เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 16, 2024, 12:50:45 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สงสัยเรื่องปลอกกระสุนปืนลูกซองครับ  (อ่าน 2514 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« เมื่อ: มกราคม 27, 2012, 07:01:57 PM »

                               ผมสังเกตุดูกระสุนปืนลูกซองแล้วเกิดข้อสงสัยครับ   กล่าวคือแทนที่จะอัดแก็ปเข้ากับจานท้ายปลอกโดยตรงเหมือนกระสุนปืนชนวนกลางอื่นๆเขา  กระสุนลูกซองต้องมีถ้วยโลหะ(คล้ายทองแดง)รองอยู่อีกชั้นหนึ่งด้วยเสมอ  ขอความกรุณาช่วยอธิบายเพื่อเป็นความรู้ด้วยเถิดครับ ไหว้
                             
                               
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 01:00:29 AM »

เพื่อความประหยัดครับ
ลูกซองมีแรงอัดต่ำมาก  ปลอกไม่จำเป็นต้องทำให้แข็งแรง  ก้นปลอกกระสุนจึงทำจากแผ่นโลหะบาง ๆ หุ้มวัสดุชนิดอื่น ๆ ซึ่งไม่แข็งแรงพอที่จะจับจอกชนวนได้โดยตรง จึงต้องมีปลอกอีกชั้นหนึ่ง
บันทึกการเข้า
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 08:26:33 AM »

                    ขอบพระคุณครับ ไหว้ แรงอัดที่ท่านผู้การกล่าวถึงหมายถึงแรงดันในรังเพลิงใช่ไหมครับ(ขอรบกวนอีกครั้งครับ ไหว้)
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 09:05:56 PM »

                    ขอบพระคุณครับ ไหว้ แรงอัดที่ท่านผู้การกล่าวถึงหมายถึงแรงดันในรังเพลิงใช่ไหมครับ(ขอรบกวนอีกครั้งครับ ไหว้)

ใช่ครับ  กระสุนลูกซองมีแรงอัดในรังเพลิงต่ำกว่า 9 มม.ราว ๆ สามเท่าตัว
แม้แต่กระสุนลูกซองแบบที่แรงที่สุด คือเกจน์ 12 แบบ 3 1/2 นิ้วแม็กนั่ม  ก็ยังมีแรงอัดเพียง 14,000 PSI   ต่ำกว่ากระสุนโบราณอย่างเช่น .45 ลองโคลท์ .44-40 หรือ .38 S&W เสียอีก
บันทึกการเข้า
sopon7
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 139
ออฟไลน์

กระทู้: 1095


« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 09:17:26 PM »

ขอบคุณครับอาจารย์ ถ้าได้ยินจากที่อื่นผมจะไม่เชื่อเลย  ...มันถีบขนาดนั้น
บันทึกการเข้า
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 09:33:01 PM »

                                ขอบพระคุณท่านผู้การมากครับ  ไหว้ ผมจะพยายามไปค้นคว้าเพิ่มเติมอีกเพราะสงสัยเหมือนท่านsopon7เหมือนกันครับว่าทำไมรีคอยล์มันมากจังทั้งที่แรงดันต่ำ (เคยได้ยินว่าดินขับของลูกซองเป็นประเภทเผาไหม้ช้า ไม่รู้ว่าเกี่ยวกันหรือเปล่า)  ถ้าค้นไม่พบหรืออับจนขึ้นมา ผมต้องขอรบกวนท่านผู้การอีกนะครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 11:16:03 PM »

แรงรีคอยล์มากเกิดจากน้ำหนักหัวกระสุนมาก  ถ้าเทียบน้ำหนักหัวกระสุนลูกซองกินขาดครับ   Grin
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 11:47:18 PM »

แรงรีคอยล์มากเกิดจากน้ำหนักหัวกระสุนมาก  ถ้าเทียบน้ำหนักหัวกระสุนลูกซองกินขาดครับ   Grin

ประมาณว่าต้องใช้พลังงานสูงในการดันหัวกระสุนออกไป แรงปฏิกริยาจึงมากตาม แถมไม่มีสปริงคอยช่วยแบบปืนออโต้ คนยิงเลยโดนเต็มๆใช่มั้ยครับ
บันทึกการเข้า
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« ตอบ #8 เมื่อ: มกราคม 29, 2012, 10:03:09 AM »

แรงรีคอยล์มากเกิดจากน้ำหนักหัวกระสุนมาก  ถ้าเทียบน้ำหนักหัวกระสุนลูกซองกินขาดครับ   Grin

ประมาณว่าต้องใช้พลังงานสูงในการดันหัวกระสุนออกไป แรงปฏิกริยาจึงมากตาม แถมไม่มีสปริงคอยช่วยแบบปืนออโต้ คนยิงเลยโดนเต็มๆใช่มั้ยครับ
           ขอบพระคุณท่านSitthipong และท่านNero Angel01มากครับ  ได้ความรู้เยอะแยะเลยครับ ไหว้ ไหว้
                         ผมลองค้นจากเน็ตดูสักพักหนึ่งแล้วก็ยังไม่ได้อะไรมากนัก  ที่ยังติดใจอยู่ก็คือ เมื่อต้องใช้พลังงานสูงเพื่อดันหัวกระสุนหนักๆให้วิ่งไปข้างหน้า แรงดันที่เกิดในปลอกกระสุนและรังเพลิงย่อมเท่ากันทุกทิศทาง (ที่ดันมาข้างหลังก็ถีบเรา)  เพราะฉะนั้นเรื่องรีคอยล์สูงของปืนลูกซองคงไม่เกี่ยวกับแรงดันในรังเพลิงแล้วนะครับ เพราะแรงดันในรังเพลิงเขาต่ำมาก  ยอมรับว่ายังงงๆอยู่ครับ  อย่างนี้ต้องค้นต่อครับ   ไหว้
                        
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2012, 10:11:33 AM โดย youngnoi7474 » บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #9 เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 04:26:23 PM »

                                ขอบพระคุณท่านผู้การมากครับ  ไหว้ ผมจะพยายามไปค้นคว้าเพิ่มเติมอีกเพราะสงสัยเหมือนท่านsopon7เหมือนกันครับว่าทำไมรีคอยล์มันมากจังทั้งที่แรงดันต่ำ (เคยได้ยินว่าดินขับของลูกซองเป็นประเภทเผาไหม้ช้า ไม่รู้ว่าเกี่ยวกันหรือเปล่า)  ถ้าค้นไม่พบหรืออับจนขึ้นมา ผมต้องขอรบกวนท่านผู้การอีกนะครับ ไหว้

ดินส่งกระสุนลูกซอง เป็นแบบเผาไหม้เร็วครับ
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 04:37:38 PM »

แรงรีคอยล์มากเกิดจากน้ำหนักหัวกระสุนมาก  ถ้าเทียบน้ำหนักหัวกระสุนลูกซองกินขาดครับ   Grin

ประมาณว่าต้องใช้พลังงานสูงในการดันหัวกระสุนออกไป แรงปฏิกริยาจึงมากตาม แถมไม่มีสปริงคอยช่วยแบบปืนออโต้ คนยิงเลยโดนเต็มๆใช่มั้ยครับ
           ขอบพระคุณท่านSitthipong และท่านNero Angel01มากครับ  ได้ความรู้เยอะแยะเลยครับ ไหว้ ไหว้
                         ผมลองค้นจากเน็ตดูสักพักหนึ่งแล้วก็ยังไม่ได้อะไรมากนัก  ที่ยังติดใจอยู่ก็คือ เมื่อต้องใช้พลังงานสูงเพื่อดันหัวกระสุนหนักๆให้วิ่งไปข้างหน้า แรงดันที่เกิดในปลอกกระสุนและรังเพลิงย่อมเท่ากันทุกทิศทาง (ที่ดันมาข้างหลังก็ถีบเรา)  เพราะฉะนั้นเรื่องรีคอยล์สูงของปืนลูกซองคงไม่เกี่ยวกับแรงดันในรังเพลิงแล้วนะครับ เพราะแรงดันในรังเพลิงเขาต่ำมาก  ยอมรับว่ายังงงๆอยู่ครับ  อย่างนี้ต้องค้นต่อครับ   ไหว้                      

ถีบแรงเพราะนน.หัวกระสุนครับ

ดินปืนระเบิดในปลอกที่มีรังเพลิงหุ้มไว้รอบดันหัวกระสุนไปตามแนวลำกล้อง
แก๊สที่ขยายตัวดันกระสุนออกไปก็พยายามดันถอยหลังมาในแนวเดียวกัน(รีคอยล์)
กระสุนหัวหนักมากก็ยิ่งต้องใช้เวลาและพลังในการดันมาก แก๊สที่ขยายไปข้างหน้าไม่สะดวกก็ยิ่งพยายามออกแรงดันมาข้างหลัง
ตราบใดที่กระสุนยังไม่พ้นลำกล้องแรงดันแก๊สก็จะดันมาข้างหลังอยู่ตลอด จนกว่ากระสุนพ้นปากลำกล้องไปแรงดันย้อนกลับจะลดลง

กระสุนหนักมากรีคอยล์ก็จะยิ่งแรง สังเกตได้จากปีนพกที่เรายิง ลูกหัวหนักรีคอยล์จะสูงกว่าลูกหัวเบา เมื่อขนาดและความยาวลำกล้องเท่ากัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2012, 04:41:11 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
outpost 1969 รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 66
ออฟไลน์

กระทู้: 902



« ตอบ #11 เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 06:17:01 PM »

 ไหว้สวัสดีครับ ไหว้
 
เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยมเข้ามาเก็บความรู้ครับ ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 1428
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6023



« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 06:30:09 PM »

ถีบแรงเพราะนน.หัวกระสุนครับ

ดินปืนระเบิดในปลอกที่มีรังเพลิงหุ้มไว้รอบดันหัวกระสุนไปตามแนวลำกล้อง
แก๊สที่ขยายตัวดันกระสุนออกไปก็พยายามดันถอยหลังมาในแนวเดียวกัน(รีคอยล์)
กระสุนหัวหนักมากก็ยิ่งต้องใช้เวลาและพลังในการดันมาก แก๊สที่ขยายไปข้างหน้าไม่สะดวกก็ยิ่งพยายามออกแรงดันมาข้างหลัง
ตราบใดที่กระสุนยังไม่พ้นลำกล้องแรงดันแก๊สก็จะดันมาข้างหลังอยู่ตลอด จนกว่ากระสุนพ้นปากลำกล้องไปแรงดันย้อนกลับจะลดลง

กระสุนหนักมากรีคอยล์ก็จะยิ่งแรง สังเกตได้จากปีนพกที่เรายิง ลูกหัวหนักรีคอยล์จะสูงกว่าลูกหัวเบา เมื่อขนาดและความยาวลำกล้องเท่ากัน

เมื่อดินปืนเผาไหม้กลายเป็นก๊าซปริมาณมหาศาล มันจะดันออกทุกทิศทางครับ 
ความดัน 14000 ปอนด์/ตารางนิ้ว ลองเอาพื้นที่หน้าตัดของปลอกกระสุนคูณด้วยหมื่นสี่ นั่นคือแรงที่ดันกลับหลัง
ซึ่งรีคอยล์ส่วนนี้จะรู้สึกได้เมื่อหัวกระสุนพ้นปลายลำกล้องแล้วครับ  เป็น jet effect ไม่เกี่ยวกับน้ำหนักหัวกระสุนแต่อย่างใด

แต่... ทันทีที่หัวกระสุนขยับเดินหน้า  มีโมเมนตัมไปด้านหน้า ก็ต้องมีโมเมนเตัมมาด้านหลัง 
เป็นรีคอยล์ส่วนแรกที่รู้สึกได้ทันทีตั้งแต่หัวกระสุนยังวิ่งอยู่ในลำกล้องครับ  ตัวนี้แหละที่ว่าหัวยิ่งหนักยิ่งเตะแรง
บันทึกการเข้า

ผมเป็นลูกหลานจีนอพยพ  ทวดแซ่อิ๊ว ตาแซ่เล้า ปู่แซ่อึ๊ง   
เมืองไทยให้โอกาสทุกอย่าง  ไม่มีข้ออ้างเรื่องชนชั้น
ผมได้กราบแทบพระบาทในหลวงเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« ตอบ #13 เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 07:12:26 PM »

                           ไหว้ ผมขอกราบขอบพระคุณทุกท่านครับที่ให้ความกระจ่าง ไหว้ ไหว้ ไหว้
                           เริ่มจากแก๊ปกระสุนลูกซองเลยได้ต่อยอดเป็นความรู้ที่กว้างขวางขึ้น ขอขอบพระคุณทุกคำตอบครับ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2012, 07:19:34 PM โดย youngnoi7474 » บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #14 เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 07:47:57 PM »

ถีบแรงเพราะนน.หัวกระสุนครับ

ดินปืนระเบิดในปลอกที่มีรังเพลิงหุ้มไว้รอบดันหัวกระสุนไปตามแนวลำกล้อง
แก๊สที่ขยายตัวดันกระสุนออกไปก็พยายามดันถอยหลังมาในแนวเดียวกัน(รีคอยล์)
กระสุนหัวหนักมากก็ยิ่งต้องใช้เวลาและพลังในการดันมาก แก๊สที่ขยายไปข้างหน้าไม่สะดวกก็ยิ่งพยายามออกแรงดันมาข้างหลัง
ตราบใดที่กระสุนยังไม่พ้นลำกล้องแรงดันแก๊สก็จะดันมาข้างหลังอยู่ตลอด จนกว่ากระสุนพ้นปากลำกล้องไปแรงดันย้อนกลับจะลดลง

กระสุนหนักมากรีคอยล์ก็จะยิ่งแรง สังเกตได้จากปีนพกที่เรายิง ลูกหัวหนักรีคอยล์จะสูงกว่าลูกหัวเบา เมื่อขนาดและความยาวลำกล้องเท่ากัน

เมื่อดินปืนเผาไหม้กลายเป็นก๊าซปริมาณมหาศาล มันจะดันออกทุกทิศทางครับ 
ความดัน 14000 ปอนด์/ตารางนิ้ว ลองเอาพื้นที่หน้าตัดของปลอกกระสุนคูณด้วยหมื่นสี่ นั่นคือแรงที่ดันกลับหลัง
ซึ่งรีคอยล์ส่วนนี้จะรู้สึกได้เมื่อหัวกระสุนพ้นปลายลำกล้องแล้วครับ  เป็น jet effect ไม่เกี่ยวกับน้ำหนักหัวกระสุนแต่อย่างใด

แต่... ทันทีที่หัวกระสุนขยับเดินหน้า  มีโมเมนตัมไปด้านหน้า ก็ต้องมีโมเมนเตัมมาด้านหลัง 
เป็นรีคอยล์ส่วนแรกที่รู้สึกได้ทันทีตั้งแต่หัวกระสุนยังวิ่งอยู่ในลำกล้องครับ  ตัวนี้แหละที่ว่าหัวยิ่งหนักยิ่งเตะแรง

ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่ให้ความกระจ่าง  ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.145 วินาที กับ 22 คำสั่ง