เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 17, 2024, 12:27:33 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายของคำว่า ฟ้องซ้ำ คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา  (อ่าน 2566 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
กบ
ลุย
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 15
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 156



« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2012, 04:12:03 PM »

ขอความรู้ครับ
ความหมายของคำว่า ฟ้องซ้ำ  คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เป็นอย่างไรครับ
 ไหว้
บันทึกการเข้า
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2012, 04:35:48 PM »

ข้อสอบอีกเปล่าครับเนี้ย T^T 
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2012, 04:48:03 PM »

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดคือหากระหว่างดำเนินคดีอาญา แล้วมีความล่าช้าในการฟ้องแพ่ง  ศาลท่านจะให้ยื่นฟ้องแพ่งไปอีกคดีนึงไม่เลย มิต้องรอให้คดีอาญาจบก่อน  โดยทั้งสองคดีจะต้องมีความเกี่ยวเนื่องกัน ไหว้ ไหว้

คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลมีอำนาจที่จะแยกการพิจารณาคดีอาญาออกจากคดีแพ่ง และพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียวส่วนคดีแพ่งจะพิพากษาในภายหลังก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 42 วรรคสอง

 ป.วิ.อ. มาตรา 46
 
          ในการวินิจฉัยว่าคดีใดเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่จะต้องพิจารณาว่าสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญา โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ทำการปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดกอันเป็นเหตุให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามกฎหมายซึ่งมิได้อาศัย มูลคดีอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46


คำพิพากษาศาลฎีกาที่   2615/2552     
   
           ป.วิ.อ. มาตรา 41, 42, 47
 
          ป.วิ.อ. มาตรา 47 บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ คดีนี้แม้ศาลจะยกฟ้องคดีส่วนอาญาว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ร่วม เนื่องจากขาดเจตนาทุจริต แต่ศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าโจทก์ร่วมได้ชำระค่าเช่านอกจากค่าเช่าล่วงหน้าเท่าใด อาคารและอุปกรณ์เสียหายเพียงใด เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้ามีการค้างชำระหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์ร่วมอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่เช่านานเท่าใด ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดในส่วนคดีแพ่งว่ามีเพียงใด หากจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ก็จะทำให้คดีอาญาเนิ่นช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมไปฟ้องคดีแพ่งใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 41


 ไหว้ ไหว้ ไหว้   ไม่รู้จะถูกต้องตามที่ถามไหมนะครับ 





บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
กบ
ลุย
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 15
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 156



« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2012, 11:03:30 AM »

ขอบพระคุณครับ คือแฟนผมเรียนที่ มหาวิทยาลัยมหามกุกราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ครับ
แบบว่าช่วยแฟนเรียนครับ
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2012, 01:07:39 PM »

คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา   หมายถึง คดีอาญาที่มีความเสียหาย ที่ผู้เสียหายสามารถใช้สิทธิ เรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งได้ด้วย

เมื่อต้องดำเนินคดีอาญา โดยพนักงานอัยการ เป็นโจทก์ หรือฟ้องคดีอาญากันเอง เพื่อให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย เมื่อคดีอาญายุติแล้ว
โจทก์ หรือผู้เสียหาย สามารถอ้างข้อเท็จจริงในคดีอาญานี้ โดยขอเรียกสำนวนคดีอาญามาผูกติด กับสำนวนในคดีแพ่ง โดยไม่ต้องนำสืบอีก

ในทางคดี ผู้เสียหายในคดีดาญา จะยื่นฟ้อง จำเลย เป็นคดีแพ่ง ไปในเวลาไล่เลี่ยกัน จะโดยคำร้องของ คู่ความ หรือปรากฎต่อศาล ว่าจำเลยถูกดำเนินคดีอาญา
ศาล จะมีคำสั่งให้รอฟังข้อเท็จจริงจาก คดีอาญา ก่อน โดยให้จำหน่ายคดี ออกจากสารบบความชั่วคราว แล้วให้โจทก์ให้โจทก์แถลง
ดำเนินคดีต่อ เมื่อทราบผลคดีอาญาแล้ว

แต่ ด้วย คดีอาญา ที่ก่อความเสียหาย ที่ผู้เสียหายสามารถใช้สิทธิฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายนั้น  เมื่อฟ้อง คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โจทก์สามารถ
ขอท้ายฟ้อง ให้ศาลบังคับให้จำเลย ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ผู้เสียหาย ไปพร้อมกันได้  เมื่อจบคดีแล้ว โจทก์ หรือผู้เสียหายขอให้โจทก์ ย่อมสามารถบังคับคดีได้ทันทีครับ

กรณี เช่นนี้ หากผู้เสียหาย หรือโจทก์ ไปฟ้องคดีแพ่งอีก จะถือเป็นการฟ้องซ้ำ กระทำไม่ได้ ครับ เพราะชอบที่จะไปบังคับคดี ได้อยู่แล้ว  Grin


บันทึกการเข้า

กบ
ลุย
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 15
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 156



« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2012, 02:08:09 PM »

ขอบคุณมากๆครับ พ.ค.ปีหน้าแฟนเรียนจบผมคงรู้เรื่องกฏหมายกับเขาบ้างหล่ะคราวนี้
แฟนผมเรียนอยู่ที่
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2012, 02:43:20 PM »

ขอบคุณมากๆครับ พ.ค.ปีหน้าแฟนเรียนจบผมคงรู้เรื่องกฏหมายกับเขาบ้างหล่ะคราวนี้
แฟนผมเรียนอยู่ที่
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

ยินดีด้วยนะครับ มีผู้รู้ข้อกฎหมาย อยู่ข้าง ๆ ก็สบายใจ ได้หลายอย่าง   Cheesy
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.113 วินาที กับ 22 คำสั่ง