......
......
2.1 พอลูกค้าผู้ขายน้ำยางมาถึง ก็เทน้ำยางลงในถัง 150 ลิตรของผู้ซื้อ (ตรงนี้สำคัญมาก เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง) แล้วชั่ง ได้ตัวเลขเท่าไหร่ ทดไว้
......
......
คือว่า มันมีโรงรมรายใหญ่ของเอกชนเจ้าหนึ่ง รับน้ำยางจากผู้ซื้อรายย่อย มาเป็นรถแท้งก์ แต่ละเจ้า น้ำยางน้ำหนักร่วม ๆ ตัน
แต่ละวัน เขารับจากรายย่อยเป็นสิบ หรือกว่า
รายย่อยเขาจะรับซื้อมาจากชาวสวน คิดเปอร์เซ็นต์ตามวิธีของเขา เอามาส่งโรงรม ก็ตักตัวอย่างธรรมดา
หน้าตารถจะอยู่ประมาณนี้ ติดถังที่ท้าย แล้วเอามาชั่งทั้งคันบนแท่นชั่ง
ชั่งแล้วก็ขับขึ้นมาบนโรงรม ตักตัวอย่างเอาไปหาเปอร์เซ็นต์ แล้วถอยท้ายเข้าเทน้ำยางลงในอ่างของโรงรม
แล้วเอารถเปล่าลงไปชั่ง เพื่อหาน้ำหนักส่วนต่าง....
....วิธีการก็ปรกติดีครับ แต่คนมันจะโกง..!! อะไรก็ขวางไม่อยู่
กระบะรายย่อยเจ้าหนึ่ง มันเอาถุงพลาสติก ใบละ 4 บาทนั่นแหละ ใส่ลงในแท็งก์น้ำยาง แล้วใส่น้ำเปล่า ๆ ลงไปจนเต็ม
สิริรวม น้ำเปล่าในถุง ร่วม ๆ ร้อยกว่าลิตร ก็กลิ้งขลุกขลิก ๆ อยู่ในนั้น
แล้วก็ไปซื้อน้ำยางตามปรกติ ..ให้แพงกว่าเจ้าอื่น บาทสองบาทด้วย
พอไปชั่ง น้ำกับน้ำยาง อยู่คนละส่วนกัน แต่ได้ชั่งทั้งสอง
พอตักตัวอย่าง มันก็ตักน้ำยางล้วน ๆ เปอร์เซนต์ข้นคลั่ก
พอไปเท เป็นปรกติที่น้ำยางมาก ๆ อาจมีเศษยางแข็งตัวไปอุดทางออก พอเอาไม้ยาว ๆ กระทุ้ง ๆ มันก็จะออกตูม...
หมอนี้ เอาไม้กระทุ้งครับ กระทุ้งถุงใส่น้ำให้แตกออก น้ำเปล่าปนน้ำยางก็ลงในอ่างของโรงรมไปพร้อม ๆ กัน
แล้วไปชั่งรถเปล่า..... เท่ากับมันได้ขายน้ำประปา ในราคาน้ำยางพารา เป็นจำนวนร้อยกว่ากิโล...
คิดเป็นเงินตอนนี้ ก็ราว ๆ 4,000 - 5,000 บาท เดือนหนึ่ง ๆ ก็ราว ๆ แสนห้า....
...........
แล้วถามว่า น้ำปนน้ำยาง ดูไม่ออกหรือ....
ขอบอก ....น้ำหนึ่งโอ่ง ใส่น้ำยางลงไปแค่จอกเดียว น้ำขาวว่อกทั้งโอ่ง นั่นอัตราแค่หนึ่งต่อพันนะ
ถ้าหนึ่งต่อหนึ่ง หรือสองต่อหนึ่ง ชำนาญแค่ไหนก็ดูไม่ออก