เชิญร่วมงานบุญนมัสการพระธาตุโพนจิกเวียงงัว บ้านโคกป่าฝาง ตำบลปะโค อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ซึ่งจัดขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม ของทุกปี
ความเป็นมา พระธาตุโพนจิกเวียงงัว
รวบรวม / เรียบเรียง...โดย วินิจ พลพิทักษ์
คัดลอกจาก
http://www.nongkhaiupdate.com/knowledge-id57.html พระธาตุโพนจิกเวียงงัว เป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานแห่งพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของพระสรีระแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดย แท้ มีอานุภาพในตัวเอง มีอิทธิฤทธิ์ไม่เสื่อมคลาย ผู้ใดได้สักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ จักเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตยิ่ง พระ บรมสารีริกธาตุ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีพุทธานุภาพมาก บันดาลผลให้บ้าน เมืองมีความร่มเย็นเป็นสุข ถือเป็นศิริมงคลของพระพุทธศาสนา หากประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด จักบันดาลให้แว่นแคว้นนั้น มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสถาพร จึง เป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่พุทธบริษัททั้งหลาย จะให้ความเคารพบูชา ตระหนัก อนุรักษ์ หวงแหน และให้ความสำคัญในมหาสมบัติอันล้ำค่าของชาติและของโลกสืบไป
สถานที่ประดิษฐาน
พระธาตุโพนจิกเวียงงัว ประดิษฐานอยู่ในเขตโบราณสถานภายในวัดพระธาตุ บุ บ้านโคกป่าฝาง ตำบลปะโค อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย อยู่ในพิกัดเส้น รุ้งที่ 17 องศา 47 ลิปดา 40 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศา 42 ลิปดา 00 ฟิลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 14 กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าถึงได้ 2 เส้นทางคือ
เส้นทางที่ 1 เริ่มจากตัวเมืองหนองคาย ไปตามเส้นทางถนนพนังชลประทาน ระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงสำนักงานองค์การบริหารตำบลปะโค ผ่านไปอีก 100 เมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านโคกป่าฝาง ระยะทาง 2 กิโลเมตร จะถึงวัดพระธาตุบุ โดยมีป้ายบอกทางเป็นระยะ รวมระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตรเศษ
เส้นทางที่ 2 เริ่มจากตัวเมืองหนองคายให้มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ตามถนนมิตรภาพ ถึงกิโลเมตรที่ 12 บ้านหนองสองห้อง ยูเทอร์นแล้วเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอท่าบ่ออีกประมาณ 10 กิโลเมตร จะพบทางเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านไผ่สีทอง ระยะทาง 7 กิโลเมตร จะถึงวัดพระธาตุบุ รวมระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร
ลักษณะของพระธาตุโพนจิกเวียงงัว
พระธาตุโพนจิกเวียงงัว เป็นเจดีย์ที่มีฐานประทักษิณเป็นรูปสี่ เหลี่ยม กว้างด้านละ 17.5 เมตร ฐานเขียงล่างทรงสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยม และฐานกลมซ้อนกัน ต่อด้วยฐานปัทม์กลม องค์ระฆังทรงเรียวยาว ต่อด้วยชั้น ลูกแก้วสามชั้น ส่วนยอดเป็นปลียอดทรงแหลมสูง ความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ 15 เมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 172 ลงวันที่18 พฤศจิกายน 2525 ในพื้นที่ 1ไร่ 1 งาน 58 ตารางวา