วงการอ้อยและกระบวนการผลิตน้ำตาลผมพอเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่บ้าง
เอ่อๆ...เห็นแล้วอยากเลิกกินน้ำตาล
กระบวนการผลิตมันน่าสยองขวัญขนาดนั้นเลยหรือครับพี่...
คุณตั้วเคยกินอ้อยควั่น หรือน้ำอ้อยใช่ไม๊ครับ แบบนี้สะอาดน่ากินครับ
เพราะเขาปอกเปลือกอ้อยออกหมดเหลือแต่เนื้อแล้วมาควั่น หรือถ้าขายน้ำอ้อยก็เอามาเข้าเครื่องลูกหีบ
หีบแยกน้ำแยกชานอ้อย เรากินแต่น้ำอ้อยสะอาด
........แต่กระบวนการแปรรูปอ้อยไปเป็นน้ำตาลในโรงงานน้ำตาล...........ไม่ใช่แบบนั้นเลย
รถบรรทุกอ้อยที่เราเห็นขนอ้อยมาจากไร่อ้อย ซึ่งอ้อยที่ได้มาจะมาจากการเผาหรือไม่เผาแล้วตัดมาใส่รถยังไง
พอถึงโรงงานเขาก็เทอ้อยลงสายพาน ลงไปอย่างนั้นแหละครับ ดั๊มพ์ยกสิบล้อทั้งรถทั้งอ้อยเลยครับ แล้วเอาไปเข้า
แท่นหีบอ้อยเลย อาจะมีหลายๆแท่น เช่น 6 แท่น
ลองคิดดูนะครับอ้อยติดดินติดอะไรมาก็ไม่ต้องปอกต้องล้างหรอกครับ เททั้งเปลือก ทั้งขี้เถ้าใบที่ดำๆ ทั้งดินเพราะ
เวลาตัดเขาตัดให้ถึงรากถึงโคนมากที่สุด
พอเทลงสายพานก็มีใบมีดมาซอยเป็นท่อนสั้นเพื่อเตรียมส่งเข้าแท่นหีบ (ถ้าใช้แทรคเตอร์สมัยใหม่ตัดมาจากไร่ก็มีการซอยมาก่อนได้)
พออ้อยที่ถูกตัดเป็นท่อนๆแล้วเข้าแท่นหีบแรกแล้วจะได้น้ำอ้อยปนดิน ปนชานอ้อย
ปนลูกตาเด็กแว๊นที่ดาบว่า...เอ๊ย..ปนทุกอย่างที่มากะอ้อยนั่นแหละ
น้ำอ้อยที่ออกมาจากแท่นหีบแรกๆนั้นจึงเหมือนดินโคลนลูกรังที่ฝนตกลงมาปนแฉะดินแฉะน้ำ(ตาล) มองดูว่า แล้วมันจะกินเข้าไปยังไง(วะ)
ชานอ้อยที่เหลือจากการหีบแท่นแรกก็ส่งไปหีบต่อๆกันไปเพื่อรีดน้ำตาลให้หมดทุกหยาดหยด ชานอ้อยท้ายสุดที่ออกมา นี่เป็นผงๆ เลยครับ
แต่ยังไม่ทิ้งนะครับ มันยังมีค่ามหาศาลอยู่เขาเอาไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ากลับมาขายรัฐบาลได้อีกต่อ
ส่วนน้ำตาลปนดินที่ได้มาก็เอาไปเคี่ยวไปต้ม แล้วจึงเอามาปั่นแยกเกล็ดน้ำตาล แยกน้ำออกมา เกล็ดน้ำตาลที่ได้สี้งี้ก็ เป็นสีน้ำตาลนั่นแหละ
(สีน้ำตาลจริงๆ ไม่ใช่สีขาว) จากนั้นเขาก็เอาไปผ่านกระบวนการฟอกสีให้ขาวอีกทีก่อนส่งมาขายเรา....เอื้อกๆๆๆๆ รับกาแฟ น้ำตาลสักสองช้อนไม๊ครับ
โรงน้ำตาลทั่วโลกทำแบบนี้ครับ กลัวก็ไม่ต้องกินน้ำตาล ไม่กลัวก็กินต่อ
น้องๆๆ..........เอสเพรสโซ่เย็นแก้วนึง...........บ๊าย บาย