มีเบื้องหลังอะไรหรือเปล่า อินโดนีเซียด้วย จะว่าประเทศใหญ่ก็ถูก แต่รัสเซียก็ใหญ่ แคนาดา บราซิล..เห็นประชากรเขาไม่ถึงระดับพันล้าน..เลยสงสัยครับ
เรื่องนี้ต้องลองดูตั้งแต่ก่อนยุคปฎวัติอุตสาหกรรมครับ พิจารณาปัจจัยพื้นฐานทั่วไป ถ้าปัจจัยเกื้อหนุนกันก็มีโอกาสที่พื้นที่ใดๆ มีประชากรเยอะได้
ทั้งนี้มีสองมิติคือ เขตทางการเมือง (ประเทศนั่นและพครับ) หรือความหนาแน่นในพื้นที่ต่างๆ ที่เท่ากัน
ปัจจัยพื้นฐาน
๑. ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่
๒. ระดับของรูปแบบสังคมเป็นหลักแหล่ง ทำการเกษร
๓. ความยาวนานของรูปแบบสังคมทำการเกษตร
๑. ความอุดมสมบูร์นั่นก็รู้กันอยู่ว่าสำคัญยังไง
๒. สำหรับความสำคัญของสังคมเป็นหลักแหล่ง ทำการเกษตรผลิตอาหารเองนั้น ก่อนยุคทำการเกษตร ระบบสังคมชนเผ่าแรกเริ่มทำมาหากินแบบที่วิชาสังคมศาสตร์เรียกว่า ทำมาหากิน Hunting gathering ไล่ล่าหาเก็บ (ซึ่งรวมทั้งแบบที่อยู่ตามชายฝั่งหาอาหารทะเลตามหาด หรือ Beach combing ด้วย เรียกเป็นไทยว่า กวาดหาดคงได้ครับ )
ในสังคมระดับนี้ อาจมีการใช้เครื่องมือหินต่างๆ แต่จัดว่าเป็นยุคหินเก่า คือยุคหินที่ไม่ทำการเกษตร คนจะต้องเร่ร่อนย้ายไปเรื่อยตามฝูงสัตว์ หรือตามการออกผลของพืช
...สิ่งสำคัญคือ "แม่ต้องอุ้มลูกไปด้วยจนกระทั่งลูกเดินตามเผ่าได้เอง" อาจต้องอายุ ๓-๔ ปีอย่างน้อย ความถี่ของการมีลูกจึงต่ำ
และยังมีปัจจัยอีกว่าสังคมแรกเริ่มแบบนี้หาอาหารไม่ค่อนพอ ความเป็นอยู่ลำบาก ผจญกับธรรมชาติรุนแรง ที่พักไม่มั่นคง การตายของประชากรเด็กสูง และผู้ใหญ่อายุไม่มาก
รวมทั้งเป็นชุมชนประชากรน้อย เพราะต้องใช้พื้นที่มากในการหากิน การมีลูกกันก็อยู่ในกลุ่มพันธุกรรมแคบๆ ไม่แข็งแรง หรือพันฒาพันธุ์ต่อสู้กับโรคได้
เปรียบเทียบพื้นที่อุดมสมบูรณืเหมือนกัน แต่ระดับสังคมต่างกัน จะเห็นว่าความหนาแน่นประชากรต่างกันมาก เช่น จีน อินเดีย กับอัฟิกากลาง และอเมริกาเหนือ ที่ก่อนยุคสมัยใหม่ยังเป็นสังคมไล่ล่าหาเก็บ ในพื้นที่เท่ากัน ถึงมีประชากรเป็นล้าน แต่ก็ไม่ใช่หลักร้อยล้าน