สติ โลกัสมิ ชาคะโร
สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
สติแปลว่า ความระลึกได้ เป็นเครื่องเตือนใจให้ตื่นอยู่เสมอในการกระทำทั้งหมด บุคคลผู้มีสตินั้น เป็นผู้ตื่นตัวอยู่เสมอ ทำอะไรก็จะไม่ผิดพลาด เพราะมีสติคอยเตือน
การทำป้ายเตือน ก็ถือว่าเป็นประโยชน์แต่ เตือนได้แค่สติ หากผู้ถูกเตือนนั้นขาดสติก็ไม่มีประโยชน์อันใด หากเรามีสติอยู่กับตัวความผิดพลาดอย่างนี้ก็จะไม่มีขึ้นอีก
หากเป็นเด็กเล็ก ที่ยังไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ก็ควรมีสติดูแลลูกตนเองให้ดีเพราะไม่อย่างนั้นก็จะเกิดปัญหาแบบนี้อีก
สติมีได้ทุกที่ ทุกเวลา เดิน กิน นอน นั่ง พูด ถ้ามีสติอยู่เสมอ ชีวิตก็จะเป็นสุข เจริญพร......
ปัญหามันเกิดเพราะผู้ใหญ่ที่ไปด้วย"ไม่รู้"ว่าจะทำอย่างไรไงครับ... คือทุกอย่างในโลกมันเรียนรู้ได้ด้วย 2 อย่างคือ 1) จากประสบการณ์ ลองผิดลองถูก และอย่างที่ 2) คือเรียนรู้จากองค์ความรู้ที่"สรุป"มาแล้วจากประสบการณ์ผู้อื่น แล้วเป็นแนวปฎิบัติสำหรับคนข้างหลังไม่ต้องไปลองด้วยตนเอง เพราะการลองด้วยตนเองอาจต้อง"เสียค่าทดลอง"คือผิดเป็นครู แบบตามกระทู้นี้ที่เสียใจครับ...
ธรรมะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คือ"วินัย"เทียบได้กับศีลครับ... วินัยของคนทั่วไปคือ"ต้องพยายามดูป้ายเตือนต่างๆ", หากไม่ดูป้ายเตือนก็คือหย่อนวินัย แล้วก็"ไม่รู้"ปล่อยให้เด็กเข้าสู่ความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น...
เมื่อมีศีลหรือวินัยแล้ว ขั้นต่อมาก็คือมีสมาธิเตือนตัวเองให้มีสติ ให้ปฎิบัติตามป้ายเตือนว่าควรระมัดระวังเด็กเล็กระหว่างใช้บันไดเลื่อน... ถัดมาคือมีปัญญาป้องกันได้ก่อนเกิด, และมีปัญญาสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้เมื่อเกิดเรื่องแต่ยังไม่เลยเถิดจนสถานการณ์แย่ฯ(ตามท้องเรื่องคือวิ่งไปเตะปุ่มแดงให้หยุดฉุกเฉิน)...
คนไทยส่วนหนึ่งดำรงตนด้วยความประมาท ไม่เคยดูป้าย ไม่เคยเหลียวซ้ายแลขวาเวลาข้ามถนน ไม่เคยมีวินัยเรื่องการรักษาความปลอดภัยของตนเอง เช่นข้ามถนนต้องใช้สะพานลอย(อ้างสาเหตุสารพัด) ฯลฯ... เมื่อใครไปเตือนก็มักโดนตำหนิทำนองว่าฉันรู้แล้ว หรือไม่ก็บอกว่าคิดมากเกินฯ...