เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 19, 2024, 01:18:50 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 ... 15
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: +++ 10 เทพ สไนเปอร์ +++  (อ่าน 47999 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
PHAPHOOM
Full Member
***

คะแนน 86
ออฟไลน์

กระทู้: 188



« ตอบ #30 เมื่อ: มกราคม 31, 2012, 07:57:00 PM »

 ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้

พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง


        พระแสงอัษฎาวุธ เป็นอาวุธของพระเป็นเจ้า (ตรี จักร ธนู) บ้างเป็นพระแสงอันเกี่ยวเนื่องทางประวัติศาสตร์ (พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง) บ้าง และอื่น ๆ อีกบ้าง
        ปีพศ.๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช (เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ)ยกทัพไปปราบ สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาสที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน จึงทรงเดินทัพช้าๆเพื่อรอ ฟังผลการรบ ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้วจึงคิดจะกำจัด โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบหลังจากที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี
        ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยารามนำความ เข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์ พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์
        เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร(น้ำเต้าทอง) ทรงประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า " ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป " พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๑๒๗ ณ.เมืองแครง จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่าจะอยู่ข้างไทยหรือพม่า ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี


        สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง จวนจะถึงหงสาวดีก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้า อังวะ และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาให้เดินทาง กลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำ สะโตงไปจนหมด แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย(แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก) ขณะนั้นพระมหาอุปราช(มังสามเกียด)ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำทรงประทับพระแสงปืนยาว ๙ คืบหรือ ๒ เมตร ๒๕ เซ็นติเมตร (แล้วทรงอธิฐานถ้าการ กู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก) ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป พระแสงปืนต้นนี้มีนามว่า “ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ” หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา


        พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฎต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็น พระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้
พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง
            ในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๗ ทรงนำทัพจากเมืองแครง ข้ามแม่น้ำสะโตง เพื่อนำพาครัวสยามที่พม่ากวาดต้อนมาครั้งสงครามสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สิ้นพระชนม์บนหลังช้างกลับกรุงศรีอยุธยาด้วย.
ยุทธการที่แม่น้ำสะโตง


            ต่างต่อสู้เป็นสามารถ สมเด็จพระนเรศวรได้โอกาสทรงพระแสงปืนนกสับถูกพระสุระกัมมา แม่ทัพหน้าของหงสาวดีตายอยู่บนคอช้าง เหล่าไพร่พลเมื่อเห็นแม่ทัพของตนตายต่างก็หวั่นวิตก พากันถอยทัพหนีกลับไปทูลพระมหาอุปราช แม่ทัพหลวงที่ยกติดตามมา ฝ่ายพระมหาอุปราชเมื่อทราบว่า สมเด็จพระนเรศวรยกทัพพ้นแผ่นดินพม่าแล้วก็ยกทัพกลับหงสาวดี.
      อนึ่งเรื่องราวที่ กองทัพพระมหาอุปราช ติดตามสมเด็จพระนเรศวรนั้น ความในพงศาวดารพม่ากล่าวต่างไปว่า " พระมหาอุปราชตามทัพสมเด็จพระนเรศวรจนถึงกรุงศรีอยุธยา และได้สู้รบกันที่ทุ่งลุมพลี และว่า สมเด็จพระนเรศวรตีทัพพระมหาอุปราชแตกพ่ายไป ข้าพเจ้าเห็นว่า ความจริงเป็นอย่างที่พงศาวดารไทย ด้วยมีหลักฐานมั่นคง


        อนึ่งพระแสงปืนที่สมเด็จพระนเรศวรยิ่งพระสุระกัมมาตาย พระแสงปืนกระบอกนั้น ได้รับขนานนามว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" ข้าพเจ้าบอกเจ้าแห้วกับเจ้าแกร่งว่า จะร่ายยาวหน่อย เพราะจะรีบเดินทางไปสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวร ครั้นเดินทัพกลับถึงอยุธยาแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ได้ทรงสถาปนาพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระราชาคณะ และทรงแต่งตั้งพระยาเกียรติ์พระยาพระรามเป็นขุนนางผู้ใหญ่ พระราชทานพานทองเป็นเครื่องยศ และพระราชทานที่อยู่อาศัย บริเวณวัดขมิ้นและวัดขุนแสน ใกล้กับวังจันทน์ พระราชตำหนัก, กรุงศรีอยุธยา.
ฝ่ายหงสาวดี ต่างเร่งระดมกำลัง เพื่อยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ( รวมแล้วหงสาวดียกทัพตีอยุธยาก่อนสมเด็จนเรศวรประกาศไม่ขึ้นต่อหงสาวดี ๓ ครั้ง)
      ส่วนสมเด็จพระนเรศวรทรงตระหนักอยู่เสมอว่า "หงสาวดีจะต้องยกทัพมาเบียดเบียนอยุธยาแน่นอน จึงได้ทรงตระเตรียมเสบียงอาหารพร้อมสรรพาวุธยุทโธปกรณ์ ไพร่พล เพื่อต่อต้านทัพหงสาวดี สุดพระปรีชาสามารถ การณ์ทั้งปวงเป็นไปอย่างที่พระองค์ดำริ. พระเจ้าหงสาวดียกทัพตีกรุงศรีอยุธยาหลังสมเด็จพระนเรศวรประกาศตัดไมตรีกับหงสาวดีอีก ๔ ครั้ง
...เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี
พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ ยกทัพไปปราบ
สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาสที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน
จึงทรงเดินทัพช้า ๆ เพื่อรอฟังผลการรบ...ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา

แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ
แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้ว   จึงคิดจะกำจัด
โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญ  ไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบ

หลังจาก ... ที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี
ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยาราม  นำความเข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์
พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ

สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง
นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน
แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์
เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว
สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคารน้ำเต้าทอง

ทรงประกาศ ... แก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า
ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป

พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม 2127  ณ เมืองแครง
จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่า  จะอยู่ข้างไทยหรือพม่า
ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี

สมเด็จพระนเรศวร ... ทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง
จวนจะถึงหงสาวดี  ก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้าอังวะ
และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี

สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า
การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ
จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมา
ให้เดินทางกลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ

สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำสะโตงไปจนหมด
แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย 
แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก


ขณะนั้นพระมหาอุปราชมังสามเกียด ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า
แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ 400 เมตร
ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก

สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำ
ทรงประทับพระแสงปืนยาว 9 คืบหรือ 2 เมตร 25 เซ็นติเมตร
แล้วทรงอธิฐานว่า  ถ้าการกู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก
ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป...




พระแสงปืนต้นนี้ ... มีนามว่า พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา
พร้อมด้วยพระมหาเถรคันฉ่องและพระยาเกียรติ พระยาราม และชาวมอญ
โดยเดินทัพผ่านหัวเมืองมอญแล้วเข้าด่านเจดีย์สามองค์มาจนถึงกรุงศรีอยุธยา
ทรงปูนบำเหน็จให้กับพระยามอญทั้งสอง
และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชอีกด้วย

สมเด็จพระนเรศวร ... ทรงราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2098
เป็นราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรี
ทรงมีพระพี่นางสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ


อิสรภาพที่ลุ่มน้ำสะโตง

“สมเด็จพระนรายเป็นเจ้าเสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิศณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงษากับพระเจ้าอางวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการศึกพระเจ้าหงษา...แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแครง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนคร”--พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ

ปี ๒๑๒๗ หลังหงสาวดีผลัดแผ่นดินไม่นาน อังวะซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศราชของหงสาวดีเช่นเดียวกับอยุธยาก็แข็งเมือง กษัตริย์พระองค์ใหม่คือพระเจ้านันทบุเรงต้องทรงยกทัพไปปราบ พร้อมกันนั้นก็มีพระบัญชาให้ประเทศราชต่าง ๆ รวมถึงอยุธยายกทัพไปช่วยราชการศึก ครั้งนั้น พระนเรศวรทรงยกทัพไปแทนสมเด็จพระมหาธรรมราชา และทรงยั้งทัพไว้ที่เมืองแครง

ถึงตรงนี้ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย นั่นคือการ “ประกาศอิสรภาพ” ตัดความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับหงสาวดี ของพระนเรศวร

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า พงศาวดารไทยที่บันทึกขึ้นในช่วงเวลาที่ใกล้กับเหตุการณ์ที่สุด คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ ๑ ศตวรรษหลังจากเหตุการณ์ มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ แต่หลักฐานชั้นรองคือ คำให้การขุนหลวงหาวัด และ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งชำระขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลับกล่าวถึงการประกาศอิสรภาพครั้งนี้ หันไปดูหลักฐานฝั่งพม่าบ้าง มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า (Hmannan Mahayazawindawgyi) ก็มิได้ระบุถึงเหตุการณ์นี้เช่นกัน เพียงแต่ให้ข้อมูลว่าทัพอยุธยาซึ่งไปช่วยราชการศึกนั้น “หาตามเสด็จไปช่วยทางกรุงอังวะไม่...ตรงมาทางกรุงหงษาวดี” หลังจากนั้นก็ “ตีกรุงหงษาวดี” ด้วยซ้ำ

นี่คือ “ช่องว่าง” ของประวัติศาสตร์ เพราะหลักฐานของไทยกับพม่าบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ต่างกัน ไทยว่าพระนเรศวรทรงล่วงรู้ถึงอุบายของพระเจ้านันทบุเรงจึงทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ขณะที่ฝ่ายพม่าบันทึกว่าพระนเรศวรทรงตั้งใจยกไปตีหงสาวดีอยู่แล้ว

ทว่าสิ่งที่หลักฐานทุกชิ้นระบุตรงกันก็คือ หลังจากพระองค์เสด็จกลับจากยกทัพคราวนี้ อยุธยาก็ต้องรับศึกหงสาวดีติดต่อกันนานนับสิบปี

อย่างไรก็ตาม หากเราลองมาพิจารณาความหมายของคำว่า “อิสรภาพ” ยุคนั้นกันอีกที เราอาจจะมองประวัติศาสตร์ช่วงนี้ได้ชัดเจนขึ้น

จาก พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งเป็นพงศาวดารที่มีลักษณะเน้นกฤษฎาภินิหารสูง ผมพบความหมายของ “อิสรภาพ” ซึ่งต่างจาก “อิสรภาพ” ในความหมายที่เราเข้าใจกัน นั่นคือ “การเป็นราชาธิราชเหนือราชาอื่น” ปรากฏอยู่ในตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งพระเจ้านันทบุเรงทรงวางแผนจัดการพระนเรศวร ความว่า

“(ให้) จับเอาตัวพระนเรศวรประหารชีวิตเสียให้จงได้ เมืองหงสาวดีจึงจะเป็นอิสรภาพไพศาลกว่าพระนครทั้งปวง”

สำหรับผม ประโยคข้างต้นสะท้อนถึงโลกทัศน์เกี่ยวกับอิสรภาพของคนยุคนั้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าหงสาวดีต่างหากที่กำลังพยายามรักษา “อิสรภาพ” นั้นไว้

บ่ายวันหนึ่งในเดือนตุลาคม ๒๕๔๙, เมืองวอ สหภาพพม่า

ผมยืนอยู่ที่ลานเจดีย์โจงตู (Jondthu Zedi) เจดีย์แฝดกลางทุ่งนาซึ่งอยู่ห่างตัวเมืองวอออกมาทางตะวันออกราว ๔ กิโลเมตร ยืนพิจารณาพื้นที่ราบซึ่งเต็มไปด้วยนาข้าวที่กำลังออกรวงเหลืองอร่ามสุดลูกหูลูกตารอบ ๆ เจดีย์

หลายปีก่อน ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ และ ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล มาพบที่นี่ขณะสำรวจพื้นที่ปากน้ำสะโตงซึ่งพงศาวดารพม่ายุคพระเจ้าอลองพญาระบุว่าเป็นเส้นทางเดินทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา โดยระบุระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางระหว่างเมืองอย่างชัดเจนว่า ๑ วันจากหงสาวดีจะถึงเมืองโครง (Krun) ๒ วันจะถึงแม่น้ำสะโตง ทั้งยังพบว่าที่นี่เคยเป็นเขตอิทธิพลของมอญมาก่อนที่พม่าจะเข้ามาครอบครองกรุงหงสาวดี

อาจารย์สุเนตรอธิบายว่า เมือง “วอ” ในภาษาพม่า เดิมชื่อเมือง “โจงตู” ซึ่งก็คือเมือง “โครง” ในภาษามอญนั่นเอง ซึ่งฟังดูใกล้เคียงกับเมือง “แครง” หรือ “แกรง” ที่พงศาวดารไทยระบุว่าเป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระนเรศวรทรง “ประกาศอิสรภาพ” ระหว่างยกทัพมาช่วยราชการศึกพระเจ้านันทบุเรง

นอกจากชื่อเมืองแล้ว เมื่อคำนวณจากระยะทาง ดร. สุเนตรก็พบว่าที่นี่อยู่ห่างจากหงสาวดีด้วยการเดินเท้า ๑ วันตามที่ระบุในพงศาวดาร อีกทั้งบริเวณโดยรอบยังปรากฏร่องรอยเมืองโบราณ ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำเก่า ซากประติมากรรมโบราณ ฯลฯ ซึ่งแสดงว่าที่นี่น่าจะเคยเป็นหัวเมืองสำคัญมาก่อน

จากภาพถ่ายดาวเทียม จะแลเห็นว่าเจดีย์แฝดโจงตูอยู่ตรง “กึ่งกลาง” เส้นทางระหว่างหงสาวดีกับสะพานข้ามแม่น้ำสะโตงพอดี ปัจจุบันถือเป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวน หรือพระเจดีย์ไจ้โถ่ (Kyaikhto Zedi) ในเขตรัฐมอญ ซึ่งถ้าพิจารณาจากหลักภูมิศาสตร์ นี่ก็คือเส้นทางเดินทัพโบราณนั่นเอง เพราะเมืองโครงหรือเมืองวออยู่บนเส้นทางบังคับที่หงสาวดีต้องใช้ในการเดินทัพไปตีอยุธยา ด้วยถ้าใช้เส้นทางอื่น เช่น ออกจากหงสาวดีค่อนไปทางเหนือ ก็จะเจอหุบเขาพะโคโยมากั้น หรือถ้าออกจากหงสาวดีค่อนไปทางใต้ ก็จะเจอที่ราบลุ่มปากแม่น้ำสะโตงซึ่งมีสภาพเป็นโคลนกั้น

“ลองต่อภาพประวัติศาสตร์ สมมุติเราเชื่อพงศาวดารไทยที่ว่าพระนเรศวรยั้งทัพอยู่เมืองแครง แล้วพระเจ้านันทบุเรงส่งพระยาเกียรติ พระยาราม ซึ่งวางแผนมาลวงให้พระองค์ยกทัพเข้าสู่กับดัก สองคนนี้ออกจากหงสาวดี ๑ วันก็ถึงเมืองแครง ทูลเปิดเผยเรื่องราวแล้ว พระนเรศวรก็ทรงประกาศอิสรภาพ จากนั้นถอยทัพอีก ๑ วันก็ถึงแม่น้ำสะโตง” อาจารย์สุเนตรอธิบาย

ดังนั้นที่ใดที่หนึ่งรอบ ๆ ตัวผมขณะนี้ นอกจากจะเป็นที่พักทัพแล้ว ยังอาจเป็นพื้นที่ประกาศอิสรภาพด้วยก็เป็นได้--ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง

พระสงฆ์ซึ่งดูแลเจดีย์โจงตูเล่าให้ผมฟังว่า เจดีย์แฝดแห่งนี้มีอายุอย่างน้อย ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว (แน่นอนว่าช่วงหนึ่งร่วมสมัยกับยุคที่สมเด็จพระนเรศวรทำศึกกับหงสาวดี) ชาวบ้านเชื่อว่าในเจดีย์บรรจุพระพุทธรูปโบราณและอัญมณีมีค่าเอาไว้

จากเจดีย์โจงตู ผมนั่งรถไปตามถนนหมายเลข ๓ (เส้นทางสู่ภาคตะวันออกและภาคใต้ของพม่า) อีกราว ๒ ชั่วโมงก็ถึงสะพานข้ามแม่น้ำสะโตง (Sittong Thata) ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าวางกำลังดูแลอย่างเข้มงวด เนื่องด้วยฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเป็นพื้นที่รัฐมอญซึ่งบางแห่งมีการสู้รบระหว่างทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อย

ข้ามแม่น้ำแล้วไปตามถนนสายเดิมอีกราว ๒๐ นาที ผมก็พบหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมน้ำและเจดีย์องค์หนึ่งซ่อนตัวอยู่ในดงไม้ร่มครึ้ม ไกด์ท้องถิ่นบอกผมว่าที่นี่คือ หมู่บ้านสะโตง (Sittong Yaw) ซึ่งเป็นที่ตั้งของเจดีย์สะโตง (Sittong Pya) ที่ริมน้ำ สะพานทางรถไฟเก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเหลือแต่ตอม่อตั้งตระหง่านอยู่คู่กับสะพานคอนกรีตที่ก่อสร้างขึ้นใหม่อย่างเร่งรีบเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสู่พระธาตุอินทร์แขวน

ที่นี่เองที่ท่านมุ้ยและ ดร. สุเนตร สันนิษฐานว่าพระนเรศวรทรงถอยทัพมาจากเมืองแครงแล้วข้ามแม่น้ำสะโตงส่วนที่แคบที่สุดซึ่งกว้างราว ๖๒๐ เมตร เพื่อกลับสู่อยุธยา ด้วยเป็นเส้นทางเดินทัพเก่า รอบ ๆ มีร่องรอยเมืองโบราณที่บ่งบอกว่าเคยเป็นหัวเมืองสำคัญ และที่สำคัญคือ เป็นจุดที่แคบที่สุดของลำน้ำสะโตงก่อนไหลออกสู่อ่าวเมาะตะมะ

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่าว่า พระนเรศวรทรงให้บรรดาผู้คนที่กวาดต้อนมาข้ามน้ำไปก่อน “แต่พระองค์กับทหารลำลองหมื่นห้าพันนั้นยังรออยู่ริมฝั่ง ตรัสให้ทหารเอาปืนหามแล่นและนกสับคาบชุดระดมยิงไป ทหารก็ยิงระดมไปเป็นอันมากมิได้ถึง จึงสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็ทรงพระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ ยิงไปต้องสุรกำมาตายตกจากคอช้าง รี้พลมอญทั้งนั้นเห็นอัศจรรย์ ด้วยแม่น้ำนั้นกว้างเหลือกำลังปืน”

เหตุการณ์อันเป็นที่มาของ “พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง” นี้ มีคำถามอยู่มากในหมู่ผู้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ด้วยข้อความดังกล่าวปรากฏในพงศาวดารฉบับนี้ฉบับเดียว หลักฐานชั้นรองอื่น ๆ มิได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด

จึงมีความคลุมเครืออยู่ไม่น้อยและน่าสงสัยว่าเป็นการต่อเติมขึ้นในสมัยหลังหรือไม่

อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาพระนเรศวรก็ทรงเดินทัพกลับสู่พิษณุโลกได้สำเร็จ


พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
" มีเหตุอันควรให้สงสัยในขณะที่ตามรอยสมเด็จพระนเรศวรว่า พระแสงปืนที่มีความยาว  9 คืบนั้น ยิงข้ามแม่น้ำสะโตงที่กว้างกว่า  600 เมตร ได้อย่างไร "

        เมืองสะโตง อยู่ห่างจากกรุงหงสาวดี หรือ เมืองพะโคในปัจจุบัน       กม.  มีแม่น้ำสะโตงอันกว้างใหญ่    เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ (เกือบๆ2เมตร) ยิงสุกรรมาตายบนคอช้าง  ทั้งๆที่อยู่ห่างกันกว่า 600 เมตร  อาจเป็นเพราะปืนมีความยาว  เพียงพอ แต่เหตุใดจึงยิงได้แม่นยำเช่นนั้น  หรือเป็นเพราะบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระนเรศวร  ที่สามารถทำได้   อย่างไรก็ตามการสืบรอยของกองถ่ายภาพยนตร์ โดยท่านมุ้ย  ก็ได้สร้างปืนนกสับยาวเก้าคืบ  ขึ้นมาทดสอบโดยกรมสรรพาวุธ ทหารบก พบว่าสามารถยิงได้จริงๆ 600 เมตร แต่ความแม่นยำ ยังมิสามารถทำได้












บันทึกการเข้า

*** ดูถูกคนอื่น เท่ากับดูถูกตนเอง ***
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #31 เมื่อ: มกราคม 31, 2012, 09:54:29 PM »

กำลังงงว่า ร็อบ เฟอร์ลอง ติดอันดับ แต่ทำไม เคร็ก แฮริสันไม่ติดน่ะครับ

คนนี้เป็นคนทำลายสถิติของเฟอร์ลอง โดยใช้ปืน L115A3 ใช้กระสุน .338 Lapua Magnum LockBase B408
น่าจะจัดสถิติขึ้นก่อน หรือข้อมูลยังไม่อัพเดตนะ ขอบคุณมากครับ

ภาพ L115A1 (Accuracy International AWM - .338 Laupa Magnum )
 ปืนยาวประจำการ ขนาด .338 ลาปัวแม็กนั่ม กับกล้อง ชมิดม์แอนด์แบนเดอร์ Schmidt & Bender 5-25x56 PM II LP




สถิติการยิงระยะไกลล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อ สต. เครก แฮริสสัน Craig Harrison กรมวังจากกองทหารม้ารักษาพระองค์ (Household cavalry) โดยใช้ปืนยาว L115A3 ยิงพลปืนกล 2 นาย ที่เข้าโจมตีหน่วยของเขาที่ระยะยิง 2760 หลา ( 1.54 ไมล์, 2.47 กิโลเมตร หรือ 2470 เมตร)
 (กระสุน .338LM (8.59 มม.) ต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 วินาที จากปืนไปยังเป้าหมาย) เมื่อ xx เดือน พย. 2552 ที่ผ่านมา
 
 เหตุเกิดขึ้นเมื่อหน่วยของเขาออกลาดตระเวณบริเวณพื้นที่ Musa Qala ในตอนใต้ของอากัฟนิสถาน และถูกซุ่มโจมตีจากกองกำลังติดอาวุธของตอลีบันห์
 หน่วยลาดตระเวณซึ่งประกอบด้วยกองกำลังท้องถิ่น ถูกซุ่มโจมตีด้วยปืนกลหนัก,
 สต. เครก แฮริสสัน อยู่บนรถลาดตระเวณแจ็กกัล 4x4 ที่อยู่ท้ายขบวนก็เริ่มตรวจการณ์ประเมินสถานการณ์ทันที
 ผม (เครก แฮริสสัน) เริ่้มตรวจหาหน่วยที่เข้าโจมตีเราจากกล้องติดปืน L115A3 ที่พาดอยู่กับราวปืน
 พลทหาร คลิฟ โอ'ฟารเรล  (Trooper Cliff O’Farrell) - พลขับรถ ทำหน้าที่ชี้ และ บอกข้อมูลเป้าและสภาพแวดล้อมให้ผม เพราะเป้าหมายอยู่ไกลนอกระยะยิงมาก
 (L115A1 มีระยะยิงมาตรฐาน 1640 หลา ซึ่งตามตำราแล้ว ทำได้แค่ยิงรบกวนเท่านั้นเอง)
 
 "เราตรวจพบฝ่ายซุ่มโจมตี 2 นาย คนนึงใส่หมวกคลุมชุดดำ และ อีกคนใส่ผ้าคลุมสีเขียว วิ่งผ่านหน้าบริเวณสนามพร้อมกับปืนกล PKM จัดจุดยิง แล้วเริ่มยิงกดดันใส่รถของ ผบ.หน่วย
 สภาพแวดล้อมขณะนั้นดีมาก ท้องฟ้าโปร่งใส แทบไม่มีลม, ทัศนวิสัยชัดเจน ผมลงจากรถ วางขาตั้งปืนพาดบนกำแพงดินที่อยู่ใกล้ๆ เล็งไปที่พลยิงที่กำลังยิงปืนกล"
 
 สต. เครก แฮริสสัน ยิงไป 3 นัด - นัดแรกสำหรับ พลยิง (ตาย),  นัดที่สอง สำหรับ พลช่วยยิง (ตาย) และนัดสุดท้าย นัดที่สาม ยิงทำลาย ปืนกล PKM กระบอกนั้น
 
 หลังจากสลายการซุ่มโจมตี เมื่อทำการพิสูจน์ทราบ พบว่า เป้าหมายแรกถูกยิงที่ท้องตายทันที ,
 เป้าหมายที่สอง กำลังพยายามจะถอนตัวออกจากจุดยิง ถูกยิงที่ข้างลำตัว ตายทันที และนัดสุดท้ายสำหรับปืนกล PKM ถูกยิงทำลายหมดสภาพด้วยเช่นกัน
 
 เมื่อทำการวัดด้วยเครื่อง GPS วัดระยะยิงได้ที่  8,120 ฟุต (2760 หลา หรือ 1.54 ไมล์, 2.47 กิโลเมตร หรือ 2470 เมตร)
 ทำลายสถิติเดิมที่เคยทำไว้จาก พลแม่นปืนชาวคานาดา สิบตรี ร้อบ เฟอร์ลอง LC. Rob Furlong ที่ทำไว้ที่ 7,972 ฟุต (2650 หลา, 1.43 ไมล์ หรือ 2280 เมตร)
 ด้วยปืนแม็กมิลแลน McMillan TAC-50 ขนาด .50 หรือ 12.7 มม. เมื่อเดือนมีนาคม 2002
 
 เมื่อถามว่าทำได้อย่างไร สต. เครกตอบว่า "คงเป็นโชคร้ายของฝ่ายตอลีบันห์ เพราะสภาพแวดล้อมดีมาก เราเห็นพวกเค้าได้ชัดเจน"
 ( 3 นัด = 2 คน + 1 ปืนกลเบา นี่คงโชดช่วยมั้งเนี่ย)
 
 แต่การเป็นพลแม่นปืนก็ใช่ว่าจะปลอดภัย เมื่อต่อมา รถลาดตระวณของเค้าถูกยิง 36 ครั้ง จากการซุ่มโจมตี
 และ สต.เครก ถูกยิงที่ศรีษะแต่รอดมาได้ เพราะกระสุนทะลุหมวกเคฟล่าร์ ที่บริเวณ หลังใบหูขวาแต่แฉลบจากกระโหลกศรีษะออกไปด้านบน อีกสองนัดทะลุตัดสายโยงบ่าที่หน้าอก
 และ ต่อมาแขนหักทั้งสองข้างจากการโดนระเบิดที่ถูกฝังไว้ข้างทาง
 
 "มันไม่ได้มีผลกระทบกับการเป็นพลแม่นยิงของผม" เค้าบอกสั้นๆ ก่อนที่จะกลับไปทำงาน หลังจากที่เข้าเฝือกอยู่ 6 สัปดาห์
 
 ที่มา:  http://fws.cc/linkout.php?http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/afghanistan/article7113916.ece


อ่านใน อวป.ปีก่อนบอกว่าทั้งหมด9นัด ยังไงแน่ครับ3นัดหรือ9นัดชักงง
บันทึกการเข้า
พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #32 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:35:01 AM »

ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้

พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง


        พระแสงอัษฎาวุธ เป็นอาวุธของพระเป็นเจ้า (ตรี จักร ธนู) บ้างเป็นพระแสงอันเกี่ยวเนื่องทางประวัติศาสตร์ (พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง) บ้าง และอื่น ๆ อีกบ้าง
        ปีพศ.๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช (เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ)ยกทัพไปปราบ สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาสที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน จึงทรงเดินทัพช้าๆเพื่อรอ ฟังผลการรบ ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้วจึงคิดจะกำจัด โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบหลังจากที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี
        ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยารามนำความ เข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์ พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์
        เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร(น้ำเต้าทอง) ทรงประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า " ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป " พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๑๒๗ ณ.เมืองแครง จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่าจะอยู่ข้างไทยหรือพม่า ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี


        สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง จวนจะถึงหงสาวดีก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้า อังวะ และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาให้เดินทาง กลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำ สะโตงไปจนหมด แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย(แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก) ขณะนั้นพระมหาอุปราช(มังสามเกียด)ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำทรงประทับพระแสงปืนยาว ๙ คืบหรือ ๒ เมตร ๒๕ เซ็นติเมตร (แล้วทรงอธิฐานถ้าการ กู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก) ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป พระแสงปืนต้นนี้มีนามว่า “ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ” หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา


        พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฎต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็น พระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้
พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง
            ในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๗ ทรงนำทัพจากเมืองแครง ข้ามแม่น้ำสะโตง เพื่อนำพาครัวสยามที่พม่ากวาดต้อนมาครั้งสงครามสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สิ้นพระชนม์บนหลังช้างกลับกรุงศรีอยุธยาด้วย.
ยุทธการที่แม่น้ำสะโตง


            ต่างต่อสู้เป็นสามารถ สมเด็จพระนเรศวรได้โอกาสทรงพระแสงปืนนกสับถูกพระสุระกัมมา แม่ทัพหน้าของหงสาวดีตายอยู่บนคอช้าง เหล่าไพร่พลเมื่อเห็นแม่ทัพของตนตายต่างก็หวั่นวิตก พากันถอยทัพหนีกลับไปทูลพระมหาอุปราช แม่ทัพหลวงที่ยกติดตามมา ฝ่ายพระมหาอุปราชเมื่อทราบว่า สมเด็จพระนเรศวรยกทัพพ้นแผ่นดินพม่าแล้วก็ยกทัพกลับหงสาวดี.
      อนึ่งเรื่องราวที่ กองทัพพระมหาอุปราช ติดตามสมเด็จพระนเรศวรนั้น ความในพงศาวดารพม่ากล่าวต่างไปว่า " พระมหาอุปราชตามทัพสมเด็จพระนเรศวรจนถึงกรุงศรีอยุธยา และได้สู้รบกันที่ทุ่งลุมพลี และว่า สมเด็จพระนเรศวรตีทัพพระมหาอุปราชแตกพ่ายไป ข้าพเจ้าเห็นว่า ความจริงเป็นอย่างที่พงศาวดารไทย ด้วยมีหลักฐานมั่นคง


        อนึ่งพระแสงปืนที่สมเด็จพระนเรศวรยิ่งพระสุระกัมมาตาย พระแสงปืนกระบอกนั้น ได้รับขนานนามว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" ข้าพเจ้าบอกเจ้าแห้วกับเจ้าแกร่งว่า จะร่ายยาวหน่อย เพราะจะรีบเดินทางไปสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวร ครั้นเดินทัพกลับถึงอยุธยาแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ได้ทรงสถาปนาพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระราชาคณะ และทรงแต่งตั้งพระยาเกียรติ์พระยาพระรามเป็นขุนนางผู้ใหญ่ พระราชทานพานทองเป็นเครื่องยศ และพระราชทานที่อยู่อาศัย บริเวณวัดขมิ้นและวัดขุนแสน ใกล้กับวังจันทน์ พระราชตำหนัก, กรุงศรีอยุธยา.
ฝ่ายหงสาวดี ต่างเร่งระดมกำลัง เพื่อยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ( รวมแล้วหงสาวดียกทัพตีอยุธยาก่อนสมเด็จนเรศวรประกาศไม่ขึ้นต่อหงสาวดี ๓ ครั้ง)
      ส่วนสมเด็จพระนเรศวรทรงตระหนักอยู่เสมอว่า "หงสาวดีจะต้องยกทัพมาเบียดเบียนอยุธยาแน่นอน จึงได้ทรงตระเตรียมเสบียงอาหารพร้อมสรรพาวุธยุทโธปกรณ์ ไพร่พล เพื่อต่อต้านทัพหงสาวดี สุดพระปรีชาสามารถ การณ์ทั้งปวงเป็นไปอย่างที่พระองค์ดำริ. พระเจ้าหงสาวดียกทัพตีกรุงศรีอยุธยาหลังสมเด็จพระนเรศวรประกาศตัดไมตรีกับหงสาวดีอีก ๔ ครั้ง
...เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี
พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ ยกทัพไปปราบ
สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาสที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน
จึงทรงเดินทัพช้า ๆ เพื่อรอฟังผลการรบ...ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา

แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ
แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้ว   จึงคิดจะกำจัด
โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญ  ไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบ

หลังจาก ... ที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี
ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยาราม  นำความเข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์
พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ

สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง
นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน
แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์
เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว
สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคารน้ำเต้าทอง

ทรงประกาศ ... แก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า
ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป

พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม 2127  ณ เมืองแครง
จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่า  จะอยู่ข้างไทยหรือพม่า
ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี

สมเด็จพระนเรศวร ... ทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง
จวนจะถึงหงสาวดี  ก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้าอังวะ
และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี

สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า
การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ
จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมา
ให้เดินทางกลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ

สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำสะโตงไปจนหมด
แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย  
แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก


ขณะนั้นพระมหาอุปราชมังสามเกียด ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า
แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ 400 เมตร
ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก

สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำ
ทรงประทับพระแสงปืนยาว 9 คืบหรือ 2 เมตร 25 เซ็นติเมตร
แล้วทรงอธิฐานว่า  ถ้าการกู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก
ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป...




พระแสงปืนต้นนี้ ... มีนามว่า พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา
พร้อมด้วยพระมหาเถรคันฉ่องและพระยาเกียรติ พระยาราม และชาวมอญ
โดยเดินทัพผ่านหัวเมืองมอญแล้วเข้าด่านเจดีย์สามองค์มาจนถึงกรุงศรีอยุธยา
ทรงปูนบำเหน็จให้กับพระยามอญทั้งสอง
และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชอีกด้วย

สมเด็จพระนเรศวร ... ทรงราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2098
เป็นราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรี
ทรงมีพระพี่นางสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ


อิสรภาพที่ลุ่มน้ำสะโตง

“สมเด็จพระนรายเป็นเจ้าเสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิศณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงษากับพระเจ้าอางวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการศึกพระเจ้าหงษา...แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแครง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนคร”--พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ

ปี ๒๑๒๗ หลังหงสาวดีผลัดแผ่นดินไม่นาน อังวะซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศราชของหงสาวดีเช่นเดียวกับอยุธยาก็แข็งเมือง กษัตริย์พระองค์ใหม่คือพระเจ้านันทบุเรงต้องทรงยกทัพไปปราบ พร้อมกันนั้นก็มีพระบัญชาให้ประเทศราชต่าง ๆ รวมถึงอยุธยายกทัพไปช่วยราชการศึก ครั้งนั้น พระนเรศวรทรงยกทัพไปแทนสมเด็จพระมหาธรรมราชา และทรงยั้งทัพไว้ที่เมืองแครง

ถึงตรงนี้ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย นั่นคือการ “ประกาศอิสรภาพ” ตัดความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับหงสาวดี ของพระนเรศวร

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า พงศาวดารไทยที่บันทึกขึ้นในช่วงเวลาที่ใกล้กับเหตุการณ์ที่สุด คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ ๑ ศตวรรษหลังจากเหตุการณ์ มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ แต่หลักฐานชั้นรองคือ คำให้การขุนหลวงหาวัด และ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งชำระขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลับกล่าวถึงการประกาศอิสรภาพครั้งนี้ หันไปดูหลักฐานฝั่งพม่าบ้าง มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า (Hmannan Mahayazawindawgyi) ก็มิได้ระบุถึงเหตุการณ์นี้เช่นกัน เพียงแต่ให้ข้อมูลว่าทัพอยุธยาซึ่งไปช่วยราชการศึกนั้น “หาตามเสด็จไปช่วยทางกรุงอังวะไม่...ตรงมาทางกรุงหงษาวดี” หลังจากนั้นก็ “ตีกรุงหงษาวดี” ด้วยซ้ำ

นี่คือ “ช่องว่าง” ของประวัติศาสตร์ เพราะหลักฐานของไทยกับพม่าบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ต่างกัน ไทยว่าพระนเรศวรทรงล่วงรู้ถึงอุบายของพระเจ้านันทบุเรงจึงทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ขณะที่ฝ่ายพม่าบันทึกว่าพระนเรศวรทรงตั้งใจยกไปตีหงสาวดีอยู่แล้ว

ทว่าสิ่งที่หลักฐานทุกชิ้นระบุตรงกันก็คือ หลังจากพระองค์เสด็จกลับจากยกทัพคราวนี้ อยุธยาก็ต้องรับศึกหงสาวดีติดต่อกันนานนับสิบปี

อย่างไรก็ตาม หากเราลองมาพิจารณาความหมายของคำว่า “อิสรภาพ” ยุคนั้นกันอีกที เราอาจจะมองประวัติศาสตร์ช่วงนี้ได้ชัดเจนขึ้น

จาก พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งเป็นพงศาวดารที่มีลักษณะเน้นกฤษฎาภินิหารสูง ผมพบความหมายของ “อิสรภาพ” ซึ่งต่างจาก “อิสรภาพ” ในความหมายที่เราเข้าใจกัน นั่นคือ “การเป็นราชาธิราชเหนือราชาอื่น” ปรากฏอยู่ในตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งพระเจ้านันทบุเรงทรงวางแผนจัดการพระนเรศวร ความว่า

“(ให้) จับเอาตัวพระนเรศวรประหารชีวิตเสียให้จงได้ เมืองหงสาวดีจึงจะเป็นอิสรภาพไพศาลกว่าพระนครทั้งปวง”

สำหรับผม ประโยคข้างต้นสะท้อนถึงโลกทัศน์เกี่ยวกับอิสรภาพของคนยุคนั้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าหงสาวดีต่างหากที่กำลังพยายามรักษา “อิสรภาพ” นั้นไว้

บ่ายวันหนึ่งในเดือนตุลาคม ๒๕๔๙, เมืองวอ สหภาพพม่า

ผมยืนอยู่ที่ลานเจดีย์โจงตู (Jondthu Zedi) เจดีย์แฝดกลางทุ่งนาซึ่งอยู่ห่างตัวเมืองวอออกมาทางตะวันออกราว ๔ กิโลเมตร ยืนพิจารณาพื้นที่ราบซึ่งเต็มไปด้วยนาข้าวที่กำลังออกรวงเหลืองอร่ามสุดลูกหูลูกตารอบ ๆ เจดีย์

หลายปีก่อน ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ และ ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล มาพบที่นี่ขณะสำรวจพื้นที่ปากน้ำสะโตงซึ่งพงศาวดารพม่ายุคพระเจ้าอลองพญาระบุว่าเป็นเส้นทางเดินทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา โดยระบุระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางระหว่างเมืองอย่างชัดเจนว่า ๑ วันจากหงสาวดีจะถึงเมืองโครง (Krun) ๒ วันจะถึงแม่น้ำสะโตง ทั้งยังพบว่าที่นี่เคยเป็นเขตอิทธิพลของมอญมาก่อนที่พม่าจะเข้ามาครอบครองกรุงหงสาวดี

อาจารย์สุเนตรอธิบายว่า เมือง “วอ” ในภาษาพม่า เดิมชื่อเมือง “โจงตู” ซึ่งก็คือเมือง “โครง” ในภาษามอญนั่นเอง ซึ่งฟังดูใกล้เคียงกับเมือง “แครง” หรือ “แกรง” ที่พงศาวดารไทยระบุว่าเป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระนเรศวรทรง “ประกาศอิสรภาพ” ระหว่างยกทัพมาช่วยราชการศึกพระเจ้านันทบุเรง

นอกจากชื่อเมืองแล้ว เมื่อคำนวณจากระยะทาง ดร. สุเนตรก็พบว่าที่นี่อยู่ห่างจากหงสาวดีด้วยการเดินเท้า ๑ วันตามที่ระบุในพงศาวดาร อีกทั้งบริเวณโดยรอบยังปรากฏร่องรอยเมืองโบราณ ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำเก่า ซากประติมากรรมโบราณ ฯลฯ ซึ่งแสดงว่าที่นี่น่าจะเคยเป็นหัวเมืองสำคัญมาก่อน

จากภาพถ่ายดาวเทียม จะแลเห็นว่าเจดีย์แฝดโจงตูอยู่ตรง “กึ่งกลาง” เส้นทางระหว่างหงสาวดีกับสะพานข้ามแม่น้ำสะโตงพอดี ปัจจุบันถือเป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวน หรือพระเจดีย์ไจ้โถ่ (Kyaikhto Zedi) ในเขตรัฐมอญ ซึ่งถ้าพิจารณาจากหลักภูมิศาสตร์ นี่ก็คือเส้นทางเดินทัพโบราณนั่นเอง เพราะเมืองโครงหรือเมืองวออยู่บนเส้นทางบังคับที่หงสาวดีต้องใช้ในการเดินทัพไปตีอยุธยา ด้วยถ้าใช้เส้นทางอื่น เช่น ออกจากหงสาวดีค่อนไปทางเหนือ ก็จะเจอหุบเขาพะโคโยมากั้น หรือถ้าออกจากหงสาวดีค่อนไปทางใต้ ก็จะเจอที่ราบลุ่มปากแม่น้ำสะโตงซึ่งมีสภาพเป็นโคลนกั้น

“ลองต่อภาพประวัติศาสตร์ สมมุติเราเชื่อพงศาวดารไทยที่ว่าพระนเรศวรยั้งทัพอยู่เมืองแครง แล้วพระเจ้านันทบุเรงส่งพระยาเกียรติ พระยาราม ซึ่งวางแผนมาลวงให้พระองค์ยกทัพเข้าสู่กับดัก สองคนนี้ออกจากหงสาวดี ๑ วันก็ถึงเมืองแครง ทูลเปิดเผยเรื่องราวแล้ว พระนเรศวรก็ทรงประกาศอิสรภาพ จากนั้นถอยทัพอีก ๑ วันก็ถึงแม่น้ำสะโตง” อาจารย์สุเนตรอธิบาย

ดังนั้นที่ใดที่หนึ่งรอบ ๆ ตัวผมขณะนี้ นอกจากจะเป็นที่พักทัพแล้ว ยังอาจเป็นพื้นที่ประกาศอิสรภาพด้วยก็เป็นได้--ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง

พระสงฆ์ซึ่งดูแลเจดีย์โจงตูเล่าให้ผมฟังว่า เจดีย์แฝดแห่งนี้มีอายุอย่างน้อย ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว (แน่นอนว่าช่วงหนึ่งร่วมสมัยกับยุคที่สมเด็จพระนเรศวรทำศึกกับหงสาวดี) ชาวบ้านเชื่อว่าในเจดีย์บรรจุพระพุทธรูปโบราณและอัญมณีมีค่าเอาไว้

จากเจดีย์โจงตู ผมนั่งรถไปตามถนนหมายเลข ๓ (เส้นทางสู่ภาคตะวันออกและภาคใต้ของพม่า) อีกราว ๒ ชั่วโมงก็ถึงสะพานข้ามแม่น้ำสะโตง (Sittong Thata) ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าวางกำลังดูแลอย่างเข้มงวด เนื่องด้วยฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเป็นพื้นที่รัฐมอญซึ่งบางแห่งมีการสู้รบระหว่างทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อย

ข้ามแม่น้ำแล้วไปตามถนนสายเดิมอีกราว ๒๐ นาที ผมก็พบหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมน้ำและเจดีย์องค์หนึ่งซ่อนตัวอยู่ในดงไม้ร่มครึ้ม ไกด์ท้องถิ่นบอกผมว่าที่นี่คือ หมู่บ้านสะโตง (Sittong Yaw) ซึ่งเป็นที่ตั้งของเจดีย์สะโตง (Sittong Pya) ที่ริมน้ำ สะพานทางรถไฟเก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเหลือแต่ตอม่อตั้งตระหง่านอยู่คู่กับสะพานคอนกรีตที่ก่อสร้างขึ้นใหม่อย่างเร่งรีบเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสู่พระธาตุอินทร์แขวน

ที่นี่เองที่ท่านมุ้ยและ ดร. สุเนตร สันนิษฐานว่าพระนเรศวรทรงถอยทัพมาจากเมืองแครงแล้วข้ามแม่น้ำสะโตงส่วนที่แคบที่สุดซึ่งกว้างราว ๖๒๐ เมตร เพื่อกลับสู่อยุธยา ด้วยเป็นเส้นทางเดินทัพเก่า รอบ ๆ มีร่องรอยเมืองโบราณที่บ่งบอกว่าเคยเป็นหัวเมืองสำคัญ และที่สำคัญคือ เป็นจุดที่แคบที่สุดของลำน้ำสะโตงก่อนไหลออกสู่อ่าวเมาะตะมะ

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่าว่า พระนเรศวรทรงให้บรรดาผู้คนที่กวาดต้อนมาข้ามน้ำไปก่อน “แต่พระองค์กับทหารลำลองหมื่นห้าพันนั้นยังรออยู่ริมฝั่ง ตรัสให้ทหารเอาปืนหามแล่นและนกสับคาบชุดระดมยิงไป ทหารก็ยิงระดมไปเป็นอันมากมิได้ถึง จึงสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็ทรงพระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ ยิงไปต้องสุรกำมาตายตกจากคอช้าง รี้พลมอญทั้งนั้นเห็นอัศจรรย์ ด้วยแม่น้ำนั้นกว้างเหลือกำลังปืน”

เหตุการณ์อันเป็นที่มาของ “พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง” นี้ มีคำถามอยู่มากในหมู่ผู้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ด้วยข้อความดังกล่าวปรากฏในพงศาวดารฉบับนี้ฉบับเดียว หลักฐานชั้นรองอื่น ๆ มิได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด

จึงมีความคลุมเครืออยู่ไม่น้อยและน่าสงสัยว่าเป็นการต่อเติมขึ้นในสมัยหลังหรือไม่

อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาพระนเรศวรก็ทรงเดินทัพกลับสู่พิษณุโลกได้สำเร็จ


พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
" มีเหตุอันควรให้สงสัยในขณะที่ตามรอยสมเด็จพระนเรศวรว่า พระแสงปืนที่มีความยาว  9 คืบนั้น ยิงข้ามแม่น้ำสะโตงที่กว้างกว่า  600 เมตร ได้อย่างไร "

        เมืองสะโตง อยู่ห่างจากกรุงหงสาวดี หรือ เมืองพะโคในปัจจุบัน       กม.  มีแม่น้ำสะโตงอันกว้างใหญ่    เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ (เกือบๆ2เมตร) ยิงสุกรรมาตายบนคอช้าง  ทั้งๆที่อยู่ห่างกันกว่า 600 เมตร  อาจเป็นเพราะปืนมีความยาว  เพียงพอ แต่เหตุใดจึงยิงได้แม่นยำเช่นนั้น  หรือเป็นเพราะบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระนเรศวร  ที่สามารถทำได้   อย่างไรก็ตามการสืบรอยของกองถ่ายภาพยนตร์ โดยท่านมุ้ย  ก็ได้สร้างปืนนกสับยาวเก้าคืบ  ขึ้นมาทดสอบโดยกรมสรรพาวุธ ทหารบก พบว่าสามารถยิงได้จริงๆ 600 เมตร แต่ความแม่นยำ ยังมิสามารถทำได้






















เห็นไหมหละครับ ว่ายังลืม sniper ของชาวไทยไปอีกท่านนึง "สมเด็จพระนเรศน์" เยี่ยม เยี่ยม ไหว้


สมัยนั้นไม่มีศูนย์กล้องด้วยท่านยังยิงได้ดี ถึงเพียงนั้น! อิ อิ อิ  ไหว้ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:38:50 AM โดย พรานหนุ่ม ชุมไพร » บันทึกการเข้า

พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #33 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:40:26 AM »

พรานหนุ่ม  ชุมไพร ขอสนับสนุนหน้ากระทู้นี้ 100 เปอร์เซ็นต์ ครับท่านสมาชิก อวป.  เยี่ยม ไหว้
บันทึกการเข้า

พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #34 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:46:57 AM »

เอาปืนที่บ้าน(ซุ้มฯนางเลิ้ง) มาฝากให้ แฟนๆ sniper ครับท่านเจ้าของกระทู้  ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 09:17:25 AM โดย พรานหนุ่ม ชุมไพร » บันทึกการเข้า

พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #35 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:48:59 AM »

 Grin Grin
บันทึกการเข้า

พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #36 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:50:00 AM »

FERLACH DOUBLE RIFLES  เยี่ยม
บันทึกการเข้า

PHAPHOOM
Full Member
***

คะแนน 86
ออฟไลน์

กระทู้: 188



« ตอบ #37 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:50:07 AM »

 ไหว้ ไหว้ งดงามมาก ๆ ครับท่าน นับถือ ๆครับ
บันทึกการเข้า

*** ดูถูกคนอื่น เท่ากับดูถูกตนเอง ***
พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #38 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:51:14 AM »

ไหว้ ไหว้ งดงามมาก ๆ ครับท่าน นับถือ ๆครับ







ขอบคุณครับ ผมมาร่วม อวย ด้วยคนนะ อิ อิ  ยิ้มีเลศนัย ไหว้
บันทึกการเข้า

พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #39 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:56:12 AM »

อิ อิ อิ เอามาแชร์ครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #40 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:57:20 AM »

 Grin Grin ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #41 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 08:59:21 AM »

พิพิธภันณ์ ส่วนตัวของผมครับท่านเจ้าของกระทู้ อิ อิ อิ ขออวดมั่ง อิ อิ อิ พรานหนุ่ม ชุมไพร(จอมเสนอหน้า)  คิก คิก ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 09:03:19 AM โดย พรานหนุ่ม ชุมไพร » บันทึกการเข้า

พรานหนุ่ม ชุมไพร
Hero Member
*****

คะแนน 3456
ออฟไลน์

กระทู้: 32541



« ตอบ #42 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 09:02:25 AM »

บ๊ายบาย!  ไหว้ ขอตัวกลับไป camp ชุมไพรก่อนนะครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #43 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 09:02:50 AM »

              ขอบคุณท่านผาภูมิมากครับ     เยี่ยม
บันทึกการเข้า

                
Victor&Sugus
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 85
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1062


รักสนุกทุกถนัด เฉพาะเรื่องปืน.....


« ตอบ #44 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 09:04:01 AM »

สุดยอดคลังแสงครับ........
บันทึกการเข้า

☀ <º))))><.·´¯`·. h £ ® ß € ¯|¯ •·.·´¯`·.·• .·´¯`·.><((((º> —(•·÷[ ]÷·•)—·‡±±‡±÷· Oº°‘¨ ¨‘°ºO •°o.O O.o°• ¨°o.O O.o°¨ —¤÷(`[¤* *¤]´)÷¤— •·.·´¯`·.·• •·.·´¯`·.·• «·´`·.(`·.¸ ¸.·´).·´`·» ׺°”˜`”°º× ׺°”˜`”°º× »-(¯`v´¯)✿*Maxx™❀●• ♬✿❀●• ♬
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.123 วินาที กับ 22 คำสั่ง