ลูกชายผมเขาก็คุยกับกับเพื่อนๆในเฟสก็ใช้ภาษาบ้าๆบอๆแต่ไม่เป็นภาษาต่างดาวขนาดนี้ ถามเขาเขาก็ว่าใครๆก็พูด(พิมพ์)แบบนี้ก็เลยทำตามแต่ถึงเวลาใช้ภาษาจริงๆเป็นเรื่องเป็นราวเขาก็ใช้ได้ถูกต้องทุกคำ ส่วนตัวแล้วผมจึงไม่ค่อยวิตกกับภาษาวิบัตินี้เท่าไหร่ เมื่อมันเลยวัยแล้วเด็กก็จะเลิกไปเอง
สำคัญคือกาลเทศะ ..... ใช้ในที่ ๆเหมาะสม .....
ในมุมมองผม การใช้ผิดกาลเทศะ นั้นเห็นด้วยครับ แต่เห็นด้วยเพียงครึ่งเดียว ด้วยเหตุผลว่า หลังจากที่เค้าคุยกับเพื่อนๆโดยใช้ภาษาวิบัติไปเรื่อยๆ จนติดนิสัย และผลสุดท้ายเค้าก็จะหลงเรื่องภาษา เอง
ตัวอย่าง
สนใจทำไมกะภาษาขยะพวกนี้ครับ หน่วยงานราชการ เอกชน ต้องการแบบนี้เข้าไปทำงานด้วยเหรอ คำตอบคือไม่ แค่เขียนใบสมัครด้วยภาษาเพี้ยนๆก็ทิ้งลงถังขยะแล้ว พวกนี้ต่างหากที่ต้องปรับตัวเข้าหาสังคม
สนใจทำไมกะภาษาขยะพวกนี้ครับ หน่วยงานราชการ เอกชน ต้องการแบบนี้เข้าไปทำงานด้วยเหรอ คำตอบคือไม่ แค่เขียนใบสมัครด้วยภาษาเพี้ยนๆก็ทิ้งลงถังขยะแล้ว พวกนี้ต่างหากที่ต้องปรับตัวเข้าหาสังคม
ผมเป็นองค์กรเอกชน เวลารับสมัครพนักงาน ผมจะอ่านทุกประโยค
ในใบสมัคร 50% ผมขยำทิ้งลงถังขยะ ก็เพราะใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง บางคนจบ ป.ตรี ยังเขียนภาษไทยผิด เช่นคำว่า "ใบอนุญาตขับรถยนต์" เขียนมาว่า "ใบอนุญาติขับรถยนตร์" ญาต - ญาติ(พี่น้อง) ยนต์ - ยนตร์ (ภาพยนตร์) ปรารถนา เขียนมา ปาดถนา
สุดท้ายเค้าก็จะเสียโอกาสได้งาน ต่างๆอย่างที่ผมอ้างมาครับ
ส่วนในเคสของ พี่กวางผมมองว่า การที่พี่กวางเอาใบสมัครทิ้งนั้นไม่ใช่ เพราะภาษาวิบัติอย่างเดียว อาจจะเป็นเพราะผู้สมัครเป็นผู้ชาย หรือผู้หญิงที่ไม่เข้าเกณฑ์ มาตฐานของพี่กวางเอง หรือไม่ก็มีสามีแล้ว