เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 20, 2024, 06:43:06 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง  (อ่าน 9692 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1960
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22591


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #45 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2012, 04:59:42 PM »

ขอบคุณอาจารย์กาญจนา นาคสกุลครับ... ไหว้
 
ส่วนตัวผมมองว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ยังไม่ตาย...

ดังนั้น...จึงต้องมีการแก้ไขและพัฒนาให้เหมาะสมไปเรื่อยๆ...

ราชบัณฑิตเป็นหน่วยงานที่สมควรทำในสิ่งที่ถูกที่ตรง...

เพื่อให้เราสามารถใช้อ้างอิงได้ครับ... เยี่ยม
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 03:35:23 PM โดย rute - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
NAPALM
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 66
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1589



« ตอบ #46 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2012, 05:14:27 PM »

หน่าย....ใจ...กับพวกนั่งโต๊ะ...คิด...

ความจริงน่าจะเอา... ฅ....กับ ฃ กลับมาใช้ ดีกว่า

เสียดาย อย่างน้อย ใช้ ฅ กับ คำว่า ฅน  แล้ว ฃ กับ คำว่า ฃวด ก็ยังดี

ด้วยความเคารพ

ปล. แล้วเปลี่ยนไปแล้วเนี่ย มันจะทำให้ผลการเรียนเด็กนักเรียนดีขึ้น หรือ ด้อยลงอีกล่ะเนี่ย คราวก่อน แทบ เล็ด ก็ยังได้ไม่ครบ ทุกโรงเรียนเลย นี่ บัญญัติ ศัพท์ใหม่กันอีกแล้วววว

เห็นด้วย  ครับท่าน........ เยี่ยม
บันทึกการเข้า

..........ขอเพียงมีความหวัง       ย่อมมีโอกาส...............
PHAPHOOM
Full Member
***

คะแนน 86
ออฟไลน์

กระทู้: 188



« ตอบ #47 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2012, 09:07:34 PM »

ชินภัทรแนะราชบัณทิตชำระคำสะกด เพิ่มพยางค์เน้นด้วย

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)กล่าวถึงกรณีที่ราชบัณฑิตเสนอให้มีการแก้ไขคำศัพท์ ที่ยืมมาจากคำภาษาอังกฤษ 176 คำ เขียนไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้น ๆ ตามอักขระวิธีไทย โดยระบุว่าปัญหานี้เกิดขึ้นมาจากขั้นตอนการถอดคำ หรือว่ายืมคำมาจากภาษาอังกฤษ เมื่อแปลมาเป็นภาษาไทย ไม่ได้เติมวรรณยุกต์เสียงเอก โท หรือตรี รวมทั้ง ไม้ไต่คู้ ให้ตรงตามอักขรวิธีไทย ว่า เห็นด้วยกับความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่หากจะเปลี่ยนแล้วก็อยากให้แก้คำสะกดในภาษาไทยให้ถูกต้องกับการออกเสียงที่ถูกต้องเลย

นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน เราเขียนคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีถอดตัวสะกดมาคำนั้นๆ ในภาษาอังกฤษออกมา ซึ่งที่ราชบัณฑิตจะเปลี่ยนเข้าใจว่าเพื่อการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งอยากให้ข้อสังเกตว่า แม้จะเปลี่ยนโดยเพิ่มวรรณยุกต์ให้การอ่านออกเสียงมีความใกล้เคียงกับภาษาที่แท้จริง แต่ก็ยังไม่ 100% เพราะภาษาอังกฤษจะมีตัวสเตรท หรือพยางค์ที่เน้น อยู่ด้วย ถ้าหากเราออกเสียงสเตรทผิดพยางค์แล้ว เจ้าของภาษาก็จะฟังเราพูดภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ดังนั้นหากจะเปลี่ยนแล้วก็ควรเพิ่มเรื่องจุดเน้นและการออกเสียงสั้น เสียงยาว เพื่อให้เด็กได้อ่านออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องด้วย

"ตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ควรจะไปให้สุดทางคือเน้นตรงพยางค์ที่ควรต้องเน้น รวมถึงการออกเสียงสั้นยาวเพื่อทำให้เด็กสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องมากขึ้น และหากจะเป็นเช่นนี้ได้ก็น่าจะมีการประชุมระดมความคิดเห็น แม้ราชบัณฑิตจะเป็นผู้ทรงความรู้ แต่ก็ต้องรับฟังเสียงจากคนภายนอกด้วย เพราะการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้ง จะกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นหากจะปรับจริง ก็ควรจะให้สมประโยชน์กับทุกฝ่าย" นายชินภัทรกล่าว

เนขั่น
บันทึกการเข้า

*** ดูถูกคนอื่น เท่ากับดูถูกตนเอง ***
zamphol
ปืน-อยู่-ที่-ปาก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 831
ออฟไลน์

กระทู้: 2628


ชีวิต-ดั่ง-ละคร


« ตอบ #48 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2012, 10:23:34 PM »

ผมว่าว่างมากไปไร้สาระ  ไม่เปลี่ยนก็ไม่มีใครเสียหายอะไร Huh

เหมือนกับครั้งหนึ่งที่กรมอุทยาน เสนอเปลี่ยนชื่อ เหี้ย เป็น วรนุช

ทำเอากระแสน้องนุ่น วรนุช ดังขึ้นมาเยอะเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2012, 10:34:22 PM โดย zamphol » บันทึกการเข้า
Jedth
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 858
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4607



« ตอบ #49 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2012, 10:51:30 PM »

ฮ่าๆ....ดื่ม  Coke (โคก) เย็นชื่นใจ..........  Grin

ถ้าแช่แข็งจนเป็นแท่งไอติม(ไอศกรีม) ต้องร้องว่า "เลียโคก" เย็นชื่นใจ.... ตกใจ

 ตกใจ  (แล้วใครจะกล้าพูดครับ)  คิก คิก
บันทึกการเข้า

Pragmatism
Easy
Full Member
***

คะแนน 112
ออฟไลน์

กระทู้: 437


take It easy...


« ตอบ #50 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2012, 01:05:38 PM »

บันทึกการเข้า

"จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."

                                              เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
khwanphet_NAVY 39
Hero Member
*****

คะแนน 129
ออฟไลน์

กระทู้: 2035


« ตอบ #51 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2012, 02:12:33 PM »

....................................เป็นผมคงงงไปอีกนานครับท่าน.......................... ไหว้
บันทึกการเข้า
Easy
Full Member
***

คะแนน 112
ออฟไลน์

กระทู้: 437


take It easy...


« ตอบ #52 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 12:48:45 PM »



      โล่งอก! กันไปทั้งประเทศเมื่อท้ายที่สุดทางราชบัณฑิตยสถานก็ยอมล่าถอย หยุดโปรเจกต์ "แก้ไขคำยืมทั้งหมด 176 คำ" ลงเสียที เนื่องจากทานกระแสคัดค้านอย่างหนักหน่วงจากภาคประชาชนไม่ไหว หลายคนรับไม่ได้ที่ต้องเห็นคำที่เขียนกันจนคุ้นชินอย่าง "คอมพิวเตอร์" ต้องแปรเปลี่ยนเป็น "ค็อมพิ้วเต้อร์", "คอร์ด" ต้องกลายเป็น "ขอร์ด" หรือคำว่า "เทคโนโลยี" ที่ต้องเติมแต่งเครื่องหมายให้ออกเสียงได้อย่างถูกต้องตามหลักเป็น "เท็คโนโลยี่" ฯลฯ
      พานให้เกิดกระแสสังคมตอบกลับมาแรงๆ ว่า "ทำไปเพื่ออะไร-ไร้สาระ-เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่าไหม?" วันนี้คนต้นคิดอย่าง ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตฯ สำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย พร้อมเปิดใจ ถามตอบทุกข้อสงสัยอยู่ตรงนี้แล้ว
    
    
      จู่ๆ อะไรดลใจให้ลุกขึ้นมาปฏิวัติการเขียนครั้งใหญ่ขนาดนี้?
      ไม่ใช่ว่าเพิ่งลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงนะคะ จริงๆ แล้วกรรมการราชบัณฑิตฯ มีมติเรื่องนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2550 แล้ว เพียง แต่ว่าเรายังไม่ได้พิมพ์พจนานุกรมเล่มใหม่ ก็เลยยังไม่ได้แก้ไขอย่างเป็นทางการ แต่ในพจนานุกรมฉบับเดิมนั้นก็มีคำทับศัพท์กว่า 200 คำแล้วที่ใส่วรรณยุกต์และเขียนได้ถูกต้อง นี่ก็เหลือแค่คำไม่กี่คำที่ยังไม่ได้แก้ ยังไม่ได้ใส่วรรณยุกต์ ก็เลยคิดว่าจะแก้ให้เสร็จไป ทางเราเองทำงานตรวจสอบและแก้ไขคำผิดมาตลอด ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเพิ่งจะมาเป็นประเด็นอะไรกันในสังคมตอนนี้ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถึงได้มีคนลุกขึ้นมาโวยวายอะไรกันนักกันหนา ก็แปลกดีเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ) จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย แค่เรื่องเขียนหนังสือให้ถูกต้อง
    
      ทำไมไม่บัญญัติคำที่ถูกต้องไปตั้งแต่แรก มาแก้ให้จำใหม่ทีหลังยิ่งยาก?
      ตอนแรกเรายัง ไม่แน่ใจไงคะว่าจะเขียนยังไงจึงจะถูกต้อง เพราะมันเป็นคำที่รับมาจากต่างประเทศ เลยใช้แบบนั้นไปพลางๆ ก่อน แต่ยอมรับว่าก็ใช้กันมานานพอสมควร มาถึงตอนนี้ ทุกคนสามารถออกเสียงได้ตรงกันแล้ว เสียงไม่เปลี่ยนแล้ว ก็ควรจะเขียนให้ถูกด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ คำว่า "เฟซบุ๊ก" ทุกคนก็ออกเสียงได้ตรง ไม่มีใครออกว่า "เฝด-บุก" ในเมื่อเรามีระบบการเขียนตามอักขรวิธีที่ถูกต้องของเราอยู่ เราก็แค่เขียนให้มันตรงกับที่ออกเสียงมา มันก็เท่านั้นเอง
      
    
      เราเป็น มนุษย์นี่คะ จะให้เรารู้ทุกอย่างทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์มันคงเป็นไปไม่ได้ เราไม่ใช่พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ทุกอย่าง มันก็ต้องมีผิดบ้าง-พลาดบ้าง ตอน ที่ยังไม่รู้ว่าผิดก็ทำตามที่เข้าใจว่าถูกไปก่อน แต่พอเวลามันผ่านไป รู้แล้วว่ามันไม่ถูกต้อง เราก็ลงมือแก้ไข มันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนี่คะ ไม่ใช่ว่ารู้ว่าผิดแล้วยังจะดึงดันไม่แก้ ถ้าเป็นอย่างนั้นน่ะเสียหาย
      อย่างคำว่า "วงศ์" เมื่อก่อนก็มีทั้งคนที่เขียนว่า "วงษ์" และ "วงศ์" เราก็ประกาศแก้ไขให้เขียนว่า "วงศ์" เป็นมาตรฐานเดียวกันหมดและใช้กันมาถึงทุกวันนี้ ครั้งนี้ก็เหมือนกันค่ะ คำ ยืมที่ประกาศก็มีแค่ร้อยกว่าคำ คนอาจจะตกใจว่ามันเยอะ แต่จริงๆ แล้วเทียบกับคำทั้งหมดเป็นหมื่นๆ คำในภาษาไทย มันแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เลยด้วยซ้ำ
    
      ถ้าประกาศใช้ตามนั้นจริงๆ ก็จะสร้างความสับสนให้สังคมอย่างมาก เพราะทุกคนเขียนแบบเดิมจนชินแล้ว
      ถึงใช้กันมานานแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่ามันถูกต้องนี่คะ ต้องถามว่าคุณจะเลือก "ความเคยชิน" หรือ "ความถูกต้อง" ถ้าใช้ด้วยความเคยชินแต่มันผิด แล้วทำไมไม่แก้ให้มันถูกล่ะคะ เคยทำมาผิดๆ แล้วจะปล่อยให้ผิดต่อไปอย่างนั้นหรือ หรือว่าเห็นว่าผิดแล้วก็ควรแก้ให้ถูกต้อง ตามที่ควรจะเป็น
      ถ้าเรายังจะ ใช้แบบผิดๆ กันต่อไปแบบนี้อีกไม่รู้นานเท่าไหร่ เด็กเล็กที่ต้องเรียนหนังสือก็จะอ่านคำผิดๆ เหล่านั้นไม่ถูก อ่านไม่ออก เราจะปล่อยให้เด็กๆ จดจำสิ่งผิดๆ จากที่ผู้ใหญ่ทำเอาไว้และใช้กันต่อไปอย่างนั้นเหรอคะ สำหรับคนที่คัดค้าน อยากให้ลองถามตัวเองดูสิคะว่า มีเหตุผลดีๆ สักข้อไหมที่จะไม่แก้ไขให้ถูกต้อง
    
      ที่เห็น-ที่เป็น-ที่ใช้กันอยู่ มันผิดตรงไหน?
      ถ้าคุณออกเสียงว่า "สะ-นุ้ก-เก้อ" คุณก็ต้องเขียนว่า "สะนุ้กเก้อร์" จะมาเขียน "สนุกเกอร์" มันก็ออกเสียงว่า "สะ-หนุก-เกอ" น่ะสิคะ มันไม่ถูกต้อง ภาษาเรามีกฎของเราอยู่ อาจารย์ท่านวางรูปแบบไว้ตั้งแต่โบราณกาลแล้ว มีทั้งอักษรสูง-กลาง-ต่ำ มีสระสั้น-ยาว มีวรรณยุกต์ที่ผสมออกมาเป็นคำ ถ้าผสมอย่างถูกต้อง ทุกคนก็สามารถออกเสียงได้เหมือนกันหมด จะอยู่เหนือจดใต้ อยู่สุไหงโก-ลก ก็ออกเสียงเหมือนกันได้หมด แล้วทำไมเราไม่รักษากฎกันล่ะคะ ทำไมไปเอาความเคยชินที่ผิดๆ มาเป็นบรรทัดฐาน
      
    
      มันเป็นหน้าที่ของราชบัณฑิตฯ อยู่แล้วที่จะต้องคอยดูแลภาษาให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ไม่เปลี่ยนไปในทางเสื่อม แต่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราเขียนภาษาต่างประเทศโดยไม่ใส่เครื่องหมายกำกับ ทั้งการสะกดการันต์ การใส่พยัญชนะ วรรณยุกต์ทั้งหมด เขียน ผิดๆ ก็เป็นการทำลายระบบอักขรวิธีของเราเอง ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้เราทุกคนเรียนกันมาตั้งแต่ ป.1-ป.2 แล้ว อ่านออก-สะกดถูก-ผันวรรณยุกต์กันได้ แต่พอมาเขียนกลับเขียนไม่ถูก เขียนไม่ตรงกับเสียง เราใช้แบบผิดๆ กันมานานมากแล้ว มันก็น่าจะปรับให้ถูกต้อง แค่นั้นเอง
      
    
      อย่างคำว่า "คอมพิวเตอร์" ถึงจะมาจากภาษาอังกฤษ แต่เมื่อเอามาเขียนด้วยตัวอักษรไทย ในประโยคภาษาไทย ก็ต้องเขียนให้ถูกตามหลักภาษาไทย ถ้าออกเสียงว่า "ค็อม-พิ้ว-เต้อ" ก็ต้องเขียนว่า "ค็อมพิ้วเต้อร์" หรือถ้าออกเสียงว่า "คอม-พิว-เตอ" ก็ต้องเขียนว่า "คอมพิวเตอร์" ถ้าเขียนกันถูกต้องตามเสียงที่ออกมา มันจะทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้นด้วย
    
      คนส่วนใหญ่ก็รู้อยู่แล้วว่าคำคำนั้นออกเสียงยังไง จะเขียนเหมือนเดิมหรือเขียนแบบใหม่ ก็ไม่น่าจะใช่ประเด็น
      แล้วคนที่เขาไม่รู้คำภาษาอังกฤษล่ะคะ เขาไม่รู้หรอกว่าคำว่า "คอมพิวเตอร์" ต้องออกเสียงว่า "ค็อม-พิ้ว-เต้อ" เขาก็จะอ่านตามตัวสะกดเป็น "คอม-พิว-เตอ" ไป โดยเฉพาะเด็กต่างชาติที่มาเรียนภาษาไทย เขาเจอคำแบบนี้เยอะมากแล้วเขาก็อ่านไม่ออก ไม่เข้าใจ อ่านออกมาก็ผิดหมด เด็กต่างชาติหลายคนถามเลยว่า เขียนว่า "เรดาร์" ทำไมให้อ่านว่า "เร-ด้า" ทำไมไม่ให้อ่านว่า "เร-ดา" ตามตัว เขาเรียนมาว่า "ด เด็ก + สระอา" ต้องอ่านว่า "ดา" มันก็เลยเป็นปัญหามากสำหรับเด็กต่างชาติ
    
      พูดอย่างนี้ อาจถูกมองว่าใส่ใจความรู้สึกชาวต่างชาติมากกว่าคนไทยด้วยกันเอง?
      ไม่ใช่ว่า สนใจเด็กต่างชาติมากกว่าเด็กไทยนะคะ นั่นเป็นแค่เหตุผลหนึ่ง เพราะวัตถุประสงค์หลักของเราก็คือภาษาไทยเพื่อคนไทย เพื่อคนที่ใช้ภาษาไทยนี่แหละค่ะ เราต้องรักษาไว้ไม่ให้ภาษาถูกทำลาย ซึ่งเขียนกันอย่างทุกวันนี้มันคือการทำลาย มันป่วนไปหมด เขียนอีกแบบแล้วไปออกเสียงอีกแบบ คนที่ไม่เข้าใจก็จะสับสนว่าเมื่อไหร่จะต้องออกเสียงโท-เสียงเอก เขียนโดยที่ไม่บอกวรรณยุกต์ ไม่บอกอะไรเลย แล้วให้รู้ให้จำเองเนี่ย มันจะถูกได้ยังไงล่ะคะ
      
    
      ก็เหมือนเรามีช้อนส้อมวางอยู่ที่โต๊ะ มีเครื่องมือให้พร้อมอยู่แล้วทุกอย่างในการกิน แต่ถ้าคุณอยากลำบาก คุณก็เปิบมือ ใช้ปากกินไปก็ได้ค่ะ แต่ถามว่าในเมื่อเรามีเครื่องมือทางภาษาที่ดีอยู่แล้ว แล้วทำไมเราต้องหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ด้วยล่ะคะ พอไม่ใช้แล้วมันก็ป่วนไปหมด เขียนก็ไม่ถูก อ่านก็ไม่ถูก แล้วยังจะดื้อใช้ต่อไปอีก ทำไมยังต้องดื้อแพ่งต่อไปอีก ก็อยากรู้เหมือนกันค่ะว่ามีเหตุผลอะไรที่จะไม่ใช้สิ่งที่ถูกต้อง ขอเหตุผลดีๆ สักข้อหนึ่งสิคะ อยากรู้จริงๆ
      
    
      ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มหัศจรรย์มาก เราสามารถเขียนทุกคำพูดให้ตรงตามที่ออกเสียงได้แบบไม่ผิดเพี้ยนเลย แล้วทำไมเราต้องทิ้งคุณสมบัติดีๆ เหล่านี้ไปด้วยล่ะคะ เรา จะไปเขียนตามภาษาอื่นที่เขาไม่มีวรรณยุกต์ ไม่มีสระที่แน่นอน จะไปเขียนเละเทะตามเขา ให้ทำลายภาษาของเราเองทำไม เรามีหลักของเราอยู่ เราก็ควรจะรักษาหลักเอาไว้ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องยากเลย
    
      แต่อาจจะยากสำหรับเด็กไทย เพราะเด็กไทยอ่อนเรื่องการผันวรรณยุกต์มาก เขียน "นะคะ" กับ "ค่ะ" ยังสลับกันเป็น "นะค่ะ" อยู่เลย
      แต่ยิ่งคุณไปเอาภาษาเละๆ มาใช้ในภาษาเรา มันก็จะยิ่งยากเข้าไปใหญ่ การรักษากฎภาษาเราเอง มันไม่ยากหรอกค่ะ วรรณยุกต์ไทยมันก็มีแค่ 5 เสียงเท่านั้น จะจำไม่ได้กันเลยหรือ มันยากนักหนาหรือสำหรับเด็กไทยที่จะเรียน มันไม่ยากหรอกค่ะ แต่ในทางตรงข้าม ยิ่งเราไปเขียนไม่ตรงวรรณยุกต์ มันยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เด็กก็ยิ่งจะไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง จะออกเสียงกันยังไง ยิ่งเสียหายไปกันใหญ่เลยคราวนี้
    
      ที่คนส่วนใหญ่รับการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพราะมองว่าใส่วรรณยุกต์กำกับมากไป ทำให้ดูรก บั่นทอนความสวยงามของภาษาลงไปอีก
      คำทับศัพท์ ที่ตั้งใจจะให้เขียนแบบใหม่ทั้งหมด 176 คำ มันก็เหมือนคำทุกคำที่อยู่ในภาษาไทยนั่นแหละค่ะ คำว่า "แม่" "บ้าน" "พี่น้อง" ก็มีวรรณยุกต์ทั้งนั้น แค่เพิ่มคำเหล่านี้เข้าไปในประโยคนิดหน่อย มันคงไม่ทำให้ดูรกเพิ่มขึ้นหรอกค่ะ ถ้า บอกว่าใส่ไม้เอก-ไม้โท เพิ่มลงไปในคำฝรั่งพวกนี้แล้วมันไม่สวย มันรกหูรกตา ก็แสดงว่าคุณต้องเลิกใช้วรรณยุกต์ทั้งหมดทุกคำที่มีอยู่สิคะ ส่วน ตัวแล้วมองว่ามันสวยจะตาย มันคือเครื่องมือทางภาษาของเรา ทำไมเราต้องไปตามชาติอื่นที่เขาไม่มีวรรณยุกต์กำกับด้วยล่ะคะ มันเรื่องอะไร
    
      สุดท้ายแล้ว สังคมก็ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และราชบัณฑิตฯ ก็ยุติการแก้แล้ว รู้สึกอย่างไรบ้าง?
      ส่วนตัวก็ไม่ ได้รู้สึกอะไรกับกระแสสังคมอยู่แล้ว รู้สึกเฉยๆ ค่ะ ภาษาเนี่ยนะคะ มันเป็นเรื่องของสังคม สังคมคือคนส่วนใหญ่ คนทุกคนไม่ได้พูดเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีถูกบ้าง-ผิดบ้าง ทุกคนก็มีความเห็นของตัว

      แต่ เราแค่ออกมาบอกสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าเราบอกแล้ว คุณยังไม่อยากรับเอาสิ่งที่ถูกต้อง มันก็เป็นเรื่องของคุณ ทุกวันนี้ก็มีคนเขียนหนังสือผิดอีกมากมาย ตามหน้าหนังสือพิมพ์เองก็มีออกเยอะแยะไป ถ้าคุณอยากทำตามสิ่งที่ถูก ก็ทำตาม แต่ถ้าไม่อยากทำตาม ก็ทำสิ่งที่ผิดไป ก็เท่านั้นเอง มันเป็นเรื่องของคุณค่ะ




เหอๆ จะบ้าตาย เกิดมาเพื่อแก่อย่างเดียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 12:50:31 PM โดย Easy » บันทึกการเข้า

"จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."

                                              เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
Ghostreporting
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

กระทู้: 1392


ขอเจอตัวจริงของเทอสักครั้ง


« ตอบ #53 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 02:03:40 PM »

สงสัยป้าแกอยากเอาอย่าง รงค์ วงษ์สวรรค์
บันทึกการเข้า

http://www.thaispyshot.com/index.php?topic=718.0 อ้างเพิ่มระดับความเขี้ยวของมาตรฐานไอเสีย เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม เราไม่โง่พอที่จะเชื่อคุณหรอก ที่รถบรรทุกทิ้งหินทิ้งทราย ทิ้งควันดำปื๋อดันไม่ไปกวดขัน ทุเรศประเทศสารขันธ์
คนตัวอ้วน+ผมรักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1057
ออฟไลน์

กระทู้: 3266



« ตอบ #54 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 02:09:46 PM »

ผมว่าว่างมากไปไร้สาระ  ไม่เปลี่ยนก็ไม่มีใครเสียหายอะไร Huh

เหมือนกับครั้งหนึ่งที่กรมอุทยาน เสนอเปลี่ยนชื่อ เหี้ย เป็น วรนุช

ทำเอากระแสน้องนุ่น วรนุช ดังขึ้นมาเยอะเลย

นั่นแหล่ะ...แฟนผมเขายังไงก็ก็ไม่ยอมครับ...
บันทึกการเข้า

จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
Songchart
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 34
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 335



« ตอบ #55 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 02:54:56 PM »

อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ Smiley

บันทึกการเข้า
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1960
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22591


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #56 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 03:29:01 PM »

 
อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ Smiley



snooker  ออกเสียงสั้นนี่ครับ...

ต้องใช้สระอุถูกแล้ว...

อาทิ... book = บุ้ค ไงครับ... 

ถ้าหากใช้สระอูต้องลากเสียงยาวครับ...

อาทิ... boot = บู้ท ครับ... ไหว้
บันทึกการเข้า
รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ
รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย คือสมบัติของผู้มีอารยธรรม
Hero Member
*****

คะแนน 239
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115



« ตอบ #57 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 03:33:15 PM »

หน่าย....ใจ...กับพวกนั่งโต๊ะ...คิด...

ความจริงน่าจะเอา... ฅ....กับ ฃ กลับมาใช้ ดีกว่า

เสียดาย อย่างน้อย ใช้ ฅ กับ คำว่า ฅน  แล้ว ฃ กับ คำว่า ฃวด ก็ยังดี

ด้วยความเคารพ
ผมว่าไม่ค่อยจำเป็นหรอกครับสำหรับพยัญชนะสองตัวนี้เพราะมีคำที่ใช้พยัญชนะ 2 ตัวนี้แค่ไม่กี่คำ แล้วหลักการใช้ที่ถูกต้องในปัจจุบันก็ยังไม่มีการชำระที่แน่นอนว่าใช้อย่างไรกันแน่

อย่างตัวพยัญชนะ ฅ คน ผมเคยลองหาอ่านในหนังสือโบราณหรือคำภีร์ใบลานก็พบว่าเวลาเขียนคำว่า "คน" ที่หมายถึงมนุษย์ก็เขียนด้วยพยัญชนะ ค ควาย เหมือนปัจจุบันนี่เอง แต่พอเขียนถึงอวัยวะที่อยู่ระหว่างหัวกับร่างกายใช้พยัญชนะ ฅ คน เขียนว่า "ฅอ" แบบนี้ซะงั้น ผมว่าถ้านำพยัญชนะสิองตัวนี้กลับมาใช้จริง ราชบัณฑิตยสภาต้องชำระหลักการใช้ให้แน่นอนก่อนว่าใช้แบบไหนถึงจะถูกต้องครับ ไหว้
บันทึกการเข้า

...การที่เราทะนุถนอมคนที่เรารัก มันเป็นเรื่องปกติ
แต่การถนอมหัวใจคนที่เราไม่ได้รัก ใครจะทำได้สักกี่คน...

คิดถึงทุกปี-บินหลา สันกาลาคีรี
รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ
รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย คือสมบัติของผู้มีอารยธรรม
Hero Member
*****

คะแนน 239
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115



« ตอบ #58 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 03:36:54 PM »

อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ Smiley


ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ใช้ จะออกเสียงสั้นยาวหรือเหน่อแบบไหนก็ความหมายเดียวกันครับ

ดูคำว่า Carbine ที่แปลว่าปืนเล็กสั้น นักเลงปืนยังเถียงกันไม่จบว่าออกเสียงว่า "คาร์ไบน์" หรือ "คาร์บิน" กันแน่ ทั้งที่สองเสียงนี้มันก็แค่สำเนียงอเมริกันกับสำเนียงบริติชเองครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

...การที่เราทะนุถนอมคนที่เรารัก มันเป็นเรื่องปกติ
แต่การถนอมหัวใจคนที่เราไม่ได้รัก ใครจะทำได้สักกี่คน...

คิดถึงทุกปี-บินหลา สันกาลาคีรี
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #59 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 04:01:42 PM »

อ่านที่ อ.กาญจนาฯ ให้สัมภาษณ์แล้ว ก็เลยรู้ว่าท่าน"ไม่รู้"ว่าอย่างไรผิดอย่างไรถูกน่ะครับ... เอาตัวอย่างคำว่า Computer หากไปได้ยินอเมริกันคนดำ(Black American) ออกเสียง ก็มักจะออกเสียงว่า"ข่อม-พิว-เต๊อะ" ซึ่งเขาก็ว่าของเขาถูกต้อง, แล้วหากภาษาไทยกำหนดให้ต้องออกเสียงอย่างโน้นอย่างนี้ถึงจะถูกต้อง มันก็กลายเป็นภาษาอังกฤษอีกสำเนียงหนึ่งไปอีก กลายเป็นสำเนียงไทย...

เอาตัวอย่างอีก คำว่า"ภาษาไทยวันละคำ", ไม่รู้ว่ามีใครจำได้หรือเปล่าว่า เคยมีอยู่ท่านหนึ่งออกเสียงทางรายการโทรทัศน์สมัยเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วว่า "สวัสดีค่ะ รายการพัสสะไทยวันละคำ"... สมัยโน้นมีรายการซูโม่สำอางค์เอามาล้อเลียนเป็นเรื่องตลก แล้วก็เหล่าซูโม่ฯ ไม่ลืมขมวดท้ายรายการว่านั่นคือ"สำเนียง"ครับ แบบเดียวกับคนไทยเหนือ คนไทยใต้ คนไทยกลางออกเสียงไม่เหมือนกันในคำที่สะกดเหมือนกัน...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.152 วินาที กับ 21 คำสั่ง