เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 03, 2024, 01:24:29 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำจีนไปสู่ความมั่งคั่ง  (อ่าน 1609 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« เมื่อ: กันยายน 14, 2012, 11:35:50 PM »

ข้าพเจ้า คือลูกชายของมวลชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน’ คำพูดเรียบง่ายแต่ตรึงใจ สะท้อนถึงความเป็นลูกผู้ชาย ที่เปี่ยมล้นด้วยหัวใจรักชาติ ของอดีตผู้นำรุ่นที่ 2 เติ้งเสี่ยวผิง (ค.ศ.1904-1997) ผู้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนในศตวรรษนี้ได้สัมผัสกับคำว่า ‘มั่งคั่งร่ำรวย’

หนทางชีวิตนับตั้งแต่เข้าร่วมในสันนิบาติเยาวชนลัทธิคอมมิวนิสต์ จนได้เข้าร่วมในกองทัพแดง และในที่สุดก้าวขึ้นมายืนอยู่บนจุดสุดยอด ของการเป็นผู้ชี้นำแนวทางการบริหารประเทศ ถึงแม้จะถูกบุคคลบางกลุ่ม ‘เล่นงาน’ จนต้องลงจากอำนาจไปหลายครั้ง แมวเก้าชีวิตเติ้งเสี่ยวผิงก็ยังคงยืนหยัดในหลักการ อันที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเป็นสังคมกินดีอยู่ดี

เติ้งเสี่ยวผิง (ค.ศ.1904 - 1997 ) เป็นทั้งนักทฤษฎีมาร์กซิสม์ นักปฏิวัติ นักการเมือง นักการทหาร นักการทูต เป็นผู้วางรากฐานเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นผู้ริเริ่มแนวทางเศรษฐกิจและการปกครองแบบฉบับเติ้งเสี่ยวผิง ที่ยังคุณูปการแก่ประเทศจีนจวบจนถึงปัจจุบัน และด้วยคุณงามความดีที่ท่านปฏิบัติสั่งสมมาตลอดชั่วชีวิต ทำให้เติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้นำที่อยู่ในใจชาวจีนตลอดมา

เติ้งเสี่ยวผิง เป็นชาวซื่อชวน (เสฉวน) มีภูมิลำเนาเดิมที่เมืองกว่างอัน เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 1904 ชื่อเดิม เติ้งเซียนเซิ่ง เป็นบุตรชายคนโต มีพี่สาว 1 คน น้องชาย 3 คน และน้องสาว 2 คน หนูน้อยเติ้ง เริ่มเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุได้ 5 ขวบ เวลานั้นใช้ชื่อว่า เติ้งซีเสียน

เมื่อจบชั้นประถมและมัธยมในเมืองกว่างอัน ในปี 1920 เติ้งซีเสียนวัย 16 ปี สอบได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปี 1922 ได้เข้าเป็นสมาชิกสันนิบาติเยาวชนลัทธิคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนในยุโรป (ปัจจุบันคือสันนิบาติเยาวชนสังคมนิยมแห่งประเทศจีนในยุโรป) กลางปี 1924 ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ประเทศฝรั่งเศส เติ้ง เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วยจนถึงอายุ 21 ปี ก่อนจะเดินทางไปเรียนต่อที่มอสโค เมืองหลวงอดีตสหภาพโซเวียต เมื่อต้นปี 1926

เติ้งซีเสียน เดินทางกลับมาตุภูมิในฤดูใบไม้ผลิปี 1927 เป็นช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และก๊กมินตั๋งอยู่ในภาวะตึงเครียด เติ้งได้รับมอบหมายจากพรรคฯให้ไปซีอันและทำงานในสถาบันการทหารและการเมืองซุนยัดเซน ที่นี่เติ้งได้เริ่มทำงานด้านการปฏิวัติเป็นครั้งแรกในจีน โดยมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ที่จัดตั้งขึ้นภายในสถาบัน

เมื่อความร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และก๊กมินตั๋งสิ้นสุดลง เติ้งซีเสียน ในขณะนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เติ้งเสี่ยวผิง เพื่อปกปิดชื่อจริง ปลายปีได้ย้ายตามหน่วยงานของคณะกรรมาธิการกลางพรรคฯไปเซี่ยงไฮ้ เติ้งเสี่ยวผิงวัย 23 ปีในขณะนั้น ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางพรรคฯจนถึงปี 1929
ฤดูร้อนปี 1929 เป็นตัวแทนของคณะกรรมาธิการกลางพรรคฯ นำการปฏิวัติในมณฑลกว่างซี โดยใช้ชื่อว่าเติ้งปิน ฤดูร้อนปี 1931 ย้ายไปยังฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์ในมณฑลเจียงซี เป็นเลขาธิการพรรคฯประจำอำเภอลุ่ยจินและศูนย์ฮุ่ยชั่ง ต่อมาเป็นหัวหน้าหน่วยเผยแพร่อุดมการณ์ ของมณฑลเจียงซี ต่อมาถูกพวกซ้ายจัดถอดถอนตำแหน่ง ก่อนจะมาเป็นเลขาธิการใหญ่องค์การบริหารส่วนกลางในกองทัพแดง และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ ‘หงซิง’ หรือดาวแดง ซึ่งเป็นของหนังสือพิมพ์ขององค์การบริหารส่วนกลาง

เดือนตุลาคม 1934 ได้เข้าร่วมออกเดินทางหมื่นลี้ ปลายปีเดียวกัน ขึ้นเป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการกลางพรรคฯ เมื่อเหมาเจ๋อตงขึ้นเป็นผู้นำคณะรัฐบาลกลางอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 1935 เติ้งเสี่ยวผิงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าหน่วยเผยแพร่อุดมการณ์ ของฝ่ายบริหารประจำกองทัพแดงที่ 1 รองหัวหน้าและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ตามลำดับ

เมื่อสงครามต่อต้านญี่ปุ่นปะทุขึ้น รับหน้าที่เป็นรองหัวหน้าฝ่ายบริหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชนที่ 8 ต่อมาปี 1943 เป็นตัวแทนเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในภาคเหนือ ปี 1945 ในการประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 7 ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการกลาง
ระหว่างสงครามปลดปล่อยประชาชน เติ้งร่วมรบในสมรภูมิบนที่ราบจงหยวน ซึ่งได้แก่ พื้นที่ใต้เขตแม่น้ำหวงเหอ (แม่น้ำเหลือง) มณฑลเหอหนัน ตะวันตกของมณฑลซันตง และภาคใต้ของมณฑลเหอเป่ยและซันซี เป็นกรรมาธิการฝ่ายบริหารสนามรบที่ 2 เลขาธิการของรัฐบาลกลางเขตจงหยวนและหัวตง (ตะวันออก)
ในช่วงสุดท้ายของสงคราม เป็นผู้บัญชาการในสมรภูมิรบทั้งเขตจงหยวน และหัวตง ( อาณาเขตทางภาคตะวันออกของประเทศ อาทิ มณฑลซันตง เจียงซู เจ้อเจียง อันฮุย เป็นต้น) สามารถยึดฐานที่มั่นของก๊กมินตั๋งเป็นบริเวณกว้าง อาทิ หนันจิง (นานกิง) ศูนย์บัญชาการของก๊กมินตั๋ง เซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง อันฮุย เจียงซี เป็นต้น

เดือนกันยายน 1949 ได้รับเลือกเป็นกรรมการรัฐบาลประชาชน เข้าร่วมในการพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน หนึ่งเดือนต่อมา ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งชาติ นำทัพบุกภาคใต้และภาคตะวันตก ตั้งแต่มณฑลหยุนหนัน (ยูนนาน) กุ้ยโจว จนถึงซื่อชวน (เสฉวน) และร่วมนำทัพในการรบปลดปล่อยทิเบต ระหว่างนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการอันดับหนึ่งของกรรมาธิการกลางพรรคฯภาคตะวันตกเฉียงใต้ รองประธานกรรมาธิการทหารภาคตะวันตกเฉียงใต้ กรรมาธิการทหารฝ่ายบริหารภาคตะวันตกเฉียงใต้

เดือนกรกฎาคม 1952 ได้เข้ากลับเข้ามาทำงานที่ส่วนกลาง ดำรงตำแหน่งสำคัญๆในรัฐบาล อาทิ รองนายกรัฐมนตรี รองประธานคณะกรรมาธิการการคลัง ต่อมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ปี 1954 ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ รองนายกรัฐมนตรี รองประธานกรรมาธิการฝ่ายป้องกันประเทศ ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 8 ครั้งที่ 1 ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการประจำฝ่ายบริหารคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ และเลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคฯ

ปี 1959 เป็นกรรมการประจำคณะกรรมการกลางการทหารพรรคคอมมิวนิสต์ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคฯเป็นเวลา 10 ปี มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานและพัฒนาระบบสังคมนิยมตามแนวที่เหมาะสมกับประเทศจีน ระหว่างปี 1956 – 1963 เดินทางไปเยือนมอสโคหลายครั้ง เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำอดีตสหภาพโซเวียตในขณะนั้น โดยแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในความเป็นอิสระด้านการบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีน


ปี 1966 การปฏิวัติวัฒนธรรมระเบิดขึ้น เติ้งเสี่ยวผิงประสบกับมรสุมทางการเมือง ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้นำทางการเมืองทั้งหมด และได้รับคำสั่งให้ไปทำงานในโรงงานผลิตรถแทรกเตอร์ในมณฑลเจียงซี


มีนาคม 1973 ได้กลับมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เมษายน 1974 เป็นผู้แทนรัฐบาลจีนในการประชุมวิสามัญสมัยที่ 6 ขององค์การสหประชาชาติ มกราคม 1975 ดำรงตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์ รองนายกรัฐมนตรี รองประธานคณะกรรมการกลางการทหาร และหัวหน้าเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชน

เมื่อโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ป่วยหนัก เติ้งเสี่ยวผิงภายใต้การสนับสนุนของผู้นำเหมาเจ๋อตง รับหน้าที่ฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม กอปรกับความร่วมมือของประชาชน ทำให้ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ แต่ต่อมาก็ถูกแก๊ง 4 คน ใส่ร้ายป้ายสี จนต้องออกจากตำแหน่งทุกตำแหน่งในเดือนเมษายน ปี 1976 เป็นครั้งที่ 2

ตุลาคม 1976 แก๊ง 4 คนถูกล้มล้างลง พร้อมกับการสิ้นสุดของปฏิวัติวัฒนธรรม เดือนกรกฎาคม 1977 ที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 10 เต็มคณะครั้งที่ 3 มีมติให้เติ้งเสี่ยวผิงกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้นำในรัฐบาลอีกครั้ง สิงหาคม 1977 ในที่ประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 11 เติ้งเสี่ยวผิงได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์ เดือนมีนาคม 1978 ได้รับเลือกเป็นประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมือง ท่านเสนอให้มีการทบทวนนโยบายที่ผิดพลาดในอดีต และให้พรรคหันมามุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก

ธันวาคม 1978 ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เต็มคณะครั้งที่ 3 เป็นการเปิดศักราชใหม่ของประเทศ ทั้งในด้านการปฎิรูประบบเศรษฐกิจและการพัฒนาระบอบสังคมนิยมพิเศษหรือสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบจำเพาะของจีน ภายใต้การนำของคณะกรรมการบริหารพรรครุ่นที่สอง ซึ่งมีเติ้งเสี่ยวผิงเป็นแกนนำ

กลางปี 1981 ที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เต็มคณะครั้งที่ 6 ได้มีการทบทวนแนวคิดของเหมาเจ๋อตงตามหลักเหตุผล และมีมติให้คงไว้ซึ่งความสำคัญของอดีตผู้นำเหมาในทางประวัติศาสตร์ ในการประชุมครั้งนั้น เติ้งเสี่ยวผิงได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการกลางการทหาร

พฤศจิกายน 1989 ที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 13 เต็มคณะครั้งที่ 5 เติ้งเสี่ยวผิง ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกลางการทหาร และได้ส่งมอบตำแหน่งผู้นำประเทศแก่เจียงเจ๋อหมิน ผู้นำประเทศรุ่นที่ 3

แม้จะพ้นจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดแล้วก็ตาม แต่เติ้งเสี่ยวผิง ก็ยังคงทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง เช่นในปี 1992 ได้เดินไปแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ หลังจากจีนปฏิรูประบบเศรษฐกิจใหม่ ตามเมืองต่างๆทางใต้ เช่น อู๋ซาง จูไห่ เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น เป็นต้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของจีนในหลายๆด้าน ปี 1997 ที่ประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศ ครั้งที่ 15 ได้มีมติให้ระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบจีนเป็น ‘ทฤษฎีเติ้งเสี่ยวผิง’ ที่มีคุณค่าต่อพรรคฯและประเทศชาติ

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1997 เติ้งเสี่ยวผิงในวัย 93 ปี ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ ในกรุงปักกิ่ง แม้ว่าเติ้งเสี่ยวผิงจะไม่เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีเลย ตลอดชั่วชีวิตทางการเมืองของท่าน ทว่าภารกิจที่ท่านรับผิดชอบต่อการบริหารประเทศนั้นยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าตำแหน่งทางการเมืองใดใด คุณูปการทั้งหลายที่ท่านได้กระทำไว้แก่ประเทศชาติและประชาชน ตลอดจนแนวคิดในการพัฒนาประเทศที่ตกทอดมาสู่ผู้นำรุ่นหลังแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้เติ้งเสี่ยวผิงได้ชื่อว่าเป็น นักปกครองผู้นำความมั่งคั่งมาสู่ชีวิตชาวจีนในวันนี้.



ที่มา : ครบร้อยปี เติ้งเสี่ยวผิง http://www.manager.co.th/China/china_100years.aspx
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2012, 11:57:42 PM โดย เบิ้ม » บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 14, 2012, 11:37:41 PM »

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายเติ้ง เสี่ยวผิง รองนายกรัฐมนตรีจีน(สมัยนั้น) เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2521 ระหว่างเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 - 11 พฤศจิกายน 2521


บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
กรรมกร
+แล้วนะคับ ... อย่าลืมทอนด้วยนะคับ 555
Hero Member
*****

คะแนน -964
ออฟไลน์

กระทู้: 1293



« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 15, 2012, 08:09:43 AM »

ยอดคน   เยี่ยม
บันทึกการเข้า

ไร้คำกล่าว............................................
telekbook - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1124
ออฟไลน์

กระทู้: 3629


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 11:02:04 AM »

แล้วเติ้งเสี่ยวหารล่ะครับ  Grin
บันทึกการเข้า
ss-bk
Sr. Member
****

คะแนน 58
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 645


« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 11:10:48 AM »

สถิตย์แต่ชั่วดี  เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 21 คำสั่ง