ประวัติของอาณาจักรล้านนา ในตอนกลางของเอเชียอาคเนย์เป็นที่ตั้งของอาณาจักรซึ่งมีภูมิประเทศที่งดงามแบบชนบทซึ่งเคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลายกเว้นผู้ที่ตั้งรกรากอยู่บริเวณนั้น ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของเทือกเขาและทะเลทรายซึ่งอยู่ตอน กลางของทวีปเอเชียและไม่มีทางออกสู่ทะเล เป็นดินแดนสำคัญของทวีปเอเชียคือเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมมากมากซึ่งมีความโดดเด่นและสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้มาก อันได้แก่ การประดิษฐ์ตัวอักษร การดนตรี การทอผ้า การฟันดาบ และการเกษตร ชื่อของอาณาจักรหมายถึง ดินแดนแห่งข้าวล้านไร่
ในสมัยโบราณการปกครองขึ้นอยู่กับความจงรักภักดีมากกว่าการแบ่งอาณาเขตทางภูมิศาสตร์และเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อชาวตะวันตกเริ่มใช้แหนที่ เริ่มการเดินเรือและการล่าอาณานิคม เมื่อกษัตริย์ของประเทศสยามมีความคิดว่า ประวัติความเป็นมาของประเทศเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อใช้ในการป้องกันการเข้ายึดครองของชาวยุโรป และในเวลานั้นอาณาจักรล้านนาเพิ่งเข้ามาอยู่ในความครอบครองของกรุงรัตนโกสินทร์ได้ไม่นานนัก จึงต้องหาทางทำให้ชาวยุโรปเชื่อว่าสยามได้ครอบครองดินแดนล้านนาเป็นเวลานานแล้ว โดยพระมหากษัตริย์ได้เล็งไปที่สุโขทัยมากกว่าเชียงใหม่ ซึ่งในขณะนั้นมีความสำคัญมากกว่าสุโขทัย (ถึงแม้คนเชียงใหม่จะแสดงความนับถือสยามอย่างเสมอต้นเสมอปลาย) ล้านนา ประกอบด้วยชาวไทมากกว่าชาวสยามและต่อมามีจำนวนเกือบ จะเท่าๆ กัน จึงเป็นการง่ายในการสร้างความจงรักภักดี เหตุที่ประชากรของล้านนาลดลงอย่างมากก็เนื่องมาจากการเกิดโรคระบาดหลังสงครามติดต่อกันหลายปี
ล้านนาก่อตั้งขึ้นโดยกษัตริย์หนุ่มผู้ขึ้นมามีอำนาจแทนบิดา (ค.ศ.1259) ด้วยความฉลาดและมีสายตาที่แหลมคม จึงทำให้ล้านนาปรากฏเป็นแหล่งวัฒนธรรมอันสำคัญขึ้น ล้านนายังคงใช้ภาษาถิ่น ยังคงให้ความเคารพเชื้อพระวงศ์สืบทอดมาแต่โบราณ และมีความสุขที่จะรักษาความเป็นล้านนาไว้ โดยขนบธรรมเนียมประเพณี ดนตรี ความเชื่อ อาหาร และแบบแผนต่างๆ ยังคงอยู่เหมือนในสมัยโบราณ แม้รูป แบบต่างๆ ของชีวิตในปัจจุบันมีความทันสมัยมากขึ้น ผืนป่าหายไป แต่ขนบธรรมเนียมประเพณียังคงอยู่ ส่วนใหญ่ของอาณาจักรล้านนาในปัจจุบันได้กลายมาเป็น 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยอันได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตติดต่อกับบางส่วนของเกงตุงซึ่งอยู่ในรัฐฉานของพม่า (ตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า) เชียงรุ้งและสิบสองปันนาในยูนนานของจีนและล้านช้าง (หลวงพระบาง) ของลาว ซึ่งมีความสัมพันธ์คล้ายบ้านพี่เมืองน้องกัน ดินแดนต่างๆ เหล่านี้มีความเหมือนและคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรม ราวกับเคยเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ล้านนามีความเจริญเหมือนอาณาจักรอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมพุทธศาสนิกชนโลกในปี ค.ศ.1445 มีการพบพระพุทธรูปสำคัญคือ พระแก้วมรกต และเป็นจุดกำเนิดเมืองสำคัญคือ เชียงรายและเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา
กษัตริย์ผู้ก่อตั้งล้านนาคือ พ่อขุนเม็งราย ซึ่งวางหลักสำคัญซึ่งทำให้ล้านนามีเอกราชเป็นเวลานาน นั่นคือสร้างสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในช่วงศตวรรษที่ 13 จนทำให้สามารถต้านทานการขยายอาณาเขตของมองโกล ในสมัยราชวงศ์หยวนของจีน ซึ่งมีความสามารถในการรบมาก กษัตริย์ของประเทศเพื่อนบ้านในสมัยเดียวกันคือ พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์แรกของไทยซึ่งได้ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยและได้อุปถัมภ์ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท รวมทั้งมีความสามารถทางด้านกฎหมายอีกด้วย พ่อขุนรามคำแหงอาจเคยเป็นผู้ครองดินแดนแต่เพียงในนามของอาณาจักรมองโกล (โดยเดินทางไปเยือน 2 ครั้ง) ซึ่งปกครองโดยกุนไลข่าน และนครขอม ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงความสามารถในทางกฎหมายของพระองค์ แต่ในประวัติศาสตร์ซึ่งแก้ไขใหม่ กล่าวถึงการใช้วิธีทางการทูตว่ามีผลดีต่อประเทศไทย คือไม่เสียเอกราช ซึ่งถูกกล่าวถึงโดยนักล่าอาณานิคมชาวยุโรป
กุน ไล ข่าน หรือข่านฉลาดเป็นหลานของ เจง กิส ข่าน นักรบผู้ยิ่งใหญ่ผู้ซึ่งได้ทำการผนวกดินแดนอาณาจักรยูนานเข้าด้วยกันรวมทั้ง อาณาจักรของพ่อขุนเม็งรายก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ โดยดูคล้ายกันว่าบิดา มารดาของพระองค์จะยอมเป็นผู้ครองแต่ในนามซึ่งดีกว่าถูกฆ่าตายโดยมองโกล แต่พ่อขุนเม็งรายไม่ต้องการอยู่ใต้อำนาจของมองโกลซึ่งนักรบของ กุบไลข่าน ได้ทำสงครามและได้ดินแดนจากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคไปจนถึงฝั่งตะวันออกของยุโรป และเปอร์เซีย พ่อขุนเม็งรายไม่สามารถขึ้นเป็นกษัตริย์และปลดปล่อยประชาชนของพระองค์ให้เป็นอิสระจากมองโกลได้ ในที่สุดเป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีผู้ใดสามารถบ่ายเบียงการเข้าครอบครองของ กุบไลข่าน ได้โดย กุบไลข่าน ได้ใช้การประชาสัมพันธ์ และโฆษณาชวนเชื่อ ควบคู่ไปกับการใช้การทางทหารและได้รับผลสำเร็จอย่างมากเพาะ กุบไลข่าน นี้เอง ที่ทำให้เอเชียอาคเนย์กลายเป็น อินโดจีน โดยการผสมผสานวัฒนธรรมของอินเดียและจีนเข้าด้วยกัน
พ่อขุนเม็งรายตระหนักดีว่าควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับกองทัพของมองโกลจึงได้โยกย้ายจากดินแดนที่อยู่ใต้อำนาจการปกครองของมองโกลและจีน ( อำนาจจากกรุงปักกิ่งหลังปี ค.ศ. 1264 ) โดยอพยพประชาชนของพระองค์ลงมาทางใต้ข้ามแม่น้ำซึ่งใช้เป็นจุดกันปะทะ ( แม่โขง แม่กก และ ทะเลสาบเชียงแสนซึ่งมาขนาดใหญ่ ) จากเมืองเงินยางซึ่งตกทอดมาจากบิดา และเมืองเชียงรุ้ง ( ทางใต้ของนาน ) ซึ่งตกทอดมาจากมารดา ประชาชนของพระองค์สร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นแล้วตั้งชื่อตามพระนามของกษัตริย์องค์ใหม่ของตนคือ เชียงราย ทะเลสาบเชียงแสนตั้งอยู่ระหว่างเมืองเงินยางปละเชียงราย รวมทั้ง แม่น้ำโขงและแม่น้ำกกซึ่งมีขนาดใหญ่ในเวลานั้น หลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นราวปี ค.ศ. 800 หรืออาจเป็น ค.ศ. 1015 น้ำได้ไหลจากเกงตุงในรัฐฉานปัจจุบันลงสู่พื้นที่ที่ต่ำหว่าทำให้เกิดป่าทึบและหนองน้ำ ซึ่งยากแก่การเดินทางผ่านโดยต้องเดินทางไปตามทางเดินแคบๆ ซึ่งปกคลุมด้วยป่าทึบและทิวเขา
เป็นเวลา 6 ปีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะขึ้นครองราชย์ มองโกลได้ยึดครองอาณาจักรน่านเจ้าซึ่งอยู่ทางเหนือของยูนาน เมื่อพ่อขุนเม็งรายล่ะทิ้งดินแดนมองโกลจึงได้ครอบครองดินแดนแถบยูนานทั้งหมดและในปี ค.ศ. 1279 มองโกลก็ได้ยึดครองจีนเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1290 กุน ไล ข่าน ได้เข้ายึดครองดินแดนแถบโวลกาถึงแม่น้ำดานูน เกาหลี ปากีสถาน อิหร่าน อิรัก ดินแดนส่วนใหญ่ทางเหนือของพม่า และ ชายฝั่งทางเหนือของเวียดนามเข้าไว้ในจักรวรรดิ หยวน ของตน กุบไลข่าน ได้ส่งกำลังเข้าโจมตีเมืองด้านใต้ของแม่น้ำกกและได้รับชัยชนะ แต่พ่อขุนเม็งรายได้ยุทธวิธีก่อกวำลายเส้นทางส่งเสบียงซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการคงกองทีพอยู่ ทัพมองโกลได้เข้าตีอิระวดี ( ยึดพุกามได้ในปี ค.ศ. 1297 )ส่วนล้านนานั้นไม่ปรากฏแนวกำแพงเมืองล้อมรอบเมืองที่แน่นอนเพราะพ่อขุนเม็งรายได้ย้ายเมืองหลวงไปเรื่อยๆ จนยากที่จะคาดเดาได้จึงทำให้มองโกลไม่สามารถเข้ายึดเมืองหลวงของล้านนาได้ และมองโกลก็ไมเคยเข้ารุกรานอาณาจักรบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้เลย ซึ่งในเวลาต่อมาอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ได้ถือกำเนิดขึ้น นั่นคือ อยุธยาซึ่งมีความเจริญมากและกลายมาเป็นอาณาจักรสยามในเวลาต่อมา