เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
กันยายน 27, 2024, 02:27:08 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 4 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แท็บเล็ต ป 1 ฟรี แต่ไม่อยากหลานใช้กลัวระเบิดใส่หน้า  (อ่าน 12508 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 7 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Easy
Full Member
***

คะแนน 112
ออฟไลน์

กระทู้: 437


take It easy...


« ตอบ #90 เมื่อ: กันยายน 19, 2012, 12:50:19 PM »

เอามาให้ดูครับว่าเด็กเล็ก ป.1 เหมาะกับแท็บเล็ต หรือไม่

แพทย์ชี้เด็ก 6-7 ปี ไม่เหมาะใช้แท็บเล็ต
        รศ.พ.ญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับศูนย์ข่าว TCIJ ถึงการใช้แท็บเล็ตของเด็กนักเรียนชั้นป.1 ว่า เด็กอายุ 6-7 ปี เป็นเด็กที่อยู่ในวัยเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรพัฒนาทักษะทุกอย่างอย่างรอบด้าน เช่นทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมือ ในการขีดเขียน ทักษะในการฟัง การรอคอย นั่งให้นิ่ง ทักษะการเคลื่อนไหวโดยการเล่นกิจกรรมกีฬา หรือทักษะทางสังคม เช่น การรู้จักรอคอย การแบ่งปัน

ส่วนเรื่องทักษะด้านภาษา การขีดเขียน ความรู้ เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนความสำคัญแต่ละด้านจะพูดว่าสัดส่วนใดสำคัญที่สุดไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปพร้อมๆ กัน ถ้าในกรณีกล้ามเนื้อมือไม่มีแรงก็เขียนหนังสือไม่ได้ ถ้าสายตาไม่ดีมองกระดานไม่ชัด ก็เรียนไม่ได้ เป็นต้น

ทำให้พัฒนาการช้า-พูดช้า-สบตาน้อย-เหมือนออทิสติกส์
        พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า เด็กวัยนี้ควรต้องเรียนรู้ทักษะรอบด้านหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะเด็กป.1 โรงเรียนหลายแห่งไม่มีระดับชั้นอนุบาล ชั้นป.1 จึงเปรียบเสมือนโรงเรียนชั้นแรกของเด็ก เมื่อเด็กเข้าสังคมก็ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับเพื่อน ต้องเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหว ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกจด ระบาย การปา เคาะ ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่นการออกกำลังกาย ทักษะการสื่อสาร เช่น การฟัง คิด เขียน ต้องเป็นแบบการสื่อสารสองทาง (Two Ways Communications) ทักษะทางสังคม เช่น การรอคอย แบ่งปัน อดทน ฯลฯ ต้องทำอย่างรอบด้าน นอกจากนี้ความรับผิดชอบของเด็กวัย 6-7 ขวบ ที่ต้องดูแลรักษาแท็บเล็ตก็ไม่สามารถทำได้ เพราะขนาดกล่องดินสอที่เอาไปโรงเรียน พอกลับบ้านมา ยางลบ ไม้บรรทัด ดินสอก็ไม่ครบ สิ่งเหล่านี้ต้องคิดให้ดีหากจะแจกแท็บเล็ตให้เด็กวัยนี้ ฉะนั้นความเหมาะสมในการแจกแท็บเล็ต ถือว่าต้องพิจารณาให้รอบด้าน ทั้งในแง่ความรับผิดชอบของเด็ก พัฒนาการของเด็ก การกำกับดูแล เพราะทุกวันนี้ขนาดยังไม่ได้แจกแท็บเล็ตทุกระดับชั้น เด็กก็เล่นเกมส์จนมีผู้ป่วยเด็กติดเกมส์เยอะมาก พบว่าเด็กไทยสมัยนี้มีพัฒนาการพูดช้า สบตาน้อย มีพฤติกรรมชอบพูดภาษาต่างดาว หรือมีพฤติกรรมเหมือนเด็กออทิสติกส์มากขึ้น

 แพทย์ห่วงเรื่องระบบ พัฒนาไอคิว-อีคิวอย่างไร
          ส่วนการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในแท็บเล็ต จะมีส่วนช่วยพัฒนาไอคิว (ความฉลาดทางปัญญา) และอีคิว (ความฉลาดทางอารมณ์) ของเด็กได้หรือไม่นั้น พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า ในแง่ความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญาหรือไอคิว จะถือว่าแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเสริมสร้างได้ดี ถ้าเด็กใช้สิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ได้หมายความว่า พัฒนาการจะไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเด็กสมัยนี้คือ ทุกคนมักจะใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวก และชอบใช้การตัดถ้อยคำ หรือข้อความแล้ววางในหน้ากระดาษส่งครู ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะไม่ช่วยในการพัฒนาไอคิว ส่วนอีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ ขณะนี้ยังมองไม่ออกว่า แท็บเล็ตจะช่วยในเรื่องนี้ได้อย่างไร มีเกมส์ที่ส่งเสริมอีคิวหรือไม่ ส่วนจะช่วยในการแยกแยะของเด็กได้หรือไม่

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะขนาดหลักสูตรปกติยังไม่มี ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดได้หรือไม่ การพัฒนาทางอีคิว จะต้องเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันและมีคนคอยให้คำแนะนำ หล่อหลอมมาตั้งแต่เล็กๆ ทั้งครอบครัว และครูผู้สอน  มีต้นแบบที่ดีสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและโรงเรียน พ่อแม่ต้องมีความเอาใจใส่ รวมทั้งการส่งเสริมศักยภาพของเด็ก


แพทย์ระบุเล่นมากอาจสมาธิสั้น-อ้วนเตี้ย-สายตาสั้น-สมองผิดปกติ
         พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวต่อว่า การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสำหรับเด็กสมัยนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเด็กต้องเรียนรู้ พ่อแม่บางคนก็ให้เด็กเรียนรู้เทคโนโลยีพวกนี้ ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นป.1 ด้วยซ้ำไป แต่ของแบบนี้เป็นดาบสองคม มีทั้งข้อดี ข้อเสีย เหมือนกับโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต วีดิโอ ถ้าใช้ไม่ถูกทางก็มีแต่ผลเสียมากกว่าผลดี เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีก็เหมือนกัน

 “ทุกวันนี้เวลาเจอคนไข้ที่เป็นเด็กพบว่า ส่วนใหญ่เอามือถูไถไอแพด ไอโฟน หรือแท็บเล็ตกันทั้งนั้น ไม่สบตา ไม่สื่อสารกับใคร อยู่ในโลกส่วนตัว ดังนั้นทุกอย่างต้องอยู่ในทางสายกลาง เด็กเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอยู่ในยุคไฮเทค ใช้เทคโนโลยีเป็น แต่จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้เป็นตั้งแต่อายุ 6-7 ขวบ ดูเหมือนว่าแท็บเล็ตจะทำให้เด็กสนใจกับจอเป็นที่ดึงดูด แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้เด็กกลายเป็นคนที่มีสมาธิสั้น เนื่องจาก ภาพต่างๆในจอ เปลี่ยนเร็วมาก เด็กก็จะคุ้นเคยกับความเร็ว รอคอยไม่ได้ นับว่าเสียสมาธิได้ง่าย”  รศ.พญ.จันท์ฑิตากล่าว

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวอีกว่า แม้ว่าข้อมูลงานวิจัยในต่างประเทศยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากมีข้อมูลที่ขัดแย้งกันบางกรณีเห็นว่า เทคโนโลยีผ่านจอภาพมีส่วนทำให้เด็กสมาธิสั้น แต่ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านเด็กเห็นว่า แท็บเล็ตมีส่วนทำให้เด็กสมาธิสั้น รวมถึงเป็นตัวเพาะความรุนแรงให้เด็กผ่านเกมส์ ที่เด็กต้องการเล่นเพื่อเอาชนะ

สอดคล้องกับ รศ.พ.ญ.นิตยา คชภักดี ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มองว่า เด็กในวัย 6-8 ขวบมีความจำเป็นต้องเรียนรู้จากของจริง ได้สัมผัสได้พูดได้คุยกับคน ซึ่งหากนำแท็บเล็ตมาใช้กับเด็กกลุ่มนี้ ควรจะต้องเตรียมความพร้อมของพ่อแม่มากกว่า เนื่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กตกเป็นเหยื่อเทคโนโลยี ในทางกลับกันหากไม่ใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนช่วยในด้านพัฒนาการ ก็จะส่งผลร้ายกับเด็กเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ตามการที่เด็กสัมผัสจอแท็บเล็ตตลอดเวลา จะทำให้เด็กสายตาสั้น สมองผิดปกติ คอเอียงเพราะนั่นนานติดต่อกันหลายชั่วโมง  รวมไปถึงการมีปัญหาในครอบครัวขาดการติดต่อสื่อสารกับพ่อแม่ ทั้งยังมีแนวโน้มนำไปสู่โรคอ้วน-เตี้ยด้วย

แนะเวลาเล่นแท็บเล็ตไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง
          พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า แม้ว่าแท็บเล็ตจะเป็นเทคโนโลยีที่ดึงดูดในการมองเห็นของเด็ก เนื่องจากเด็กมีความสนใจกับข้อมูลทุกประเภทที่เข้ามาบนจอ ถ้าไม่กำหนดเวลาให้ชัดเจนเด็กก็จะติดจอเหล่านี้ เหมือนกรณีเด็กติดเกมส์ ทักษะการเคลื่อนไหว เล่นกีฬาให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัยก็จะไม่มี  เด็กในวัยนี้การเล่นกีฬานับว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมมาก เนื่องจากการใช้มือประสาน การกะระยะสายตาจะพัฒนาได้ดี  เด็กจะเข้าใจกฎกติกาของกีฬา ทำให้เรียนรู้การรอคอย เรียนรู้การแพ้ชนะ ถือเป็นการฝึกทักษะทั้งหมด ทั้งยังทำให้เด็กวัยนี้แข็งแรง กินได้ดี นอนหลับสนิท รวมถึงได้สังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ แต่วันนี้การเรียนรู้ การสื่อสารไม่มี เพราะถูกลดรอนโดยการหมกมุ่นอยู่กับจอทุกประเภท ถ้าจะใช้ต้องวางกรอบกติกาให้ชัดเจน เหมือนกติกาการให้เด็กดูทีวี ถ้าพ่อแม่เลือกและชี้แนะ แนะนำ กำกับดูแลสื่อผ่านจอทุกประเภทควรกำหนดเวลาไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น รวมถึงต้องเลือกรายการให้เด็ก  ผู้ใหญ่ต้องกำกับ พ่อแม่ต้องนั่งดูด้วย รวมถึงมีผู้ชี้แนะ มีการสื่อสารโดยพ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบในการเรียนรู้กับอุปกรณ์เหล่านั้นรวมถึงแท็บเล็ตด้วย

 “เทคโนโลยีมันมาเร็ว ประโยชน์จากมันมหาศาล แต่ถ้าไม่มีการกำกับดูแลจะเป็นดาบสองคม เด็กสามารถจะเข้าไปดูอะไรก็ได้ เช่นการเล่นเกมส์ที่นำไปสู่ความก้าวร้าวรุนแรง ถ้าไม่มีการกำกับดูแล ปล่อยให้เป็นอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่สมัยนี้ไม่มีเวลา ต้องปากกัดตีนถีบทำงาน ในบางครั้งพ่อแม่ก็อยากเล่นแท็บเล็ต หรือไอแพด ไอโฟนก็ซื้ออีกเครื่องให้ลูก เพื่อไม่ให้ลูกกวน พฤติกรรมเหล่านี้นำไปสู่ปัญหาครอบครัวในภายหลัง”

ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กวัยนี้ ผู้ใหญ่ต้องพิจารณาให้ดีว่า จะบรรจุหลักสูตรไหน อย่างไร เพื่อให้เหมาะกับวัยของเด็ก ไม่ให้เด็กหมกมุ่นกับจอเหล่านี้ เพราะขนาดผู้ใหญ่ยังติดเทคโนโลยี เด็กจะไม่ติดได้อย่างไร ทุกวันนี้หากสังเกตจะเห็นว่า เวลาที่ขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้า จะเห็นว่า ไม่มีใครสบตากับใคร ทุกคนต่างอยู่ในโลกส่วนตัว มือก็กดโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต


ทำให้เด็กเสี่ยงติดเกมส์มากกว่าใช้เรียน
          ขณะที่ ผศ.น.พ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่รัฐบาลแจกแท็บเล็ตให้เด็กชั้นป.1 ขณะนี้ถือว่ายังไม่มีความพร้อม เนื่องจากแจกเครื่องไปโดยไม่มีการเตรียมเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับเด็กในการใช้แท็บเล็ต ควรจะเร่งทำบทเรียนที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับตัวเครื่องในลักษณะที่มีการตอบโต้กันไปมา ซึ่งผลกระทบที่อาจจะเกิดจากการไม่มีความพร้อมทำให้กลายเป็นของเล่น มีโอกาสทำให้เด็กกลายเป็นเด็กติดเกมส์ เนื่องจากแท็บเล็ตมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและนำไปสู่การเล่นเกมส์ออนไลน์

น.พ.ณัทธรกล่าวว่า มีสื่อที่จูงใจเด็กมากกว่าทั้งภาพและเสียงที่ปรากฏในแท็บเล็ต จะทำให้เด็กมีสมาธิสั้นลง ถ้าเราปล่อยให้เด็กเล็กไม่ฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เด็กเป็นคนวอกแวกง่าย คิดอะไรผิวเผิน ซึ่งมีผลการวิจัยในต่างประเทศระบุว่า การที่เด็กใช้สื่อเร็วเกินไปจะมีผลต่อพัฒนาการทางสมองมาก นอกจากนี้จะมีการซึมซับความรุนแรงที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรง ถือเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้  รวมไปถึงการถูกล่อลวง

เมื่อถามว่า การใช้แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์พกพา จะส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพหรือไม่  น.พ.ณัทธร กล่าวว่า เด็กส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษามักจะมีเหตุมาจากการติดเกมส์ ติดอินเตอร์เน็ต ในบางกรณีอาจจะถึงขั้นภาวะซึมเศร้า ทำให้เกิดการติดเกมส์ ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่นำไปสู่ปัญหาสังคมหลายอย่าง เหมือนภูเขาน้ำแข็ง ถ้าพ่อแม่ดูแลลูกดี มีระเบียบวินัยก็จะลดปัญหาเหล่านี้ ถือเป็นการสะท้อนการดูแลเด็กในครอบครัวสมัยใหม่ที่ปล่อยปละละเลยเด็ก และเลี้ยงดูด้วยการให้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเช่น โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน รวมไปถึงแท็บเล็ตด้วย

“มันเป็นยุคของจอ ทุกคนอยู่กับจอไม่มีใครคุยกัน เพราะทั้งพ่อ แม่ และลูกต่างอยู่กับหน้าจอทั้งหลาย ความสัมพันธ์พื้นฐานในบ้านไม่ดีแล้ว การจัดการปัญหาต่างๆ ในครอบครัวก็ไม่ดีตามไปด้วย  ทางที่ดีควรจะมีการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ต้องเป็นนายเทคโนโลยี ระวังตัวมากขึ้น กำกับการใช้เทคโนโลยีตั้งแต่เด็กยังเล็ก และรู้เท่าทันเด็ก ที่สำคัญคือ ต้องควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีเป็นแบบอย่างให้ลูก รวมไปถึงครูอาจารย์ก็ต้องทำหน้าที่เหมือนพ่อแม่” น.พ.ณัทธรกล่าว
บันทึกการเข้า

"จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."

                                              เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
ปาล์มๆ...ซุ่มโป่ง
Hero Member
*****

คะแนน 57
ออฟไลน์

กระทู้: 1891


ทำความดีเพื่อชาติ


« ตอบ #91 เมื่อ: กันยายน 19, 2012, 02:16:40 PM »

ลูกผมอยู่ ป.๑ พอดี กว่าจะได้ใช้ก็เดือนกันยายน แล้วครับ เสาร์-อาทิตย์ ถึงอนุญาตให้นำกลับบ้าน ในสัญญาต้องส่งคืนโรงเรียนเดือนมีนาคม ปีหน้า สรุปได้ใช้ไม่กี่เดือนเองครับ

สรุปตกลง เสาร์-อาทิตย์ ก็ไม่อนุญาตให้นำกลับบ้านด้วย ใช้เด็กมาเป็นข้ออ้างชัดๆ


อ้าว ไม่แจกไปเลยหรือ ครับ เรียกคืนด้วย อุอุ

บันทึกการเข้า
Pandanus
Hero Member
*****

คะแนน 6378
ออฟไลน์

กระทู้: 40175


เรื่องบังเอิญไม่มีจริง


« ตอบ #92 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 12:31:00 AM »

ขออนุญาต ขุดกระทู้นี้ขึ้นมา ด้วยความสับสนทางความคิด

ตอนนี้ เครื่องเทบเล็ต ป.๑ เจ้าปัญหา มากองอยู่บนโต๊ะทำงานของผม ๗ เครื่อง

ซ่อมเสร็จแล้ว ๔ อีกสามยังลูกผีลูกคน อาการหนัก ๆ ไว้ซ่อมทีหลัง

อาการเท่าที่เจอ 

๑. ลำโพงดังต๊อดๆๆๆๆๆๆๆๆ ตลอดเวลาที่ชาร์จ 

๒. เขี้ยวกลางรูชาร์จ..หัก

๓. ข้อมูลหายเกลี้ยง

๔. เปิดติด แต่รูดหน้าจอสองสามที ดับไปอีก

๕. ชาร์จไม่เข้า  ทั้งที่หน้าจอขึ้นสถานะชาร์จ

ฯลฯ.....

ผมไม่รู้ ว่าผมมีสิทธิ์ซ่อมหรือไม่  เริ่มจากเครื่องหลานตัวเอง จนตอนนี้ ผมซ่อมไปนับสิบแล้ว

เขาไม่มีที่ไป...ไปที่ไหนก็ไม่รับซ่อม จนผมทนไม่ได้

ข้างในมัน โลว์กว่าที่ผมคิด หยาบและFail ง่ายเกินไป

หากวันหนึ่ง จะมี จนท.รัฐสักคณะ มาหาผมที่บ้าน แล้วชี้หน้าหาความ ว่า อุเหม่..เจ้านี้บังอาจนัก

อันกระดานชนวนคณิตกรณ์อันนี้ เจ้าได้บังอาจสู่รู้ถอดแก้ออกมาตามใจชอบของเจ้า

จักต้องรับโทษ กุดหัวชักเครื่องในมาทาซีอิ๊วแล้วตากแดดยามเพลเสียสักสามเพลา ก่อนใส่กลับเข้าไป

แล้วจักริบเรือนเนรเทศให้ไปเสียให้พ้นขอบขัณฑสีมา....


ช่างหัวมันเหอะ.... สงสารป้า สงสารน้าแก ลูกร้องให้ แม่ก็เครียด.....
บันทึกการเข้า
kensiro
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #93 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 12:39:34 AM »

โรงเรียนที่ ลูกผมเรียนอยู่ ได้มา 200 กว่าเครื่อง ครูคนที่ รับผิดชอบสนิทกับผม

บอกพี่ดูนี่เกือบสิบเครื่อง ที่เสีย ส่งศูนย์ครับ เขาห้ามคนนอกดูเดี่ยวเป็นเรื่อง

ผม ก็อยากช่วย แต่ กลัวปัญหาจะตามมา
บันทึกการเข้า
konklong
รักทุกคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 277
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2141


จงทำดี มีศีลธรรม ถือความสัตย์


« ตอบ #94 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 04:31:37 AM »

โรงเรียนที่ ลูกผมเรียนอยู่ ได้มา 200 กว่าเครื่อง ครูคนที่ รับผิดชอบสนิทกับผม

บอกพี่ดูนี่เกือบสิบเครื่อง ที่เสีย ส่งศูนย์ครับ เขาห้ามคนนอกดูเดี่ยวเป็นเรื่อง

ผม ก็อยากช่วย แต่ กลัวปัญหาจะตามมา
ข้ออ้างคือ ถ้าแกะเครื่องแล้วสิ้นสุดการรับประกัน   ยี๊
บันทึกการเข้า

ชนใดไม่มีดนตรีการ  ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #95 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 09:56:11 AM »

2มาตรฐานจังว่ะ จนป่านนี้ที่โรงเรียนลูกผมยังไม่มีใครได้รับแจกเลย  แบร่
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
dignitua-รักในหลวง
เราจะสู้เพื่อในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1414
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8341


จะมีพรุ่งนี้ ได้อีกกี่วัน...


« ตอบ #96 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 10:13:05 AM »

ยิงปืนนัดเดียวได้นก 4 ตัวเลยงานนี้...

1. ได้คะแนนเสียงเพิ่มจากประชานิยม

2. ได้ค่าคอมมิชชั่นจากการจัดซื้อ

3. คู่สัญญาได้ระบายของห่วยแตกที่ค้างสต็อกมาออกขาย

4. กำลังจะเกิดนอมินีเพื่อซ่อมบำรุง ซึ่งจะถลุงงบประมาณมากกว่าตอนตั้งงบไปซื้อ...

มันต้องหากินกันแบบนี้ถึงจะเรียกว่า "บูรณาการ" บู่
บันทึกการเข้า

คนตัวอ้วน+ผมรักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1057
ออฟไลน์

กระทู้: 3266



« ตอบ #97 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 10:21:13 AM »

เด็กๆแถวบ้านผมยังไม่ได้ใช้กันเลยครับ...คุณมดแดงเชิญมาแถ...เอ๊ย...เชิญมาตอบห้องนี้หน่อยดิ...
บันทึกการเข้า

จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
Pandanus
Hero Member
*****

คะแนน 6378
ออฟไลน์

กระทู้: 40175


เรื่องบังเอิญไม่มีจริง


« ตอบ #98 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 11:04:39 AM »

เด็กๆแถวบ้านผมยังไม่ได้ใช้กันเลยครับ...คุณมดแดงเชิญมาแถ...เอ๊ย...เชิญมาตอบห้องนี้หน่อยดิ...

ไม่ได้ดีแล้วครับ  ล้มโครงการตอนนี้เลยยิ่งดี  เรียกคืนให้หมดเลย....

สิบกว่าเครื่องที่ซ่อมมา  อาการสาหัส...แถมไม่มีซ้ำกันเลย....ไอ้ที่ไม่กล้าเอามาซ่อมก็อีกหลายเครื่อง
บันทึกการเข้า
Pandanus
Hero Member
*****

คะแนน 6378
ออฟไลน์

กระทู้: 40175


เรื่องบังเอิญไม่มีจริง


« ตอบ #99 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 11:07:46 AM »

เช้านี้ มาอีกสอง ของหลวงหนึ่ง....

จอเห็นแค่ราง ๆ กับเสียงไม่ดัง บทจะดังก็เหมือนแมลงสาบอยู่ข้างใน
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #100 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 11:26:24 AM »

คุณมดแดงไม่ค่อยออกมาหรอกครับ... รอยายบ๊าบมาแถจะเร็วกว่ากระมังครับ... ฮา...
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #101 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 11:36:36 AM »

ลองไปดูของอินเดีย เขาพยายามให้คอมพิวเตอร์แพร่หลายจนถึงข้างถนน ในขณะที่เรามีสองอย่าง เฉยๆ กับ ค้านแหลก
สมัยเรียนวิชานี้มีโจทย์ข้อหนึ่งที่ท้าทายมากคือพัฒนาให้ระบบสามารถใช้ได้ทุกวัยแม้กระทั่งกลุ่มที่ไม่มีการศึกษาหรือเรียกว่า no read no write เคยเห็นอเมริกันสอนเด็กประถมให้เขียนโปรแกรมภาษา BASIC ด้วยคำสอนแบบที่เป็นธรรมชาติ ต่างกับของเราโดยสิ้นเชิง

http://www.hole-in-the-wall.com/
บันทึกการเข้า
konklong
รักทุกคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 277
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2141


จงทำดี มีศีลธรรม ถือความสัตย์


« ตอบ #102 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 01:23:38 PM »

ลองไปดูของอินเดีย เขาพยายามให้คอมพิวเตอร์แพร่หลายจนถึงข้างถนน ในขณะที่เรามีสองอย่าง เฉยๆ กับ ค้านแหลก
สมัยเรียนวิชานี้มีโจทย์ข้อหนึ่งที่ท้าทายมากคือพัฒนาให้ระบบสามารถใช้ได้ทุกวัยแม้กระทั่งกลุ่มที่ไม่มีการศึกษาหรือเรียกว่า no read no write เคยเห็นอเมริกันสอนเด็กประถมให้เขียนโปรแกรมภาษา BASIC ด้วยคำสอนแบบที่เป็นธรรมชาติ ต่างกับของเราโดยสิ้นเชิง

http://www.hole-in-the-wall.com/

ของเราคงกลัวคนฉลาด จะหลอกยาก หมดทางหากิน เดี๋ยวไส้กิ่ว  ขนาดบางคนยังเคยบอกเป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้ง  ยี๊
บันทึกการเข้า

ชนใดไม่มีดนตรีการ  ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #103 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 01:51:07 PM »

2มาตรฐานจังว่ะ จนป่านนี้ที่โรงเรียนลูกผมยังไม่มีใครได้รับแจกเลย  แบร่



โรงเรียนลูกผมก็ยังไม่มีใครได้รับแจกครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
Pandanus
Hero Member
*****

คะแนน 6378
ออฟไลน์

กระทู้: 40175


เรื่องบังเอิญไม่มีจริง


« ตอบ #104 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 02:37:29 PM »

2มาตรฐานจังว่ะ จนป่านนี้ที่โรงเรียนลูกผมยังไม่มีใครได้รับแจกเลย  แบร่



โรงเรียนลูกผมก็ยังไม่มีใครได้รับแจกครับ

โรงเรียนลูกผมก็ยังไม่ได้....

ถ้าได้มาก็นับถอยหลังได้เลย....ลูกผมเล่นเละไม่เกินเดือน...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.11 วินาที กับ 22 คำสั่ง