" กะว่าสอย " คืออะไรเหรอคะ พอดีอ่านหนังสือ NG มีเกี่ยวกับหมอลำ เนื้อร้องมีท่อนนึงที่ว่า
"สอยสอย พี่น้องฟังสอย ผักกะโดนกินกับลาบปลาสร้อย
มักกินเล็กกินน้อยหล่ะแม่นนักการเมือง อันนี่กะว่าสอย"
อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจอยู่ดี
ความหมายก็ไม่มีอะไรมากครับ
คำว่าสอย นี่เป็นคำพูดเข้าทำนองแซวๆกัน หรือทำนองส่อเสียดล้อเลียน ส่วนใหญ่จะเป็นทำนองค่อนข้างหยาบโลนนิดๆ เพื่อให้ฮาน่ะครับ
ทีนี้คำแปลจากคำสอยที่คุณแรมส์ใจนำมานั้นแปลว่า" สอยสอย เชิญพี่น้องมาฟังคำสอย ผักกะโดนเหมาะจะกินกับลาบปลาสร้อย แต่พวกที่ชอบโกงกินเล็กกินน้อย ก็คือพวกนักการเมือง ที่พูดมานี้ก็เป็นคำสอย"
การสอยก็คล้ายๆกับพวกผญา(ผะ- หยา) ที่จะนำเอาเหตการณ์รอบตัวมาเป็นThemeของเรื่อง
เช่นในยุคที่ละครจีนเรื่อง"เหยี่ยวถลาลม"ดังมากๆ ก็มีคำสอยว่า
"สอย สอย ผู้สาวซำน้อย ว่าบ่ฮู้จัก เหยี่ยวถลาลม บาดห่าเขากำนม ผัดว่าซ่อยแหน่ หลี่ถัง อันนี่กะสอย"
แปลว่า (สอย สอย สาวขึ้นใหม่บอกว่าไม่รู้จักเหยี่ยวถลาลม แต่พอถูกเขากำ(จับ)นม ดันร้องออกมาว่า ช่วยด้วยหลี่ถัง)
ขอบคุณมากค่ะ คุณแหง พอจะเข้าใจลางๆ แต่ก็ไม่ทั้งหมด
แต่คำตอบที่ถัดๆมาจากคำถามนี้ อ่านไม่เข้าใจเลยค่ะ ขอ Subtitle ด่วน!!! [/quote]
สอย...สอย...มาเด้อพี่น้องมาซ่อยกัน สอย ผญาสอย หรือ สอย เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ที่แฝงไปด้วยอารมณ์ขันของคนอีสาน สร้างให้เกิดความสนุกสนาน วรรณกรรมคำสอยมีความเป็นมาพร้อมๆกับหมอลำกลอน
ในปัจจุบันมีคนมาใช้กับหมอลำคู่และหมอลำเพลินด้วย ด้วยความมีอิสระเสรีในการสอย แม้คำสอยส่วนมากจะเน้นหนักในเรื่องทางเพศ แต่ชาวบ้านก็ไม่ถือสากัน กลับเห็นเป็นเรื่องขำText Blackขันและสนุกสนานมากกว่า วรรณกรรมคำสอยแยกออกได้หลายประเภท ดังนี้
1. คำสอยที่เป็นภาษิตคำคม มีคติสอนใจแฝงด้วยความจริงและสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละชุมชน มีทั้งภาษาที่สุภาพและไม่สุภาพ
2. คำสอยทั่วไป ส่วนมากจะเป็นคำสอยที่เหน็บแนม เสียดสี ประชดประชันสภาพสังคมและบุคคลทุกรุ่นทุกวัยเพื่อความสนุกสนานและสร้างอารมณ์ขัน แยกประเภทได้ดังนี้
คำสอยเกี่ยกับสตรีเป็นคำสอยที่นิยมแพร่หลายมาก
คำสอยเกี่ยวกับบุรุษ
คำสอยเกี่ยวกับอวัยวะเพศ เป็นคำสอยที่มีความหมายหยาบคายเสียเป็นส่วนมากแต่เป็นการเปรียบเทียบสิ่งนั้นกับสิ่งนี้แต่ชาวบ้านเขาไม่ถือเพราะเป็นเรื่องสนุกสนาน ขบขัน
คำสอยสมัยใหม่ เป็นคำสอยทีพัฒนาให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งสื่อมวลชนเข้ามามีอิทธิพลต่อการสอยมากขึ้น ... คล้าย ๆ ... เป็นคำขออนุญาตเอ่ยสอดแทรก ... เพื่อสร้างสีสรรค์ ... ให้ข้อคิด ... ให้สนุกสนาน ...
... คล้าย ๆ ... คำเอื้อนเอ่ย ... คำแซว ... คำเชิญชวนให้รับฟัง ... เช่น
... เอิงเอิงเอยชะเอิ้งเอ้ย .......... เอ้าเอ้ว ๆ (การเล่นลำตัด / เพลงเรือหรือเพลงอีแซวนี่แหละไม่แน่ใจ)
.... มาจะกล่าวบทไป(น่าจะเป็นลิเก)
.... ไชยาอะชิชะ ... ไชยาอะชิงไช(เพลงโคราช)
... ประมาณนี้ ครับ ...