ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดคือหากระหว่างดำเนินคดีอาญา แล้วมีความล่าช้าในการฟ้องแพ่ง ศาลท่านจะให้ยื่นฟ้องแพ่งไปอีกคดีนึงไม่เลย มิต้องรอให้คดีอาญาจบก่อน โดยทั้งสองคดีจะต้องมีความเกี่ยวเนื่องกัน
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลมีอำนาจที่จะแยกการพิจารณาคดีอาญาออกจากคดีแพ่ง และพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียวส่วนคดีแพ่งจะพิพากษาในภายหลังก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 42 วรรคสอง
ป.วิ.อ. มาตรา 46
ในการวินิจฉัยว่า
คดีใดเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่จะต้องพิจารณาว่าสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญา โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ทำการปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดกอันเป็นเหตุให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามกฎหมายซึ่งมิได้อาศัย มูลคดีอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2552
ป.วิ.อ. มาตรา 41, 42, 47
ป.วิ.อ. มาตรา 47 บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ คดีนี้แม้ศาลจะยกฟ้องคดีส่วนอาญาว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ร่วม เนื่องจากขาดเจตนาทุจริต แต่ศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าโจทก์ร่วมได้ชำระค่าเช่านอกจากค่าเช่าล่วงหน้าเท่าใด อาคารและอุปกรณ์เสียหายเพียงใด เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้ามีการค้างชำระหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์ร่วมอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่เช่านานเท่าใด ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดในส่วนคดีแพ่งว่ามีเพียงใด หากจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ก็จะทำให้คดีอาญาเนิ่นช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมไปฟ้องคดีแพ่งใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 41
ไม่รู้จะถูกต้องตามที่ถามไหมนะครับ