เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 30, 2024, 11:28:55 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 25 26 27 [28] 29 30 31 ... 366
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: THE DOUBLE GUN & RIFLE CONNOISSEUR  (อ่าน 1179658 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
o/uboy
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #405 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2006, 08:54:07 PM »

เกือบเสียเชิงเลยถ้าตอบไม่ได้
หึๆๆๆๆๆๆ ขออนุญาตครับพี่ผมอ่านมาถึงตรงนี้อดที่จะขำไม่ได้เลยจริงๆ แต่จะว่าไปผมก็เคยได้ยินชื่อนะครับน้ำมันตั่งอิ้วแต่ว่าไม่รู้เค้าเอาไว้ใช้ทำอะไรกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2006, 01:03:46 AM โดย o/uboy » บันทึกการเข้า
FABBRI
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #406 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2006, 10:09:21 PM »

ขออนุญาติดูบอล พรุ่งนี้จะว่าเรื่อง ระบบของลูกซองที่เราชอบพูดถึงกัน ว่า Box Lock กับ    Side Lock ต่างกันอย่างไรและจะรู้ได้อย่างไร กับ เมื่อได้ปืนมาแล้วจะทำอย่างไรต่อ
บันทึกการเข้า
o/uboy
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #407 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2006, 10:35:30 PM »

ขออนุญาติดูบอล พรุ่งนี้จะว่าเรื่อง ระบบของลูกซองที่เราชอบพูดถึงกัน ว่า Box Lock กับ Side Lock ต่างกันอย่างไรและจะรู้ได้อย่างไร กับ เมื่อได้ปืนมาแล้วจะทำอย่างไรต่อ
ดีเลยครับพี่นี่เป็นเรื่องที่ผมอยากรู้มานาน ผมรู้แต่ว่าSide Lockดีกว่าฺ แต่ไม่รู้ว่ามันดีกว่ายังไง แถมเรื่องนี้เลยพาผมงงไปอีกเพราะว่าถ้าSide Lockมีระบบที่ดีมากกว่าจริงทำไมปืนสำหรับยิงแข็งส่วนมากถึงได้ทำออกมาเป็นBox Lockหรือว่าเพื่อลดต้นทุนก็ไม่น่าจะใช่
บันทึกการเข้า
FABBRI
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #408 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2006, 07:50:21 PM »

การแกะลายปืนที่ดีๆ แบบโบราณ เราก็คนโบราณ นั้น มี 4 วิธี แต่ปัจจุบับมีทั้ง กรดกัด เลเซอร์ยิง ป้ำตามแบบแล้ว ให้เด็กหัดแกะตามรอย พวกนี้เราจะพบว่า เป็นปืนโหลที่กี่กระบอกลายก็จะเหมือนกันหมด ถ้าลายที่ทำด้วยมือล้วนๆแล้วถึงแม้นจะเป็นลายเดียวกัน ที่ลอกจากแบบพิมพ์มา ช่างแกะก็คนเดียวกัน ก็จะไม่มีทางหมือน  เพราะ อารมณ์ ขณะแกะไม่เหมือนกัน เหมือนเราเขียนหนังสือจะให้เหมือนกันทุกตัวนั้นยากมาก
  แบบที่ 1 ก็คือ Scriber engraving [punta  e  martello ] คือเมื่อเราวาดลายแล้ว ช่างก็จะเอา เหล็กสกัด แต่เล็กๆนะครับ แล้วเอาฆ้อนเล็กและยาว ตอกสกัดเอาเหล็กส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อให้เกิดลายนูนขึ้นมา ส่วนมากจะเป็นปืนทั่วไปที่มีแกะลาย เช่น Perazzi ลายที่ 124  136  137 เป็นต้น
  แบบที่ 2 ก็คือ  Graver engraving [bulino] คนไทยมักจะรู้จักกันว่าแลลาย คือใช้ เหล็กแลลายที่เราเห็นเขารับจ้างแกะชื่อป้ายหน้าอก หรือช่างแลลายกรอบพระ ลายพวกนี้จะเป็นเส้นบางๆ ไม่ลึก แต่เป็น สามมิติ มักจะเป็นพวกรูปสัตว์ หรือรูปคน Perazzi  ลายที่834 835 836
   แบบที่  3 ก็คือ  Chasing [cesellatura] ก็คือการ ตอกลาย โดยการตอก คล้ายกับแบบที่ 1 แต่แบบที่ 1 ขุดเอาเนื้อโลหะออกไป  แต่แบบนี้ ใช้ตอกให้โลหะยุบตัวลงไป ในส่วนที่ไม่ต้องการ แล้วโลหะที่ต้องการจะนูนขึ้นมา เหมือนที่ทางเชียงใหม่ ทำพวกเงินหรือดีบุก แต่ปืนนี่เป็นเหล็กและ พื้นที่ไม่กว้าง แถมลายละเอียดมีมาก เป็นการทำที่ยากมากและใช้เทคนิคมาก คนที่ทำได้สวยมีไม่กี่คน ในอิตาลี่
   แบบที่  4 ก็คือ Inlaying [rimesso] ก็คือการ คร่ำทอง เป็นการฝังทองลงไปในเหล็ก ที่เราเห็นว่ามีแผ่นทองรูปต่างๆบนปืนนั้นไม่ใช่เอาแผ่นทองแปะลงไป  ถ้าทำเช่นนั้นยิงไม่กี่ที่ก็หลุดหมด  วิธีทำก็คิอส่วนที่เราจะฝังทองลงไป ให้เอาสิ่วตอกลงไปตรงๆ จากนั้นก็ตอกไปทางซ้าย และ ทางขวา ก็จะเกิดรูปสามเหลี่ยมหงาย (ภาษาช่างเรียกเทเปอร์หรือเปล่า ) ในเนื้อเหล็ก (  ถ้านึกไม่ออกก็นั่นเลย ศูนย์ ปืนcolt  .45 1911 ตอกศูนย์หลังออก ก็จะเกิดร่องรูป สามเหลี่ยมบนโครงสะไล้ด นั่นแหละใช่เลย )  จากนั้นก็เอาลวดทอง ขนาดเส้นผมวางบน ยอดสามเหลี่ยมแล้วก็เอาฆ้อนตอกเบาๆเนื้อทอง ก็จะลงไปอุดในช่องว่างนั้น ส่วนฐานจะใหญ่กว่าส่วนยอด ทองเลยไม่หลุดออกมา ส่วนจะให้เกิดสี ก็ผสมทอง ให้เป็นสีต่างๆ เช่นสีเขียว ก็เอาทองผสมเงิน ถ้าสีแดงก็เอาทองผสมทองแดง เป็นต้น ดูรูป Perazzi 85 86 87
  การแกะลายก็มีอยู่เท่านี้ 

  มีอีกอย่างที่จะบอกก็คือ ปากกาที่เราใช้ทำงานเหล็กนั้น จะมีฟันคมๆถ้าเอาปืนไปวางแล้วใช้ปากกาจับก็จะเกิดลอยได้ เท่าที่พบเห็นมา เขาจะเอาตะกั่วมาหุ้มตรงปากไว้ เวลาเอาปืนไปจับขันให้แน่น ตะกั่วจะนิ่มกว่าเหล็ก ก็จะไม่ทำให้ปืนเสีย และ แน่น
  ถ้าเป็นไม้ เขาจะเอาไม้มา สองชิ้น ส่วนมากจะเป็นไม้ฉำฉา เพราะนิ่มกว่าไม้ทำพานท้าย แล้วเอาเหล็กสปริงมาโคงรูปตัวV ใต้ไม้สองข้าง แล้วเสียบลงไปที่ปากกา เวลาหนีบไม้ก็จะไม่ทำให้ไม้เสีย และ ขันเข้าขันออก เหล็กสปริงก็จะถ่างออก ไม่ต้องคอยจับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 07, 2009, 12:38:16 PM โดย FABBRI » บันทึกการเข้า
o/uboy
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #409 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2006, 09:09:31 PM »

ขอบคุณครับพี่เป็นเรื่องที่น่าติดตามครับ
บันทึกการเข้า
Iamshootinghere
Sr. Member
****

คะแนน 2
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 552


« ตอบ #410 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 07:30:19 AM »

รอตอนต่อไปอยู่ครับ Smiley
บันทึกการเข้า

"You not the only one who makes mistakes, but they're the only thing that you can truly call you own"
Billy Joel
steel
www.arisra-steel.com
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 11
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 123



เว็บไซต์
« ตอบ #411 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 07:55:42 AM »

ติดตามทุกวันเลยครับ
บันทึกการเข้า

o/uboy
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #412 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 09:32:26 AM »

แล้วการทำ Etching, Dasmascening, Surface Treatments ละครับพี่ คือที่ถามเพราะว่าผมมีหนังสืออยู่ที่พูดถึงเรื่องนี้แต่ยังอ่านไม่เข้าใจนักครับ เดี่ยวเอาไว้ว่างๆผมจะแปลแล้วเอามาเขียนลงเพิ่มเติมให้ครับ
 แล้วเรื่องSide Lock&Box Lockที่พี่บอกจะนำมาเล่าให้ฟังละครับยังรออยู่นะครับพี่ Cheesy
บันทึกการเข้า
kong272727
Jr. Member
**

คะแนน 7
ออฟไลน์

กระทู้: 52


« ตอบ #413 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 09:37:09 AM »

ผมติดตามทุกวันครับ  เอาอีกครับ  (เมื่อไหร่ถึงคิวไรเฟิลแฝดครับ  ฮิ ฮิ)
บันทึกการเข้า
o/uboy
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #414 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 09:42:29 AM »

ผมติดตามทุกวันครับ เอาอีกครับ (เมื่อไหร่ถึงคิวไรเฟิลแฝดครับ ฮิ ฮิ)
เรียนเชิญพี่ลูกซองสั้นเริ่มเลยครับเรื่องนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2006, 10:53:11 AM โดย o/uboy » บันทึกการเข้า
FABBRI
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #415 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 06:29:21 PM »

แล้วการทำ Etching, Dasmascening, Surface Treatments ละครับพี่ คือที่ถามเพราะว่าผมมีหนังสืออยู่ที่พูดถึงเรื่องนี้แต่ยังอ่านไม่เข้าใจนักครับ เดี่ยวเอาไว้ว่างๆผมจะแปลแล้วเอามาเขียนลงเพิ่มเติมให้ครับ
 แล้วเรื่องSide Lock&Box Lockที่พี่บอกจะนำมาเล่าให้ฟังละครับยังรออยู่นะครับพี่ Cheesy
น่าจะเป็นวิธีแกะลายโดยใช้กรดกัด เหมือนการทำแม่พิมพ์ สมัยก่อน
บันทึกการเข้า
FABBRI
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #416 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 06:44:35 PM »

ขอเพิ่มเติม  ตอบ ที่ 408 การแกะลายแบบที่ 2 การแลลายแบบนี้ ช่างที่มีคุณภาพ สามารถ แกะรูปคนที่ท่านรัก หรือ สัตว์ ตัวโปรด ลงไปในปืนได้เหมือน รูปถ่าย เลยครับ และการแลลายเส้นแต่ละเส้นจะละเอียดมาก ถ้าฝีมือดีแล้วลายเส้นจะไม่สดุด เหมือนท่านลากเส้นดินสอไปทีเดียวยาวๆ ก็จะสวย ถ้าลากแล้วหยุด ลากแล้วหยุด ก็จะเป็นจุดตรงที่ท่านหยุดก็จะไม่สวย เวลาช่างทำงานจะมีมีดแลลายมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งมีแว่นขยาย(สำหรับดูพระหรือเพชย) ขนาด10x ดูลาย ที่เขาลากไป ช่างเก่งๆบางคนต้องรอ เข้าคิวนานกว่า 5 ปี
  สั่งทำปืน ก็ต้อง จอง 5 ปี เอาไปแกะลาย ก็จองคิวอีก 5 ปี ช่างแกะลายอีก 1 ปี  กว่าจะได้ปืน รวม 11ปี ก็ต้องรอจนเหงือกแห้ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 07, 2009, 12:39:20 PM โดย FABBRI » บันทึกการเข้า
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #417 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 07:24:10 PM »

ขอเพิ่มเติม ตอบ ที่ 408 การแกะลายแบบที่ 2 การแลลายแบบนี้ ช่างที่มีคุณภาพ สามารถ แกะรูปคนที่ท่านรัก หรือ สัตว์ ตัวโปรด ลงไปในปืนได้เหมือน รูปถ่าย เลยครับ และการแลลายเส้นแต่ละเส้นจะละเอียดมาก ถ้าฝีมือดีแล้วลายเส้นจะไม่สดุด เหมือนท่านลากเส้นดินสอไปทีเดียวยาวๆ ก็จะสวย ถ้าลากแล้วหยุด ลากแล้วหยุด ก็จะเป็นจุดตรงที่ท่านหยุดก็จะไม่สวย เวลาช่างทำงานจะมีมีดแลลายมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งมีแว่นขยาย(สำหรับดูพระหรือเพชย) ขนาด10x ดูลาย ที่เขาลากไป ช่างเก่งๆบางคนต้องรอ เข้าคิวนานกว่า 5 ปี
 สั่งทำปืน ก็ต้อง จอง 5 ปี เอาไปแกะลาย ก็จองคิวอีก 5 ปี ช่างแกะลายอีก 1 ปี กว่าจะได้ปืน รวม 11ปี ก็ต้องรอจนเหงือกแห้ง
คนสั่งซื้อ มีความอดทนมากจริงๆ..
บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
FABBRI
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #418 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 07:47:30 PM »

เอามาว่ากันเรื่อง Box lock กับ Side lock กัน ตอนแรก จะเล่าเรื่อง ปืน Skeet กับ ปืน Trap มันทำต่างกันอย่างไร เวลาซื้อก็ราคาเท่ากันแต่เวลาขาย ทำไมSkeet จึงถูกกว่า ทั้งๆที่ Skeet ทำน้อยกว่า
  เมื่อเราเห็นปืนลูกซอง หรือ ถ้าท่านมี ปืนลูกซอง แฝดอยูในบ้าน ก็หยิบออกมาดู ดังจะบอกต่อไปนี้ ผม พยายามใช้ภาษาไทยให้มากที่สุด ทั้งๆที่เขียนก็ไม่เก่ง ยิ่งภาษา อิงกิดด้วยแล้วเขียนผิดเขียนถูกประจำส่วนมากจะผิด ท่านที่อ่านก็หลับตาข้างหนึ่งก็แล้วกันนะ 
     ที่ตรงโครงปืนที่อยู่บริเวณ เหนือโกร่งไก จะมีเหล็กส่วนหนึ่ง ไม้ส่วนหนึ่ง เช่น ปืนไอ้หยา กับปืน พาราช๊ mx8 ที่ท่านลูกซองสั้นกรุณาแก้ผ้าให้ดูนั้น ก็ คือ---- Box Lock ท่านปรมาจารย์เรียกว่า พวกใต้เข็ม
     ส่วนที่เป็นแผ่นเหล็ก รูปไข่ เต็ม พื้นที่นั้น ก็คือ--- Side Lock ท่านเรียกว่า ข้างเข็ม รูปปืน อาเรียต้า ที่ ท่าน โชกุน แก้ผ้าให้ดู
   แต่ก็มีที่เป็นปืน Box Lock แล้วทำแผ่นใหญ่ๆเหมือน Side Lock นั้นเขาเรียกว่า Side Plate เพื่อ จะได้มีเนื้อที่แกะลายได้มากขึ้น และ แหกตาคนได้ (ถ้าไม่รู้) พวกนี้แผ่นจะเรียบมาก ถ้า Side Lock แท้แล้วก็จะเห็น จุดขาวๆ ที่เขาเรียกว่าPin มากน้อยแล้วแต่การออกแบบของแต่ละยี่ห้อ
    มีSide Lock ที่ออกแบบรุ่นใหม่ปัจจุบันมองไม่เห็น Pin ที่ว่า แต่ก็แพงมากๆ แถม ไม่ Classic อีกต่างหาก ใครมี ก็ขายผมก็แล้วกัน
    ทั้งBox Lock และ  Side  Lock  นั้น มีทั้ง นกนอก และ นกใน รวมถึง Side Plate ก็เช่นกัน
   ถ้าท่านดูรูป ทั้ง สองแล้ว ก็จะเห็นว่า ชุดไก จะอยู่ ณ จุดเดียวกัน แต่ นกสัป Box Lock จะอยู่เหนือโก่รงไก ใต้เข็มแทงชนวน อีกกระบอก นกสัปจะอยู่ที่แผ่นแปะข้าง นั่นคือ Side Lock
   Box Lock ที่นิยมมากที่สุด และคนเอาไปทำปืน เกือบทั่วโลก และดัดแปลง ให้ถอดไกได้ ก็ คือ---- ไกที่ออกแบบ โดย นาย ANSON และ นาย DEELEY ทั้งสอง เป็น ช่าง ที่โรงงาน Westley Richards แห่ง อังกฤษ นำออกใช้ครั้งแรก ปี 1875 เลยตั้งซื่อ ระบบนี้ว่า Anson & Deeley Lock  เป็น ระบบที่แข็งแรงทนทานมาก เป็นจับกังเลย ไม่ค่อยจะเสีย สำออยเหมือน Side Lock ที่แพงก็แพง สำออยอีกต่างหาก ทั้งๆที่แพงกว่าตั้ง 3-4 เท่า ในโรงงานเดียวกัน
    ปัจจุบันมีการออกแบบให้ถอดชุดลั่นไก ออกมาแก้ไขได้ง่าย เช่น Beretta Perazzi  ที่ชาวเรารู้จักกันดี
    อีกสักครู่จะเล่าต่อเรื่อง Side Lock ท่านใดมีคำถามก็กรุณา ถามด้วยจะเป็นพระคุณ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 07, 2009, 12:39:55 PM โดย FABBRI » บันทึกการเข้า
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #419 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2006, 08:31:27 PM »

แล้วระบบ บลิทซ์ ล๊อค ละครับ..
บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
หน้า: 1 ... 25 26 27 [28] 29 30 31 ... 366
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 23 คำสั่ง