สิ่งที่ทำให้รพ.เอกชนกับรพ.รัฐเท่าที่นึกออกด้วยสมองอันรู้เกี่ยวกับระบบน้อยนิดนะครับ
ทรัพยากรบุคคลเกี่ยวกับนิสัยแต่ละบุคคล
เกี่ยวกับจำนวนงาน/คนไข้ต่อจำนวนเจ้าหน้าที่
เกี่ยวกับรายได้เมื่อเปรียบเทียบกับงานในรพ.เอกชน
งบประมาณรพ.รัฐอาจได้รับโดยเฉลี่ยคิดเป็นต่อหัวในประชากรต่อพื้นที่
สมมติว่าปีนี้ได้๒๐ล้าน ก็ต้องบริหารให้ได้ภายในปีงบประมาณ ไม่ว่าคนไข้มีมากน้อยแค่ไหน หากคนไข้มากก็ไม่สามารถขอเพิ่มได้...
ถ้าผมเข้าใจถูกตรงนี้แหละครับที่ทำให้มันต่างกัน
มาตราฐานที่คุณสมชายถามหามันก็คงตกหล่นไปตรงนี้
ขณะเดียวกันหากเป็นรพ.เอกชน ก็อาจใส่ใจมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย๑๐๐เปอร์เซนต์
หากต้องมีการตรวจสอบการแพ้คนไข้จะยินดีจ่ายเพิ่มไหม?
มีคนไข้ซักกี่คน ที่ทราบว่าตนเองแพ้ยาตรงไหน ผมเองเคยแพ้ยาตัวหนึ่งทุกวันนี้เวลาหมอถามก็บอกไม่ได้ถึงชื่อยารู้แต่ว่ายาแก้แพ้...
แล้วหมอจะรู้ไหม?
ปล.ก็ใช่ว่ารพ.เอกชนจะไม่พลาดนะครับเมื่อสองปีก่อนพ่อผม เส้นเลือดในสมองแตก ส่งรพ.ทันหมอเจาะระบายเพื่อลดความดันในสมอง...
ยื้อชีวิตท่านได้อยู่ประมาณ๖เดือน สุดท้ายก็ยื้อไม่ไหว ทั้งๆที่สู้เต็มที่ หมดไปเป้นล้าน
...ขณะที่พ่อยังไม่เสีย เอาผลเอ็กซ์เรย์ ไปให้หมออีกที่ดู หมอเค้าเทียบก่อนเจาะ กับหลังเจาะ
หมอคนนี้อ้อมแอ้มบอกว่า ถ้ามาหาเขาตั้งแต่ทีแรก คงอาการไม่หนักเท่านี้
แล้วก็บอกตรงๆว่า ย้ายมาอยู่กับเขาตอนนี้ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องมา
...ทั้งๆที่หาข้อมูลเรื่องหมอแล้ว งบประมาณพร้อมสู้ แต่ตัดสินใจพลาดไปนิดเดียว...ต้องเสียพ่อไปคนนึง