+++ จดหมายเหตุ: กรณีปลาชะโดล้นเขื่อน 55 +++
ภาพปรากฏการณ์ปลาชะโดล้นเขื่อนที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ บทความโดย นณณ์ ผานิตวงศ์ จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ต่างๆ เช่น มติชน, nation channel กรณีปลาชะโดล้นเขื่อนหลายแห่งในจังหวัดนครราชสีมา และได้ออกมากินปลากินพืชในเขื่อนจนหมดทั้งๆ ที่มีการปล่อยไปกว่า 20 ล้านตัว ซึ่งออกมาเปิดเผยโดย นายเจริญ อุดมการ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครราชสีมานั้น ผมขอเสนอความคิดเห็น ดังนี้
อ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่ถูกระบุอยู่ในข่าว เช่น อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง เป็นระบบนิเวศน้ำนิ่ง ที่ถูกสร้างให้เกิดขึ้นโดยมนุษย์ อ่างเก็บน้ำลักษณะดังกล่าว เป็นระบบนิเวศน้ำนิ่งที่มีการขึ้นลงไม่เป็นฤดูกาล ไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของปลากินพืชท้องถิ่นของประเทศไทย เนื่องจากปลาในกลุ่มนี้เกือบทุกชนิดต้องอาศัยสืบพันธุ์ในบริเวณพื้นที่น้ำท่วมหลาก หรือทุ่งน้ำท่วม ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อปล่อยให้น้ำท่วมหลากพื้นที่ป่าหรือทุ่งหญ้าริมน้ำตามฤดูกาล ทั้งนี้ ปลาในกลุ่มนี้ต้องสืบพันธุ์ในพื้นที่ทุ่งน้ำท่วม
ปลาชะโด (Channa micropeltes) เป็นปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง เนื่องจาก 1. เป็นบริเวณที่น้ำไหลไม่แรง ลูกปลาที่เกิดมาไม่ถูกน้ำพัดพาไปไกล
2. การเน่าเปื่อยของซากพืชและสัตว์จะก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตขนาดๆ เล็กที่จะมาเป็นอาหารของลูกปลาได้
3. ปลาบางชนิดกินพืชและสัตว์ที่ถูกน้ำท่วมเป็นอาหารเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ก่อนการผสมพันธุ์ ดังคำพังเพยไทย น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
4. ซากพืช ก่อให้เกิดสภาพพื้นที่ๆ มีความสลับซับซ้อนเหมาะแก่การหลบซ่อนตัวของลูกปลาจากสัตว์ผู้ล่า
ชาวประมงจับปลาในทุ่งน้ำท่วม (บึงบอระเพ็ด) นอกจากนั้น ยังพบว่า แม้ตามเขื่อนจะมีพื้นที่ชายน้ำที่เป็นแหล่งน้ำตื้นอยู่บ้าง แต่จะแตกต่างจากแหล่งน้ำตื้นในบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีดินอุดมสมบูรณ์ มีพืชน้ำและพืชชายน้ำขึ้นดี พบว่าบริเวณแหล่งน้ำตื้นตามเขื่อน ซึ่งมีน้ำขึ้นลงไม่เป็นฤดูกาล ไม่มีการสะสมของอาหารมากพอ และไม่มีความเสถียรพอให้มีพืชน้ำขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นอาหารให้กับปลาได้
ปลาในเรือที่จับได้ เมื่อสภาพพื้นที่ในอ่างเก็บน้ำ เป็นแหล่งน้ำที่เวิ้งว้าง ไม่มีพืชน้ำ ไม่มีทุ่งน้ำท่วม สภาพแบบนี้จึงไม่เอื้ออำนวยให้ปลากินพืชสืบพันธุ์ และยังไม่มีแหล่งหลบภัย และแหล่งอาหารมากพอให้ กับปลากินพืชที่ถูกเพาะมาปล่อย ประจวบกับปลาชะโด (และปลาช่อน) เป็นปลากินเนื้อที่สามารถสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งได้ดี จึงทำให้ปลาชะโดเพิ่มจำนวนขึ้นจนมีจำนวนมากเกินไป ทั้งนี้ คาดว่าเพราะกินลูกปลาที่ถูกนำมาปล่อยด้วย เป็นเหมือนการให้อาหารปลาชะโดไปในตัว
ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสมดุล มีพื้นที่น้ำตื้นซึ่งมีพืชน้ำขึ้น มีน้ำท่วมหลากตามฤดูกาล เช่น ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์, บึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ จะไม่มีปัญหาดังกล่าว เนื่องจากมีสภาพนิเวศที่หลากหลายและสมบูรณ์ จะเห็นว่าชาวประมงจับปลาได้หลากหลายทั้งปลากินพืชและกินสัตว์
น้ำมาปลากินมด นอกจากปลากินพืชจะสืบพันธุ์ไม่ได้แล้ว น่าจะเกี่ยวกับการที่ปลาชะโดขาดผู้ล่าตามธรรมชาติด้วย เนื่องจากเป็นปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ที่มีการเลี้ยงลูกอย่างเป็นระบบ ดุขึ้นชื่อจนถึงขนาดห้ามลงเล่นน้ำ สัตว์ผู้ล่าของปลาชะโดน่าจะเป็นพวกนกน้ำมากกว่าที่จะเป็นสัตว์น้ำ และต้องล่าตั้งแต่ตอนยังเป็นลูกปลา ข้าพเจ้าเคยนั่งดูนกกระยางที่หากินอยู่บนใบบัวจับกินลูกปลาช่อนที่ว่ายรวมฝูงกันอยู่ในน้ำ แต่ในสภาพที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เปิดโล่ง ปลาชะโดแทบจะไม่มีสัตว์ผู้ล่าใดๆ มาควบคุมประชากรเลย และสภาพน้ำนิ่งก็ทำให้ปลาชะโด ซึ่งสามารถหายใจอากาศโดยตรงได้ ได้เปรียบปลาในกลุ่มอื่นๆ มาก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีปลาชะโดมากไปตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ
ลูกปลามากมายเกิดในทุ่งน้ำท่วม จ.อยุธยา จึงถือเป็นอีกหนึ่งบทเรียนว่า การสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนใดๆ การเพิ่มพื้นที่ผิวน้ำ หรือปริมาณน้ำ มิได้เป็นการเพิ่มปริมาณปลาตามที่มีการกล่าวอ้างกันอยู่เสมอ ปรากฏการปลาชะโดล้นเขื่อนคราวนี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศที่สามารถดูแล พึ่งพา ขยายพันธุ์ และมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ มาเป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ต้องมีการเพาะพันธุ์ นำปลามาปล่อย ใช้งบประมาณไม่จบไม่สิ้น ในที่สุดแล้วก็ไม่สามารถสร้างความสมดุลย์และความสมบูรณ์ให้กลับคืนมาได้
ขอบคุณปลาชะโดที่มอบบทเรียนนี้มาให้ในช่วงเวลาอันเหมาะสมที่กำลังจะมีการสร้างเขื่อนและขุดลอกแหล่งน้ำอีกมากมายในประเทศไทย ขอบคุณครับ
ปล. เพื่อความเข้าใจถึงวัฏจักรของระบบนิเวศในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำยิ่งขึ้นเชิญอ่านบทความด้านล่างนี่ครับ "เกิดอะไรขึ้นเมื่อสร้างเขื่อน?" Click here!
ปลาตะเพียนหากินในทุ่งน้ำท่วม