ถ้าความรวย วัดกันที่ทรัพย์สิน อาตมาคงจนที่สุด เพราะไม่มีตังสักบาท ตอนนี้
แต่ถ้าวัดกันที่ความสุข ความไม่มีทุกข์ อาตมาคิดว่า พระที่นี่รวยกว่าที่กล่าวมาทั้งหมดอีก
รวยล้นฟ้าก็หาความสุขไม่ได้ ถ้าไม่มีธรรมในใจ สาธุ..............
ยังถือเพศบรรพชิตอยู่หรือเปล่าครับ?
โทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เนต หนังสือพิมพ์ ฯลฯไม่
สัปปายะต่อการภาวนา ในพระวินัยฉบับหลวงปู่จันทาถือเป็นอาบัติปาจิตตีย์ทั้งสิ้น
สิ่งแวดล้อมที่เป็น สัปปายะ และ อสัปปายะ สำหรับผู้ประพฤติวัตรและปฏิบัติกรรมฐาน ดังนี้
อาวาโส โคจโร ภสฺสํ ปุคฺคโล โภชนํ อุตุ
อิริยาปโถติ สตฺเตเต อสปฺปาเย วิวชฺชเย
สปฺปาเย สตฺต เสเวถ เอวณฺหิ ปฏิปชฺชโต
น จิเรเนว กาเลน โหติ กสฺสจิ อปฺปนา
พระโยคาวจร พึงเว้นสิ่งที่เป็นอสัปปายะ ๗ สิ่ง นี้ คือ
๑. ที่อยู่ (อาวาส)
๒. โคจรคาม
๓. การพูดคุย
๔. ปุคคล
๕. โภชนะ
๖. ฤดู
๗. อิริยาบถ
สัปปายะ ๗ คือ
๑. อาวาสสัปปายะ
๒. โคจรสัปปายะ
๓. ภัสสสัปปายะ
๔. ปุคคลสัปปายะ
๕. โภชนสัปปายะ
๖. อุตุสัปปายะ
๗. อิริยาปถสัปปายะ
๐ อาวาสสัปปายะ
ได้แก่ที่อยู่อาศัย หรือ วัด ราวป่า โคนต้นไม้ สำนักปฏิบัติธรรม กุฏิสงฆ์ อาราม เรือนว่างอันเป็นที่สบาย
สงบ ปราศจากผู้คนสัญจรไปมา ไม่ใกล้หนองน้ำ บ่อน้ำ หรือแหล่งชุมชนจนเกินไป อันอาจจะเกิดความ
รำคาญจากการไปมาของผู้คน มีรั้วรอบขอบชิด ปลอดภัยต่อความเป็นอยู่ สถานที่นั่นมีที่เหมาะสำหรับ
การปฏิบัติธรรม การเดินจงกรมเปลี่ยนอิริยาบถ
๐ โคจรสัปปายะ
คือ สถานที่แห่งนั้นต้องมีทางโคจร หรือ ทางเดิน ถนนหนทางไปมาได้สะดวก ไม่ใกล้นัก ไม่ไกลนัก
หนทางในการบิณฑบาตไม่ลำบากนัก เหมาะแก่การจาริก อีกทั้งภายในสถานที่ก็ควรมีทางเดินจงกรม
ที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม
๐ ภัสสสัปปายะ
ได้แก่ การสนทนา พูดคุย การฟัง คือ การสนทนา พูดคุยกันแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติ
ได้ฟังสิ่งที่จะทำให้จิตใจเกิดสัทธา วิริยะ อุสาหะ ความสงบระงับในการที่จะทำความเพียร หรือมีผู้รู้
พหูสูต ครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนกรรมฐานให้ได้รับความรู้ และเป็นอุปการคุณแก่การเจริญกรรมฐาน
ให้ก้าวหน้า ให้เว้นการสนทนา พูดคุยในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ไม่เป็นสัปปายะนั้นเสีย ๐ ปุคคลสัปปายะ
คือ บุคคลที่อยู่ร่วมกัน บุคคลที่ติดต่อคบหา ควรเป็นผู้ตั้งมั่นในศีลธรรม มีความสันโดษ มักน้อย
ชักจูงแนะนำไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเพียร ความสงบ และถ้าเป็นครูบาอาจารย์
หรือบุคคลที่เคยเจริญกรรมฐานมาแล้ว ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์มาก ให้พึงเว้นการคบหาสมาคมกับบุคคล
ที่มีจิตฟุ้งซ่าน บุคคลที่มากไปด้วยกามารมณ์ในทางโลกีย
๐ โภชนสัปปายะ
ได้แก่อาหารที่บริโภค ควรเป็นอาหารที่สบายต่อความเป็นอยู่ในอัตภาพแห่งตน เมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว
ไม่ทำให้เกิดทุกขเวทนา เช่น ท้องอืด ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นอาหารที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่ร่างกาย
โดยประมาณ โดยไม่ต้องคำนึงถึงรสของอาหารแม้รสจะดีแต่เมื่อทำให้ร่างกายเกิดทุกขเวทนาก็ควรงดเสีย
๐ อุตุสัปปายะ
ได้แก่ฤดูอันเป็นที่สบาย หมายถึงอากาศตามฤดูกาล ความร้อน ความเย็น ของอากาศ ซึ่งบางสถาน
บางฤดูอาจจะร้อนจัดเกินไป บางฤดูก็หนาวจัดเกินไป หรือกลางวันร้อนจัดกลางคืนหนาวจัด
ซึ่งสภาพอากาศเช่นนี้จะทำให้เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยแก่ร่างกาย จึงต้องเลือกให้เหมาะสมแก่
สภาพร่างกายของตน
๐ อิริยาปถสัปปายะ
ได้แก่อิริยาบถอันเป็นที่สบาย หมายถึงอิริยาบถทั้ง ๔ หรือ การเคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน
อิริยาบถใดทีทำให้จิตไม่สงบระงับ ก็แสดงว่าอิริยาบถนั้นไม่สบายไม่เหมาะสม จึงเว้นเสียจากการใช้อิริยาบถนั้น
หากเมื่อจำเป็นก็ใช้แต่น้อย
ทั้งหมดนี้เรียกว่า สัปปายะ เป็นสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการประพฤติวัตร ปฏิบัติธรรม