ขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง อยู่ตี่สุพรรณบุรี ครับ ผมได้จากเพื่อนซี้เป๋นลูกศิษย์ ลูกหา ตี่วัดนี้ บ้านมัน ก่อ อยู่ใกล้ ๆ วัดหั้นเหนาะ แต่ตี่ผมมีเป๋นพระสร้างใหม่ครับ แต่ว่าเรืองเมตตามหานิยม ผมยอมฮับแต๊ ๆ ครับ ใผ่จะว่าขี้โม้ ก็ว่ามาเตอะ ใส่เมื่อใดเป๋นเรื่อง สาว ๆ ตึงหุมแต๊ ๆ หลังจากมีเมียแล้ว ก่อถอดไว้ตี่บ้านครับ ...... แหมอย่าง เขาว่ามีขุนแผน แล้ว บ่ มี สตางค์ อันนี้ ก่อ แต๊ ๆ นั่นแหละครับ บ่ เจื่อ ก่อ บ่ ดี ลบหลู่
แต่เรื่องข่าม นี่ บ่ กล้าลอง
เอาแหล่งพระสกุล ลำพูน มาหื้อ อ้ายเอก อ้ายวีผ่อ..... เผื่อมีบ้านใกล้แหล่ง
พระรอด เป็นพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงรู้จักดี ในวงการพระเครื่องจัดให้ ในวงการพระเครื่องจัดให้อยู่ในชั้นสูงสุดของพระสกุลลำพูน เป็นหนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคี ซึ่งประกอบด้วย พระสมเด็จวัดระฆัง พระรอดมหาวัน พระนางพญา พิษณุโลก พระผงสุพรรณ และประซุ้มกอ
ตามประวัติกล่าวว่า พระสุเทวฤาษี และพระสุกกพันตฤาษี ได้สร้างเมืองหริภุญชัย และได้เชิญพระนางจามเทวี ราชธิดาเจ้ากรุงละโว้ ขึ้นมาเป็นปฐมกษัตริย์ของนครหริภุญชัย และได้จัดของไว้เป็นเครื่องป้องกันรักษา จึงผูกอาถรรพ์ไว้กลางใจเมือง แล้วนำมาพิมพ์พระสองชนิดคือ พระคง เพื่อความมั่งคงและพระรอด เพื่อให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง เมื่อสร้างเสร็จก็สุมไฟด้วยไม้ป่ารกฟ้า แล้วนำพระคงบรรมจุในเจดีย์ทั้งสี่ทิศ และนำพระรอดบรรจุไว้ที่วัดมหาวนาราม หรือวัดมหาวันในปัจจุบัน
พุทธลักษณะของพระรอด เป็นพระพิมพ์เนื้อดินละเอียดเนียน สัญนิฐานว่าเป็นดินกรองสีที่พบมีหลายสีขึ้นอยู่กับไฟที่ใช้ในการเผา เช่า สีหม้ใหม่ สีขาวดินสอพอง สีดำ สีเทา สีน้ำตาล สีเขียวหินครก สีชมพู สีเหลืองนวล สีมันปู สีแดง องค์พระพิมพ์ทำเป็นพระพุทธรูปปารวิชัย เบื้องล่างมีฐานรองรับ ครองจีวรหม่เฉียง เบื้องหลังมีลวดลายประดับเป็นรูปก้านโพธิ และในโพธิประดับอยู่ พระรอดมีหลายขนาด ที่นิยมมีอยู่ห้าพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมตื้น และพิมพ์ต้อ แต่ละพิมพ์ยังมีลักษณะแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด และยังมีพิมพ์อื่น ๆ
พระรอดแต่เดิมมีอยู่ทั่วไปตามดินที่บริเวณวัดมหาวัน เพราะได้มีการนำเอาเศษดิน หิน อิฐเก่า จากดินเจดีย์ที่มีพระรอด และพระพิมพ์อื่น ๆ ปะปนอยู่มาถมคาบทั่วไปของวัด ในการบูรณะครั้งแรกผู้คนยังไม่สนใจพระเครื่อง เมื่อมีการให้ความสนใจในพระรอด ก็ได้มีการขุดหาพระรอดกันเรื่อยมาจนไม่มีเหลือ ต่อมาจึงมีการทำเลียแบบกันมากขึ้น
พระคง หรือพระลำพูนดำ ลำพูนแดง เป็นพระพิมพ์สำคัญมีอยู่ทั่วไปในเมืองลำพูน ส่วนใหญ่พบที่วัดพระคงฤาษี และวัดมหาวัน พระคงมีพุทธลักษณะอวบอ้วนปางมารวิชัย ประทับใต้ร่มโพธิบัลลังก์ ขัดสมาธิเพชร ครองจีวรห่มคลุมอันเป็นอิทธิพลของศิลปะคุปตะ
พระคงลำพูนมีอยู่หลายพิมพ์ มีทั้งแบบที่มีหู ตา ปาก จมูกพร้อม และชนิดที่ไม่มีหน้าตาให้เห็น เพราะเป็นพระพิมพ์ที่เป็นส่วนผสมของเนื้อดินและว่าน รวมทั้งเกษรดอกไม้ต่าง ๆ หลายชนิด พระคงมีทั้งที่ทำด้วยดินเผา และทำด้วยโลหะต่าง ๆ เช่น ทองคำ นาค เงิน ชิน ตะกั่ว และสำริด แต่พระคงเนื้อดินมีมากกว่าที่เป็นเนื้อโละ ขนาดของพระคงมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
รูปลักษณะของพระคงจะมีลักษณะคล้ายปลายนิ้วคน คือส่วนปลายมุมโค้งเล็กนี้ ขนาดใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่านิ้วแม่มือ ขนาดเล็กสุดมีขนาดเท่านิ้วก้อย สีของพระคงมีอยู่หลายสี เช่น สีดำ สีเขียวหินครก สีแดง สีขาว สีเหลืองดอกจำปา สีเทา สีเนื้อ สีหม้อไหม่ แต่สีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ สีเขียวหินครก เพราะมีเนื้อแกร่งมาก สีดำแท้ ๆ ก็เป็นอีกสีหนึ่งที่ได้รับความนิยม เชื่อกันว่าพระคงเป็นพระที่ฤาษีเป็นผู้สร้างไว้
พระบาง เป็นพระพิมพ์ที่มีขนาดและพุทธลักษณะคล้ายกับพระคงมาก แต่มีลักษณะไปร่งบางกว่าพระคง แต่ที่แตกต่างกันก็คือ การประทับนั่ง และวางแขนซ้ายในลักษณะยกขึ้นเป็นมุม ๔๕ องศา ผิดกับพระคงที่วางแขนซ้ายหักศอกทำมุม ๙๐ องศา เม็ดบัวใต้ฐานที่ประทับขององค์พระ จะเรียงรายกันอย่างเป็นระเบียบกว่าพระคง ด้านหลังของพระบางส่วนใหญ่จะไม่หนา และนิยมเบี้ยวเหมือนกับพระคง
พระบางที่พบมีทั้งเนื้อดินและเนื้อโลหะ พบมากที่วัดพระคง วัดดอนแก้ว วัดมหาวัน และวัดประตูลี้ พระบางที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ พระบางที่ขุดได้จากวัดพระคง และในบริเวณบ้านของชาวบ้านที่เคยเป็นบริเวณวัดในสมัยโบราณคือ พระบางกรุครูขาว และพระบางวัดดอนแก้ว ซึ่งเป็นวัดร้าง อยู่ในเขตตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ฯ
พระเปิม เป็นพระพิมพ์ขนาดใหญ่ กว้างประมาณหนึ่งนิ้ว สูงประมาณนิ้วครึ่ง มีลักษณะคล้ายพระคงและพระบางผสมกัน องค์พระมีความคมชัด ปางมาวิชัย บนฐานที่เม็ดบัวแก้วประดับอย่างสวยงาม กิ่งและใบโพธิจะเห็นคมชัด มีเนื้อละเอียด สีของพระเปิมเป็นเช่นเดียวกับสีของพระคง
พระเปิมที่มีเชื่อเสียงมากที่สุดคือ พระเปิมของกรุวัดพระมหาธาตุหริภุญชัย ซึ่งได้ขุดพบในเจดีย์ปทุมวดี นอกจากนี้ยังพบที่วัดมหาวัน และวัดดอนแก้ว
พระลือหน้ามงคล เป็นพระพิมพ์ขนาดกลาง กว้างสองเซนติเมตร สูงสามเซนติเมตร ใหญ่กว่าพระคงและพระบางเล็กน้อย ขุดพบที่วัดประตูลี้ วัดมหาวัน วัดพระคงฤาษี วัดดอนแก้ว และบริเวณสำนักฆ์กู่เหล็ก
พุทธลักษณ์จะแตกต่างกับพระคง พระคง พระบาง พระเปิม คือ องค์พระที่ครองจีวร ห่มดองมีสังฆาฏิพาดบ่า ประทับนั่งบนฐานที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว โดยรอบองค์พระจะมีรัศมีรอบ ๆ ซุ้มประดับด้วยดอกบัวและก้านบัว ที่ไม่ใช้ใบโพธิเหมือนกับพระคง พระบาง พระเปิม องค์ที่พิมพ์ชัดจะมีพระพักตร์ดูงดงามของศิลปะหริภุญชัย เนื้อองค์พระออกจะหยาบ เพราะมีแร่ต่าง ๆ ปนอยู่
พระลบ เป็นพระพิมพ์ที่ลบเลือนไม่ชัดเจน มีหลายสี เดิมพบเพียงสีแดงเข้มเท่านั้น ต่อมาได้พบองค์พระมีสีต่างๆ มากขึ้น เช่นเดียวกับพระพิมพ์ดินเผาอื่น ๆ สกุลลำพูน ที่ทำด้วยโลหะกันขุดพบที่ยริเวณกรุหน่องเสน้าเรียกว่า กู่พระลบ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
พระเหลี้ยมเล็กพิมพ์นิยม เป็นพระพิมพ์มีรูปทรงเป็นลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ทรงเทริดขนนก ประดับองค์ด้วยสร้อยถนิมพิมพาภรณ์อย่างเต็มยศ ประทับนั่งใต้รัศมีของซุ้มรูปกลีบบัว ภายใต้เศวตฉัตรของกษัตริย์ สองข้างเป็นรูปราชกุมาร มีฉัตรเป็นที่สังเกตุตรงส่วนบน ใต้ที่ประทับเป็นรูปหัวช้างสามเชือก ขุดพบที่วัดประตูลี้ วัดมหาวัน วัดพระคงฤาษี วัดดอนแก้วและวัดดอยดิ องค์พระเนื้อละเอียด แต่ที่เนื้อหยาบเต็มไปด้วยเม็ดแร่ก็มี
นอกจากพระเหลี้ยมพิมพ์นิยมแล้ว ยังมีพระเหลี้ยมหม้อ พระเหลี้ยมหลวงอีกด้วย
พระสิบสอง เป็นพระพิมพ์ขนาดใหญ่ บางคนเรียกว่าพระแปด เพราะจะนับองค์ที่เป็นพระเท่านั้น ไม่นับพวกเตียรถียที่ประกอบอยู่ เป็นพระพิมพ์ที่มีอยู่แพร่หลายทั่วไป แม้ที่จังหวัดลพบุรีก็มีการขุดพบ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์และศิลปะ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบหริภุญชัยผสมผสานกับแบบลพบุรี พระสิบสองที่ขุดพลในบริเวณอาณาจักรหริภุญชัย จาอถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระพิมพ์ของหริภัญชัย
พระกวาง เป็นพระพิมพ์ขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับพระสิบสอง แต่ทรงชลูดกว่า เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งบนฐานบัลลังก์ มีสาวกพนมมือไหว้อยู่สองข้าง ใต้ฐานที่ประทับด้านล่าง จะมีรูปกกวางสองตัวหมอบอยู่ พบมากในวัดมหาวัน วัดประตูลี้ กรุสำนักสงฆ์กู่เหล็ก และบริเวณวัดร้างในเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
พระปลีกล้วย เป็นพระพิมพ์ขนาดใหญ่ มีลักษณะยาว และหนาคล้ายปลีกล้วย กว้างสามนิ้ว หนานิ้วครึ่ง สูงหกนิ้ว ทำเป็นรูปพระพุทธเจ้าสองพระองค์คือ พระสมณโคดม และพระศรีอริยเมตไตรยอยู่ด้านบน ประทับอยู่ใต้ชั้นทรงปราสาททั้งสองข้าง มีพระอัครสาวกซ้ายขวายืนอยู่ในท่าประทานอภัย ด้านล่างเป็น พระสมณโคดมประทับนั่งบนลัลลังก์กลีบบัวหงายสองข้าง อัครสาวกนั่งประนมมืออยู่ ถัดออกไปเป็นพวกเทวดาสวมมงกุฏ มือถือดอกบัวอยู่สองข้าง ล่างสุดตรงใต้ฐานอัครสาวกซ้ายขวาจะมีหัวช้างประดับอยู่สองข้าง พระปลีกล้วยเป็นพระพิมพ์ที่หาได้ยากของสกุลลำพูน
พระสิบแปด เป็นพระพิมพ์ขนาดใหญ่ มีพระพุทธรูปอยู่สิบแปดองค์ มีขนาดกว้างสี่นิ้ว หนาหนึ่งนิ้ว สูงหกนิ้ว ขุดได้ที่วัดมหาวัน วัดประตูลี้ วัดดอนแก้ว
พระสามดอนแก้ว เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดก มีขนาดกว้างสองนิ้ว หนาครึ่งนิ้ว สูงสามนิ้ว ส่วนใหญ่ขุดพบที่วัดดอนแก้ว วัดมหาวัน และวัดประตูลี้ ทำเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย ทรงเทริดขนนก ประดับสร้อยถนิมพิมพาภรณ์ ประทับอยู่ใต้ซุ้มโพธิพฤกษ์ มีอัครสาวกซ้ายขวานั่งอยู่บนดอกบัว ที่เรียกว่าพระสามเพราะมีพระพุทธเจ้าและพระอัครสาวกอีกสององค์รวมเป็นสามองค์
พระป๋วย เป็นพระพิมพ์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ คือ กว้างสองนิ้ว หนาครึ่งนิ้ว สูงสี่นิ้ว องค์พระดูคล้ายกับมีองค์เปล่า จึงเรียกว่า พระป๋วย คือเปลือยเปล่า ขุดพบที่วัดดอนแก้วแห่งเดียว
พระสามท่ากาน มีลักษณะองค์พระเป็นสามองค์อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมเช่นเดียวกับพระซุ้มกระรอก กระแต หรือพระตัวกายที่ขุดพบได้ที่เมืองลพบุรี เป็รพระพิมพ์ขนาดกลาง กว้างสองนิ้วครึ่ง สูงสามนิ้ว หนาครึ่งนิ้ว ขุดพบมากที่วัดร้างในเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และขุดพบในเมืองลำพูน และลพบุรี เป็นจำนวนมากเช่นกัน
พระลือซุ้มนาค เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผา องค์พระเป็นรูปหยดน้ำขนาดใหญ่ กว้างหนึ่งนิ้ว สูงนิ้วครึ่ง เป็นพระพุทธรูปแบบขอมทรงมงกุฏ พระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะ ประทับนั่งานลัลลังก์ใต้ซุ้ม โพธิพฤกษ์ ขุดพบที่วัดมหาวัน และวัดประตูลี้
พระลือหลวง เป็นพระพิมพ์เนื้อดินขนาดค่อนข้างใหญ่ ขนาดกว้างสองนิ้ว สูงสามนิ้ว หนาครึ่งนิ้ว ทำเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งอยู่บนฐานบัว ด้านบนซุ้มโค้งมีลวดลายประดับสวยงาม พระพักตร์ดูขึงขัง ตามลักษณะของศิลปะขอมละโว้ ผสมผสานกับศิลปะหริภุญชัย เนื้อองค์พระละเอียด พบหาได้น้อย
พระงบน้ำอ้อย เป็นพระเนื้อดินเผาที่ทำเป็นรูปกลม แบนราบ ด้าหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่บนฐานลัลลังก์ มีลวดลายเป็นรูปเจดีย์เล็ก ๆ ประดับอยู่สองข้างองค์พระ ด้านล่างของฐานที่ประทับ มีตัวอักษรอินเดียโบราณ จารึกนูนขึ้นมาเห็นได้ชัดเจน อีกชนิดหนึ่งมีองค์พระเล็ก ๆ พิมพ์เรียงกันเป็นตับ คล้ายการเรียงตัวของใบมะขาม องค์พระก็มีขนาดเล็กเท่าใบมะขาม พระพิมพ์ชนิดนี้คือ พระรอดใบมะขาม แต่ก็เรียกกันในชื่อพระงบน้ำอ้อย ขุดพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียว
พระซุ้มพุทธคยา เป็นพระพิมพ์ขนาดใหญ่ กว้างสามนิ้ว สูงสี่นิ้ว ด้านหลังหนารูปคล้ายวงรี พุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระอบน้ำอ้อ แต่ทำคนละรูปแบบ มีรูปแบบศิลปะทวาราวดีผสมหริภุญชัย มีการขุดพบที่นครปฐม ลพบุรี และอยุธยา ด้านล่างขององค์พระมีตัวอักษรอินเดียโบราณอยู่เช่นเดียวกันกับพระงบน้ำอ้อย