ยังมีอีกแบบหนึ่งครับ เขียนว่า ชส กับเลขไทย ย่อมาจาก ช่างแสง ซึ่งเป็นชื่อเก่าของกรมสรรพาวุธ
กระสุนนี้คือ 8x50 มม.(๔๕) และ 8x52 มม.(๖๖) สยาม เมาเซอร์ เป็นกระสุนที่เราออกแบบเอง แต่ผมเข้าใจว่าเราดัดแปลงมาจาก 8x50 มม.มานลิเคอร์
กระสุน 2 แบบนี้ผลิตในประเทศไทย สั่งผลิตเครื่องจักรจากญี่ปุ่น โดยมีคนไทย 3 คนกับ 1 พระองค์ท่าน เดินทางไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น เป็นการฝึกงานระบบเยอรมันที่สอนญี่ปุ่นไว้ คือฝึกตั้งแต่กวาดพื้น เทกระโถน คุมเครื่องจักร คุมคนงานคุมเครื่องจักร โฟร์แมน ผู้จัดการฝ่าย ขึ้นมาจนถึงผู้จัดการโรงงาน และทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการสร้างเครื่องจักร กับตรวจรับไปด้วย
รองหัวหน้าคณะ ซึ่งเป็นสามัญชน (ไม่ใช่เจ้านาย) เดิมเป็นตำรวจ ตำแหน่งสารวัตรกรุงเทพ (เทียบเท่า ผบช.น.ในปัจจุบัน) ร.5 มีพระบรมราชโองการให้โอนมาเป็นทหารบก ยศ ร.ท. และต่อมาก็เป็นเจ้ากรมสรรพาวุธ ทหารบก
โรงงานกระสุนแห่งนี้เป็นความภูมิใจของคนไทย เพราะผลิตได้ครบทั้งหมดโดยไม่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบมาจากต่างประเทศ ระยะแรกยังต้องซื้อกรดไนตริกมาทำดินส่งกระสุน แต่ระหว่างสงครามก็ผลิตเองในประเทศ กากที่เหลือทำสบู่ยี่ห้อ ชส.ขายประชาชนอีกต่างหาก
ในระหว่างสงคราม ขนเครื่องจักรหนีญี่ปุ่น เข้าไปทำกระสุนในป่า คนไทยย้ายเอง ประกอบใหม่เอง
อ่านเรื่องย่อแล้วน่าสนใจครับ ไม่ทราบว่าผู้การมีเรื่องเต็มหรือเปล่า ขออนุญาตร้องขอต่อกอง บก. ให้จัดหานักเขียนมาขยายความลงหนังสือครับ
ต้องเช็คเรื่องลิขสิทธิ์ก่อน ผมเขียนไว้เกือบยี่สิบปีแล้ว จำไม่ได้ว่า เอาไปรวมกับของคนอื่น พิมพ์แบบรีไรท์ หรือเป็นชื่อผมเอง