เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 02, 2024, 01:35:50 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปรับตัวเข้าหาปืน หมายถึง ..  (อ่าน 4451 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หญ้าเจ้าชู้ # รักในหลวง #
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 51
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 280



« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 10:47:35 AM »

ได้ยินคำนี้มาหลายครั้งแล้วครับ ทั้งในหนังสือหรือในเว็ป ก็เลยสงสัยครับว่าแบบไหนคือการปรับตัวเข้าหาปืน หรือเป็นการปรับปืนเข้าหาตัว

ยกตัวอย่าง เช่น การที่ปืนเราไก หนัก เพราะเป็นปืนต่อสู้ ไม่ใช่ปืนแข่ง เราก็ควรฝึก และทำความคุ้นเคยกับมันให้มาก ไม่ใช่ไปลดน้ำหนักไก เพราะมันผิดวัตถุประสงค์ปืนผมเข้าใจถูกมั้ยครับ

ปืนผมเอง USP แค่เปลี่ยนศูนย์เป็น night sight อย่างเดียว ในขณะที่ m15 เปลี่ยนแหนบใหม่เพราะของเก่าสับไม่ค่อยแตก

ผมเองเข้าใจว่าปืนกว่าจะสร้างหรือพัฒนามาได้สักหนึ่งกระบอก วิศวะกรเค้าคงคิดมาดีแล้วว่าควรจะออกแบบให้มันเป็นอย่างไร เพื่ออะไร
บันทึกการเข้า

ผมเสียภาษีนะครับ ทำอะไรเกรงใจกันบ้าง
nick357 "รักในหลวง"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 197
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1843


no!!! conflict.let'sit and talk!!!!


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 11:27:33 AM »

ของผมหมายถึง ปืนเดิมๆยิงให้แม่นเหมือนปืนปรับแต่งมา...
บันทึกการเข้า
ปาล์มๆ...ซุ่มโป่ง
Hero Member
*****

คะแนน 57
ออฟไลน์

กระทู้: 1891


ทำความดีเพื่อชาติ


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 11:35:49 AM »

ปรับตัวเข้าหาปืน คือตามผมเข้าใจนะ ปืนเดิมๆครับ ไม่ได้ปรับแต่งอะไร ฝึกให้คุ้นมือครับ
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 12:08:04 PM »

เอาเฉพาะเรื่องไกหนัก ที่นายสมชายเองเคยบอกว่าให้ปรับตัวเข้ากับปืนนะครับ... คือในบางกระทู้ มีผู้ถามเรื่องลูกโม่ไกหนัก กับ 1911 ไกหนัก...

นายสมชายหมายความว่ากรณีที่เป็นปืนมาตรฐาน จากโรงงานมาตรฐานและกลไกปืนกระบอกนั้นไม่บกพร่องนะครับ, เช่นในปืนต่อสู้เช่นลูกโม่โครงเล็กของสมิธฯ เป็นต้น หากจะแต่งไกก็ควรเปลี่ยนสปริงคืนไกให้เบาลงแบบหนักที่สุดเท่าที่ยอมรับได้ แต่เจ้าของปืนควรหัดลั่นไกแห้ง ปรับตัวเข้าหาปืนสักช่วงเวลาหนึ่งก่อน ไม่ควรรีบแต่งไกในขณะที่ตนเองยังไม่ได้สร้างความคุ้นเคยเสียก่อน... หากผลีผลามแต่งไกทันที มักไปถูกใจได้ไกเบามากชนิดอาจมีปัญหาในภายหลัง เช่นฝนเซียร์ลึกจนผิวที่ชุบแข็งหายไป หรือเปลี่ยนสปริงนกสับเบาเกิน หรือสปริงคืนไกคืนตัวช้า เป็นต้น...

ส่วนกรณี 1911 หากเป็นปืนต่อสู้แล้วใช้ชุดลั่นไกยี่ห้อเชื่อถือได้ เขามักออกแบบจากโต๊ะเขียนแบบเลยให้น้ำหนักไก 3.5 ปอนด์กรณีปืนแข่งฯ หรือ 4.5 ปอนด์หากเป็นปืนต่อสู้ โดยไม่ต้องขัดถูหน้าสัมผัสเซียร์ขบกับนกสับ... ตัวเลข 3.5 ปอนด์กับ 4.5 ปอนด์มีที่มานะครับ, สำหรับ 3.5 ปอนด์ใช้งานในสนามฯ อาจแต่งให้เบาลงเพียงใดก็ได้ เพราะใช้ในสนามฯ, ส่วน 4.5 ปอนด์มาจาก"ไกต้องหนักกว่า"น้ำหนักปืน 1911 ตัวเต็มโครงเหล็ก 5 นิ้ว+แม็กบรรจุกระสุนเต็ม+แรงเขย่าๆถือปืนในฉากต่อสู้แล้วไม่ลั่นง่ายครับ...

หากต้องการไกให้เบากว่านี้ลงไปอีกในปืนต่อสู้... ในหนังสือแม็กกาซีนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศก็มักแนะนำแบบที่ จขกท. รับทราบมานั่นแหละครับ ว่าให้"ปรับตัวเข้าหาปืน"ดีกว่า...

อ้อ... มีอีกกรณีครับ คือบางคนสรีระเล็กกว่าปืน ทำให้กำด้ามไม่ถนัดเพราะด้ามโตเกิน หรือด้ามไม่โต แต่ระยะไกห่างจากง่ามมือมาก ทำให้ต้องล้วงนิ้วเพื่อเหนี่ยวไก... อย่างนี้หากเลือกได้ ไม่ควรแต่งกลไกข้างในเพื่อนร่นระยะไกปืนเข้ามาครับ แต่ควรเลือกปืนกระบอกใหม่ไปเลย, ตรงนี้มีเหตุผลคือการเปลี่ยนแปลงกลไกข้างในจะทำให้ความน่าเชื่อถือของปืนกระบอกนั้นลดลงครับ...

มีบางกระบอกสามารถร่นระยะไกปืน หรือลดวงรอบง่ามมือ"กำด้ามเหนี่ยวไก"ได้โดยไม่กระทบต่อกลไกข้างใน เช่น 1911 สามารถ"เฉือน"เนื้อไกทิ้งก็ได้... เช่นปืน 1911 ของนายสมชายปรับความหนาแก้มไม้+ปรับความหนาหลอดสปริงนกสับ+เอามีดเฉือนเนื้อไกพลาสติก(ยี่ห้อแพชเมียร์)ออก จนเมื่อกำด้ามปืนถนัดแล้วแนวลำกล้องได้แนวกระดูกแขนครับ(แปลว่าหลับตายกปืนยิงระยะใกล้ๆ แนวซ้ายขวาก็ไม่หลุดขวด)...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 12:10:02 PM โดย นายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
chatphisit
my heart is broken in a million pieces
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 50
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 243


The greatest loss and despair.


« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 01:15:21 PM »

             มาเก็บความรู้เพิ่มอีกแล้วครับ
      เยี่ยม +1 ให้พี่สมชายครับ
บันทึกการเข้า
passado
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 15
ออฟไลน์

กระทู้: 265


« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 02:55:50 PM »

ได้ความรู้อีกแล้วครับ เยี่ยม+ครับท่านนายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 04:16:42 PM »

ขอบคุณครับ... ทอนคืนทั้ง 2 ท่านแล้วครับ... เย้...
บันทึกการเข้า
หญ้าเจ้าชู้ # รักในหลวง #
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 51
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 280



« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 05:15:41 PM »

รบกวนผู้รู้ช่วยยกตัวอย่างเพิ่มเติมหน่อยครับ ไหนๆแล้ว ว่าอะไรเป็นการปรับตัวเข้าหาปืน หรือ ปรับปืนเข้าตัว
บันทึกการเข้า

ผมเสียภาษีนะครับ ทำอะไรเกรงใจกันบ้าง
enikma
Jr. Member
**

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 23



« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 06:39:30 PM »

เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
Jedth
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 858
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4607



« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 06:47:42 PM »

มากด like ให้พี่สมชาย และให้ จขกท. ครับ เยี่ยม

ผมชอบคิดกับตัวเองในแนวทางเดียวกันกับประเด็นที่ จขกท. สงสัยนี่แหละครับ
หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และสอบถามจากผู้รู้เพื่อมาประกอบเป็นชุดความรู้ในเรื่องนั้นๆ รวมถึงประกอบการตัดสินใจฝึกฝนเกี่ยวกับเรื่องที่ตัวเราให้ความสนใจ

ผมจึงสรุปเอาเองอย่างง่ายๆ สำหรับตัวผมว่า ปืนของเราไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรถ้าปืนไม่บกพร่อง ดูความจำเพาะของปืนแล้วพยายามฝึกฝนการใช้ปืนบนเงื่อนไขนี้ เพื่อให้เกิดผลงานที่น่าพึงพอใจสำหรับตัวเราครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

Pragmatism
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1960
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22591


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 12:32:21 AM »

ในความเห็นของผม การปรับตัวเข้าปืนคือ...

1.การเรียนรู้ปืนกระบอกที่เราได้ครอบครอง...

ให้เข้าใจถึงระบบการทำงาน กลไกทำงานหลักๆ...

ข้อดีและข้อด้อยของปืนกระบอกนั้นๆ...

ไปจนถึงการดูแลรักษาที่เหมาะสม และทริกเล็กๆน้อยๆสำหรับปืนของเรา... คิก คิก

2.การฝึกฝน จนเกิดความคุ้นเคย ช่ำชองกับปืนกระบอกนั้นๆ...

ชนิดเหลือบดูก็พอรู้ว่าขึ้นลำไว้หรือเปล่า...

จับด้ามก็บอกได้ว่าบรรจุกระสุนไว้ไหม...

ยกขึ้นยังไม่ต้องเล็งก็พอจัดตำแหน่งคร่าวๆของลำกล้องให้ชี้ตรงไปที่เป้าได้...  Grin

3.การซ้อมยิงทั้งยิงแห้ง ยิงจริง...

ให้เข้าใจถึงการจัดศูนย์ ตำแหน่งตกของกระสุน การกริปด้าม จังหวะหลุดไก...

กระสุนที่เหมาะกับปืน แรงรีคอยล์ การยิงซ้ำ... Smiley


ข้อแรกอาจใช้สื่อต่างๆไม่ว่าคู่มือ หนังสือปืน อินเตอร์เนท ไปจนถึงคำบอกเล่าจากผู้รู้ต่างๆ...

ส่วนสองข้อหลังนั้นต้องอาศัยเวลาและการหมั่นฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ...


โดยสุดท้ายเมื่อเราแน่ใจว่าปรับตัวเข้าหาปืนได้แล้ว...

แต่ปืนยังไม่สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่...

ก็ต้องมาปรับปืนให้เข้ากับตัวเราบ้างแล้วล่ะครับ...  คิก คิก
บันทึกการเข้า
dignitua-รักในหลวง
เราจะสู้เพื่อในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1414
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8341


จะมีพรุ่งนี้ ได้อีกกี่วัน...


« ตอบ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 08:41:59 AM »

ขั้นแรกต้องปรับปืนให้เข้ากับตัวก่อนครับ... ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของตน จากนั้นก็ทำการเลือก เริ่มจากลูกดกไม่ดกก่อน หน้าตัดกระสุน ขนาด และน้ำหนักปืนรวมน้ำหนักกระสุนบรรจุเต็ม พกยังไง วงกระสุนเท่าไหร่ ฯลฯ

ขั้นตอนนี้เลือกยากหน่อยเพราะวัตถุประสงค์ของปืนแต่ละกระบอกไม่เหมือนกัน เอาให้เหตุผลเข้ากับตัวเราให้ใกล้เคีย
ที่สุด... และที่สำคัญปืนเราอาจจะไม่ใช่ปืนที่ดีที่สุดในโลก แต่ขอให้ดีที่สุดสำหรับตัวเรา เท่านั้นพอครับ...

จากนั้นค่อยปรับตัวให้เข้ากับปืน... เรียนรู้ระบบต่างๆของปืนให้เข้าใจ ปรับการแต่งตัว หรือหาซองปืนพกนอกในที่มีคริปสูงต่ำตามความสะดวก แล้วหมั่นซ้อมควักปืนชี้เป้าให้ชำนาญ และซ้อมยิงบ้างเท่าที่โอกาสจะอำนวย...

และเมื่อเหตุการณ์ผ่านไป เราอาจต้องมาดูทั้ง 2 หัวข้อใหม่ เพราะอาจจะมีเหตุการณ์หรือเหตุผลใหม่ๆ ที่จะต้องปรับปืนปรับตัวกันอีกครั้งครับ.... Wink
บันทึกการเข้า

sak เมืองแป้
Hero Member
*****

คะแนน 145
ออฟไลน์

กระทู้: 1423



« ตอบ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 11:33:02 AM »

ไม่รู้ผมปรับตัวเข้าหาปืนหรือเปล่า

เพื่อนๆหรือคนรู้จัก เมื่อได้ปืนมาใหม่ มักจะให้ผมลองยิงปืนของเขาเกือบทุกคน
ผมก็จะ
1. จะดูขนาด จับเล็ง ดึงสไลด์ เซฟ ลั่นไกยิงแห้ง เพื่อลองน้ำหนักไก
2. บรรจุกระสุน 3 นัด ยิงระยะ 10 เมตร ดูการสบัด การคุมปืน น้ำหนักไก กลุ่มกระสุนว่า สูง ต่ำ กินซ้าย ขวา
3. บรรจุกระสุนอีก 5 นัด ยิงให้เข้า X โดยแก้ไข(เล็งเผื่อ)จากเป้าแรก ถ้าไกหนัก ต้องพยายามให้นิ่งที่สุด
ก็สามารถยิงให้อยู่ในกลุ่ม X ได้ และบอกเจ้าปืนว่าควรจะปรับตัวเข้าหาปืนอย่างไร และให้ยิงแบบเดิมๆให้คุ้นเคยก่อน ค่อยแก้ไขที่ปืน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 11:39:13 AM โดย sak เมืองแป้ » บันทึกการเข้า

อบต.ไผ่โทน หมู่ 2 อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140

08 357ุ6 4010(Dtac)
ธนาคารทหารไทย ออมทรัพย์ เลขบัญชี
ban.cha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 01:27:34 PM »

ปืนส่วนตัวต้องหมั่นซ้อมยิงบ่อยๆ เพื่อความคุ้นมือ
       แก้ไขข้อบกพร่องไปเรื่อยๆ  ไม่นานก็แม่นเองแหละเองครับ Grin
บันทึกการเข้า
boon(เสือไบ)
ความประพฤติบกพร่อง จะทำให้บิดามารดาอับอาย
Hero Member
*****

คะแนน 532
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6011



« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 02:07:33 PM »

ผมมองอย่างนี้ครับ คนเล่นปืนมือใหม่ๆ หรือมือเก่าเมื่อจับปืนกระบอกใหม่ ที่ต่างรุ่นต่างแบบกับที่เคยใช้
ส่วนมากจะรู้สึกว่าไม่ค่อยถนัด เช่นด้ามจับไม่ถนัดมือ ไกแข็ง จังหวะลากไกยาว สไลด์เล็กไม่ถนัดมือ และสารพัดสาระพันที่จะบ่น
บางคนถนัดมือซ้าย ก็บ่นว่าปืนมาสำหรับคนมือขาว ปุ่มกลไกต่างๆใช้งานได้ไม่สะดวก 
ถ้าท่านเล่นกับปืนกระบอกนั้นบ่อยๆ ฝึกใช้งานสักระยะ เราก็จะเรียนรู้ ปรับปรุงตัวเอง หาเทคนิคในการใช้งาน ทำให้ใช้งานปืนได้ถนัดมือขึ้น
ปืนผมทุกกระบอกกลไกเดิมๆจากโรงงานแทบทั้งสิ้น รูเกอร์และเทารัสที่ใครๆว่าไกหนัก ผมยิงได้แบบสบายๆ โดยไม่ต้องแต่งไก
ตอนได้มาใหม่ๆ ผมเข้าสนามบ่อยมาก ยิงจนคุ้นมือ  ไหว้ ผมเองถนัดซ้าย ใช้ปืนออโตโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
ปุ่มปลดแมกอยู่ด้านซ้าย เราก็ใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลางปลดได้ คันค้างสไลด์ก้เช่นเดียวกัน 
ยิงด้วยมือซ้ายกลัวเสียเปรียบชาวบ้าน ก็หัดยิงด้วยมือขวา ฝึกยิงบ่อยๆ สุดท้ายยิงได้ทั้งมือซ้ายและมือขวา
เรียนรู้และปรับตัวเอง ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ ประหยัดเงินด้วย และสิ่่งสำคัญ เราคุ้นเคยกับการใช้ปืนมากขึ้นกว่าการวางปืนใว้ในกล่องเฉยๆ
 ไหว้การใช้ปืนก็เหมือนการใช้รถครับ ซื้อรถคันใหม่ เบาะนั่ง พวงมาลัย คันเร่ง ถนัดสู้คันเก่าไม่ได้ แต่ใช้ไปสักพัก มันนั่งขับสบาย
บันทึกการเข้า

If a man says he is not afraid of dying, he is either lying or is a Gurkha
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 22 คำสั่ง