ขออนุญาตอ้างถึง ข้อความของท่านอ.ผณิศวร นะครับ
ตำแหน่ง "Half Cock" เรามักแปลมาว่า "ง้างนกครึงทาง" แต่ผมอยากให้เรียกว่า "ร่องรับนกตก" เพราะจุดประสงค์ของการออกแบบก็เพื่อให้ร่องนี้ "หยุด" นกสับไว้กรณีเซียร์ชำรุดครับ นกจะได้สับไม่ถึงท้ายเข็ม ปืนรุ่นใหม่ ร่องนี้เป็นแบบ "non-captive" คือที่ตำแหน่ง half cock หากเหนี่ยวไก นกจะสับลงมาได้ครับ
ปืน 1911 มีลักษณะการขึ้นลำ ง้างนก ลดนก ห้ามไก ตามคู่มือการใช้งานทางทหารอย่างนี้ครับ
Condition 0 - A round is in the chamber, hammer is cocked, and the safety is off.
ขึ้นลำ นกง้าง ปลดห้ามไก นี่คือตำแหน่ง "พร้อมยิง"
Condition 1 - Also known as "cocked and locked," means a round is in the chamber, the hammer is cocked, and the manual thumb safety on the side of the frame is applied.
ขึ้นลำ นกง้าง เข้าห้ามไก สำหรับพกใส่ซองเตรียมพร้อม จะให้อุ่นใจเพิ่มก็ใช้ซองทีมีสายหนังคาดท้ายลำเลื่อนดักหน้านกสับครับ ชักออกจากซอง ปลดห้ามไก ยิงได้ทันที
Condition 2 - A round is in the chamber and the hammer is down.
ขึ้นลำแล้วลดนกสุดทาง (หรือครึ่งทางก็แล้วแต่) ไม่แนะนำครับ ไม่ว่าเพื่อจุดประสงค์ใดๆ ก็ไม่ควรให้ปืนอยู่ในลักษณะนี้ เพราะการลดนกเมื่อขึ้นลำแล้วต้องเหนี่ยวไกพร้อมกับกดนกไว้ ถ้าเกิดลื่นหลุด ปืนลั่น อาจโชคดีกระสุนไม่ก่อความเสียหายแต่นิ้วโป้งที่กำลังกดนกก็ย่อมชำรุดแน่ๆ เพราะลำเลื่อนดีดกลับ และแม้ว่าจะลดนกได้เรียบร้อยแล้ว เมื่อจะใช้งานก็ต้องง้างนกอีก อันตรายอีก สู้ไม่ขึ้นลำไว้ตั้งแต่แรกจะดีกว่า ยกเว้นว่าต้องการ "เงียบ" คือไม่อยากให้เกิดเสียงขึ้นลำ
Condition 3 - The chamber is empty and hammer is down with a charged magazine in the gun.
แบบนี้ปลอดภัยดี และเกือบพร้อมใช้งาน เพียงดึงลำเลื่อนขึ้นลำก็ยิงได้เลย แต่สำหรับบ้านเราแนะนำให้แยกซองกระสุนจากปืนขณะใส่กระเป๋าไว้ในรถนะครับ ลดความพร้อมลงไปอีกระดับหนึ่ง
Condition 4 - The chamber is empty, hammer is down and no magazine is in the gun.
คือล้างปืนเก็บเข้าตู้
จะเห็นได้ว่า แต่ละ condition นั้นมาจากปืนตระกูล 1911 เป็นหลัก (ไกซิงเกิลล้วน มีเซฟนอก).......
ดังนั้นถ้าเรานำมาเปรียบกับปืนยุคใหม่ ที่มีระบบไกและนก/เข็ม หลายระบบ..............ปืนบางรุ่น บางยี่ห้อ จะทำไม่ได้ครบ condition ทั้ง 4.....ยกตัวอย่าง
condition 0 = ปืนออโตทุกรุ่น ที่ขึ้นลำแล้วนกง้าง หรือเข็มง้าง พร้อมที่จะฟาดหรือพุ่งไปกระแทก จานท้าย...............แล้วปืนไก Duble only ล่ะ อยู่ในข่ายหรือเปล่า..........รวมทั้ง Glock ด้วย
condition 1 = ปืนออโตที่อยู่ในลักษณะนี้ ก็มี 1911 เจ้าของหลักการ Browning HP CZ ตระกูล 75 ที่มีเซฟนอก HK USP ฯลฯ................ปืนดับเบิล/ซิงเกิล ไม่มีเซฟนอกแบบ ซิก CZ 75 D /BD HK P2000 Walther P38 P99 รวมทั้ง ปืนที่มีคันลดนกแล้วเป็นเซฟในตัวแบบ เข้าแล้วนกตกไกวืด แบบ 92FS PPK อยู่ในข่ายหรือเปล่า
condition2 = ปืนออโตพวกซิงเกิล ที่ขึ้นลำลดนก แบบ 1911 1935 พอจะยิงก็ง้างนกแล้วยิง..............และพวกไกดับเบิล/ซิงเกิลแล้วลดนกทั้งหลาย เช่น CZ 75 92FS รวมทั้งPPK และ HK P7M8 ที่ขึ้นลำแล้วเข็มตกเอง จนกว่าจะบีบกริ๊บ อยู่ในข่ายหรือเปล่า.............แล้วGlock ล่ะอยู่ตรงไหน เพราะเข็มขึ้นมาหน่อย(ผมถือว่าง้างมาแล้วครึ่งหนึ่ง ไม่ได้ตก)
condition 3 = เสียบแม๊กไว้เฉยๆ จะยิงค่อยขึ้นลำปืนออโตทุกรุ่นทำได้หมด
condition4 = เหมือนกัน ทำได้หมด
เป็นข้อมูลให้พินิจพิจารณาครับ................
ขอถามอีกทีให้หายข้องใจ
ในการพกแบบ Condition One หรือ Condition Two เนี่ย นำหนักไกปืนเวลาจะยิงเหลือซักเท่าไหร่ครับ หากเรายิงจากระบบ Single นี่ ผมว่าน่าจะเบากว่า Double มากนะครับ หากไม่เข้าเซฟไว้โอกาสลั่นสูงมั๊ยครับ?
ปืนไกซิงเกิลน่ะ เบาอยู่แล้วครับ แต่มีเซฟนอกมาช่วย................เข้าเซฟไว้ ดึงปืนขึ้นมาจากซองปืน เผลอนิ้วเข้าโกร่งไก หิ้วปืนขึ้นมา ก็ไม่ลั่นครับเพราะเข้าเซฟอยู่................ถ้าเป็น HK P7M8 ก็ปลอดภัยสูงสุด เพราะขึ้นลำแล้ว หากไม่บีบกริ๊บ เข้านิ้วไปเหนี่ยวไกเล่นยังได้เลย
แต่ถ้าลดนกไว้ หิ้วปืนขึ้นมาแบบนี้ ก็ไม่แน่ แต่ก็ยังดีเพราะปืนดับเบิล/ซิงเกิล เมื่อต้องลดนกลง ไกจะลากยาวและหนักมาก...............
ระวังปืนลั่นก็แล้วกัน..........จะใช้ condition ไหนก็แล้วแต่...............
ปล. 1911 HK P7M8 P08 ก็ นน.ไกเท่ากันทุกนัดครับ
............ส่วน CZ 75 ไกดับเบิลและไกซิงเกิลเท่ากันทุกนัดครับ แต่เลือกได้มากกว่าว่าจะยิงแบบไหนเหมือนปืนลูกโม่