เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 29, 2024, 04:25:13 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามเรื่อง เหรียญชัยสมรภูมิ ครับ  (อ่าน 10792 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 10:12:52 AM »

พอดีของคุณตา  ผ้าแถบหรือผ้าแพรมันเปื่อยขาดหมดแล้ว  เหลือแต่เหรียญที่ขึ้นสนิม

กับ  ประกาศพระราชกิจจาฯ  อยากหาที่ซ่อม  หรือ  ที่ซื้อใหม่ครับ

อีกเรื่องคือการรับ มรดกจากตาสู่แม่ผม  จากแม่ผม มาสู่ผมได้ใหมครับ

 ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 10:18:23 AM »

http://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1069&bih=528&q=%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4&gbv=2&oq=%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1&aq=0&aqi=g1g-S2&aql=&gs_sm=c&gs_upl=1641l20906l0l23516l14l14l0l7l3l0l250l1062l0.6.1l7l0
แบบใหนหละจักร ผ้าแถบไม่รู้มีความหมายหรือปล่าว มีบางเหรียญเหมือนกันแต่ผ้าแถบไม่เหมือน เยี่ยม
บันทึกการเข้า

สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 10:35:49 AM »

ชั้นยศ  แค่  พลฯ  ทหารครับ  น้าจอยฯ
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 11:56:08 AM »

ชั้นยศ  แค่  พลฯ  ทหารครับ  น้าจอยฯ
ถึงจะเป็นแค่ พลทหาร แต่ถ้าปฎิบัติหน้าที่เสียสละเพื่อชาติ ก็ถือว่าเป็นวีรบุรุษครับจักร เยี่ยม
บันทึกการเข้า

Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 03:05:25 PM »

ของคุณพ่อก็โทรมหมดแล้วเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 03:22:34 PM »

ตอนอินโดจีน  เคยได้รับคำสั่งให้เข้าไปเชือดข้าศึกถึงถ้ำครับ

ตอนสงครามโลกครั้งที่สอง  เคยวิ่งตูดฉีกเพราะโดนทหารญี่ปุ่นไล่ยิง
บันทึกการเข้า
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
*****

คะแนน 1204
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17188


การต่อสู้คือชัยชนะ


« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 03:52:49 PM »

ตอนอินโดจีน  เคยได้รับคำสั่งให้เข้าไปเชือดข้าศึกถึงถ้ำครับ

ตอนสงครามโลกครั้งที่สอง  เคยวิ่งตูดฉีกเพราะโดนทหารญี่ปุ่นไล่ยิง

เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม

ไหว้

บันทึกการเข้า
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 03:59:04 PM »

...ขออนุญาต ยกกระทู้เก่ามาเสริม ครับ ...  ไหว้

http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=56457.0



เหรียญชัยสมรภูมิ
ใช้อักษรย่อว่า ช.ส. สร้างขึ้นตามพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2484 สำหรับพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ หรือผู้ที่กระทำหน้าที่ อย่างทหารหรือตำรวจ ที่ได้รับคำสั่งจากหน่วยทหารหรือตำรวจให้ไปทำการรบ และได้เคลื่อนที่ไปปฏิบัติการแล้ว
การพระราชทานกรรมสิทธิและการเรียกคืนเช่นเดียวกับเหรียญกล้าหาญ เหรียญนี้ไม่มีประกาศนียบัตร แต่ประกาศนามผู้ได้รับพระราชทานในราชกิจจานุเบกษา
ตัวเหรียญเหมือนเหรียญกล้าหาญ ห้อยกับแพรแถบเป็นสีต่าง ๆ ตามที่ได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาเป็นคราว ๆ ไป (ยกเว้นการรบในสงครามอินโดจีนที่ได้กำหนดแพรแถบไว้ในพระราชบัญญัติ) ให้ประดับที่หน้าอกเสื้อเบื้องซ้าย
ผู้ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิ หากได้กระทำการจนได้รับคำชมเชยจากทางราชการ หรือกระทำความชอบมีบาดเจ็บ จะได้รับเครื่องหมายสีทองเป็นรูปขีด ประกอบด้วยเปลวระเบิดติดที่แพรแถบทุกครั้ง


เหรียญชัยสมรภูมิสงครามอินโดจีน
 แพรแถบสีแดง กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีขาวใกล้ขอบทั้งสองข้าง ข้างบนมีเข็มโลหะรูปคฑาจอมพล จารึกอักษรว่า ชัยสมรภูมิ



เหรียญชัยสมรภูมิสงครามเอเชียบูรพา
แพรแถบสีเขียว กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงที่ขอบ และถัดริ้วสีแดงเข้าไป เป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ข้างบนมีเข็มโลหะรูปคฑาจอมพล จารึกอักษรว่า ชัยสมรภูมิ


เหรียญชัยสมรภูมิสงครามร่วมรบกับสหประชาชาติ
ณ ประเทศเกาหลี
แพรแถบสีฟ้า กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีฟ้าที่ขอบ ถัดริ้วสีฟ้าเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ข้างบนมีเข็มโลหะรูปคฑาจอมพล จารึกอักษรว่า ชัยสมรภูมิ


เหรียญชัยสมรภูมิการรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม
แพรแถบสีเหลือง กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงที่ขอบ ถัดริ้วสีแดงเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ข้างบนมีเข็มโลหะรูปคฑาจอมพล จารึกอักษรว่า ชัยสมรภูมิ


ปล.เหรียญแรกเป็นของคุณตาพี่เล็กใช่รึเปล่าคะ  

ขอบคุณข้อมูลจากเวบ http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/kruangraj/mframe.htm  
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2008, 19:07:21 โดย Ramsjai »  
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 04:07:20 PM โดย สหายเล็กน้อย » บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 04:12:50 PM »

เหรียญชัยสมรภูมิสงครามอินโดจีน ... ของคุณตา... ไหว้







บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 04:17:17 PM »

... พร้อมกับ  เข็ดกลัด  ระลึกถึงการเข้ายึดดินแดน พ.ศ.2484 ...





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 04:22:40 PM โดย สหายเล็กน้อย » บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 04:22:16 PM »



กองทัพไทยเคลื่อนกำลังเข้ายึดดินแดน

            การเตรียมกำลังตามแผนยุทธศาสตร์  ได้ดำเนินไปตามลำดับ ฝ่ายฝรั่งเศสได้เคลื่อนกำลังเข้าประชิดแดนไทย ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2483 ในที่สุดกองทัพไทย เคลื่อนกำลังเข้าสู่ดินแดนเดิมของเราเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2483 ทางด้านอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีณบุรี
การเจรจากับรัฐบาลเยอรมัน
            ในการนี้ ทางรัฐบาลไทยได้ส่งทูตไปเจรจากับรัฐบาลเยอรมัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2483 เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง และความจำเป็น ที่ประเทศไทยต้องทำสงครามกับฝรั่งเศส ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในความยึดครองของประเทศเยอรมัน โดยคณะทูตที่ไปเป็นนายทหารบก 2 นาย กับนายทหารเรือ 1 นาย คณะทูตได้เข้าพบ จอมพล เกอริง โดยการประสานงานของพระยาพหล ฯ ซึ่งเป็นนักเรียนร่วมรุ่นกับ จอมพล เกอริง ในโรงเรียนนายร้อยเยอรมัน จึงได้รับความสะดวก และความร่วมมืออย่างดีทุกประการ จอมพล เกอริง มีความกังวลว่า การพิพาทกับฝรั่งเศสในอินโดจีน จะบานปลาย เป็นการเปิดแนวรบที่สองขึ้นในตะวันออก และรับรองยินดีสนับสนุน การเรียกร้องดินแดนคืนของประเทศไทย แต่ขอให้เป็นดินแดนเดิมของไทย จะได้ไม่เป็นปัญหาสู้รบกันต่อไปไม่จบสิ้น จากนั้น ได้ติดต่อให้ไปเจรจากับรัฐมนตรีต่างประเทศ การเจรจาเป็นไปด้วยดี โดยทางเยอรมัน ยินดีช่วยเหลือเรื่องการคืนดินแดนที่สูญเสียไปโดยไม่เป็นธรรม ไม่เฉพาะแต่ด้านอินโดจีนฝรั่งเศส แม้ทางด้านพม่า และมลายู ของอังกฤษ มีเมืองมะริด ทวาย ก็ยินดีสนับสนุน
            จากนั้นได้จัดเป็นคณะทูตพิเศษ ประกอบด้วยนายทหารบก 3 นาย และนายทหารเรือ 3 นาย ออกเดินทางไปประเทศฝรั่งเศส เข้าพบผู้บัญชาการทหารที่ยึดครองกรุงปารีส ซึ่งก็ได้สั่งการไปยังรัฐบาลวิซี่ของฝรั่งเศส ให้ยับยั้งการสู้รบ คณะทูตไทยได้ถือโอกาสเยี่ยมชมป้อมมายิโนต์ อันมีชื่อเสียงของฝรั่งเศส ที่ถูกเยอรมันตีแตกในเวลาเพียง 2 สัปดาห์  และได้พบกับคณะนายทหารญี่ปุ่น ที่มาชมป้อมนี้เหมือนกัน จึงได้ทราบว่าญี่ปุ่นมีแผนที่จะบุกอาเซียอาคเนย์ ในอนาคตอันใกล้

ผลของการสู้รบ

            ไทยได้ประกาศสถานสงครามกับอินโดจีน เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2484
            กองทัพไทย มีชัยชนะกองทัพฝรั่งเศสในทุกด้าน ดังนี้
                    กองพลพายัพ ยึดได้แคว้นหลวงพระบาง ฝั่งขวาห้วยทราย ตรงข้ามเชียงแสน มีเมืองปากลาย หงสา และเชียงฮ่อน
                    กองทัพอิสาน กองพลอุบลยึดได้แคว้นนครจัมปาศักดิ์  กองพลสุรินทร์ ยึดได้เมืองสำโรงจงกัล ทางจังหวัดเสียมราฐ
                    กองทัพบูรพา ยึดได้พื้นที่ทางทิศตะวันตกของศรีโสภณ กองพลจันทบุรี ยึดได้บ้านกุบเรียง และบ้านห้วยเขมร ทางด้านทิศตะวันตกของบ่อไพลิน และพระตะบอง
                    กองทัพเรือ ได้มีการรบที่เกาะช้าง เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2484 ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้วโดยเฉพาะ
                    กองทัพอากาศ ได้ทำการรบจนมีชัยทางอากาศ และได้ไปทำลายสถานที่สำคัญทางทหาร ในอินโดจีนอีกหลายแห่ง
            ในช่วงแรกของการรบ  ญี่ปุ่นซึ่งมีฐานทัพอยู่ในอินโดจีนได้เฝ้าดูอยู่   โดยยังมิได้มีปฏิกิริยาใด ๆ
แต่เมื่อรบกันไปได้ไม่นาน  ก็เห็นว่ากองทัพไทยมีทีท่าว่า จะตีกองทัพฝรั่งเศสตกทะเลในไม่ช้า   ถ้าไม่มีชาติใดมาหยุดยั้งเสียก่อน ญี่ปุ่นเห็นว่าชัยชนะของกองทัพไทย กำลังจะเป็นอันตรายต่อแผนการของตน ที่จะรุกรานลงทางใต้  จึงได้เสนอตนต่อรัฐบาลไทย และรัฐบาลฝรั่งเศสขอเป็นคนกลาง   เพื่อไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทนี้  เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2484 ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตั้งคณะผู้แทนขึ้นสองคณะ คณะหนึ่งไปเจรจาทำความตกลงพักรบที่ไซ่ง่อน อีกคณะหนึ่งไปเจรจาสันติภาพ ณ กรุงโตเกียว ไทย และฝรั่งเศส ได้หยุดยิงตั้งแต่ เวลา 10.00 น เป็นต้นไป
            ประเทศไทยได้ส่งคณะผู้แทนไปเจรจาพักรบที่ไซ่ง่อน มีทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนร่วมกัน เดินทางจากพระนคร เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2484 การเจรจาใช้เวลา 3 วัน ก็ได้ลงนามพักรบบนเรือลาดตระเวณญี่ปุ่น ชื่อ นาโตริ  ซึ่งจอดอยู่หน้าเมืองไซ่ง่อน เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2484 ข้อกำหนดพักรบมีกำหนด 15 วัน
            ต่อจากนั้นรัฐบาลได้ส่งคณะผู้แทนอีกคณะหนึ่ง มีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เป็นประธาน  พร้อมด้วยข้าราชการทหารและพลเรือน เดินทางไปยังกรุงโตเกียว เพื่อเจรจาสันติภาพและปรับปรุงเขตแดน การประชุมเริ่มเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2484 โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นประธานฝ่ายญี่ปุ่น เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำกรุงโตเกียว เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส
            การเจรจาตกลงกันได้ในสาระสำคัญ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2484 ฝ่ายไทย และฝ่ายฝรั่งเศส ตกลงยอมรับแผนการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2484 โดยฝ่ายฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนแขวงหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แคว้นจัมปาศักดิ์ และแคว้นเขมร ให้แก่ไทย ความตกลงข้อนี้เป็นที่พอใจของฝ่ายไทยทุกประการ ในการนี้รัฐบาลไทยได้ประกาศให้หยุดราชการในวันที่ 12 มีนาคม 2484 และได้ประดับธงชาติไทยคู่กับธงชาติญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกมีกำหนด 3 วัน กับได้มีการสวนสนามฉลองชัยชนะที่พระนคร เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2484


การรับมอบดินแดนคืน

            ได้มีพิธีรับมอบดินแดนที่จังหวัดพระตะบอง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2484 มีการสวนสนาม โดยมีแม่ทัพบูรพาเป็นประธาน มีผู้แทนจากคณะรัฐมนตรี 3 นาย และผู้แทนฝ่ายทหาร 3 นาย ไปรับมอบดินแดน
            ต่อมาผู้แทนฝ่ายไทย ฝ่ายฝรั่งเศส และฝ่ายญี่ปุ่น ได้ร่วมกันร่างอนุสัญญาในเรื่องนี้ขึ้น และได้ลงนามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2484 โดยสนธิสัญญานี้ประเทศไทยได้ดินแดนคืนมาประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร และได้จัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ขึ้น 4 จังหวัด คือ พระตะบอง พิบูลสงคราม นครจัมปาศักดิ์ และลานช้าง และเพื่อเป็นการถ้อยทีถ้อยตอบแทนกันโดยไมตรี  ฝ่ายไทยให้เงินทดแทนค่าก่อสร้างทางรถไฟ ของอินโดจีนฝรั่งเศส เป็นเงิน 6 ล้าน เปียสตร์อินโดจีน โดยแบ่งใช้มีกำหนด 6 ปี อนุสัญญาสันติภาพฉบับนี้ ได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2484  สภาผู้แทนได้ให้ความเห็นชอบ ให้สัตยาบันอนุสัญญานี้ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2484 พร้อมทั้งมีมติขอบคุณรัฐบาลและผู้ที่ได้ไปทำงานให้แก่ประเทศชาติจนบรรลุผล ควรจารึกเกียรติคุณไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติชั่วกาลปาวสาน

การปักปันดินแดน
 
              ในพิธีสารภาคผนวกของอนุสัญญาสันติภาพ   ลงวันที่ 5 กรฎาคม  2484
ได้กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการปักปันดินแดนขึ้น  เพื่อดำเนินงานให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 1 ปี  กรรมการดังกล่าวประกอบด้วยฝ่ายไทย  ฝ่ายฝรั่งเศส  และฝ่ายญี่ปุ่น  โดยมีฝ่ายญี่ปุ่นเป็นประธานกรรมการ
            การปักปันดินแดนได้ดำเนินการอย่างเร่งรีบ  ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2484
งานได้เสร็จสิ้นลงตามกำหนดเวลา ได้มีการลงนามในพิธีสาร  เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2485  ณ เมืองไซ่ง่อน  และไทยได้เริ่มเข้าครอบครองดินแดนที่ได้ ตั้งแต่ วันที่ 12 กรกฎาคม 2485
 
 
สรุปผลที่ได้รับ

             ไทยได้รับดินแดนบางส่วนที่เสียให้แก่ฝรั่งเศษกลับคืนมารวมประมาณ 69,000 ตารางกิโลเมตร จากดินแดนลาวและเขมรที่ไทยเสียให้แก่ฝรั่งเศษในเหตุการณ์หลายครั้ง รวมทั้งสิ้นประมาณ 467,800 ตารางกิโลเมตร
            ดินแดนที่ไทยได้คืนจากฝรั่งเศษได้จัดตั้งเป็นอำเภอและจังหวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่แม่ทัพนายกองของไทย และผู้ที่เป็นหลักในการดำเนินการต่อกรณีพิพาทอินโดจีน ดังนี้คือ
            อำเภอไพรีระย่อเดช อำเภอเกรียงศักดิ์พิชิต อำเภอพรหมโยธี อำเภออธึกเทวเดช อำเภอสินธุสงครามชัย อำเภอวรรณไวทยากร อำเภออดุลย์เดชจรัส อำเภอหาญสงคราม และจังหวัดพิบูลสงคราม และได้จัดการปกครองดังนี้
            1. เมืองเสียมราฐ (เขมร) ได้ยกฐานะท้องที่เมืองนี้ขึ้นเป็นจังหวัดพิบูลสงครามปกครองด้วยอำเภอไพรีระย่อเดช อำเภอกลันทบุรี อำเภอพรหมขันธ์ อำเภอเกรียงศักดิ์พิชิต อำเภอวารีแสน และอำเภอจอมกระสานต์
            2. เมืองพระตะบอง (เขมร) ยอท้องที่เมืองนี้ขึ้นเป็นจังหวัดพระตะบอง ประกอบด้วยอำเภอเมืองพระตระบอง อำเภอพรหมโยธี อำเภออธึกเทวเดช อำเภอมงคลบุรี อำเภอไพลิน อำเภอศรีโสภณ และอำเภอสินธุสงครามชัย
            3. นครจัมปาศักดิ์ (ลาว อยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง) ยกท้องที่แขวงนี้ขึ้นเป็นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประกอบด้วยอำเภอเมืองนครจัมปาศักดิ์ อำเภอวรรณไวทยากร อำเภอธาราบริวัติ อำเภอมโนไพร และอำเภอโพนทอง
            4. หลวงพระบาง (ลาว อยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง) ยกท้องที่แขวงนี้ขึ้นเป็นจังหวัดลานช้าง ประกอบด้วยอำเภอสะมาบุรี อำเภออดุลย์เดชจรัส อำเภอแก่นท้าว อำเภอเชียงฮ่อน และอำเภอหาญสงคราม
            ได้มีการเปลี่ยนแปลงใช้ร่องน้ำลึกในแม่น้ำโขงเส้นเขตแดน บรรดาเกาะที่อยู่ฝั่งขวาของเส้นเขตแดน (ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง) เป็นของไทย ยกเว้นเกาะโขง และเกาะโดน ให้ไทยและฝรั่งเศษปกครองร่วมกัน


สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

            ผู้ซึ่งเสียชีวิตไปในการรบ  เรียกร้องการปรับปรุงเส้นเขตแดนกับอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งนั้น  ได้ถูกจารึกไว้
ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  ที่ประชาชนและรัฐบาลร่วมกันจัดสร้างขึ้นที่พระนคร  ตรงต้นทางหลวงประชาธิปัตย์
(ถนนพหลโยธิน)  ตอนถนนพญาไท  ร่วมถนนราชวิถี  โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484
และได้ทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485
            บรรดาผู้กล้าหาญของชาติจำนวนทั้งสิ้น 160 คน  เป็นทหารบก 94 นาย  ทหารเรือ 41 นาย  ทหารอากาศ 13 นาย  และตำรวจสนาม 12 นาย  ได้จารึกชื่อไว้ ณ อนุสาวรีย์แห่งนี้ในครั้งนั้น



ที่มา หอมรดกไทย  http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/military/indochina/index1.htm

... สืบค้นข้อมูล โดย ...ท่านทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ...  ไหว้
บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« ตอบ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 04:40:19 PM »

 ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 04:49:17 PM »

ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้
ของเราแบบใหนหละจักร Grin
บันทึกการเข้า

สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 05:07:42 PM »

ผ้าแถบมันเปื่อยหมดแล้วครับน้าจอย  เหลือแต่เหรียญ  สนิมเขรอะ   เลยครับ   น้าจอยฯ
บันทึกการเข้า
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 05:14:20 PM »

:: พ.ร.ก. เหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484 มาตราที่ 1-9
 
:: พระราชกำหนด เหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484 ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480) อาทิตย์ทิพอาภา พล.อ.พิชเยนทร โยธิน ตราไว้ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2484 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน
 มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้ให้เรียกว่า "พระราชกำหนด เหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484"
 มาตรา 2 ให้ใช้พระราชกำหนดนี้ตั้งแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2484/-/163/4 กุมภาพันธ์ 2484]
 มาตรา 3 ให้มีเหรียญเพื่อพระราชทานแก่ผู้ที่กระทำการรบขึ้นอีกชนิดหนึ่ง มีนามว่า "เหรียญชัยสมรภูมิ" อักษรย่อ ช.ส.
 มาตรา 4 เหรียญชัยสมรภูมินี้ มีลักษณะเป็นเหรียญเมล็ดกลม รมดำ ด้านหน้ามีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกำลัง ทรงกระทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู มีอักษรจารึกว่า "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กู้ชาติ" ด้านหลังมีอักษรจารึกว่า "เรารบเพื่อเกียรติศักดิ์ไทย" ตัวเหรียญห้อยกับ แพรแถบสีแดง กว้าง 3.5 เซ็นติเมตร มีริ้วสีขาวใกล้ขอบทั้งสองข้าง ข้างบนมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า "ชัยสมรภูมิ"
 มาตรา 5 เหรียญชัยสมรภูมินี้ จะพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ และผู้กระทำหน้าที่อย่างทหารหรือตำรวจบรรดาที่ได้รับคำสั่งจากหน่วยทหาร หรือตำรวจให้ไปกระทำการรบและได้เคลื่อนที่ไปแล้ว
 ถ้าผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิได้กระทำการจนได้รับความชมเชย จากทางราชการหรือกระทำความชอบที่ บาดเจ็บ จะได้รับ พระราชทานเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปขีดประกอบด้วยเปลวระเบิด สำหรับติดที่แพรแถบทุกครั้ง
 ถ้าผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิได้ประกอบวีรกรรม แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ จะได้รับพระราชทาน เครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปช่อชัยพฤกษ์ช่อเดียวสำหรับติดที่แพรแถบ ทุกครั้ง
[แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดเหรียญ ชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539]
 มาตรา 6 ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญนี้ ในเวลาแต่งเครื่องแบบให้ประดับด้วยเสมอ ในเวลาที่มิได้แต่งเครื่องแบบ ให้ประดับได้เฉพาะในกรณี ที่กำหนด
 มาตรา 7 ถ้าผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิวายชนม์ เสียก่อนได้รับพระราชทาน จะได้พระราชทานแก่ทายาทคนใดคนหนึ่งของผู้นั้น เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงความดีของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ทายาทหามีสิทธิที่จะ ประดับไม่
 มาตรา 8 เหรียญชัยสมรภูมินี้พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก ถ้าผู้ได้รับพระราชทานก็ดี ทายาทโดยธรรมก็ดี กระทำความผิดร้ายแรงหรือประพฤติตน ไม่สมเกียรติ อาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใด ๆ ภายในกำหนด 1 เดือน ต้องใช้ราคาเหรียญนั้น  
มาตรา 9 ให้นายกรัฐมนตรี รักษาการให้เป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจวางระเบียบการเกี่ยวกับการประดับเหรียญและ กรณีที่จะให้ประดับเหรียญ
 ระเบียบการนี้เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้
 
:: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
 
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2514
 โดยที่คณะปฏิวัติเห็นว่า ทหาร ตำรวจ และผู้กระทำหน้าที่อย่าง ทหารหรือตำรวจซึ่งได้ประกอบวีรกรรมแม้ยังไม่ถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทาน เหรียญกล้าหาญ แต่ควรที่จะได้รับเครื่องหมายเป็นเครื่องเชิดชูวีรกรรมนั้น จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยเหรียญชัยสมรภูมิเพื่อให้มีบทบัญญัติ ว่าด้วยเครื่องหมายสำหรับผู้ประกอบวีรกรรม หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
[รก.2514/147/3/28 ธันวาคม 2514]
 
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
 มาตรา 5 บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือ คำสั่งใด อ้างถึงประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หรืออ้างถึงบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว ให้ถือว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นอ้างถึงพระราชบัญญัตินี้ หรืออ้างถึงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน แล้วแต่กรณี
 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ว่าด้วยเหรียญ ชัยสมรภูมิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484 ได้ออกใช้บังคับในระหว่างที่มีการปกครองโดยคณะปฏิวัติ และใช้ชื่อว่าประกาศของคณะปฏิวัติ สมควรปรับปรุงรูปแบบและบทบัญญัติของ กฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวให้เป็นพระราชบัญญัติเพื่อให้เป็นไป ตามวิธีการตรากฎหมายในระบบปกติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2539/44ก/1/3 ตุลาคม 2539]

http://www.kodmhai.com/m4/m4-20/h13/m1-9.html

 A : อยากเรียนถามว่า กรณีบิดามีเหรียญชัยสมรภูมิ 2 เหรียญ คือ เหรียญชัยเวียดนามกับเหรียญชัยเกาหลี ตอนที่บิดาตายไปแล้ว จะขอทายาทเหรียญชัยได้ กี่คน ครับ

B: กรณีนี้ทายาทบัตรเหรียญชัยสมรภูมิมีสิทธิสองคนค่ะ ให้ไปติดต่อที่จังหวัดทหารบกที่มีภูมิลำเนาทหารได้เลยค่ะ สงสัยให้ติดต่อ ที่แผนกประวัติ กองประวัติ ฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02 297 7598 หรือ โทร.ทบ. 97598

http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=jeeranan&board=1&id=271&c=1&order=numview
บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 22 คำสั่ง