"...เครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาต..."
แบบนี้ต้องให้โรงงานผลิตกระสุนในไทย พิมพ์ข้างกล่อง .38 สเปเชียล ให้ชัดเจนว่า
"สำหรับใช้ในปืนขนาด .38, .357 และ 9 มม." เผื่อว่านายทะเบียนชอบระบบเมตริก
แต่ถ้าทำอย่างนี้แล้ว ใครเอาลูก .38 สเปฯ ไปยัดใส่ปืน 9 พาราฯ ก็คงต้องฟ้อง สคบ. เรื่องปิดฉลาก
ผมขออนุญาต ถามประดับความรู้จาก ท่านผู้การ และ อ.ผณิศวร ด้วยครับว่า ด้วยเหตุคล้ายกันนี้รวมไปถึงการมีปลอกกระสุนใช้แล้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีใบอนุญาติปืนที่ใช้ร่วมกันด้วยหรือไม่ครับ เช่น กรณี เก็บปลอกกระสุนลูกซอง ขนาด 12 หรือ ปลอกขนาด 9 มม. ที่หลายๆคนชอบเอาไว้อุดหูแทน เอียร์ปลั๊ก กันเพราะหาเก็บได้ตามพื้นสนามซ้อม
อย่างนี้แล้วจะโดนโทษ เช่นเดียวกัน ใช่ หรือ ไม่ครับ
ขอบคุณครับ
เรื่อง ปลอกกระสุน ยิงแล้วก็น่าจะหมดสภาพความเป็น "เครื่องกระสุนปืน"
แต่มีฎีกาตีความว่าเป็น "เครื่อง หรือสิ่ง สำหรับอัด หรือทำ หรือใช้ประกอบกระสุน" ซึ่งก็มีคำวินิจฉัยแย้ง
ของท่านอาจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ ที่เห็นว่า ปลอกกระสุนเป็น "ส่วนประกอบ" ไม่ใช่ "เครื่อง หรือสิ่ง สำหรับอัด หรือ ทำ
หรือใช้ประกอบกระสุน"
ถ้าตกเป็นจำเลย หรือถูกเรียกเป็นพยานในศาล ผมจะให้การอย่างนี้ครับ
ในด้านวิศวกรรม มีคำจำกัดความชัดเจน
"ทำ" คือ fabricate เช่น ปั๊มขึ้นรูป ตัด กลึง ให้ได้ชิ้นส่วนหนึ่งชิ้น ที่โดยลำพังตัวมันเองยังใช้งานไม่ได้
"ประกอบ" คือ assemble นำชิ้นส่วนต่างกันหลายชิ้น มารวมเข้าด้วยกันให้ได้ผลงานหนึ่งหน่วยที่ใช้งานได้
ส่วน "อัด" นั้น ก็คือศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกการ "ประกอบ" เครื่องกระสุนปืน อย่างที่เรียกกันว่า "เครื่องอัดกระสุน"
เมื่อเขียนให้ "ครอบคลุม" จึงเสียในด้าน "ชัดเจน" ทำให้ต้องตีความไปต่างๆ นาๆ