หมอลืมคีมไว้ในท้องบังอร 5 ปีหลังผ่าคว้านคีมออกต้องใส่แผ่นใยสังเคราะห์กันไส้ไหล ต้องกินยารักษาตัวตลอดชีวิต
ส่วนเสนาะผู้เป็นสามีแพ้ยาอย่างรุนแรงทำให้ตาแทบมืดบอด+ไตวายเรื้อรัง
เมื่อฟ้องกระทรวงสธ.ศาลชั้นต้นอนุญาตให้สู้คดีแบบคนอนาถาไม่ต้องวางค่าธรรมศาล-แต่แพ้คดี
เมื่อยื่นอุทธรณ์และขอสู้คดีแบบคนอนาถาอีก แต่ศาลชั้นต้น+อุทธรณ์ไม่อนุญาต
สั่งให้นำค่าธรรมเนียมไปวาง 74,840 บาท โดยให้เหตุผลว่า"แม้จะจนจริงแต่คดีไม่มีมูลจะชนะ"
หาเงินสู้คดีฟ้องหมอ
เรื่องราวความยุติธรรมที่หาได้ยากลำบากสำหรับคนจน แม้จะเป็นการใช้สิทธิ์ทางศาล
ศาลยุติธรรมซึ่งเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน ก็ยังเป็นเรื่องไม่มีสิทธิ์หรือไม่มีพื้นที่สำหรับคนจน
นายเสนาะ แสงโชติ ชายสายตาขุ่นมัว แทบจะเรียกได้ว่าเกือบตาบอด ปี 2550
นายเสนาะไปรักษาอาการปวดตึงที่มือ ขาและไหล่ ที่โรงพยาบาลพนัสนิคม
หมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้ออักเสบ เจาะเลือดและเอกซเรย์ ให้ยาแก้ปวดและแก้อักเสบไปกินต่อที่บ้าน
นายเสนาะทานยาได้ 7 วัน มีผื่นคันตามผิวหนัง ตามลำตัว เริ่มตาแฉะทั้งสองข้าง
ปากเริ่มพองเป็นแผล และมีไข้หนาวสั่นต้องนอนคลุมโปง
จึงไปฉีดยาแก้แพ้ที่สถานีอนามัยปรกฟ้า
แล้วไปพบหมอที่โรงพยาบาลพนัสนิคมเดิม
หมอวินิจฉัยว่าแพ้ยาธรรมดา สั่งให้ยาแก้แพ้ให้ไปทานต่อที่บ้านอีก ให้ยาหยอดตา แก้คัน 1 ขวด
แล้วให้กลับบ้านเหมือนเดิม โดยมิได้นัดให้กลับไปตรวจอีก
ซึ่งนายเสนาะกลับบ้านกินยาแก้แพ้ แต่ผื่นยังลามไปเรื่อยๆ แสบตาและตามัวลง
เจ็บปากกินอาหารไม่ได้ มีไข้หนาวสั่นต้องนอนคลุมโปง มองสิ่งของเห็นไม่ชัด
นางบังอรภริยาของนายเสนาะได้พาไปรักษาที่ รพ.สมิติเวชศรีราชา
หมดเงินไป 70,000 กว่าบาท ต้องกู้เงินมาใช้เขา
หมอวินิจฉัยว่ามีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง ที่ชื่อว่า สตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม จึงรับตัวไว้รักษาช่วยจนรอดชีวิต
แต่ก็ต้องเสียดวงตาไม่สามารถมองเห็นได้ชัด ไม่สามารถรักษาได้อย่างเดิม
ซึ่งปัจจุบันนายเสนาะมีร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สามารถประกอบอาชีพทำไร่เลี้ยงลูกเมียได้ดังเดิม
ตามัวมองไม่ชัดเคืองตา แสบตาต้องหยอดน้ำตาเทียม และมีปัญหาไตวายจากการแพ้ยา
มีโรคภัยจากสภาวะไตวายอีกมากมายต้องรักษาต่อเนื่อง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ต่อมา นายเสนาะได้ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุขต่อศาลจังหวัดนนทบุรี เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม อย่างคนอนาถา
ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้สู้คดีอย่างคนอนาถา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
แต่ต่อมาศาลพิพากษายกคำฟ้องนายเสนาะ ซึ่งนายเสนาะต้องการจะสู้คดีจนถึงที่สุด
โดยดำเนินการยื่นอุทธรณ์ต่อ แต่ครั้งนี้ศาลมีสั่งให้เอาเงินมาวางศาล 7 หมื่นกว่าบาท
เนื่องจากศาลว่าแม้จะจนจริง แต่คดีไม่มีมูลจะชนะ ซึ่งนายเสนาะต้องการสู้คดีให้ถึงที่สุดจนชั้นฎีกา
ยายขอแสดงความเสียใจกับ สามีภรรยา คู่นี้คร๊า
"เคราะห์ซ้ำ กรรมซัด วิบัติเป็น" จริงๆ
ประเด็นเรื่อง ของการรักษา แล้วเกิด "ข้อผิดพลาด" มันเกิดได้ทุกขั้นตอนคร๊า
เมื่อเกิดเรื่องแล้ว มีผู้เสียหาย กระบวนการ การเรียกร้อง ขอให้ชดใช้ความเสียหาย ก็เกิดขึ้น
มีการเจรจา ก่อนที่จะนำเรื่อง เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทางฝ่ายแพทย์เสนอ เยียวยา บางส่วน
เรื่อง จำนวนเงิน นี่แหละคร๊า ที่หาข้อสรุปไม่ได้
โรงพยาบาล ในชนบท แพทย์ ทำงานกันอย่างหนัก คร๊า อาจละเลยขั้นตอนบางอย่าง
และถ้าปฎิบัติตามกระบวนการรักษา ทางแพทย์ คนไข้รายสุดท้าย อาจจะได้พบแพทย์ ตอนสองยามคร๊า
ถ้าใคร ยังไม่เคยเห็น ก็ไปดูที่ ศิริราช หรือ จุฬา หรือ ราชวิถี ได้คร๊า
คนไข้มารอ บัตรคิว ตีสี่ตีห้า เพื่อรอพบหมอ กว่าจะผ่านการ "คัดแยก" ก็สิบโมงแล้วคร๊า
หมอหรือแพทย์ในชนบท คือนักเรียนที่เพิ่งจบใหม่ แล้วต้องทำงานใช้หนี้หลวงคร๊า
หมอก็เหมือนพวกเราล่ะคร๊า ตอนอายุ ยี่สิบสี่ ยี่สิบห้า ก็มีความตั้งใจเต็มเปี่ยม
แต่พอเกิดเหตุ พวกเขาจะทำอย่างไรดี เงินเดือนแค่หมื่นกว่าบาท เคยเรียนแต่ตำรา
และอาจารย์ หมอที่สอน ท่านก็สอนไปตามเคสที่เกิดขึ้น ชั่วโมงบินของเขา ยังน้อยคร๊า
แล้วยิ่งมีเรื่อง โดนฟ้อง ยายว่า "ขวัญ" เขากระเจิง แน่ คร๊า
เมื่อการเยียวยา ไม่ประสพผล ผู้เสียหาย จึงนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ยายชื่นชม "ศาล" คร๊า ที่รับคดีไว้ แบบอนาถา ไม่เก็บค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ผู้เสียหายยังยืนยัน จะขอสู้คดีต่อ
ประเด็นนี้ยายเห็นว่า ทำไม่ได้คร๊า หากยินยอม คดีก็คงเดินไปสู่ ศาลสูง อีก
มันไม่ใช่เรื่องรวย หรือจน คร๊า
ท้ายสุด ยายหวังว่า เรื่องการเยียวยา อาจจะถูกยกขึ้นมาพิจารณา กันใหม่ คร๊า