"การโกงสมบัติผู้อื่นตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไปคือประมาณไม่ถึง 300 บาทในปัจจุบัน
ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกฐานผิดพระธรรมวินัยพ้นจากความเป็นพระทันที
ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึกหรือไม่ก็ตาม
ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ
ที่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อเตือนให้รู้ทั่วกันว่า ผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้น
ไม่ใช่พระในพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้นำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง เป็นพระปลอม ต่อจากนั้นย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้รักษากฎหมาย หรือของผู้มีหน้าที่ในการพุทธศาสนา
จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้มีพระปลอมมาทำลาย ทำให้เสื่อมเสีย
เช่นที่ผู้รักษากฎหมายเคยทำมาแล้ว เคยบังคับให้เป็นผู้ปลอมเป็นพระ
ถอดผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากตัว การปฏิบัติต่อพระปลอมต้องไม่มีแตกต่างกัน
ต้องไม่มียกเว้นว่า คนนั้นปลอมได้คนนี้ปลอมไม่ได้ เป็นพระปลอมมีอยู่ในพุทธศาสนาไม่ได้ทั้งนั้น
ประกาศนั้นเป็นคำบอกเล่าเป็นคำเตือนให้รู้ เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับมหาเถรฯไม่บังคับให้เชื่อ
ไม่บังคับใครให้ทำอะไร แสดงความถูกผิดให้ปรากฏอยู่เท่านั้น ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งสงฆ์
ในพระพุทธศาสนา จึงต้องทำหน้าที่ส่วนตนให้เรียบร้อยถูกต้อง บอกความจริงด้วยความหวังดีมิได้บังคับ
จงเข้าใจทั่วกัน"
หลังจากนั้นได้มีคำสั่งของมหาเถรสมาคม สั่งให้วัดพระธรรมกายดำเนินการปรับปรุงคำสอน
ที่บิดเบือนให้ถูกต้อง ส่วนกรณียักยอกทรัพย์นั้น ทางมหาเถรสมาคมก็มีมติให้รอคำพิพากษาของศาลยุติธรรม
และต่อมาในวันที่ 21 สิงหาคม 2549 สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำขอถอนฟ้องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
โดยให้เหตุผลว่า
1. วัดพระธรรมกายได้ปฏิบัติตามคำสั่งและพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชในเรื่องการเผยคำสอน
ที่ถูกต้องตรงตามพระไตรปิฏกแล้ว
2. อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้ยินยอมมอบคือทรัพย์สินที่ได้รับการกล่าวหาว่ายักยอกไป
คืนแก่วัดทั้งหมดแล้ว
ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่สำนักอัยการสูงสุดจะทำการฟ้องร้องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและนายถาวรอีกต่อไป
กรณียกฟ้องดังกล่าวทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อฐานะของอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในหมู่ประชาชน
และนักวิชาการศาสนาเป็นอย่างมาก ฝ่ายหนึ่งให้ความเห็นว่าท่านมีความบริสุทธิ์เนื่องจากสำนักอัยการได้ขอถอนฟ้อง
ท่านจึงไม่มีความผิดในกรณียักยอกทรัพย์ตามกฎหมาย ดังนั้นข้อกล่าวหาท่านว่าปาราชิกจึงไม่มีมูล
ในขณะที่นักวิชาการศาสนาอีกฝ่ายกล่าวว่า การยักยอกทรัพย์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
ได้สำเร็จแล้วตามหนังสือขอถอนฟ้องขอฝ่ายอัยการ ซึ่งยืนยันถึงการคืนเงินให้แก่วัดในภายหลังของอดีตเจ้าอาวาสฯ
ดังนั้นเมื่อมีการคืน แสดงว่ามีการยักยอก และเมื่อมีการยักยอกจึงถือเป็นอาบัติปาราชิก
ขาดจากความเป็นพระตามที่สมเด็จพระสังฆราชมีพระราชวินิจฉัยไปก่อนหน้านี้
ถึงแม้อดีตเจ้าอาวาสฯ จะนำทรัพย์มาคืนวัดในภายหลังเพื่อให้เกิดกระบวนการถอนฟ้อง
ทำให้ไม่มีความผิดตามกฎหมาย แต่ตามพระธรรมวินัย ท่านได้ขาดความเป็นพระแล้ว
และไม่สามารถเรียกคืนสมณฐานะ ได้อีกhttp://nuchsudhinuch.blogspot.com/2012/08/blog-post_6493.htmlต้องเข้าใจก่อนว่า ธรรมกายมีเส้นสายทางการเมือง ทาง.... มาก เรื่องคดีความอัยการสั่งไม่ฟ้อง
แต่ทางพระธรรมวินัยได้ถือว่าขาดจากความเป็นพระไปแล้วครับ แต่ลูกศิษย์ที่นับถือนั้นคงไม่ยอมรับ