอบอะไรนอกจากเงินเพื่อมนุษยธรรมเท่านั้น...
ภาพรวมอีกเรื่องหนึ่งยอมรับไม่ได้ที่หมอบางคนบอกห้ามคนอื่นที่ไม่ใช่"ผู้รู้จริง"ทางการแพทย์วิจารณ์ผลลัพธ์ที่คนไข้ที่"ขาไป"เดินเข้าไปให้หมอรักษาอาการป่วย แต่"ขากลับ"ออกมาต้องนอนบนเตียงด้วยอาการหนักเจียนตาย... เพราะถ้าเรื่องแบบนี้สามารถเกิดกับคนทั่วไปใครก็ได้ ดังนั้นคนทั่วไปก็ต้องสามารถวิจารณ์ได้เนื่องจากตนเองอาจมีส่วนได้เสียฯ...
ส่วนเรื่องความ"รู้จริง"ทางการแพทย์นั้นบุคคลทั่วไปย่อมไม่สนใจ เพราะสิ่งที่ต้องการคือผลลัพธ์ให้หายเจ็บป่วยไข้... "หมอ"จะทำเช่นไรก็ได้ให้คนป่วยหายเจ็บไข้ด้วยความรู้เฉพาะด้านเฉพาะทางของตนเองซึ่ง"หมอ"ต้องแก้โจทย์ให้ได้ หากแก้โจทย์ได้นอกจากจะเป็นบุณคุณกับคนไข้และได้ยังบุญกุศลแก่ตนเองอีกด้วย, แต่ถ้าแก้ไม่ได้ต้องยอมรับคำวิจารณ์ด้วย เพราะ"หมอ"ไม่ได้เป็นชนชั้นพิเศษเหนือคำวิจารณ์...
คำตอบข้อ 1 ของ อ.หมอรุตฯ นายสมชายยอมรับไม่ได้ตามข้างบน, แต่เรื่องนี้คงหาคำตอบในกระทู้นี้ไม่ได้ ซึ่งนายสมชายก็จะปล่อยเรื่องนี้ไว้ หากไม่มีหมอบางคนมาชวนถกประเด็นอีกครับ...
คำตอบข้อ 2 ตรงนี้ก็ต้องขอเรียนว่าไม่เชื่อว่าหมอฝีมือดีกับหมอฝีมือไม่ดีจะได้ผลลัพธ์เท่ากัน คือเจียนตายและตาบอด อย่างน้อยตัว อ.หมอรุต ก็ไม่ได้เจียนตายและไม่ได้ตาบอดครับ(เช่นเลือกยาอันตรายมากน้อย, แพ้แล้วรีบแก้ไขทัน, ฯลฯ)...
คำตอบข้อ 3 ก็ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะหากป้องกันไม่ได้ ก็แปลว่าฝากเอาไว้กับดวง...
ต้องขออภัยหากอ่านแล้วรู้สึกไม่ดีครับ...