พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
พระแสงอัษฎาวุธ เป็นอาวุธของพระเป็นเจ้า (ตรี จักร ธนู) บ้างเป็นพระแสงอันเกี่ยวเนื่องทางประวัติศาสตร์ (พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง) บ้าง และอื่น ๆ อีกบ้าง
ปีพศ.๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช (เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ)ยกทัพไปปราบ สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาสที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน จึงทรงเดินทัพช้าๆเพื่อรอ ฟังผลการรบ ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้วจึงคิดจะกำจัด โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบหลังจากที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี
ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยารามนำความ เข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์ พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์
เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร(น้ำเต้าทอง) ทรงประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า " ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป " พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๑๒๗ ณ.เมืองแครง จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่าจะอยู่ข้างไทยหรือพม่า ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี
สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง จวนจะถึงหงสาวดีก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้า อังวะ และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาให้เดินทาง กลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำ สะโตงไปจนหมด แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย(แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก) ขณะนั้นพระมหาอุปราช(มังสามเกียด)ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำทรงประทับพระแสงปืนยาว ๙ คืบหรือ ๒ เมตร ๒๕ เซ็นติเมตร (แล้วทรงอธิฐานถ้าการ กู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก) ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป พระแสงปืนต้นนี้มีนามว่า พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา
พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฎต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็น พระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้
พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง
ในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๗ ทรงนำทัพจากเมืองแครง ข้ามแม่น้ำสะโตง เพื่อนำพาครัวสยามที่พม่ากวาดต้อนมาครั้งสงครามสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สิ้นพระชนม์บนหลังช้างกลับกรุงศรีอยุธยาด้วย.
ยุทธการที่แม่น้ำสะโตง
ต่างต่อสู้เป็นสามารถ สมเด็จพระนเรศวรได้โอกาสทรงพระแสงปืนนกสับถูกพระสุระกัมมา แม่ทัพหน้าของหงสาวดีตายอยู่บนคอช้าง เหล่าไพร่พลเมื่อเห็นแม่ทัพของตนตายต่างก็หวั่นวิตก พากันถอยทัพหนีกลับไปทูลพระมหาอุปราช แม่ทัพหลวงที่ยกติดตามมา ฝ่ายพระมหาอุปราชเมื่อทราบว่า สมเด็จพระนเรศวรยกทัพพ้นแผ่นดินพม่าแล้วก็ยกทัพกลับหงสาวดี.
อนึ่งเรื่องราวที่ กองทัพพระมหาอุปราช ติดตามสมเด็จพระนเรศวรนั้น ความในพงศาวดารพม่ากล่าวต่างไปว่า " พระมหาอุปราชตามทัพสมเด็จพระนเรศวรจนถึงกรุงศรีอยุธยา และได้สู้รบกันที่ทุ่งลุมพลี และว่า สมเด็จพระนเรศวรตีทัพพระมหาอุปราชแตกพ่ายไป ข้าพเจ้าเห็นว่า ความจริงเป็นอย่างที่พงศาวดารไทย ด้วยมีหลักฐานมั่นคง
อนึ่งพระแสงปืนที่สมเด็จพระนเรศวรยิ่งพระสุระกัมมาตาย พระแสงปืนกระบอกนั้น ได้รับขนานนามว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" ข้าพเจ้าบอกเจ้าแห้วกับเจ้าแกร่งว่า จะร่ายยาวหน่อย เพราะจะรีบเดินทางไปสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวร ครั้นเดินทัพกลับถึงอยุธยาแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ได้ทรงสถาปนาพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระราชาคณะ และทรงแต่งตั้งพระยาเกียรติ์พระยาพระรามเป็นขุนนางผู้ใหญ่ พระราชทานพานทองเป็นเครื่องยศ และพระราชทานที่อยู่อาศัย บริเวณวัดขมิ้นและวัดขุนแสน ใกล้กับวังจันทน์ พระราชตำหนัก, กรุงศรีอยุธยา.
ฝ่ายหงสาวดี ต่างเร่งระดมกำลัง เพื่อยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ( รวมแล้วหงสาวดียกทัพตีอยุธยาก่อนสมเด็จนเรศวรประกาศไม่ขึ้นต่อหงสาวดี ๓ ครั้ง)
ส่วนสมเด็จพระนเรศวรทรงตระหนักอยู่เสมอว่า "หงสาวดีจะต้องยกทัพมาเบียดเบียนอยุธยาแน่นอน จึงได้ทรงตระเตรียมเสบียงอาหารพร้อมสรรพาวุธยุทโธปกรณ์ ไพร่พล เพื่อต่อต้านทัพหงสาวดี สุดพระปรีชาสามารถ การณ์ทั้งปวงเป็นไปอย่างที่พระองค์ดำริ. พระเจ้าหงสาวดียกทัพตีกรุงศรีอยุธยาหลังสมเด็จพระนเรศวรประกาศตัดไมตรีกับหงสาวดีอีก ๔ ครั้ง
...เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี
พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ ยกทัพไปปราบ
สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาสที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน
จึงทรงเดินทัพช้า ๆ เพื่อรอฟังผลการรบ...ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา
แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ
แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้ว จึงคิดจะกำจัด
โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญ ไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบ
หลังจาก ... ที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี
ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยาราม นำความเข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์
พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ
สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง
นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน
แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์
เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว
สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคารน้ำเต้าทอง
ทรงประกาศ ... แก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า
ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป
พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม 2127 ณ เมืองแครง
จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่า จะอยู่ข้างไทยหรือพม่า
ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี
สมเด็จพระนเรศวร ... ทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง
จวนจะถึงหงสาวดี ก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้าอังวะ
และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี
สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า
การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ
จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมา
ให้เดินทางกลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ
สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำสะโตงไปจนหมด
แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย
แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก
ขณะนั้นพระมหาอุปราชมังสามเกียด ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า
แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ 400 เมตร
ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก
สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำ
ทรงประทับพระแสงปืนยาว 9 คืบหรือ 2 เมตร 25 เซ็นติเมตร
แล้วทรงอธิฐานว่า ถ้าการกู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก
ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป...
พระแสงปืนต้นนี้ ... มีนามว่า พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา
พร้อมด้วยพระมหาเถรคันฉ่องและพระยาเกียรติ พระยาราม และชาวมอญ
โดยเดินทัพผ่านหัวเมืองมอญแล้วเข้าด่านเจดีย์สามองค์มาจนถึงกรุงศรีอยุธยา
ทรงปูนบำเหน็จให้กับพระยามอญทั้งสอง
และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชอีกด้วย
สมเด็จพระนเรศวร ... ทรงราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2098
เป็นราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรี
ทรงมีพระพี่นางสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ
อิสรภาพที่ลุ่มน้ำสะโตง สมเด็จพระนรายเป็นเจ้าเสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิศณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงษากับพระเจ้าอางวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการศึกพระเจ้าหงษา...แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแครง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนคร--พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ
ปี ๒๑๒๗ หลังหงสาวดีผลัดแผ่นดินไม่นาน อังวะซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศราชของหงสาวดีเช่นเดียวกับอยุธยาก็แข็งเมือง กษัตริย์พระองค์ใหม่คือพระเจ้านันทบุเรงต้องทรงยกทัพไปปราบ พร้อมกันนั้นก็มีพระบัญชาให้ประเทศราชต่าง ๆ รวมถึงอยุธยายกทัพไปช่วยราชการศึก ครั้งนั้น พระนเรศวรทรงยกทัพไปแทนสมเด็จพระมหาธรรมราชา และทรงยั้งทัพไว้ที่เมืองแครง
ถึงตรงนี้ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย นั่นคือการ ประกาศอิสรภาพ ตัดความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับหงสาวดี ของพระนเรศวร
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า พงศาวดารไทยที่บันทึกขึ้นในช่วงเวลาที่ใกล้กับเหตุการณ์ที่สุด คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ ๑ ศตวรรษหลังจากเหตุการณ์ มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ แต่หลักฐานชั้นรองคือ คำให้การขุนหลวงหาวัด และ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งชำระขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลับกล่าวถึงการประกาศอิสรภาพครั้งนี้ หันไปดูหลักฐานฝั่งพม่าบ้าง มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า (Hmannan Mahayazawindawgyi) ก็มิได้ระบุถึงเหตุการณ์นี้เช่นกัน เพียงแต่ให้ข้อมูลว่าทัพอยุธยาซึ่งไปช่วยราชการศึกนั้น หาตามเสด็จไปช่วยทางกรุงอังวะไม่...ตรงมาทางกรุงหงษาวดี หลังจากนั้นก็ ตีกรุงหงษาวดี ด้วยซ้ำ
นี่คือ ช่องว่าง ของประวัติศาสตร์ เพราะหลักฐานของไทยกับพม่าบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ต่างกัน ไทยว่าพระนเรศวรทรงล่วงรู้ถึงอุบายของพระเจ้านันทบุเรงจึงทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ขณะที่ฝ่ายพม่าบันทึกว่าพระนเรศวรทรงตั้งใจยกไปตีหงสาวดีอยู่แล้ว
ทว่าสิ่งที่หลักฐานทุกชิ้นระบุตรงกันก็คือ หลังจากพระองค์เสด็จกลับจากยกทัพคราวนี้ อยุธยาก็ต้องรับศึกหงสาวดีติดต่อกันนานนับสิบปี
อย่างไรก็ตาม หากเราลองมาพิจารณาความหมายของคำว่า อิสรภาพ ยุคนั้นกันอีกที เราอาจจะมองประวัติศาสตร์ช่วงนี้ได้ชัดเจนขึ้น
จาก พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งเป็นพงศาวดารที่มีลักษณะเน้นกฤษฎาภินิหารสูง ผมพบความหมายของ อิสรภาพ ซึ่งต่างจาก อิสรภาพ ในความหมายที่เราเข้าใจกัน นั่นคือ การเป็นราชาธิราชเหนือราชาอื่น ปรากฏอยู่ในตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งพระเจ้านันทบุเรงทรงวางแผนจัดการพระนเรศวร ความว่า
(ให้) จับเอาตัวพระนเรศวรประหารชีวิตเสียให้จงได้ เมืองหงสาวดีจึงจะเป็นอิสรภาพไพศาลกว่าพระนครทั้งปวง
สำหรับผม ประโยคข้างต้นสะท้อนถึงโลกทัศน์เกี่ยวกับอิสรภาพของคนยุคนั้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าหงสาวดีต่างหากที่กำลังพยายามรักษา อิสรภาพ นั้นไว้
บ่ายวันหนึ่งในเดือนตุลาคม ๒๕๔๙, เมืองวอ สหภาพพม่า
ผมยืนอยู่ที่ลานเจดีย์โจงตู (Jondthu Zedi) เจดีย์แฝดกลางทุ่งนาซึ่งอยู่ห่างตัวเมืองวอออกมาทางตะวันออกราว ๔ กิโลเมตร ยืนพิจารณาพื้นที่ราบซึ่งเต็มไปด้วยนาข้าวที่กำลังออกรวงเหลืองอร่ามสุดลูกหูลูกตารอบ ๆ เจดีย์
หลายปีก่อน ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ และ ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล มาพบที่นี่ขณะสำรวจพื้นที่ปากน้ำสะโตงซึ่งพงศาวดารพม่ายุคพระเจ้าอลองพญาระบุว่าเป็นเส้นทางเดินทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา โดยระบุระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางระหว่างเมืองอย่างชัดเจนว่า ๑ วันจากหงสาวดีจะถึงเมืองโครง (Krun) ๒ วันจะถึงแม่น้ำสะโตง ทั้งยังพบว่าที่นี่เคยเป็นเขตอิทธิพลของมอญมาก่อนที่พม่าจะเข้ามาครอบครองกรุงหงสาวดี
อาจารย์สุเนตรอธิบายว่า เมือง วอ ในภาษาพม่า เดิมชื่อเมือง โจงตู ซึ่งก็คือเมือง โครง ในภาษามอญนั่นเอง ซึ่งฟังดูใกล้เคียงกับเมือง แครง หรือ แกรง ที่พงศาวดารไทยระบุว่าเป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระนเรศวรทรง ประกาศอิสรภาพ ระหว่างยกทัพมาช่วยราชการศึกพระเจ้านันทบุเรง
นอกจากชื่อเมืองแล้ว เมื่อคำนวณจากระยะทาง ดร. สุเนตรก็พบว่าที่นี่อยู่ห่างจากหงสาวดีด้วยการเดินเท้า ๑ วันตามที่ระบุในพงศาวดาร อีกทั้งบริเวณโดยรอบยังปรากฏร่องรอยเมืองโบราณ ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำเก่า ซากประติมากรรมโบราณ ฯลฯ ซึ่งแสดงว่าที่นี่น่าจะเคยเป็นหัวเมืองสำคัญมาก่อน
จากภาพถ่ายดาวเทียม จะแลเห็นว่าเจดีย์แฝดโจงตูอยู่ตรง กึ่งกลาง เส้นทางระหว่างหงสาวดีกับสะพานข้ามแม่น้ำสะโตงพอดี ปัจจุบันถือเป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวน หรือพระเจดีย์ไจ้โถ่ (Kyaikhto Zedi) ในเขตรัฐมอญ ซึ่งถ้าพิจารณาจากหลักภูมิศาสตร์ นี่ก็คือเส้นทางเดินทัพโบราณนั่นเอง เพราะเมืองโครงหรือเมืองวออยู่บนเส้นทางบังคับที่หงสาวดีต้องใช้ในการเดินทัพไปตีอยุธยา ด้วยถ้าใช้เส้นทางอื่น เช่น ออกจากหงสาวดีค่อนไปทางเหนือ ก็จะเจอหุบเขาพะโคโยมากั้น หรือถ้าออกจากหงสาวดีค่อนไปทางใต้ ก็จะเจอที่ราบลุ่มปากแม่น้ำสะโตงซึ่งมีสภาพเป็นโคลนกั้น
ลองต่อภาพประวัติศาสตร์ สมมุติเราเชื่อพงศาวดารไทยที่ว่าพระนเรศวรยั้งทัพอยู่เมืองแครง แล้วพระเจ้านันทบุเรงส่งพระยาเกียรติ พระยาราม ซึ่งวางแผนมาลวงให้พระองค์ยกทัพเข้าสู่กับดัก สองคนนี้ออกจากหงสาวดี ๑ วันก็ถึงเมืองแครง ทูลเปิดเผยเรื่องราวแล้ว พระนเรศวรก็ทรงประกาศอิสรภาพ จากนั้นถอยทัพอีก ๑ วันก็ถึงแม่น้ำสะโตง อาจารย์สุเนตรอธิบาย
ดังนั้นที่ใดที่หนึ่งรอบ ๆ ตัวผมขณะนี้ นอกจากจะเป็นที่พักทัพแล้ว ยังอาจเป็นพื้นที่ประกาศอิสรภาพด้วยก็เป็นได้--ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง
พระสงฆ์ซึ่งดูแลเจดีย์โจงตูเล่าให้ผมฟังว่า เจดีย์แฝดแห่งนี้มีอายุอย่างน้อย ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว (แน่นอนว่าช่วงหนึ่งร่วมสมัยกับยุคที่สมเด็จพระนเรศวรทำศึกกับหงสาวดี) ชาวบ้านเชื่อว่าในเจดีย์บรรจุพระพุทธรูปโบราณและอัญมณีมีค่าเอาไว้
จากเจดีย์โจงตู ผมนั่งรถไปตามถนนหมายเลข ๓ (เส้นทางสู่ภาคตะวันออกและภาคใต้ของพม่า) อีกราว ๒ ชั่วโมงก็ถึงสะพานข้ามแม่น้ำสะโตง (Sittong Thata) ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าวางกำลังดูแลอย่างเข้มงวด เนื่องด้วยฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเป็นพื้นที่รัฐมอญซึ่งบางแห่งมีการสู้รบระหว่างทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อย
ข้ามแม่น้ำแล้วไปตามถนนสายเดิมอีกราว ๒๐ นาที ผมก็พบหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมน้ำและเจดีย์องค์หนึ่งซ่อนตัวอยู่ในดงไม้ร่มครึ้ม ไกด์ท้องถิ่นบอกผมว่าที่นี่คือ หมู่บ้านสะโตง (Sittong Yaw) ซึ่งเป็นที่ตั้งของเจดีย์สะโตง (Sittong Pya) ที่ริมน้ำ สะพานทางรถไฟเก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเหลือแต่ตอม่อตั้งตระหง่านอยู่คู่กับสะพานคอนกรีตที่ก่อสร้างขึ้นใหม่อย่างเร่งรีบเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสู่พระธาตุอินทร์แขวน
ที่นี่เองที่ท่านมุ้ยและ ดร. สุเนตร สันนิษฐานว่าพระนเรศวรทรงถอยทัพมาจากเมืองแครงแล้วข้ามแม่น้ำสะโตงส่วนที่แคบที่สุดซึ่งกว้างราว ๖๒๐ เมตร เพื่อกลับสู่อยุธยา ด้วยเป็นเส้นทางเดินทัพเก่า รอบ ๆ มีร่องรอยเมืองโบราณที่บ่งบอกว่าเคยเป็นหัวเมืองสำคัญ และที่สำคัญคือ เป็นจุดที่แคบที่สุดของลำน้ำสะโตงก่อนไหลออกสู่อ่าวเมาะตะมะ
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่าว่า พระนเรศวรทรงให้บรรดาผู้คนที่กวาดต้อนมาข้ามน้ำไปก่อน แต่พระองค์กับทหารลำลองหมื่นห้าพันนั้นยังรออยู่ริมฝั่ง ตรัสให้ทหารเอาปืนหามแล่นและนกสับคาบชุดระดมยิงไป ทหารก็ยิงระดมไปเป็นอันมากมิได้ถึง จึงสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็ทรงพระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ ยิงไปต้องสุรกำมาตายตกจากคอช้าง รี้พลมอญทั้งนั้นเห็นอัศจรรย์ ด้วยแม่น้ำนั้นกว้างเหลือกำลังปืน
เหตุการณ์อันเป็นที่มาของ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง นี้ มีคำถามอยู่มากในหมู่ผู้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ด้วยข้อความดังกล่าวปรากฏในพงศาวดารฉบับนี้ฉบับเดียว หลักฐานชั้นรองอื่น ๆ มิได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด
จึงมีความคลุมเครืออยู่ไม่น้อยและน่าสงสัยว่าเป็นการต่อเติมขึ้นในสมัยหลังหรือไม่
อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาพระนเรศวรก็ทรงเดินทัพกลับสู่พิษณุโลกได้สำเร็จ
พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
" มีเหตุอันควรให้สงสัยในขณะที่ตามรอยสมเด็จพระนเรศวรว่า พระแสงปืนที่มีความยาว 9 คืบนั้น ยิงข้ามแม่น้ำสะโตงที่กว้างกว่า 600 เมตร ได้อย่างไร "
เมืองสะโตง อยู่ห่างจากกรุงหงสาวดี หรือ เมืองพะโคในปัจจุบัน กม. มีแม่น้ำสะโตงอันกว้างใหญ่ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ (เกือบๆ2เมตร) ยิงสุกรรมาตายบนคอช้าง ทั้งๆที่อยู่ห่างกันกว่า 600 เมตร อาจเป็นเพราะปืนมีความยาว เพียงพอ แต่เหตุใดจึงยิงได้แม่นยำเช่นนั้น หรือเป็นเพราะบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระนเรศวร ที่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตามการสืบรอยของกองถ่ายภาพยนตร์ โดยท่านมุ้ย ก็ได้สร้างปืนนกสับยาวเก้าคืบ ขึ้นมาทดสอบโดยกรมสรรพาวุธ ทหารบก พบว่าสามารถยิงได้จริงๆ 600 เมตร แต่ความแม่นยำ ยังมิสามารถทำได้