หน้าตาเป็นยังไงครับน้าซับ ใบชุมเห็ด
แปลก โบราณๆอย่างปู่แป๋งน่าจะรู้จักเนอะ
ผักประจำถิ่นมีไม่เหมือนกันหรอกครับ
บ้านพี่แป๋งเรียกอะไร ไม่ทราบ
แต่มันมีทุกภาคของประเทศ
ชุมเห็ดเทศ ชื่อท้องถิ่น ชุมเห็ดเทศใหญ่ (ภาคกลาง),ขี้คาก,ลับมึนหลวง
หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ)ส้มเห็ด (เชียงราย),จุมเห็ด
(มหาสารคาม),ตะลีพอ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอกสด , ใบสดหรือแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบชุมเห็ดเทศขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
ต้องเก็บก่อนออกดอก,เก็บดอกสดเป็นยา
รสและสรรพคุณสมุนไพร รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื่อน โรคผิวหนัง
ดอกและใบต้มแก้อาการท้องผูก
วิธีใช้
ใบและดอกชุมเห็ดเทศใช้เป็นยารักษาโรคและอาการดังนี้
๑. ท้องผูก ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด ๒-๓ ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสด
มาล้างให้สะอาดหั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ ๑๒ ใบ หรือใบแห้งบด
เป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยครั้งละ ๓ เมล็ด รับประทาน
ก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก
๒. โรคกลาก ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้
ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่า ๆ กัน ผสมกับปูนแดงที่กินกับหมากเล็กน้อย
ตำผสมกัน ทาบริเวณที่ เป็นกลาก โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อย ๆ จนหาย
หายแล้วทาต่ออีก ๗ วัน
๓. ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบชุมเห็ดเทศและก้านสด ๑ กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา
แล้วเคี่ยว
ให้เหลือ ๑ ใน ๓ ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ ๒ ครั้ง เช้า - เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้
ประมาณ ๑๐กำมือ ต้มอาบ