เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 20, 2024, 06:19:29 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 5 วิธีจับโกหก  (อ่าน 2155 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Easy
Full Member
***

คะแนน 112
ออฟไลน์

กระทู้: 437


take It easy...


« เมื่อ: กันยายน 11, 2012, 07:26:13 PM »

ลองดูกันครับ ถ้ามีใครโป้ปดกับคุณ จะรู้วิธีจับโกหกได้....

1.ฟังให้ดี

เคยสังเกตหรือไม่ว่าระดับเสียงของบางคนเปลี่ยนไปจากปกติ เคยได้ยินเสียงแตกปร่าทั้งที่คนคนนั้นไม่ใช่คนเสียงแตกไหม ควรใส่ใจกับเสียงที่เปลี่ยนไปเพราะอาจบ่งบอกถึงการหลอกลวง

ผลพิสูจน์ระบุชัดเมื่อพอล เอ็กแมนและมอรีน โอซุลลิแวน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกทดสอบคน 509 คน ทั้งจากหน่วยราชการลับ, ซีไอเอ, เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ, นักจิตเวช และนักศึกษาเรื่องความสามารถในการจับโกหก โดยให้ผู้ทดสอบทั้งหมดดูวิดีโอที่มีคนสิบคนทั้งคนที่โกหกและคนที่พูดความ จริง

ในวิดีโอ หญิงผู้หนึ่งบรรยายความสวยของดอกไม้ที่เธอมองอยู่ แม้จะยิ้มขณะพูด แต่บางคนสังเกตว่าเธอพูดจาไม่เต็มเสียง คำพูดขาดความสดใส และมือดูจะเกร็งไม่ผ่อนคลาย หน่วยราชการลับคนหนึ่งบอกว่าเธอโกหกแน่นอน เขาพูดถูก (ส่วนใหญ่หน่วยราชการลับมักจับคนโกหกได้ถึง 86% พวกเขาเก่งกว่าใครในเรื่องนี้)

ถึงกระนั้น พฤติกรรมอื่นๆก็ต้องนำมาพิจารณาด้วย เสียงที่เปลี่ยนไปมักบ่งบอกว่าโกหก "ความเร็วในการพูดเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเร็วหรือช้าไป รวมทั้งการหายใจที่เปลี่ยนไป" โอซุลลิแวนกล่าว


2. ดูคำที่ใช้

แล้วถ้าเป็นข้อเขียนล่ะ เราจะจับโกหกในจดหมาย เอกสาร หรืออีเมล์ได้หรือไม่ ที่มหาวิทยาลัยเทกซัส ศาสตราจารย์เจมส์ เพนนีเบเคอร์และเพื่อนร่วมงานพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ชื่อ Linguistic Inquiry and Word Count (LIWC) ซึ่งจะช่วยวิเคราะห์ข้อเขียนและคำพูดว่าโกหกหรือไม่ เพนนีเบเคอร์บอกว่าการพูดโกหกจะบอกได้จากสองสิ่งที่สำคัญ

อย่างแรกคือ นักโป้ปดจะใช้คำสรรพนามของบุรุษที่หนึ่ง เช่น ฉัน, ของฉัน น้อยกว่าคนที่พูดความจริง เหมือนพยายามสร้างระยะห่างระหว่างพวกเขากับเรื่องราวที่แต่งขึ้น เหมือนไม่ได้เป็นเจ้าของเรื่องนั้นๆ เช่น "เอกสารส่งไปเมื่อวานนี้" ซึ่งตรงข้ามกับคำพูดตรงๆบ่งบอกว่าเป็นเรื่องของตัวเองอย่าง "ฉันส่งเอกสารไปเมื่อวานนี้" อย่างที่สองคือ นักโกหกจะไม่ค่อยใช้คำแยกประโยค อย่างคำว่า แต่, ไม่ว่า, นอกเสียจาก, ถึงแม้ว่า เพราะพวกนี้จะมีปัญหากับการคิดซับซ้อนโดยคำที่ใช้นั้นก็ฟ้องอยู่แล้ว



3.อย่ามองแค่ตา

เรามักจะคิดว่าตาหลุกหลิกคือสัญญาณที่รู้กันดีว่าโกหก แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือ เหตุการณ์ตอนนั้นด้วย (นักเล่นโป๊กเกอร์ถึงระวังไม่ให้ตา "แบไต๋" จนเกินไป)

"ถ้าคนคนนั้นมองไปทางอื่นขณะครุ่นคิดเรื่องหนักๆอยู่ไม่ถือว่ามีพิรุธ" โอซุลลิแวนกล่าว "แต่ถ้าเขาเฉไฉมองไปทางอื่นขณะตอบคำถามที่น่าจะง่าย นี่สิน่าสงสัย"

หัวข้อที่โกหกก็เป็นประเด็นสำคัญ "ถ้าคนโกหกเรื่องที่อับอาย ยากที่เขาจะมองตาเราได้" โอซุลลิแวนกล่าว " แต่สำหรับคำโกหกที่ไม่มีพิษภัย ไม่มีอะไรต้องอายในการโกหก คนเราก็จะจ้องตาได้นานขึ้น"



4. สังเกตดูภาษากายโดยรวม

อวัยวะเพียงส่วนเดียวของร่างกาย อย่างเช่น ตา จมูก หู หรือมือ ไม่ได้บอกเราทั้งหมด เมื่อพูดถึงการโกหก มันไม่ง่ายอย่างนั้น "ไม่มีจมูกแบบพิน็อกคิโอให้สังเกตหรอก" เอ็กแมนบอกอย่างหนักแน่น "จะจับโกหกให้แม่นยำ คุณต้องพิจารณาดูความกลมกลืนของสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ตลอดจนคำพูด"

นั่นหมายถึงการสังเกตคนคนนั้น "โดยรวม" "และเราจะต้องตีความอาการพิรุธจากพฤติกรรมโดยปกติของคนคนนั้น" โอซุลลิแวนกล่าว "ความเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆของมือที่เปลี่ยนไป หรือการใช้มือประกอบท่าทางมากขึ้น ท่ายักไหล่ที่ไปกันไม่ได้กับสิ่งที่พูด พวกนี้เป็นสิ่งที่น่าจับตามอง" เธอบอก รวมไปถึงท่าทางที่เปลี่ยนไปในระหว่างการสนทนาด้วย

จับตาดู "สิ่งที่เปลี่ยนไปจากเดิม" เธอชี้ "อย่างเช่นคนเงียบๆที่อยู่ๆก็พูดมาก คนที่ปกติเคยพูดมากกลับเงียบ นี่ไม่ได้หมายความว่าเขาโกหกเสมอไป แต่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาประเมิน"



5. จับอารมณ์ที่ "เล็ดลอด" ออกมา

หลายครั้งที่สีหน้าเพียงแวบเดียวสามารถบอกได้มากมายว่า เขารู้สึกอย่างไรหรือกำลังคิดอะไร ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่เขาพยายามสร้างภาพ แต่ความเปลี่ยนแปลงทางสีหน้าเพียงชั่วแวบนี้ ซึ่งบางทีก็เกิดขึ้นแค่เสี้ยววินาที ไม่ง่ายนักที่จะจับได้ แม้แต่มืออาชีพที่ฝึกศาสตร์ในการจับโกหกอย่างตำรวจ ผู้พิพากษา หรือทนายก็มองไม่ทันอยู่บ่อยๆ และคนที่จงใจโกหกก็มักจะกลบเกลื่อนเช่นใช้รอยยิ้มเพื่ออำพราง

แต่ก็ยังมีช่องโหว่ "ไม่สำคัญว่าเขาจะยิ้มบ่อยแค่ไหน แต่ประเภทของยิ้มต่างหากที่สำคัญ" เอ็กแมนแนะ "ยิ้มที่มาจากความสุข ใจที่แท้จริงไม่ใช่ยิ้มแค่ปาก แต่กล้ามเนื้อรอบๆดวงตาต้องยิ้มไปด้วย ผิดกับยิ้มแบบใส่หน้ากากที่ต้องการปกปิดความกลัวความโกรธ ความเศร้า หรือความเกลียด ถ้าช่างสังเกต คุณจะเห็นร่องรอยอารมณ์เหล่านี้เล็ดลอดออกมา"

บันทึกการเข้า

"จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."

                                              เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
telekbook - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1124
ออฟไลน์

กระทู้: 3629


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 08:39:05 AM »

เยี่ยมครับ  เยี่ยม
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 08:55:50 AM »

เห็นในบทความนี้พูดเรื่องพวก"ทำงานลับ" อ่านแล้วรู้เลยว่าคนที่เขียนบทความนี้ไม่เคยศึกษาเรื่องนี้จริง... มีคนประมาณครึ่งนึงที่อยู่รอบตัวเราสามารถใช้สมาธิควบคุมความดันเลือดและควบคุมให้หัวใจเต้นช้าลงได้ครับ...

คนกลุ่มที่ว่าตามย่อหน้าข้างบนมีอยู่มากมายเกินกว่าที่เราจะนึก เรียกว่าครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว, ถึงขนาดที่ว่าเขาเขียนเอาไว้เป็นเป็นวิธีหนึ่ง ในคู่มือรักษาโรคความดันโลหิตสูงเลยเชียวครับ... กลุ่มนี้แหละอย่าว่าแต่หัวใจเต้นหรือความดันโลหิตเลย เขาควบคุมทุกอย่างที่แสดงออกให้คู่สนทนาเห็นได้ ดังนั้นเรื่องมือไม้ขยับ หรือจ้องตาหรือไม่ นี่เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยครับ...

สูตรสำเร็จสำหรับจับโกหกคนคือต้องคุยในขณะที่เขา"ไม่เต็มร้อย"ครับ เช่นไม่รู้ตัว เหนื่อย เพลีย หิว และสิ้นหวัง ฯลฯ... ไม่งั้นแม้แต่เครื่องจับเท็จก็โดนหลอกเองง่ายๆ, แล้วที่แสบที่สุดก็คือเพื่อนๆที่นั่งอ่านกระทู้นี้แหละ จะมีอยู่ครึ่งนึง ที่สามารถบังคับความดันโลหิตกับความเร็วหัวใจเต้นได้ด้วยเวลาโกหก แต่อาจไม่รู้ตัว หรือไม่เคยทดลองมาก่อน...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 09:00:19 AM »

เรื่องจับโกหกด้วยการใช้ถ้อยคำก็เหมือนกัน... ระวังไปเจอเอาคนไม่ค่อยอ่านหนังสือเข้าให้, คนกลุ่มนี้อย่าว่าแต่การเปลี่ยนถ้อยคำเลยครับ แคเล่าเรื่องง่ายๆ เช่นให้บอกว่าของวางอยู่ตรงไหนในบ้านยังบอกไม่ได้เลยครับ...
บันทึกการเข้า
แปจีหล่อ
Hero Member
*****

คะแนน 6324
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8251



« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 09:04:34 AM »

ถ้าเอาวิธีนี้ไปนั่งจับผิดพวกดารานักแสดงนี่มันจะได้ผลไหมครับ
บันทึกการเข้า

สีกากีเป็นสีของดิน ข้าราชการควรต้องติดดิน ออกพื้นที่รับฟังปัญหาของชาวบ้าน ข้าราชการคือ ข้าที่ทำกิจการต่างๆให้กับพระราชา เครื่องแบบข้าราชการสีกากีคือสีแห่งข้ารับใช้แผ่นดิน
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 09:07:01 AM »


เห็นในบทความนี้พูดเรื่องพวก"ทำงานลับ" อ่านแล้วรู้เลยว่าคนที่เขียนบทความนี้ไม่เคยศึกษาเรื่องนี้จริง...
มีคนประมาณครึ่งนึงที่อยู่รอบตัวเราสามารถใช้สมาธิควบคุมความดันเลือดและควบคุมให้หัวใจเต้นช้าลงได้ครับ...

คนกลุ่มที่ว่าตามย่อหน้าข้างบนมีอยู่มากมายเกินกว่าที่เราจะนึก เรียกว่าครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว,
ถึงขนาดที่ว่าเขาเขียนเอาไว้เป็นเป็นวิธีหนึ่ง ในคู่มือรักษาโรคความดันโลหิตสูงเลยเชียวครับ...
กลุ่มนี้แหละอย่าว่าแต่หัวใจเต้นหรือความดันโลหิตเลย เขาควบคุมทุกอย่างที่แสดงออกให้คู่สนทนาเห็นได้
ดังนั้นเรื่องมือไม้ขยับ หรือจ้องตาหรือไม่ นี่เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยครับ...

สูตรสำเร็จสำหรับจับโกหกคนคือต้องคุยในขณะที่เขา"ไม่เต็มร้อย"ครับ
เช่นไม่รู้ตัว เหนื่อย เพลีย หิว และสิ้นหวัง ฯลฯ... ไม่งั้นแม้แต่เครื่องจับเท็จก็โดนหลอกเองง่ายๆ,

แล้วที่แสบที่สุดก็คือเพื่อนๆที่นั่งอ่านกระทู้นี้แหละ จะมีอยู่ครึ่งนึง
ที่สามารถบังคับความดันโลหิตกับความเร็วหัวใจเต้นได้ด้วยเวลาโกหก

แต่อาจไม่รู้ตัว หรือไม่เคยทดลองมาก่อน...

Ha Ha Ha  ฮา  "ฮั่นแน่"  พี่นายสมชาย (ฮา)  อ่ะ ฮา

เช่น  3 rep posts ข้างบน  ฮา   ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก

5555 หายใจ "ลึก" เข้าไว้  อ่ะ ฮา  ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 09:23:10 AM »

เอาบทความมาให้ยายบ๊าบอ่าน, ยกมาแค่บทความเดียว เดี๋ยวยายบ๊าบอ่านไม่รู้เรื่อง จะบอกว่าก็แค่บทความเดียวเอ๊ง... ยกลิ้งก์กูเกิลมาเลยดีกว่า เลือกอ่านเอาเองก็แล้วกัน... ฮา...

http://www.google.com/search?q=%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4+%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87&sourceid=ie7&rls=com.microsoft:en-us:IE-SearchBox&ie=&oe=
บันทึกการเข้า
bigbang
จงใช้สติก่อนใช้ปืน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1018
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6603


รูปจากเวปผู้จัดการครับ


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 09:27:04 AM »

น่าสนใจครับ  5 อาการหรือพฤติกรรมที่แสดงออกทางร่างกายดังกล่าวน่าจะเกิดจากการขัดแย้ง
ระหว่างจิตใต้สำนึกเดิม กับการยอมรับความคิดหรือคำพูดโกหกไม่ทัน หรือไม่ได้(ยังมีฝ่ายดีฝ่ายร้าย หรือ
ละอายในตัวอยู่บ้าง) แต่อาจจะใช้ไม่ได้กับพวกที่โกหกบ่อยๆ จนตัวเองยังเชื่อเรื่องโกหกตัวเองเลย
ไม่เชื่อปรึกษา หมอเหวง ได้ครับ 555
บันทึกการเข้า

อเสวนา จะ พาลานัง
Easy
Full Member
***

คะแนน 112
ออฟไลน์

กระทู้: 437


take It easy...


« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 12:30:55 PM »

นักวิจัยแนะถ้าอยากรู้ว่าคนตรงหน้าพูดจริงหรือโกหก ให้มองตาคนๆ นั้นให้ดี เพราะระหว่างและหลังจากที่ปั้นเรื่อง จังหวะการกระพริบตาของคนเรามักไม่เหมือนเดิม

ดร.ชารอน ลีล จากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัท อังกฤษ ผู้ร่วมจัดทำรายงานฉบับนี้ แจงว่า ระหว่างเล่าความเท็จ คนๆ นั้นจะกระพริบตาน้อยกว่าปกติ แต่หลังจากนั้นจะกระพริบตาถี่ขึ้น 8 เท่า
 
“ที่ผ่านมาความแตกต่างด้านพฤติกรรมระหว่างคนพูดจริงกับคนพูดโกหกไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญมากนักในการวิจัยเกี่ยวกับการตบตา”

นักจิตวิทยาพูดถึงการค้นพบนี้ที่รายงานอยู่ในเจอร์นัล ออฟ นอน-เวอร์บัล บีแฮฟวิเออร์ว่า เจ้าหน้าที่สอบสวนสามารถนำอัตราการกระพริบตาไปใช้ในการจับเท็จได้

ในการศึกษา อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งถูกขอให้ทำกิจกรรมประจำวันตามปกตินานสิบนาที ขณะที่อีกกลุ่มได้โจทย์ให้ขโมยข้อสอบจากออฟฟิศ และปฏิเสธว่าไม่ได้ทำ

หลังจากนั้น นักทดลองซึ่งไม่รู้ว่าอาสาสมัครกลุ่มไหนพูดจริงกลุ่มไหนโกหก จะขอให้อาสาสมัครแต่ละคนเล่าสิ่งที่ทำไป โดยระหว่างนั้นจะมีการใช้อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวของดวงตาของอาสาสมัคร

ผลปรากฏว่า เมื่อมีการถามตอบ อัตราการกระพริบตาของกลุ่มที่โกหกจะลดลง ขณะที่ของกลุ่มที่พูดความจริงเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะความกังวลในการทดสอบ

หลังจากการถามตอบจบลง อัตราการกระพริบตาของคนโกหกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกกลุ่มคงเดิม

นักวิจัย อธิบายว่า การใช้สมาธิเพื่อสร้างเรื่องเท็จอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้กลุ่มที่โกหกไม่กระพริบตาระหว่างที่ปั้นเรื่อง

“คนโกหกต้องพยายามกุเรื่อง และต้องจดจ่อกับเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อให้เรื่องนั้นดูน่าเชื่อถือ แถมยังต้องพยายามจำเรื่องที่โกหกให้ได้ตั้งแต่ประโยคแรกๆ เพื่อที่ว่าเมื่อเล่าใหม่เรื่องราวจะเหมือนเดิม รวมทั้งต้องจำให้ได้ด้วยว่าเล่าให้ใครฟังบ้าง

“คนโกหกมีแนวโน้มมากกว่าคนพูดจริงที่จะพยายามควบคุมพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้ดูน่าไว้ใจ

“ส่วนเหตุผลที่อัตราการกระพริบตาถี่ขึ้นหลังการโกหกนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน อาจเป็นเพราะการกระพริบตาบ่งบอกถึงความรู้สึกปลอดภัย เหมือนการปลดปล่อยพลังงานหลังจากความเครียดในการโกหก”

บันทึกการเข้า

"จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."

                                              เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
Easy
Full Member
***

คะแนน 112
ออฟไลน์

กระทู้: 437


take It easy...


« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 12:46:52 PM »

สิ่งที่พวกโป้ปดมดเท็จชอบทำบ่อยๆ

เล่าแกนๆ - อาการนี้อาจเป็นการโต้ตอบตามสัญชาติญาณ แต่คนโกหกส่วนใหญ่จะไม่บอกอะไรคุณมากนัก เพราะรู้ว่าขืนทำแบบนั้น ตัวเองจะต้องจำรายละเอียดที่ปั้นแต่งขึ้นมาเผื่อถูกซักไซ้ในอนาคต และอีกอย่างคือ กลัวว่าถ้าอธิบายละเอียดละออ คนฟังจะจับได้ว่าเป็นเรื่องแต่ง ไม่ใช่เรื่องจริง

บอกรายละเอียดที่ไม่จำเป็น - ถ้าเขาบอกคุณว่าใส่เสื้อตัวไหนหรือดื่มอะไรอยู่โดยที่คุณไม่ได้ถาม สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเขามีเรื่องปิดบังคุณแน่

ตอบคำถามด้วยคำถาม - คำถาม "เมื่อคืนนี้คุณไปไหนมา?” คำตอบ: “เมื่อคืนนี้ฉันไปไหนมา?” คนโกหกอาจตอบคำถามอย่างช้าๆ แล้วค่อยพูดเร็วขึ้นเมื่อเรียบเรียงความคิดได้ หรืออาจลังเล พูดตกๆ หล่นๆ หรือตะกุกตะกัก เดี๋ยวหยุดเดี๋ยวพูดใหม่

เม้มปาก หลบตา - แปลว่าเขากำลังคิดหนักว่าจะตอบอย่างไรดี และมีแนวโน้มว่าจะหมกมุ่นกับตัวเอง เช่น ขยับเสื้อผ้าหรือจับผม
     

บันทึกการเข้า

"จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."

                                              เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 04:20:34 PM »

เราจับโกหกได้เมื่อรู้ตัวว่าโดนหลอกแล้ว

ส่วนก่อนหน้านั้น มันเป็นการเดาจะด้วยความมั่นใจหรือความหวาดระแวงก็ตามแต่
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 22 คำสั่ง