ผมล่ะงงกับการพกที่ไม่ขึ้นลำจริงๆครับ พกแล้วไม่ขึ้นลำอย่าพกดีกว่า เมื่อยเอวเปล่าๆ
ไม่ได้พูดเกี่ยวกับปืนกล็อกนะครับ พูดรวมๆไปทุกแบบทุกรุ่น
ผม ก็พาอาวุธปืน ติดตัว แบบไม่ขึ้นลำ คงไม่่ว่าผมนะครับ คุณเจษ
แต่ถ้า เป็น Back up gun อย่าง Lcp กระสุนมันน้อย จะ ๖ + ๑ ทุกครั้ง ไม่ว่ากันอยู่แล้วครับพี่ มันเป็นเหตุผลและสิทธิส่วนตัวของแต่ละบุคคลครับพี่
ผมเพียงแต่ งง ว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้นครับ
ขอถกเรื่องนี้นะครับ พกปืนไม่ขึ้นลำไว้ แล้วถ้าต้องใช้คิดหรือว่าจะขึ้นลำทัน
โอกาศที่โดนยิงโดนแทงก่อนที่จะสามารถขึ้นลำได้มีครับ และยังมีเหตุผลที่ไม่ควรพกไม่ขึ้นลำอีกหลายอย่าง
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าไม่ขึ้นลำไว้จะไม่สามารถชักยิงแบบ Speed rock ได้ เพราะอยู่ในระยะใกล้กัน จนมือเอื้อมถึง
หรืออยู่ในรถแล้วต้องชักออกมาขึ้นลำก่อน หรือนั่งกินอาหารอยู่ในร้านต้องขักออกขึ้นลำก่อน คงทุลักทุเลน่าดู
ผมอ่านเจอบ่อยๆว่า ใช้วิธีประเมินสถานการณ์ว่าจะขึ้นลำหรือไม่ แล้วเราจะไปรู้ได้อย่างไรครับว่าอะไรจะเกิดในอนาคต
ถ้าประเมินสถานการณ์ได้คงไม่มีศัพท์คำว่า ถูกซุ่มโจมตี
หลักสูตรที่สอนเกี่ยวกับการพกปืนที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ประชาชน หรือ จนท ของรัฐ จะสอนให้พกแบบพร้อมที่สามารถชักยิงได้ทันที
เหตุการที่มีการยิงกัน สถิติการชักออกมายิงเป็น วินาทีครับ นับจากชักออกจากซองปืน จนถึงตอนเหนี่ยวไก เวลาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 - 1.7 วินาที แต่คนที่ทำได้เร็วกว่านั้นก็มี แล้วถ้าต้องชักออกมาขึ้นลำก่อนนี่จะยังไง.... ไม่รู้นะครับผมถูกสอนให้ใช้คติที่ว่า To expect the unexpected.
สนทนากันนี้ เหตุผลเดียว คือนำความรู้มาแลกเปลี่ยน เพื่อยกศักยภาพ ผู้ร่วมสนทนา ขึ้นมาอีกชั้น (ไม่ใช่เพื่อเอาชนะ จะทำให้เคืองกันเสียเปล่า)
การประเมินสถานการณ์ อาจเป็นเรื่องเกินกว่าความเข้าใจ จึงไม่ถูกนำมาใช้ หรือใช้ไม่เป็น
ทุกเรื่องทุกปัญหา จักต้องเริ่มจากความเป็นจริง ที่จักเป็นไปได้ .. ที่ต้องจัด หนัก จัดเบา ให้สอดคล้องกันไป
และตัวเราจะเป็นพึงแห่งตน สามารถมองปัญหา เห็นทางแก้ ได้เกือบในทุก ๆ เรื่อง
มี บางหลักคิดที่ ฝรั่งคิด กับ คนเอเซียผิวเหลืองคิด ไม่เหมือนกัน และต่างมีต้นกำเนิดของหลักคิดคนละที่ บางแห่งก็มีผู้นำไปใช้
โดยปรับให้เข้ากับตนเอง บ้างก็ปฎิเสธในหลักคิดนั้น
ในสงครามเวียดนาม เป็นอีกตัวอย่าง ที่ฝรั่งสรุปไปอย่าง แต่นักรบเวียดนาม คิดไปอีกอย่าง ตรงกันข้าม
ไทยเรารับแนวคิดแบบเมกัน จึงมองไม่ห็น ว่า เวียดนามคิดอย่างไร แต่เราได้เห็นแค่ผลสรุปแล้วเท่านั้น
นัก รบที่ีมากความสามารถ มีอาวุธจำนวนมากที่ดีเหนือกว่้า แต่ต้องเอาชีวิตไปทิ้งอย่างง่ายดาย .. แต่อีกฝ่ายมากจำนวนคน อาวุธน้อยและด้อยคุณภาพ
นักรบชุดหลังจะเอาชนะนักรบชุดแรก ก็ต้องใช้หลักคิดมากำหนดกลยุทธ เพื่อเอาชนะ และก็เอาชนะได้จริง อย่าง เดียนเบียนฟู อย่างสงครามเวียดนาม
ถึงคนจะตายมากกว่า เพราะนั่นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการประเมิน ด้านการทหาร การเมือง ทางการทูต ต้องสอดคล้อง กันด้วย
ก็ล้วนแต่ใช้การประเมินสถานการณ์ จากหลัก รู้เขา-รู้เรา รอยศึกไม่มีพ่าย (ไม่ใช่ รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง เป็นการสรุปที่ผิดเพี้ยน)
การประเมิน จะไปเปรียบแบบอุบัติเหตุ จึงไม่ตรงนัก ครับ.
และ มีบางประการ ที่วิถีชีวิตในเมกา ต่างกับไทย การประทุษร้ายเพื่อหวังเอาทรัพย์ อาจเกิดขึ้นน้อยกว่า การวิวาท หรือยิงกันโดยไม่มีสาเหตุ ..
จาก บทเรียนที คุณเจษ นำมาบอก นั่นละครับ เป็นการอบรมให้ตอบโต้ กับความรุนแรงได้ ที่เกิดขึ้นแบบ ไม่มีปี่ มีขลุยได้ทันที ได้อย่างดีที่สุด
และมันสอดคล้อง กับในเมืองไทย เพียง ใน ๓ จชต. เท่านั้น
ที่เหลือ ถ้าเป็นเรื่องวิวาท ในร้านอาหาร มันมีคู่ความขัดแย้ง เราไม่ใช่เป้า แต่ต้องระวังลูกหลงเท่านั้น เราประเมินได้ ไหมว่า เมื่อเราไม่ใช่เป้าหมาย เราจะยิง หรือจะหลบ
การซุ่มโจมตี การประเมิน ต้องครอบคลุม ในตลอดทั้งเส้นทาง เพื่อจัดวางกำลังพล การเคลื่อนพล อาวุธที่ใช้ ให้ตอบโต้ได้ทันที และสูญเสียน้อยที่สุด
การประเมินจะทำให้ รู้ตัวว่าเข้าสู่สถานการณ์ เช่นนั้นแล้ว
ทุกศึก ทุกสนาม จากภาพยนตร์ ซึ่งก็นำมาจากเรื่องจริง จะเริ่มจากการประเมิน ทุกครั้ง แม้แต่ ในตำนาน พระนเรศ การกางแผนที่ นั่นละ เริ่มการประเมิน แล้วละครับ
ฉะนั้น การพาอาวุธปืนติดตัว จะขึ้นลำ หรือไม่ หรือจะขึ้นลำตอนไหน ถ้าได้มีการประเมินสถานการณ์ ทั้งก่อนหน้า และขณะนั้น มาช่วย
นั้นคือวิถีของคนคอปืน.. ที่ถูกยกขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับ ความถนัดของแต่ละท่าน ผมเพียงมาแทรกมุมมองหนึ่ง เท่านั้น