
ต่อครับ
จังหวัดผมเป็นจังหวัดที่ใช้ภาษาหลากหลายจังหวัดหนึ่ง มีทั้งภาษาย้อ กะเลิง ภูไท โส้ โย้ย ส่วนอำเภอที่อยู่ค่อนติดอุดรธานีอุดรจะพูดภาษาอิสานเหมือนชาวอิสานทั่วไป... และมีอำเภอหนึ่ง เป็นน้องใหม่ ประชากรส่วนมาจะเป็นคนที่อื่น มาจับจองที่ดินตั้งหลักปักฐาน จึงค่อนข้างหลากหลายเอาการ
บรรพบุรุษของผม อพยพมากจากเมืองมหาชัยก่องแก้ว บางท่านอาจสัณนิษฐานว่าบรรพบุรุษของผมอาจเบื่อชีวิตตังเก อาจเปลี่ยนแนวจากทำนาเกลือลงเรือจับปลา ลองมาเข้าป่าทำนาข้าว เหมือนในเพลงหนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือของสรเพชร ภิญโญดูมั้ง ...ผิดครับ เมืองที่ว่านี้อยู่ในประทศลาว ไม่ใช่สมุทรสาคร แต่ไม่ทราบชัดเจนว่าส่วนไหน..
.
แม่เฒ่า(ยาย)เล่าให้ฟังว่า พ่อแม่ของยายและเพื่อนบ้านอพยพหนีจีนห่อ(ฮ่อ)มาอยู่ริมของ(โขง) แต่จีนห่อยังตามราวี จึงหนีต่อมาเรื่อยๆที่ราบใกล้ตัวเมือง ผู้คนส่วนหนึ่งตั้งรกรากอยู่ที่นั่น ส่วนปู่สังกะสาย่าสังกะสีของผมคงจะกลัวมากจึงลุยป่าฝ่าหนามมาตั้งปักหลักกลางเขาภูพาน เรียกตัวเองว่า ไทกะเลิง มีภาษาพูด ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมแตกต่างจากชาวอิสานส่วนใหญ่
มาถึงตอนนี้ ท่านอาจสงสัยว่า ”อ๊ะ ดูหน้าตาทิดเป้าก็ดูหล่อเหลา ยังหนุ่มแน่น เกิดทันแม่เฒ่าที่มาจากลาวได้ไง โม้ป่าว ? “ ....หุ หุ หุ ไม่ได้โม้ครับ ยายผมเสียตอนอายุ 124 ปี ผมเรียนอยู่ ป.2
อาจจะสงสัยอีกว่า”ท่านอยู่มาได้ไงตั้งนานเน”...ท่านก็อยู่ของท่านเรื่อยๆไปเหมือนเราๆท่านๆนี่แหละครับอาหารท่านก็นเน้นผักปลา ตื่นแต่เช้าเดินไปเก็บใบหูกวางมาห่อกะบอง ตำขอนดอก ว่างๆท่านก็ตำข้าวแดกงาให้ผมกิน
บทท่านจะไป ท่านก็บอกลูกหลานว่าเมื่อยอยากนอน แล้วก็หลับไปเลย พอท่านเสีย ลูกหลานถึงได้รู้ว่าหมอนขิดใบใหญ่ที่ท่านนั่งพิงอยู้นั้น ข้างในอัดแน่ไปด้วยเงินหมากข้อและเงินฮาง แล้วเงินที่ว่านี่ คือเงินชาติไหน เงินหมากค้อ คือเงินที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดตะค้อที่ถูกแกะบางส่วนออก ส่วนเงินฮางลักษณะคล้ายเรือแจว กว้างยาวเท่านิ้วมือ..
”.อูยยยย....ของเก่ามีราคาทั้งนั้น แบบนี้ทิดก็รวยเละสิ” ...ปล่าวครับ บรรดาลูกๆเผาไปกับร่างของท่านหมดเลย...เหลือไว้เพียงดาบสองเล่ม หอกด้ามไม้ไผ่ยาวสองเมตรกว่า และหน้าสีนู ( หน้าไม้ ) ....
“เหลือไว้แต่ของดี ๆ ทั้งน้านนนนน” ครับ ผมก็ว่างั้นแหละ
“ แล้วทิดได้อะไรมามั่งล่ะ” ตอนลูกผมเกิด ลุงเอาเงินสตางค์รูผูกข้อมือ คนละหลายสิบเหรียญครับ
“ขอดูมั่งเด่ะ มีของพ.ศ.ไหนบ้าง” อย่าเสียเวลาหาเลยครับ ยายอ้วนเมียผมดูทุกเหรียญแล้ว พ.ศ.ที่ทำหวยได้ ไม่มีซักเหรียญครับ
“งั้นทิดก็มีลูกอีกดิ ลุงเค้าจะได้ให้อีก ” เสียใจครับ เมียผมทำหมันแล้ว
“ไม่เห็นยาก หาเมียใหม่เลย” บอกตรง ๆ ว่าไม่กล้าครับ ไม่ต้องถึงสากกะเบือในมือหล่อนหรอก แค่หล่อนแกล้งละเมอกลิ้งทับผม ผมก็ถึงแก่กรรมแล้ว อย่ายุเสียให้ยาก
“แสดงว่าทิดเป้ากลัวเมีย ? “ เปล้า...ผมไม่ได้กลัวเมีย ผมกลัวตายต่างหาก
“งั้นเปลี่ยนเรื่องใหม่” ดีครับ คุยเรื่องเมีย สติสะตังผมไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัวยังไงชอบกล
“แล้วภาษาล่ะมันแตกต่างจากชาวบ้านเขายังไง”...ภาษนากะเลิงจะห้วน สั้น หลายๆคำ สระ ไอ จะพูดเป็น สระเออ ...เอาพอเป็นออเดิ๊ฟก็แล้วกันครับ
พ่อ โพ๊ะ... แม่ เบ๊ะ... ใบไม้ เบยไม้...น้ำใส น้ำเส็ย...ใกล้ เก้ย ฯลฯ
“อืมมมม...มันแตกต่างชาวบ้านเค้าจริงวุ๊ย เวลาเจอกันจะคุยกันรู้เรื่องมั๊ย ” …รู้ครับ แต่ละภาษาก็ไม่ได้แตกต่างกันมากมาย ศัพท์คล้ายกัน ผิดเพียงสำเนียง ยกเว้นภาษาโส้
“ โซ่ ? “ ... โส้ครับ ไม่ใช่โซ่ ... โซ่น่ะเก็บไว้ให้ครูหมูใส่จักรยานขี่ตามหารักแท้ของแกเหอะ อย่าไปยุ่งกับของแกเลย
“ เป็นยังไงล่ะ “...ว้า ไปมุดอยู่ใหนมาถึงไม่รู้ว่า ครูหมูขี่จักรยานออกล่าเด็กหนุ่ม ๆ ไปหลายจังหวัด... เขารู้วันทั้งเวป
“ เรื่องครูหมู เกย์เฒ่าคนนั้น รู้ตั้งนานแล้วว๊อย ที่ถามนี่ ถามเรื่องภาษาโส้ “.....อ๋อครับ สำเนียยงคล้ายส่วยหรือเขมร แต่ไม่ใช่ คนส่วยหรือเขมรมาฟัง ก็ไม่รู้เรื่องครับ
“ แล้วทิดฟังรู้เรื่องมั๊ย “...หึ มืดตึ๊บ เวลาออกนอกหมู่บ้าน เจอชาวต่างถิ่นเจอกันก็จะส่งภาษาย้อ อันเป็นภาษากลางของจังหวัด จะได้สื่อสารกันง่าย ๆ ครับ
” พี่น้องแถวๆ นาจะหลวย บุญฑริก ที่พูดสลับกันระหว่าง ด เด็ก กับ ร เรือ “....ครับที่อำเภอผมก็มีครับ
อาจมีคำถามอีกว่า ..”.ทิดเป้ารู้ไหมว่า คนที่อพยพครั้งนู้นนนน...มีใครบ้าง”
มีนายศรีมุกดา นายจำวงค์ลา ฯลฯครับ ต่อมาทางรัฐบาลให้มีการตั้งนามสกุล กลุ่มของนายศรีมุกดาทั้งหมด ก็ใช้นามสุกศรีมุกดา กลุ่มนายจำวงศ์ลา ใช้นามสกุลจำวงลา กลุ่มพองพรหมใช้พองพรหม...
คงมีสงสัยอีกว่า “ ยังงี้มันก็ซ้ำๆกันสิ” แม่นแล้วครับ ทั้งหมู่บ้านมีแค่นามสกุลแค่นี้ ...ในตัวอำเภอ มีนามสกุลพองพรหม ดาบโสมศรี ดาบพิมพ์ศรี และแต่ละหมู่บ้านมีแค่สองามนามสกุลเท่านั้น ดังนั้นแค่เห็นนามสกุล ก็รู้ได้ว่า มาจากหมู่บ้านไหน ข่าวหนุ่มสาวนามสกุลเดียวกันแต่งงานกัน มีให้เห็นอยู่ตลอด
“แล้วยังงี้ มันกันเหมือนกับภาษาหมอที่เขาว่ายีนส์ด้อย ลูกเกิดมามีแววปัญญาอ่อนเหมือนทิดล่ะสิ” เปล่าครับ เขานามสกุลเดียวกันเฉย ๆ ไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน และที่เป็นญาติกันก็จำได้ ว่าใครเป็นใคร
“แล้วทิดอยู่กลุ่มไหนล่ะ” ตากลุ่มพองพรหม ยายศรีมุกดาครับ
ข้อมูลที่ผมได้จากโรงเรียนในหมู่บ้านเดือนเมษาปีกลาย พบว่า ปัจจุบันนี้ ในหมู่บ้าน มีถึง 47 นามสกุล แสดงว่าการคมนาคม การสื่อสารสะดวกขึ้น จึงมีการไปหาคู่ครองได้ไกลขึ้น
ยกนี้เอาความเป็นมาล้วนๆ ...หากไม่เล่าความเป็นก็คงมีการเป็นงง ต่อไม่ถูก...และในยกนี้ เป็นการเล่าจากความทรงจำ อาจผิดเพี้ยนไปบ้างครับ