เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 18, 2024, 06:46:18 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไม่เข้าใจครับ ก็เลยมาถามด้วยภาพครับ ว่าทำไปทำไมครับ  (อ่าน 8730 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 15 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #60 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 08:53:19 AM »

ด้วยความเคารพครับ  ผมว่าหากผู้ขับขี่ไม่ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เหตุต่างๆอาจไม่เกิดขึ้น หรือเกิดก็น้อยครับ การออกแบบ ก่อสร้างมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น สภาพภูมิประเทศ   ภูมิอากาศ   ของแต่ละภาคซึ่งมีความแตกต่างกัน  ข้อจำกัดเรื่องความกว้างของเขตทาง  ปัญหาการเวนคืนที่ดิน  งบประมาณ  ฯลฯ แต่โดยรวมแล้วผู้ออกแบบจะคำนึงถึงความปลอดภัย มาเป็นอับดับแรกครับ  ดังนั้น การกำหนดความเร็วให้ใช้จึงกำหนดตามกายภาพของทางแต่ละช่วง  หากไม่ใช้ความเร็วเกินกำหนด อุบัติเหตุเกิดขึ้นยากครับ  ไหว้

เรื่องอ้างว่าคนขับรถขับด้วยความเร็วเกิน นี่ก็เป็นเรื่องที่มักอ้างถึงนะครับ... แต่เวลาขึ้นศาล ก็จะมีปัญหาว่าสามารถ"คาดการณ์"ได้หรือไม่ ว่าจะมีบางคนขับรถด้วยความเร็วเกินกฎหมายกำหนด...

ถ้าสามารถบอกได้ว่าจะ"ไม่มีใคร"ขับรถเกินกำหนด อย่างนี้ก็ไม่ต้องเผื่อสเปคครับ, แต่ถ้ามี"บางคน"อาจขับเร็วเกิน... ตรง"บางคน"นั่นแหละจะทำให้ต้องมาเถียงกันว่า"เล็งเห็นผล"หรือไม่, ซึ่งเถียงชนะก็อาจโดนเรื่องประมาท(เพราะขาดเจตนา) แต่ถ้าเถียงแพ้ก็อาจโดนอาญาครับ...

เมื่อเกิดอุบัติเหตุรายๆแรกๆ อาจมีเถียงว่ายังไม่รู้ เลยขาดเจตนา... แต่เมื่อเกิดเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยเหตุเดิมถึงแม้ขับเร็วเกินกำหนดก็ตาม เพราะขับเร็วแบบนี้ที่แยกอื่นมันไม่เกิดเรื่องนี่ครับ... แฮ่ๆ...

ด้วยความเคารพในความคิดเห็นนะครับ ผมเองไม่ใช่นักวิชาการ ไม่ใช่ผู้ออกแบบก่อสร้าง แต่เป็นเพียงผู้ปฏิบัติงานในภาคสนามและได้เคยเห็นปัญหาต่างๆที่ท่าน สมช.แสดงความคิดเห็นมา จึงอยากนำประสพการณ์ที่ผ่านมา มาแลกเปลี่ยนกัน
   กรณีการใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดเป็นต้นเหตุใหญ่ที่สุดของอุบัติเหตุทางรถยนต์ครับ  และเท่าที่ได้พูดคุยกับผู้ออกแบบหลายๆท่าน ความปลอดภัยของผู้ใช้ทางมีการคำนึงถึงเป็นอันดับแรกครับ และมีการคำนวนเผื่อความปลอดภัยไว้ให้แล้ว  เช่น ทางโค้ง แต่ละโค้งจะมีรัศมีต่างกัน การกำหนดความเร็วก็จะแตกต่างกันไปตามกายภาพของเส้นทาง  ทางลาดชันบางแห่งเวลารถแล่นสวนทางกันจะมองไม่เห็นกัน เนื่องจากความลาดชัน สันเนินบังทัศนียภาพเบื้องหน้า ก็จะกำหนดความเร็วและห้ามแซงด้วย(ในเส้นทางที่รถวิ่งสวนทาง)  ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยครับ   ลองสังเกตุว่าสมมุติเราขับรถเข้าโค้งที่มีป้ายกำหนดความเร็ว 80 แต่เราใช้ความเร็ว 100 แล้วยังปลอดภัย แต่หากมาด้วยความเร็ว 120 แหกโค้ง นั่นหมายความว่า ตอนที่ความเร็ว 100 ยังไม่เกินส่วนที่วิศกรเผื่อไว้ให้ แต่ 120 นั้น เกินจากที่เผื่อไว้มากเกินไป  แต่เวลาเป็นคดีขึ้นศาล เป็นธรรมชาติที่คู่ความแต่ละฝ่ายยังไงก็ต้องการเป็นผู้ชนะ ลองคิดในอีกแง่หนึ่ง หากฝืนกฎจราจร ใช้ความเร็วเกิน เกิดเหตุและสูญเสียไปแล้วไม่ว่าทั้งชีวิตและทรัพย์สิน  แต่สามารถสู้คดีชนะได้ แล้วเราเอาชีวิตที่จากไปกลับมาได้ไหม
   เรื่องบางสถานที่ที่เกิดเหตุซ้ำซาก เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้นิ่งเฉยหรอกนะครับ  จะไปตรวจสอบ หาทางป้องกัน อย่างน้อยที่สุดก็จะมีป้ายเตือนเพิ่มถี่ขึ้น มีสัญญาณไฟเตือนมากขึ้น  ตรงโค้งผีสิงที่ถนนรัชดา เห็นไหมครับ  แต่จุดนั้นที่เกิดเหตุ ร้อยละ 80 เมาแล้วขับ  คึกคะนองใช้ความเร็วแบบที่เรียกว่าตีนผี

ด้วยความเคารพเช่นกันนะครับ... การแสดงความเห็นในเว็บบอร์ด ก็เหมือนกับการนั่งสนทนาในหมู่เพื่อนฝูงนะครับ ท่านใดแสดงความเห็นเช่นไร ท่านอื่นก็ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะความเห็นมีหลายมุมมองนะครับ...

เรื่องการใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนดนั้นมันเป็นประเด็นก็จริง แต่ไม่ใช่ประเด็นชี้เป็นชี้ตาย เพราะความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดนั้นอาจไม่ใช่ความเร็วที่ทุกคนปฎิบัติตามครับ ซึ่งความเร็วที่ผู้ใช้ทางขับจริงต่างหาก(เช่นไม่เกิน 120 กม./ชม.) ที่ผู้ออกแบบและก่อสร้างจะต้องนำมาใช้เป็นตัวเลขสำหรับคำนวณค่าทั้งหลาย... โดยตัวเลขพวกนี้โดยปรกติจะต้องอยู่ในฐานข้อมูลอยู่แล้ว...

สิ่งที่ผู้ออกแบบทางจะต้องทำให้ได้ก็คือ จะต้องปกป้องผู้ขับรถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วไม่เกินสมควร ไม่ให้ประสบอุบัติเหตุครับ... คือวัตถุประสงค์เพื่อ"ลดอุบัติเหตุ" ไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อ"ให้ได้ตามมาตรฐาน" เพราะมาตรฐานนั้นเอาไว้สำหรับเป็นค่าเริ่มต้นต่ำสุดสำหรับออกแบบ...

ผู้คนที่ขับรถนั้นคือผู้คนโดยเฉลี่ย มีคนขับเก่งบ้าง ขับไม่เก่งบ้าง มีตีนผีบ้าง มีเมาแล้วขับบ้าง ผู้ออกแบบและก่อสร้าง"ต้องรับผิดชอบให้คนเหล่านี้ปลอดภัยตามสมควร"ด้วยครับ, ไม่ใช่ถือว่าตีนผีเองนี่นา จะเสียชีวิตก็ช่างฯ ครั้งหน้าหากรอดก็อย่าตีนผีนะเออ... ประเด็นคือทางแยก ทางโค้ง ทางจุดอันตรายทั้งหลายนั้นมีสถิติอุบัติเหตุ"เกินกว่า"ที่อื่น ในชนิดและประเภทที่เทียบกันได้หรือไม่...

หากสถิติอุบัติเหตุยังเกินค่าเฉลี่ยอยู่ นั่นแสดงว่าสิ่งที่ทำไปนั้นล้มเหลวครับ... จะอ้างมาตรฐานก็ฟังไม่ขึ้น เพราะทำไมที่อื่นไม่เกิดอุบัติเหตุแยะขนาดนี้, (เชื่อว่าไม่ได้มาตรฐาน)และต่อให้ได้มาตรฐานจริงแล้วยังเกิดอุบัติเหตุเกินเฉลี่ย ก็แสดงว่ามาตรฐานนั้นใช้ไม่ได้สำหรับตรงนี้ครับ...

ส่วนที่โค้งรัชดานั่นสาเหตุเกิดจากส่วนโค้งของถนนไม่สม่ำเสมอ คือโค้งอยู่แล้ว และมีหักโค้งซ้อนในโค้งใหญ่อีกจังหวะหนึ่ง หากใครขับรถไม่แข็ง ไม่สามารถจับความรู้สึก Friction หน้ายาง หรือไม่ได้ขับรถเกาะเส้นแบ่งเลน ก็จะหลุดโค้งโดยไม่รู้ตัวครับ... การทำป้ายเตือนนั้นก็อยากบอกว่าไม่ตรงจุด และเลี่ยงไม่ให้คนขับรถรู้จุดบกพร่องของถนน ถ้าเป็นที่อื่นเช่นต่างประเทศ "โค้งหักในโค้ง"แบบนี้เขาจะทำป้ายอีกแบบครับ(เช่นป้ายทางโค้งหักเป็นเหลี่ยม)...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #61 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:14:39 AM »

เรื่องขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนดแล้วเกิดอุบัติเหตุ นั่นก็คล้ายกับขับช้าแช่ขวาที่ 90 กม./ชม. นั่นแหละครับ... จะอ้างว่าฉันขับเร็วเต็มที่ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้แล้ว ใครอยากขับเร็วกว่า ก็ต้องหาวิธีแซงไปให้ได้เองซิ เพราะกฎหมายกำหนดความเร็วสูงสุดแค่นี้ ฉันเลยวิ่งที่ความเร็วนี้ แล้วก็แช่เลนขวาสุดนี่แหละ...

ประเด็นเรื่องนี้คือ"คนขับรถไม่ใช่ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย"ครับ... ทำนองเดียวกับผู้ออกแบบทางไม่ใช่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ดังนั้นถ้าของจริงตามสถิติมีคนขับเร็วแค่ไหน ต้องออกแบบทางให้รองรับ"สถิติของจริง"ครับ, ส่วนเกินกฎหมายไปเท่าไหร่ นั่นเป็นอำนาจของตำรวจราจรฯ...

หากทำได้ตามสถิติหมด แปลว่าตรงนั้น จะต้องมีสถิติอุบัติเหตุอยู่ในค่าเฉลี่ยครับ...
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #62 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:18:03 AM »

สู้เขตบางกะปิไม่ได้ เกาะกลางตรงใหนสูงก็เกลี่ยให้เสมอซีเมนต์ เกาะกลางตรงใหนเสมอเท่าซีเมนต์ก็ถมให้สูง ากาะกลางใหนต้นไม้สวยๆก็รื้อปลูกหญ้า เกาะกลางใหนปลูก

หญ้าก็รื้อปลูกต้นไม้ ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

อนัตตา
หนักแค่ไหนก็ไม่ทุกข์ สุขเพียงใดก็ไม่พลั้ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1616
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8201


เมื่อเจ้ายืนอยู่บนยอดภูผา อย่าลืมว่าเจ้ามาจากที่ใด


« ตอบ #63 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:27:25 AM »

เรื่อง ทำเผื่อ สมัยนี้ยากครับ

หลังจากที่ศึกษาการก่อสร้างของไทย ทำให้เข้าใจได้ว่า การก่อสร้างของไทย ทำแค่ เฉียดเส้นที่ กม กำหนด ครับ

ตามแบบก่อสร้าง มีเผื่อมา ผู้รับเหมาก็จะบอกว่าใส่เวอร์เอาแค่นี้ก็พออยู่ได้ ไม่พัง Tongue
ขนาด จ่ายเงินเอง ยังพูดแบบนี้

ถ้างาน หลวง สร้าง ถนน สร้าง สะพาน คงแดกกันเละเทะ เศร้า
เงินงบประมาณค่าก่อสร้าง ระดับปฏิบัติในสนามไม่มีสิทธิ์เกี่ยวข้องหรอกครับ คนวงนอกชอบพูดกันว่า"มันกินกันเยอะ ถึงได้พังเร็วแบบนี้" อยากรู้ว่าเงินหายไปไหน ต้องถามว่า ใครคือผู้ที่ลายเซ็นต์มีอำนาจให้เริ่มสัญญาก่อสร้างได้ ปากกามันแพงน่ะครับ Grin
เรื่องขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนดแล้วเกิดอุบัติเหตุ นั่นก็คล้ายกับขับช้าแช่ขวาที่ 90 กม./ชม. นั่นแหละครับ... จะอ้างว่าฉันขับเร็วเต็มที่ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้แล้ว ใครอยากขับเร็วกว่า ก็ต้องหาวิธีแซงไปให้ได้เองซิ เพราะกฎหมายกำหนดความเร็วสูงสุดแค่นี้ ฉันเลยวิ่งที่ความเร็วนี้ แล้วก็แช่เลนขวาสุดนี่แหละ...

ประเด็นเรื่องนี้คือ"คนขับรถไม่ใช่ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย"ครับ... ทำนองเดียวกับผู้ออกแบบทางไม่ใช่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ดังนั้นถ้าของจริงตามสถิติมีคนขับเร็วแค่ไหน ต้องออกแบบทางให้รองรับ"สถิติของจริง"ครับ, ส่วนเกินกฎหมายไปเท่าไหร่ นั่นเป็นอำนาจของตำรวจราจรฯ...

หากทำได้ตามสถิติหมด แปลว่าตรงนั้น จะต้องมีสถิติอุบัติเหตุอยู่ในค่าเฉลี่ยครับ...
ผมยังไม่เคยได้ยินนะครับว่ามีการออกแบบถนนตามสถิติความเร็วรถที่ใช้ถนน นอกจากตามสภาพพื้นที่และปริมาณจราจร และอื่น ๆ บ้างประกอบกันไป
บันทึกการเข้า

naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #64 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:32:51 AM »

เรื่องขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนดแล้วเกิดอุบัติเหตุ นั่นก็คล้ายกับขับช้าแช่ขวาที่ 90 กม./ชม. นั่นแหละครับ... จะอ้างว่าฉันขับเร็วเต็มที่ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้แล้ว ใครอยากขับเร็วกว่า ก็ต้องหาวิธีแซงไปให้ได้เองซิ เพราะกฎหมายกำหนดความเร็วสูงสุดแค่นี้ ฉันเลยวิ่งที่ความเร็วนี้ แล้วก็แช่เลนขวาสุดนี่แหละ...

ประเด็นเรื่องนี้คือ"คนขับรถไม่ใช่ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย"ครับ... ทำนองเดียวกับผู้ออกแบบทางไม่ใช่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ดังนั้นถ้าของจริงตามสถิติมีคนขับเร็วแค่ไหน ต้องออกแบบทางให้รองรับ"สถิติของจริง"ครับ, ส่วนเกินกฎหมายไปเท่าไหร่ นั่นเป็นอำนาจของตำรวจราจรฯ...

หากทำได้ตามสถิติหมด แปลว่าตรงนั้น จะต้องมีสถิติอุบัติเหตุอยู่ในค่าเฉลี่ยครับ...
ผมยังไม่เคยได้ยินนะครับว่ามีการออกแบบถนนตามสถิติความเร็วรถที่ใช้ถนน นอกจากตามสภาพพื้นที่และปริมาณจราจร และอื่น ๆ บ้างประกอบกันไป

สงสัยคงตรงนี้แหละครับ, ผู้คนถึงได้เกิดอุบัติเหตุกันแยะในบางที่...

เขามีระเบียบ มีหลักปฎิบัติเขียนเอาไว้ไหมครับ ทำนองว่าไม่ต้องสนใจสถิติว่า"ของจริง"ขับเร็วกันเท่าไหร่... หรือว่าผู้ออกแบบตัดสินใจตรงนี้กันเอง แล้วก็ทำตามกันมาตลอด...
บันทึกการเข้า
konklong
รักทุกคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 277
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2141


จงทำดี มีศีลธรรม ถือความสัตย์


« ตอบ #65 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 08:12:04 PM »

เรื่องขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนดแล้วเกิดอุบัติเหตุ นั่นก็คล้ายกับขับช้าแช่ขวาที่ 90 กม./ชม. นั่นแหละครับ... จะอ้างว่าฉันขับเร็วเต็มที่ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้แล้ว ใครอยากขับเร็วกว่า ก็ต้องหาวิธีแซงไปให้ได้เองซิ เพราะกฎหมายกำหนดความเร็วสูงสุดแค่นี้ ฉันเลยวิ่งที่ความเร็วนี้ แล้วก็แช่เลนขวาสุดนี่แหละ...

ประเด็นเรื่องนี้คือ"คนขับรถไม่ใช่ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย"ครับ... ทำนองเดียวกับผู้ออกแบบทางไม่ใช่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ดังนั้นถ้าของจริงตามสถิติมีคนขับเร็วแค่ไหน ต้องออกแบบทางให้รองรับ"สถิติของจริง"ครับ, ส่วนเกินกฎหมายไปเท่าไหร่ นั่นเป็นอำนาจของตำรวจราจรฯ...

หากทำได้ตามสถิติหมด แปลว่าตรงนั้น จะต้องมีสถิติอุบัติเหตุอยู่ในค่าเฉลี่ยครับ...
ผมยังไม่เคยได้ยินนะครับว่ามีการออกแบบถนนตามสถิติความเร็วรถที่ใช้ถนน นอกจากตามสภาพพื้นที่และปริมาณจราจร และอื่น ๆ บ้างประกอบกันไป

สงสัยคงตรงนี้แหละครับ, ผู้คนถึงได้เกิดอุบัติเหตุกันแยะในบางที่...

เขามีระเบียบ มีหลักปฎิบัติเขียนเอาไว้ไหมครับ ทำนองว่าไม่ต้องสนใจสถิติว่า"ของจริง"ขับเร็วกันเท่าไหร่... หรือว่าผู้ออกแบบตัดสินใจตรงนี้กันเอง แล้วก็ทำตามกันมาตลอด...
หลักปฏิบัติไม่เขียนไว้ชัดขนาดนั้นครับ ตามมาตรฐานแล้วสิ่งแรกที่กำหนดมาคือความปลอดภัยและได้เผื่อความปลอดภัยไว้ให้(ผมขอไม่บอกตัวเลข)แต่บอกได้ว่าเผื่อให้เยอะครับ และในทางปฏิบัติขณะก่อสร้างจะคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางแบบอื่นๆ เช่น จักรยาน คนเดินเท้า สัตว์เลี้ยง เป็นต้น  ผมมีตัวอย่าง ถนนสายหนึ่งที่ผมไปก่อสร้างผ่านมาแล้ว เป็นทางโค้งอยู่ในย่านชุมชน(หน้าโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอมีนักเรียน ป.๑-ม.๖ รวมกันเกือบ ๒,๐๐๐ คน)  ผู้ออกแบคิดคำนวนค่าความลาดชันในทางโค้ง(super elevation)ตามมาตรฐาน โดยที่โค้งรัศมีเท่านี้ให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กม./ชม.และออกแบบมาตามนั้น ต่อมาจุดนั้นมีการแก้ไขให้ลดความเร็วลง เหลือเพียง 60 กม./ชม. (แต่ป้ายกำหนดให้ 30 )เนื่องจากเป็นย่านชุมชน เหตุผลคือ
๑.มีผู้คนพลุกพล่าน หากรถใช้ความเร็วที่ 120 ลองคิดดูว่าอันตรายแค่ไหน มีเด็กนักเรียน ผู้ปรกครอง เดินข้ามไปมาจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะเช้า-เย็น แต่เกือบทั้งวัน
๒.เป็นย่านชุมชนที่มีบ้านเรือนเต็มทั้งสองฝั่งถนน บ้านที่อยู่ด้านนอกของโค้งจะเดือดร้อนมาก เพราะระดับของถนนจะถูกยกขึ้นสูงมาก เพื่อรองรับความเร็วที่ 120 กม./ชม. หากหน้าบ้านเรา(ตึกแถว)ห่างจากขอบทางแค่ 1 เมตร แต่ระดับของถนนกับพื้นบ้านต่างกัน 1.50 เมตร  ลองคิดดูว่าเราจะขับรถเข้าออกบ้านได้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้จึงมีการปรับแก้ตามสภาพเป็นจริงของสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

อีกสายทางหนึ่ง เป็นทางโค้งเช่นกัน เป็นถนน 4 เลน รถไม่ได้วิ่งสวนทาง อยู่นอกชุมชน(ผ่านท้องนาและไร่มันสำปะหลัง)  ออกแบบมากำหนดความเร็ว 80 กม./ชม. (ตามรัศมีของโค้ง) แต่เมื่อนายช่างผู้ควบคุมงานมองเห็นว่าอาจเกิดอันตรายหากผู้ขับขี่ใช้ความเร็วเกินไปจากนี้มาก  จึงปรึกษาผู้บังคับบัญชาและผู้ออกแบบ  สุดท้ายมีการปรับแก้เปอร์เซ็นต์ความลาดเอียงให้รองรับความเร็วได้ 120 กม./ชม. และก่อสร้างไปตามนั้น  ที่ตัดสินใจทำอย่างนั้นได้เพราะไม่ได้อยู่ในย่านชุมชน
ไม่มีชาวบ้านเดือดร้อน
ผมยังยืนยันว่า หากผู้ขับขี่ทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจร และไม่ประมาทเลินเล่อ อุบัติเหตุไม่เกิดครับ อุบัติเหตุมิใช่เคราะห์กรรม แต่เกิดจากการกระทำโดยประมาท ไหว้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2012, 08:14:43 PM โดย konklong » บันทึกการเข้า

ชนใดไม่มีดนตรีการ  ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #66 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 08:20:15 PM »

สายมอเตอร์เวย์-ชลบุรี ก็เหมือนกันครับสงสัยคงออกแบบให้วิ่งไม่เกิน 60 เดี๋ยวกระโดด เดี๋ยวกระโดด

ใครมีรถสปอร์ตพลังแรง อย่าพาไปเหยียบถนนสายนี้นะครับ
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #67 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 08:34:21 PM »

สายมอเตอร์เวย์-ชลบุรี ก็เหมือนกันครับ
สงสัยคงออกแบบให้วิ่งไม่เกิน 60 เดี๋ยวกระโดด เดี๋ยวกระโดด

ใครมีรถสปอร์ตพลังแรง อย่าพาไปเหยียบถนนสายนี้นะครับ


Ha Ha Ha  ฮา  "ฮั่นแน่"  บังดุลย์  อ่ะ  ฮา

มอเตอร์เวย์  ชลบุีรี เนี่ยะ  เขาทำเอาไว้ให้ "ควาย"  ใช้อ่ะ ฮา  ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก
ขึ้นสะพานทีเหมือนเหาะ  เวลาลงเหมือน "ห่า"  กระแทกดังโครม อ่ะ ฮา

มอเตอร์เวย์เส้นทางนี้  เขาสร้าง "ผ่า" ลงไปกลางทุ่ง กลางนา อ่ะ ฮา
ดินมันนิ่ม  มันทรุดตลอดเวลา  ต้องรอโน่น  มันทรุดถึงชั้น "ดินดาน"  อ่ะ ฮา

เมื่อก่อนเคยมีเส้นทางหนึ่ง  คือพระราม 2  อ่ะ
เส้นทางนี้ก็เหมือนกับ มอเตอร์เวย์  ทำเสร็จแป๊บเดียว  "ทรุด" อีกแล้วอ่ะ
เขาแก้ปัญหา  โดยการ  ตอกเข็ม  เรียงปูพรม  ไปตามแนวถนน อ่ะ
ตอกเสร็จ  บดอัดด้วย ทรายหยาบ  ปูชั้นบนด้วย คอนกรีตหยาบ ผสม Flyash อ่ะ ฮา
ทุกวันนี้  มันก็ยังทรุด เหมือนเดิม อ่ะ  ฮา   ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
konklong
รักทุกคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 277
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2141


จงทำดี มีศีลธรรม ถือความสัตย์


« ตอบ #68 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 08:38:43 PM »

สายมอเตอร์เวย์-ชลบุรี ก็เหมือนกันครับสงสัยคงออกแบบให้วิ่งไม่เกิน 60 เดี๋ยวกระโดด เดี๋ยวกระโดด

ใครมีรถสปอร์ตพลังแรง อย่าพาไปเหยียบถนนสายนี้นะครับ
สายมอเตอร์เวย์ ความจริงออกแบบมาให้เกิน 120 ครับ แต่กำหนดไว้ 120 แต่ที่ทุกวันนี้เป็นคลื่น เกิดจากการทรุดตัวของชั้นใต้ดิน ซึ่งพื้นที่โซนนี้ทั้งหมดเป็นทะเลเก่าครับ ตอนออกแบบก็คิดถึงประเด็นนี้ และเพิ่มสเป็คเข้าไปให้สูงกว่าถนนทั่วไปมาก  ด้วยเพราะว่าเป็นทางที่รถใช้ความเร็วสูง และทำอย่างดีที่สุด(ในขณะนั้น)  กาลเวลาผ่านไปความทรุดโทรมเสียหายย่อมมีเป็นธรรมดา แม้จะมีการบูรณะมาโดยตลอดก็ตาม  ปริมาณรถที่ใช้ + ความถี่ที่ใช้ + น้ำหนักที่บรรทุก มีผลกับอายุการใช้งานครับ  เหมือนปืนของเรา ลองเอาไปยิงทุกวัน วันละ 100 นัด อายุการใช้งานย่อมสั้นลง
  มอเตอร์เวย์ ผมก็ใช้บ่อยครับ ไประยองก็ใช้ทางนี้  บอกตามตรงครับ ผมใช้ความเร็วที่ 140 กม./ชม.(แฮะ..เกินกฎหมายกำหนด) ก็เห็นยังนิ่มนวลดีอยู่นี่ครับ (จะมีปัญหาตรงคอสะพานบางช่วงเท่านั้น) Smiley
บันทึกการเข้า

ชนใดไม่มีดนตรีการ  ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #69 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 08:41:02 PM »

อ๋อ..ใช่ผมโดนมาหมดแล้วทั้งพระราม 2 และมอเตอร์เวย์  แต่ พระราม 2 รูสึกจะแก้ไขให้ดีขึ้นมากแล้ว แต่ยังไม่หมด

มอเตอร์เวย์ ก็ทั้งปาด ทั้งพอก หลายครั้งแล้ว ปัญหาี่ที่เห็นก็ตรงสะพานนั่นแหละเขาทำสูงเกิ๊น ทั้งที่ลำคลองก็ไม่มีเรือวิ่งแล้ว

บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
konklong
รักทุกคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 277
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2141


จงทำดี มีศีลธรรม ถือความสัตย์


« ตอบ #70 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 08:58:35 PM »

อ๋อ..ใช่ผมโดนมาหมดแล้วทั้งพระราม 2 และมอเตอร์เวย์  แต่ พระราม 2 รูสึกจะแก้ไขให้ดีขึ้นมากแล้ว แต่ยังไม่หมด

มอเตอร์เวย์ ก็ทั้งปาด ทั้งพอก หลายครั้งแล้ว ปัญหาี่ที่เห็นก็ตรงสะพานนั่นแหละเขาทำสูงเกิ๊น ทั้งที่ลำคลองก็ไม่มีเรือวิ่งแล้ว


นั่นเขาออกแบบมาให้เรือบรรทุกสิ่งของ ซึ่งมีความสูง ผ่านได้ครับ  Smiley(สิบกว่าปีก่อนมีเรือใช้ ลากข้าว ขนสินค้า) แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป ผู้คนหันมาใช้รถยนต์กันมากขึ้น การใช้เรือน้อยลง จึงไม่มีเรือใหญ่ที่ลากจูงสิ่งของผ่านมาให้เห็น
หากไม่ออกแบบให้สะพานยกสูงให้พ้นหลังคาเรือ แต่เปลี่ยนเป็นทำสะพานให้เรียบ(SLAB TYP) แล้วใช้แผ่นเหล็กที่สามารถยกขึ้นได้เป็นพื้นสะพานคอยยกขึ้นเวลามีเรือผ่าน แต่ต้องปิดถนน ความโกลาหล คงมากกว่านี้(ในปัจจุบันเพราะปริมาณรถมากขึ้นทุกวัน) และจะถูกตั้งคำถามอีกว่า ทำไมไม่ออกแบบให้เรือก็ผ่านได้ รถก็ไปได้ในเวลาเดียวกัน  Grin สาเหตุที่ช่วงขึ้น-ลงสะพานกระโดดนั้น ก็เพราะการทรุดตัวของถนนกับสะพานไม่เท่ากัน  สะพานนั่งบันเสาเข็ม แต่ตัวถนนนั่งบนดินธรรมชาติครับ Smiley
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2012, 09:00:51 PM โดย konklong » บันทึกการเข้า

ชนใดไม่มีดนตรีการ  ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #71 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:00:40 PM »

หลักปฏิบัติไม่เขียนไว้ชัดขนาดนั้นครับ ตามมาตรฐานแล้วสิ่งแรกที่กำหนดมาคือความปลอดภัยและได้เผื่อความปลอดภัยไว้ให้(ผมขอไม่บอกตัวเลข)แต่บอกได้ว่าเผื่อให้เยอะครับ และในทางปฏิบัติขณะก่อสร้างจะคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางแบบอื่นๆ เช่น จักรยาน คนเดินเท้า สัตว์เลี้ยง เป็นต้น  ผมมีตัวอย่าง ถนนสายหนึ่งที่ผมไปก่อสร้างผ่านมาแล้ว เป็นทางโค้งอยู่ในย่านชุมชน(หน้าโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอมีนักเรียน ป.๑-ม.๖ รวมกันเกือบ ๒,๐๐๐ คน)  ผู้ออกแบคิดคำนวนค่าความลาดชันในทางโค้ง(super elevation)ตามมาตรฐาน โดยที่โค้งรัศมีเท่านี้ให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กม./ชม.และออกแบบมาตามนั้น ต่อมาจุดนั้นมีการแก้ไขให้ลดความเร็วลง เหลือเพียง 60 กม./ชม. (แต่ป้ายกำหนดให้ 30 )เนื่องจากเป็นย่านชุมชน เหตุผลคือ
๑.มีผู้คนพลุกพล่าน หากรถใช้ความเร็วที่ 120 ลองคิดดูว่าอันตรายแค่ไหน มีเด็กนักเรียน ผู้ปรกครอง เดินข้ามไปมาจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะเช้า-เย็น แต่เกือบทั้งวัน
๒.เป็นย่านชุมชนที่มีบ้านเรือนเต็มทั้งสองฝั่งถนน บ้านที่อยู่ด้านนอกของโค้งจะเดือดร้อนมาก เพราะระดับของถนนจะถูกยกขึ้นสูงมาก เพื่อรองรับความเร็วที่ 120 กม./ชม. หากหน้าบ้านเรา(ตึกแถว)ห่างจากขอบทางแค่ 1 เมตร แต่ระดับของถนนกับพื้นบ้านต่างกัน 1.50 เมตร  ลองคิดดูว่าเราจะขับรถเข้าออกบ้านได้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้จึงมีการปรับแก้ตามสภาพเป็นจริงของสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

อีกสายทางหนึ่ง เป็นทางโค้งเช่นกัน เป็นถนน 4 เลน รถไม่ได้วิ่งสวนทาง อยู่นอกชุมชน(ผ่านท้องนาและไร่มันสำปะหลัง)  ออกแบบมากำหนดความเร็ว 80 กม./ชม. (ตามรัศมีของโค้ง) แต่เมื่อนายช่างผู้ควบคุมงานมองเห็นว่าอาจเกิดอันตรายหากผู้ขับขี่ใช้ความเร็วเกินไปจากนี้มาก  จึงปรึกษาผู้บังคับบัญชาและผู้ออกแบบ  สุดท้ายมีการปรับแก้เปอร์เซ็นต์ความลาดเอียงให้รองรับความเร็วได้ 120 กม./ชม. และก่อสร้างไปตามนั้น  ที่ตัดสินใจทำอย่างนั้นได้เพราะไม่ได้อยู่ในย่านชุมชน
ไม่มีชาวบ้านเดือดร้อน
ผมยังยืนยันว่า หากผู้ขับขี่ทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจร และไม่ประมาทเลินเล่อ อุบัติเหตุไม่เกิดครับ อุบัติเหตุมิใช่เคราะห์กรรม แต่เกิดจากการกระทำโดยประมาท ไหว้

ที่ยกมาให้อ่าน อ่านแล้วก็ดูเหมือนเข้าท่าครับ แต่ผลลัพธ์ที่โค้งรัชดาไม่เห็นเข้าท่าตามที่อธิบายครับ... โดยเฉพาะตามตัวแดงใหญ่ๆ รู้สึกพิลึกครับ ว่าทำไมคนทำงานด้านนี้ทำไมจับประเด็นไม่ได้เอาเสียเลย, คาดว่ารู้ประเด็นแล้ว แต่ไม่ยอมรับมากกว่า...

ประเด็นคือถนนบางแห่ง "ทำไมถึงได้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าที่อื่น"(เช่นโค้งรัชดาหน้าศาล)... ถ้าจะอ้างว่าความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งอุบัติเหตุมันก็ใช่ แต่มันก็เหมือนว่าผู้คนที่ขับรถผ่านถนนตรงนั้นพากันพร้อมใจประมาทตรงนั้นมากกว่าประมาทที่อื่น ก็เลยเสียชีวิตตรงนั้นมากกว่าที่อื่น...

ถนนอื่นก็ต้องมีคนขับเร็วเกินกฎหมายกำหนดกันทั่วไปแหละ มากบ้างน้อยบ้างตามแต่สภาพแวดล้อมฯ แล้วทำไมที่อื่นไม่ตายซับตายซ้อนเหมือนตรงโค้งรัชดาฯ... ถนนเส้นเดียวกันนั่นแหละ คนเดิมขับมาจากไหนก็ไม่รู้ ผ่านมาได้ตลอดเส้นทาง ที่ไม่เกิดอุบัติเหตุก่อนหน้านี้ก็แสดงว่ายังขับไม่เกินกฎหมายกำหนดกระนั้นหรือ? เมื่อมาถึงตรงหน้าศาลก็เร่งความเร็วให้เกินกำหนด จะได้ตายซับตายซ้อนตรงนั้น !!! ...

ผลลัพธ์มันออกมาแบบนี้ จะอ้างโน่นอ้างนี่ก็แล้วแต่จะอ้างแหละครับ... มีอยู่ 2 อย่างที่น่าจะอธิบายได้มากกว่าคือ 1) รู้แล้ว แต่ไม่ยอมรับ หรือไม่ก็ 2) ไม่รู้มาก่อนเลยว่านั่นคือความล้มเหลว...

จะอ้างโน่นอ้างนี่ก็อ้างไปเถิด... แต่คนตายซับตายซ้อนตรงนั้น แล้วอ้างว่าเป็นเพราะขับเร็วเกินฯ ดูเหมือนไม่มีความรับผิดชอบเลยครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #72 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:03:50 PM »

อ๋อ..ใช่ผมโดนมาหมดแล้วทั้งพระราม 2 และมอเตอร์เวย์  แต่ พระราม 2 รูสึกจะแก้ไขให้ดีขึ้นมากแล้ว แต่ยังไม่หมด

มอเตอร์เวย์ ก็ทั้งปาด ทั้งพอก หลายครั้งแล้ว ปัญหาี่ที่เห็นก็ตรงสะพานนั่นแหละเขาทำสูงเกิ๊น ทั้งที่ลำคลองก็ไม่มีเรือวิ่งแล้ว


นั่นเขาออกแบบมาให้เรือบรรทุกสิ่งของ ซึ่งมีความสูง ผ่านได้ครับ  Smiley(สิบกว่าปีก่อนมีเรือใช้ ลากข้าว ขนสินค้า) แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป ผู้คนหันมาใช้รถยนต์กันมากขึ้น การใช้เรือน้อยลง จึงไม่มีเรือใหญ่ที่ลากจูงสิ่งของผ่านมาให้เห็น
หากไม่ออกแบบให้สะพานยกสูงให้พ้นหลังคาเรือ แต่เปลี่ยนเป็นทำสะพานให้เรียบ(SLAB TYP) แล้วใช้แผ่นเหล็กที่สามารถยกขึ้นได้เป็นพื้นสะพานคอยยกขึ้นเวลามีเรือผ่าน แต่ต้องปิดถนน ความโกลาหล คงมากกว่านี้(ในปัจจุบันเพราะปริมาณรถมากขึ้นทุกวัน) และจะถูกตั้งคำถามอีกว่า ทำไมไม่ออกแบบให้เรือก็ผ่านได้ รถก็ไปได้ในเวลาเดียวกัน  Grin สาเหตุที่ช่วงขึ้น-ลงสะพานกระโดดนั้น ก็เพราะการทรุดตัวของถนนกับสะพานไม่เท่ากัน  สะพานนั่งบันเสาเข็ม แต่ตัวถนนนั่งบนดินธรรมชาติครับ Smiley

ตรงนี้ก็เหมือนกัน... สาเหตุก็ตรงตัวแดง ต้องแก้ตรงตัวแดง กลายเป็นว่าเอาตรงตัวแดงมาเป็นข้ออ้างครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #73 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:07:32 PM »

ผมยังยืนยันว่า หากผู้ขับขี่ทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจร และไม่ประมาทเลินเล่อ อุบัติเหตุไม่เกิดครับ อุบัติเหตุมิใช่เคราะห์กรรม แต่เกิดจากการกระทำโดยประมาท ไหว้

มาถึงตรงนี้แล้ว บอกได้เลยว่าคนออกแบบประมาทครับ... ศพแรกก็รู้แล้วว่ามีคนขับเร็วเกิน ศพสองก็ชักรู้แล้วว่ามีแยะแฮะ ศพที่สามก็ชักสงสัยแล้วว่าทำไมขับเร็วกันขนาดนี้หลายคนจัง...

ศพที่ 4, 5, 6, ..... ไม่ควรจะมีแล้วครับ... แสดงว่าที่ออกแบบเอาไว้นั้นนะ ล้มเหลวไปแล้ว...

รู้สึกไม่ดีเลยที่ใช้รถใช้ถนนอยู่ทุกวัน แล้วต้องมาฝากชีวิตเอาไว้กับคนออกแบบที่ไร้ความรับผิดชอบครับ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2012, 09:09:18 PM โดย นายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #74 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:07:54 PM »

ถนนที่ผมคิดว่าทำได้ดีและขับเร็วแบบได้ใจก็ ทางยกระดับ บางนา-ชลบุรี ครับ

อันนี้แจ๋วจริงผมยกนิ้วให้ ทางโค้งก็ดีไม่มีเสียวเพราะมองเห็นแต่ใกล รถใครแน่ก็เหยียบส่ง

ใครรู้ว่ามือไม่ถึง รถไม่ถึง ใจไม่ถึง ก็ผ่อนคันเร่งซะ นี่คือข้อดีที่โค้งเห็นก่อนได้ใกลพอและ รัศมีโค้งกว้างพอ

ทำให้้รถแรง/รถไม่แรง รับมือกับสิ่งที่เกดขึ้นได้หมด คือให้เวลาคนขับตัดสินใจได้เพียงพอ ไม่ใช่บางสาย

เหยียบมาดีๆ ผ่อนคันเร่งแทบไม่ทันเพราะโค้งหมด

   ส่วนข้อเสียก็มีอยู่บางตรงที่ถนนเส้นนี้มันอยู่สูงมากมีปัญหาเรื่องลมส่งท้ายเยอะ ขาออกจาก กทม. นั้นไ่ม่มีปัญหาครับ
แต่ขาเข้าอย่าใส่เพลินล่ะ เวลาลมตีด้านหน้ารถมันจะเลื้อย แก้พวงมาลัยไม่ทัน มีสยองครับ


ปล.ผมเคยลองมาแล้ว ที่ 200/กม. ผ่านครับ เยี่ยม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2012, 09:17:22 PM โดย Southlander » บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 22 คำสั่ง