สังคมสมัยนี้จะสอนให้เด็กมีความเก่งในวิชาการ และจะถูกสั่งสอนให้มีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันตั้งแต่อนุบาล โดยไม่ได้สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมไปให้
เมื่อเด็กพวกนี้โตขึ้นเราก็จะเจอผู้ใหญ่ที่เก่ง เห็นแก่ตัว เอาตัวรอด ชิงดีชิงเด่นโดยไม่สนใจคนอื่น ขาดซิ่งคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจริงแล้ว พระอาจารณ์ท่านนึงเคยบอกผมว่า คนเก่งน่ะมันฝึกกันง่ายใครๆก็เป็นได้ แต่คนดีนี่มันฝึกกันยาก
พูดเรื่องของความเก่ง เพื่อนๆเคยสังเกตุกันไหมครับว่าเด็กไทยมีความสามารถไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ เช่นคณิต,วิทยาศาสตร์,เคมี,ฟิสิกส์ ได้เหรียญทองกับมากันเยอะมาก แต่นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ที่เก่งที่สุดในโลกกลับไม่ใช่คนไทย เป็นคำถามให้พวกเราวิเคราะห์ดูกันเล่นๆว่าทำไม
ตอบว่าเป็นเพราะคนไทย(ไม่ใช่แค่เด็ก) เจ้าอารมณ์ครับ...
กำหนดพฤติกรรมตนเองด้วยอารมณ์และแรงฮึดขณะนั้น เมื่อหมดอารมณ์แล้วก็เหมือนหมดไฟ แล้วเลิกทำต่อระยะยาว... จะสังเกตว่าเก่งช่วงเวลาสั้นๆ(ในช่วงที่ฮึด) โกรธง่ายหายเร็ว เดี๋ยวเดียวก็ลืม, ทำงานเป็นทีมไม่ได้ เพราะบังคับตัวเองให้ทำตามกฎระเบียบไม่ได้ เกิดจากสมาชิกในทีมอิจฉา หมั่นไส้กันเอง(ทุกคนอยากเด่น) แล้วทีมก็แตก...
ลองดูหนังไทยประเภทกลุ่มบุคคลตกในสภาวะกดดัน เช่นติดเกาะ วิ่งหนีผี เครื่องบินตก ฯลฯ... หากเป็นหนังไทยจะมีส่วนใหญ่ของท้องเรื่องการชิงไหวพริบ ชิงเหลี่ยมกันในระหว่างสมาชิก, แต่หนังฝรั่งมักจะเป็นแย่งกันคิดหาแผนที่ดีที่สุด แล้วสมาชิกที่เหลือจะทำตามแผน...
คนไทยวิ่งหนีผีปอบ(มีตั้ง 8 ภาค) วิ่งกันกระจายคนละทิศคนละทาง... แต่เด็กฝรั่งเจอผีดูดเลือดฯ มันจะถามกันเองก่อนว่าใครมีแผนอะไรดีๆมั่ง...