เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 27, 2024, 07:45:42 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 4 5
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คนสยามสร้างนครวัด นครธม (โปรดฟังอีกครั้ง)  (อ่าน 4882 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 02:11:23 PM »

นายสมชายเอามาจากนี่ครับ... http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000020698

รายละเอียดข้างล่าง ตามตัวแดงครับ... นายสมชายอ่านแล้วมีเหตุผล โดยเฉพาะคุณทวิช จิตรสมบูรณ์ ผู้เขียนได้ทิ้งท้ายว่า"หลักฐานเหตุผลรายละเอียดยังมีอีกมาก แต่วันนี้เกินโควตาหน้ากระดาษแล้ว ขอจบเพียงเท่านี้ พร้อมนี้ขอท้าโต้วาทีกับนักวิชาการโปรเขมรแบบซึ่งหน้าที่ไม่ลอบกัดกันแบบที่ผ่านมา ทั้งที่ผมเป็นวิศวกร ส่วนพวกท่านเป็น ดร. ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี กล้ารับคำท้าผมไหม ใครแพ้ให้ตัดหัวเสียประจานไว้ที่หน้าประตูนครวัด"...
************************************************************************************
สักสองปีก่อนผมได้เปิดประเด็นว่าคนสยามเป็นผู้สร้างนครวัด มีทั้งเสียงปรบมือและเสียงโห่พอกัน ...วันนี้ผมขอสรุปตอกย้ำแสดงหลักฐาน เหตุผล หลักๆ ห้วนสั้นอีกครั้ง ตัดเรื่องหยุมหยิมออกไป ดังนี้
       
       นักวิชาการไทยส่วนใหญ่ได้แต่เชื่อตามฝรั่งไปแบบเชื่องๆ ว่าเขมรเป็นผู้สร้างนครวัด แต่ความจริงแล้ว ขอมต่างหากเป็นคนสร้าง และขอมก็คือ สยามนี่แหละ ส่วนเขมรนั้นสมัยโน้นเป็นทาสขอม
       
       หลักฐานสำคัญที่สุดคือบันทึก ๔๐ หน้าของโจวตากวน (ทูตการค้าชาวจีน) ที่ทำให้คำนวณได้ว่าสมัยก่อนเมืองพระนครมีคนชั้นปกครอง ๓ แสน และทาสและคนพื้นเมือง ๗ แสน โดยคนพื้นเมืองนั้นใช้เข็มก็ไม่เป็น ทอผ้าก็ไม่เป็น ส่วนคนสยามนั้นใช้เข็มเป็น ทอผ้าก็เป็น เลี้ยงหม่อนไหมก็เป็น
       
       โดยชนชั้นปกครองนั้นคือขอม ซึ่งก็คือคนสยามนั่นเอง
       
       ส่วนคนพื้นเมืองนั้นขนาดชุนผ้ายังไม่เป็นแล้วจะไปสร้างนครวัด นครธมใหญ่โตได้อย่างไร เอาความรู้เทคโนโลยีไปจากไหน
       
       อยู่มาวันหนึ่งพวกทาสสบโอกาส ก็ทำการยึดอำนาจล้มล้างราชบัลลังก์ นำโดย ตระซอกประแอม (แตงหวาน) ที่ต่อมาสถาปนาตนเป็นกษัตริย์
       
       ที่สำคัญที่สุดคือ คำต่อท้ายกษัตริย์ “วรมัน” ทุกพระองค์ที่ผ่านมา ๖๐๐ ปีก็หายไปในปีนั้นนั่นเอง จากนั้นไม่มี “วรมัน” อีกเลย แสดงชัดว่าเขมรเป็นคนละเผ่าพันธุ์กับขอม
       
       พงศาวดารฉบับแรกของเขมรที่ประพันธุ์โดยนักองเอง (ที่มาพึ่งบารมี ร. ๑ ของไทย) ก็ระบุตรงกันว่า ตระซอกประแอม คือต้นกำเนิดของคนเขมร แต่ภายหลังฝรั่งเศสมายุให้ปรับเปลี่ยนว่าต้นตระกูลคือ วรมัน ทั้งที่เขมรฆ่าวรมันตายเรียบ แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองว่า “สยามราบ” (หรือเสียมเรียบ ในวันนี้)
       
       เสียม ไม่ได้ เรียบ หมดหรอก จากสามแสน อาจถูกฆ่าตายสัก ๕ หมื่น ที่เหลือรอดตายก็หนีมาก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา นำทัพโดยพระเจ้าอู่ทองนั่นแล
       
       ยังถกเถียงกันอยู่มากว่าพระเจ้าอู่ทองคือใคร มาจากไหน ที่สอนกันมานานว่ามาจากเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรีนั้น บัดนี้สรุปกันได้แล้วว่าผิด เพราะเมืองอู่ทองเป็นเมืองร้างมาก่อนหน้านี้แล้วสองร้อยปี อีกทั้งเป็นเมืองเล็กมีคนประมาณ ๕ หมื่นเท่านั้น แต่อยุธยาเริ่มต้นก็มีพลเมืองสามแสนแล้ว ถามว่าเอาคนสามแสนมาจากไหนในละแวกนั้น
       
       พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมืองอยู่ ๑๔ ปี พอสร้างเสร็จแทนที่จะเฉลิมฉลอง พักผ่อนไพร่พล กลับยกทัพไปตีเมืองพระนครทันที (เมืองเสียมเรียบ) ซึ่งผิดวิสัยมาก เพราะเป็นเมืองเล็กๆ สร้างใหม่ ไฉนเลยจะกล้าไปตีเมืองใหญ่เก่าแก่ที่มีกองทัพเกรียงไกรเช่นพระนคร ซึ่งประเพณีการสงครามเดิมมานั้นมีแต่เมืองเก่าใหญ่จะยกทัพมาถล่มเมืองสร้างใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นศูนย์อำนาจมาแข่งบารมี
       
       ที่พระเจ้าอู่ทองยกทัพไปตีเขมรนั้นเป็นเพราะทรงแค้นใจหนักที่อัดอั้นมานาน ๑๔ ปีไงเล่า ทรงต้องรีบเพราะทรงชราภาพมากแล้ว เกรงว่าจะล้างแค้นเขมรไม่ทันที่พวกมันฆ่าวรมันตายเรียบนั่นไง
       
       พอรบชนะเขมรเบ็ดเสร็จ ก็ทรงสร้างเมือง “อู่ทองมีชัย” (อุดงเมียนเชย ในวันนี้) เข้าใจว่าทรงตั้งชื่อนี้เพื่อข่มนาม “เสียมเรียบ” นั่นเอง เมืองนี้จำลองแบบไปจากอยุธยา และกลายเป็นเมืองหลวงเขมรนานถึง ๒๐๐ กว่าปี จนขณะนี้กลายเมืองมรดกโลกไปแล้ว
       
       พระเจ้าอู่ทองเป็นขอม ดังนั้นเมื่อมาอยุธยาก็ทรงพูดภาษาขอม จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคำราชาศัพท์ของเราวันนี้จึงเต็มไปด้วยภาษาขอมและสันสกฤต เป็นเพราะสืบทอดมาจากภาษาพระเจ้าอู่ทองนี่เอง ส่วนเขมรเป็นทาสขอมมานานก็ย่อมรับเอาภาษาขอมไปพูดด้วยเป็นธรรมดา อย่าลืมด้วยว่าภาษาขอมเองก็ยืมเอาคำ “ไต” ไปใช้มากพอกัน
       
       เทคโนโลยีการตัดหิน ลากหิน สลักหินนั้นชาวขอมพิมาย ลพบุรี ได้ฝึกปรือมานานก่อนสร้างนครวัด นครธม เช่น ปราสาทหินพิมาย ก็สร้างก่อนนครวัด โดยตัดหินมาจากอ.สีคิ้ว แล้วลากไปอีก ๑๐๐ กม. เพื่อไปสร้างที่พิมาย คนเขมรเย็บผ้ายังไม่เป็นแล้วจะตัดลากยกหินก้อนมหึมาเหล่านี้เป็นหรือ
       
       หลักฐานจากการสลักบนแผ่นหินระบุว่ากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เช่น สุริยวรมันที่ ๒ เป็นคนลพบุรี ชัยวรมันที่ ๕ เป็นคนพิมาย ส่วนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ชัยวรมันที่ ๗ ไม่ทราบว่ามาจากไหน ผมตอบให้เลยว่ามาจากพิมาย ด้วยหลักฐานผูกมัดมากหลายเกินจะกล่าวในที่นี้ ที่สำคัญคือทรงเป็นพุทธ สร้างนครธม และเปลี่ยนชาวพระนครให้มาเป็นพุทธจนถึงวันนี้
       
       อันคำว่า “นครธม” นั้น นักวิชาการฝรั่งแปลกันแบบเซ่อๆ ว่า “เมืองใหญ่” เพราะเขาวิจัยกันทึ่มๆ ว่า ทม นั้นเป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่ ซึ่งนักวิชาการไทยก็เชื่อตามกันแบบงมงาย แต่ผมขอแย้งหัวชนฝาว่า ธม นั้นคือ ธมฺ ในภาษาบาลี ซึ่งคือ ธรรม ในภาษาสันสกฤตนั่นเอง ดังนั้นนครธม คือ นครธรรม นั่นเอง
       
       มันเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จะสร้างวัดพุทธยักษ์แล้วตั้งชื่อซื้อบื้อว่า เมืองใหญ่ มันต้องเมืองธรรมแน่นอน อีกทั้งพิมาย ลพบุรี นั้นเป็นพุทธที่ใช้บาลี ก็เลยต้องกลายเป็นนครธมฺ
       
       ภาพสลักนูนต่ำที่ทหารละโว้ และสยามไปเดินสวนสนามต่อหน้าพระพักตร์นั้น สำคัญมาก คือ ทหารจากลพบุรี และสยามไปรบเพื่อกู้เมืองคืนจากพวกแขกจามที่มายึดพระนครนั่นเอง จากนั้นก็เดินสวนสนามเฉลิมฉลองชัยชนะ ทหารลพบุรีมีวินัยมาก เดินหน้าตรง ด้ามหอกทุกคนเรียงเป็นมุมแนวเดียวกัน แต่พอมาถึงกระบวนทหารสยาม มีคำสลักว่า “เนะ สยำกุก” (ประมาณว่า นี่ไงกองทัพสยาม) แต่ปรากฏว่า หันหน้ากันคนละทาง ปลายหอกก็ระเกะกะ นักวิชาการฝรั่งว่า ทหารสยามไม่มีวินัย แต่ผมว่า......
       
       ..ผมว่า ทหารลพบุรี ไม่มีคนรู้จักไม่รู้จะทักใคร ส่วนทหารสยาม เป็นคนพื้นเมือง มีญาติมิตรมายืนดูมาก ก็หันหน้าไปยิ้มแย้มทักทาย ก็เลยทำให้ดูไม่มีระเบียบ สรุปคือ สยำกุก เป็นคนพื้นเมืองพระนคร
       
       พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ที่ถือกันว่าเป็นผู้ให้กำเนิดนครวัดนั้น ฝรั่งว่ามาจากชวา (แต่บางคน เช่น ชาร์ล ไฮแอม ก็ว่า มาจาก ชามา หรือ แขกจาม) สำหรับผมเสนอว่า มาจากไชยา (ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย)
       
       ชื่อท่านก็บอกชัดๆ ว่า ไชยาวรมัน (พระผู้เป็นเจ้าจากเมืองไชยา) ศรีวิชัย กับทวาราวดี เป็นพี่น้องกัน มีไชยา ศรีธรรมราช นครปฐม ลพบุรี พิมาย ต่อกันเป็นห่วงโซ่ แล้วให้กำเนิดนครวัดนั่นแล รวมทั้งช่วยปกป้องกอบกู้ยามสงครามกับแขกจามทางตอนใต้ของเวียดนาม
       
       คำว่า วรมัน นักวิชาการฝรั่งก็ผิดอีก ไปแปลกันว่า โล่ (shield) แต่คำนี้ผมฟันธงว่าเป็นคำเดียวกับ พรหมมัน เพราะสยามเรานั้น พ กับ ว ใช้แทนกันได้ เช่น วิเศษ พิเศษ วิจิตร พิจิตร
       
       ชื่อปราสาทต่างๆ ในนครวัด นครธม ยังมีร่องรอยภาษาสยามแทบทุกแห่ง เช่น พิมานอากาศ นาคพัน ปักษีจำกรง เชื้อสายเทวดา เสาเปรต พระรูป ตาแก้ว ตาพรม
       
       หลักฐานเหตุผลรายละเอียดยังมีอีกมาก แต่วันนี้เกินโควตาหน้ากระดาษแล้ว ขอจบเพียงเท่านี้ พร้อมนี้ขอท้าโต้วาทีกับนักวิชาการโปรเขมรแบบซึ่งหน้าที่ไม่ลอบกัดกันแบบที่ผ่านมา ทั้งที่ผมเป็นวิศวกร ส่วนพวกท่านเป็น ดร. ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี กล้ารับคำท้าผมไหม ใครแพ้ให้ตัดหัวเสียประจานไว้ที่หน้าประตูนครวัด
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 02:58:09 PM »

ผมเคยฟังผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องประเทศไทย มีหลายเรื่ิองที่เล่าไม่ได้แต่ก็มีบางเรื่องที่เล่าได้ ท่านบอกว่านครวัดนครธม และอีกหลายๆที่ รอบประเทศไทย  สร้างขึ้นใน

สมัย อาณาจักรศรีวิชัย หรือพระองค์ดำ(จตุคามรามเทพ) Grin
บันทึกการเข้า

pranburi
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 226
ออฟไลน์

กระทู้: 869


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 03:02:52 PM »

มีอีกหลายเรื่องที่ยิ่งค้นคว้าหาคำตอบ กลับไม่ใช่ประวัติศาสตร์ที่เรียนมา
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 03:21:38 PM »

เห็นมั้ยฝรั่งมายืนยันแล้ว ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 03:25:25 PM »

น่าสนใจมาก
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 03:40:18 PM »

นครวัดสร้างโดยเผ่าอะไร มีคนฟื้นขึ้นมาให้ถกกันแล้ว

แต่ที่เป็นความจริงโดยไม่ต้องถก คือนครวัด"ล่มสลาย"เพราะเงื้อมมือสยามครับ เล่นฆ่าล้างผลาญเสียหลายยก กวาดต้อนเชลยมาทีละเป็นแสนๆอีก2ยก แถมยังทิ้ง"นายแบน"ไว้เป็นข้าหลวง...รายนี้ฆ่าล้างผลาญอย่างต่อเนื่องมาอีกหลายปี ลูกหลานสืบตำแหน่งข้าหลวงครองครึ่งประเทศส่วนที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำแล้วคอยรีดส่วนส่งมาให้สยามอีก100ปีเกินๆ

ประวัติศาสตร์ไทยไม่ยอมให้เด็กๆของเราได้เรียนเหมือนกัน  อ๋อย




บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 03:42:34 PM »

ที่แสบที่สุดคือ....

ชั้นโหลนยังอุตส่าห์ตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาไว้เป็นคู่กัดกับฮุนเซนอีก  ขำก๊าก




ทายาทของนายแบนพออพยพมาอยู่สยามแล้วเค้าใช้นามสกุลสกุล"อภัยวงศ์"กันหน่ะ  คิก คิก  ขำก๊าก  คิก คิก
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
R2D2
ท้าเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
Hero Member
*****

คะแนน 366
ออฟไลน์

กระทู้: 6023



« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 03:57:35 PM »

นครวัด,ปีรามิด,หอเอนปิซ่า,สโตนเฮ้นท์,โคลีเซี่ยม,..ฯลฯ อันไหนยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะอะไรครับ
บันทึกการเข้า
แปจีหล่อ
Hero Member
*****

คะแนน 6324
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8251



« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:02:30 PM »

เดี๋ยวเค้าก็บ้าคลั่งออกมาเผาสถานทูตโรงแรมกันอีกหรอกครับ ๕๕๕
บันทึกการเข้า

สีกากีเป็นสีของดิน ข้าราชการควรต้องติดดิน ออกพื้นที่รับฟังปัญหาของชาวบ้าน ข้าราชการคือ ข้าที่ทำกิจการต่างๆให้กับพระราชา เครื่องแบบข้าราชการสีกากีคือสีแห่งข้ารับใช้แผ่นดิน
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:05:26 PM »

ที่แสบที่สุดคือ....

ชั้นโหลนยังอุตส่าห์ตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาไว้เป็นคู่กัดกับฮุนเซนอีก  ขำก๊าก

ทายาทของนายแบนพออพยพมาอยู่สยามแล้วเค้าใช้นามสกุลสกุล"อภัยวงศ์"กันหน่ะ  คิก คิก  ขำก๊าก  คิก คิก

นายสมชายเอามาขยายฯ ให้ท่านอื่นอ่านจากที่คุณจ้าวขึ้นเรื่องเอาไว้ครับ... ตามตัวน้ำเงินข้างล่าง...
ที่มา... http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=1343.0

http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0602010949

วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 11 ศิลปวัฒนธรรม
ไกรฤกษ์ นานา
วารสาร "นักล่าอาณานิคม" ตีแผ่สัญญารัชกาลที่ ๕ ทำไมสยามสละ "นครวัด"?

เรื่องของเมืองเขมรที่เกี่ยวข้องกับสยาม ดูผิวเผินเหมือนจบลงตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ การ
ที่สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ พระราชบุตรบุญธรรมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงตัดสินพระทัยขอความคุ้มครองจากฝรั่งเศส และตัดความสัมพันธ์กับทางกรุงเทพฯ อย่างไม่เหลือเยื่อใย
การโยกย้ายเมืองหลวงเก่าที่สยามตั้งให้จากอุดงมีชัยมาเป็นพนมเปญ จบลงด้วยการที่สยามเสียดินแดน
เขมรส่วนนอกในรัชกาลนั้น พงศาวดารไทยก็แทบจะไม่กล่าวถึงราชสำนักเขมรอีกเลย จวบจนปี พ.ศ. ๒๔๔๙
เหตุการณ์บางอย่างกดดันให้ครอบครัวขุนนางสยามสายสกุลอภัยวงศ์ต้องอพยพออกมาจากเมืองพระตะบอง
และสยามจำต้องสละเมืองเสียมราฐ อันเป็นที่ตั้งของมรดกโลกคือนครวัดอย่างอาลัยอาวรณ์
ซึ่งทั้งหมดมาสิ้นสุดเอาเมื่อปลายรัชกาลที่ ๕ นี่เอง เกิดอะไรขึ้นกับประวัติศาสตร์อันสับสนช่วงนั้น?
บทความนี้คือองค์ความรู้ที่ขาดหายไป

เมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้วนับถึงปีนี้ คือวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ (นับอย่างตะวันตก คือปี ค.ศ. ๑๙๐๖)
สยามและฝรั่งเศสตกลงทำสัญญาฉบับหนึ่งร่วมกัน ใจความสำคัญในสัญญามีผลให้สยามได้จังหวัดตราดคืน
แต่ต้องสูญเสียเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมาในวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙
สัญญาฉบับนี้ได้รับการอนุมัติ (หรือที่เรียกให้สัตยาบัน-ผู้เขียน) โดยรัฐสภาฝรั่งเศส
ครั้นต่อมาในวันที่ ๖ กรกฎาคม ปีเดียวกัน ทางการของทั้งสองฝ่ายจึงรับและส่งคืนดินแดนให้แก่กัน
อย่างเป็นทางการ อันเป็นสาเหตุให้ "นครวัด" ซึ่งอยู่ ณ เมืองเสียมราฐต้องหลุดลอยไปด้วย

เกิดอะไรขึ้นในปีนั้น ที่ทำให้มีการแลกเปลี่ยนดินแดนกัน? และสัญญาฉบับนี้สำคัญอย่างไรถึงขนาดที่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปลงพระนามกำกับถึงกรุงปารีส?
เป็นเหตุการณ์ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง และเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลำดับเรื่องราวก่อน-หลังทัน
มีความจำเป็นต้องอธิบายที่มาของดินแดนเจ้าปัญหาตั้งแต่ต้นดังนี้

พงศาวดารเขมร
ในประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์การเมืองของเขมรที่เกี่ยวข้องกับสยาม เริ่มประมาณสมัยอยุธยาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖
(ต่อไปจะใช้ปี ค.ศ. เพื่อให้สอดคล้องกับเอกสารฝรั่งเศส-ผู้เขียน) เมื่อนักองค์จัน (Ang Chan)
กษัตริย์เขมรผู้เข้มแข็งและมีอำนาจที่สุดใน "ยุคหลังนครวัด" รุกล้ำเข้ามาหลายครั้ง
และกลายเป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ต่อมาแม้เมื่อสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์องค์นั้นแล้ว
ความกดดันจากเขมรในช่วงดังกล่าวเกิดขึ้นระยะเดียวกับที่สยามเผชิญกับการคุกคามของพม่า
จนต้องเสียกรุงครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๕๖๙ แต่ภายหลังที่พระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung)
กษัตริย์พม่าสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. ๑๕๘๑ อำนาจพม่าที่มีต่อสยามก็เสื่อมคลายลง
และเป็นโอกาสให้สยามได้หันมาต่อสู้อย่างเต็มที่ต่อการคุกคามจากเขมร โดยในปี ค.ศ. ๑๕๙๓
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงจัดทัพไปตีเขมรยึดได้เสียมราฐ (Siemreab) จำปาศักดิ์
(Champassak-ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของลาว และเคยเป็นศูนย์อำนาจสำคัญของเขมรโบราณ-ผู้เขียน)
รวมทั้งพระตะบอง (Battambang) และโพธิสัตว์ (Pursat)

สรุปได้ว่า เหตุการณ์ช่วงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระตะบองได้กลายเป็นศูนย์กลางของอิทธิพลของสยาม
และได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙
ปัญหาเขมรกลายเป็นชนวนสำคัญของการแข่งขันทางอำนาจระหว่างสยามกับญวน และดินแดนภาคตะวันตก
ของกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "พระตะบอง" ก็กลายมาเป็นฐานปฏิบัติการของสยามสำหรับการเข้าไป
มีบทบาทในเขมร(๘)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก)
เสด็จออกไปปราบกบฏเมืองเขมรปี ค.ศ. ๑๗๘๐ ไม่ทันไรก็ต้องเสด็จกลับเข้ามาระงับยุคเข็ญในกรุงธนบุรี
เมื่อกองทัพสยามกลับมาแล้ว ประเทศเขมรก็ตกอยู่ในอำนาจของเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) ผู้สำเร็จราชการเมืองเขมร
และสมเด็จเจ้าพระยา (ซู) ขุนนางเขมร สมเด็จ เจ้าพระยา (ซู) ลอบมีหนังสือเข้ามาทูลขอพระยายมราช (แบน)
ผู้เป็นเพื่อนกันให้ออกไปปราบพวกกบฏที่เหลืออยู่ พระยายมราช (แบน) จึงยกทัพไปยังเมืองพระตะบองเป็นครั้งแรก
และได้ปะทะกับทัพเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) จับตัวได้แล้วฆ่าเสีย แล้วพระยายมราช (แบน)
ก็ทำการในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการประเทศเขมรไปพลางๆ

ต่อมาประเทศเขมรก็แตกแยกกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ประจวบกับมีสงครามแขกจามจะยกมาตีเขมร
พระยายมราช (แบน) เห็นจะสู้ไม่ได้จึงพาเจ้านายเชื้อพระวงศ์เขมรที่เหลืออยู่มีนักองค์เอง
เจ้าชายองค์น้อยมีพระชันษาเพียง ๑๐ ปี อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในกรุงเทพฯ รัชกาลที่ ๑
ได้ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรม นอกจากนั้นเจ้าหญิงซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของนักองค์เอง
อีก ๒ องค์ คือ นักองค์อีและนักองค์เภานั้น สมเด็จพระอนุชา ธิราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)
ทรงรับไปเลี้ยงเป็นพระสนมเอก ส่วนพระยายมราช (แบน) ได้รับแต่งตั้งจากความดีความชอบเป็น
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ต้นตระกูลอภัยวงศ์ นับแต่นั้น

เมื่ออำนาจแขกจามในเขมรเสื่อมลง เหล่าขุน นางจึงได้ร้องขอพระราชทานรัชทายาท คือนักองค์เอง
ออกไปครองประเทศเขมร รัชกาลที่ ๑ ยังไม่ทรงอนุญาตเพราะทรงเห็นว่านักองค์เองยังทรงพระเยาว์อยู่มาก
เกรงจะมีอันตราย แต่ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ออกไปรั้งราชการกรุงกัมพูชาอยู่
ณ เมืองอุดงฤาชัย ตั้งแต่ปีมะโรงฉศก ตรงกับปี ค.ศ. ๑๗๘๔ ต่อมาเมื่อนักองค์เองทรงเจริญพระชันษา
และได้ทรงผนวชแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกมาครองเขมรสืบทอดต่อมา โดยได้รับพระราชทานนามว่า
สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี(๔)

จากการที่สมาชิกในราชวงศ์เขมรเข้ามาสมานสัมพันธ์กับพระราชวงศ์จักรีทั้งทางตรงคือนักองค์อีและนักองค์เภา
ได้เป็นพระสนมเอกในกรมพระราชวังบวรฯ และทางอ้อมคือนักองค์เองได้รับสถาปนาเป็นพระราชบุตรบุญธรรม
ในรัชกาลที่ ๑ ทำให้เชื้อพระวงศ์เขมรถือเป็นประเพณีที่จะจัดส่งกุลบุตรกุลธิดาเข้ามาฝากตัวในราชสำนักกรุงเทพฯ
และพระเจ้าแผ่นดินไทยได้กลายเป็นผู้อุปถัมภ์และผู้แต่งตั้งกษัตริย์เขมรนับแต่นั้น การเมืองที่เกิดจาก
ระบบพ่อปกครองลูกได้ผูกมัดจิตใจให้เกิดความจงรักภักดีระหว่างสองราชอาณาจักรตลอดมา
กษัตริย์เขมรที่เคยเสด็จมาพำนักและเจริญพระชันษาในกรุงเทพฯ สืบสันตติวงศ์ต่อกันมาในระยะนั้น
มีสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี (นักองค์เอง) สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง)
สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (นักองค์ราชาวดี) และสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์)


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:06:35 PM »

ต่อครับ...

ประเพณี "กินเมือง"
กับสายสกุลอภัยวงศ์

การแต่งตั้งเจ้าเมืองในสมัยโบราณ ที่สืบเนื่องกันลงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์นี้
ปรากฏว่าได้แต่งตั้งกันมาแล้วแต่ความเหมาะสมของบุคคล และสภาพความเป็นไปของท้องถิ่น
แต่ส่วนมากแล้วพระเจ้าแผ่นดินมักจะทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ หรือไม่ก็ข้าราชการคนสำคัญออกไปเป็น
เจ้าเมืองตามหัวเมืองน้อยใหญ่ ให้มีอำนาจบังคับบัญชาสิทธิ์ขาดแทนพระองค์ ผู้ได้รับแต่งตั้งมักเป็น
ผู้ที่เข้มแข็งในการรบทัพจับศึก จึงเห็นได้ว่าเจ้าเมืองเก่าๆ มีชื่อเป็นนายทหารแทบทั้งสิ้น เช่น
เจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นพระยาคำแหงสงคราม เป็นต้น

ครั้นต่อมา เมื่อการศึกสงครามคลายความจำเป็นและห่างออกไปตามกาลสมัย
ผู้ที่ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองต่อมา มักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการหาผลประโยชน์ให้แก่
ท้องพระคลังหลวง และเป็นผู้ที่ไพร่บ้านพลเมืองรักใคร่นับถือเป็นสำคัญ ระบบการตั้งเจ้าเมืองแบบนี้
เรียกประเพณีกินเมือง

นอกจากนั้นในสมัยก่อนยังมีหัวเมืองอีกประเภทหนึ่งเรียกหัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองชนต่างชาติต่างภาษา
อยู่ชายแดนติดต่อกับประเทศอื่น หัวเมืองเหล่านี้มีเจ้าเมืองซึ่งเป็นท้าวพระยาหรือเจ้านายของชนชาตินั้นๆ
เป็นผู้ปกครองตามจารีตประเพณีของท้องถิ่น แต่ผู้ที่เป็นเจ้าเมืองนั้น จะต้องบอกเข้ามาทูลขอให้
พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง และเจ้าเมืองนั้นจะต้องถวายต้นไม้ทองเงินกับเครื่องราชบรรณาการมีกำหนด ๓ ปีต่อครั้ง
มิฉะนั้นพระเจ้าแผ่นดินก็จะทรงแต่งตั้งขุนนางจากส่วนกลางออกไปปกครองเช่นในกรณีของหัวเมืองเขมร
ที่กำลังกล่าวถึงนี้ รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางไทยออกไปกินเมือง(๖)

เพื่อตอบแทนความดีความชอบแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ในฐานะที่ประเทศเขมรเรียบร้อยก็ได้อาศัย
น้ำพักน้ำแรงของท่านผู้นี้อยู่มาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงได้ทรงขอเมืองพระ ตะบองกับเมืองเสียมราฐ
ให้พระยาอภัยภูเบศร์เป็น บำเหน็จรางวัลครอบครอง และให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ โดยตรง เพื่อคอยคุ้มครอง
ประเทศเขมรอย่างใกล้ชิด สมเด็จพระนารายณ์ฯ (นักองค์เอง) ก็ทรงยินดียกเมืองพระตะบองกับเสียมราฐ
รวมทั้งนครวัดและนครธม ถวายตามพระราชประสงค์ เขมรจึงถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนตั้งแต่นั้นมา คือ
ส่วนที่ขึ้นกับสยามโดย ตรงเรียกว่า "เขมรส่วนใน" ประกอบด้วยหัวเมืองหลักๆ คือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ
โปริสาท และอุดงฤาไชย มีเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) เป็นเจ้าเมือง ส่วนที่เหลือเรียก "เขมรส่วนนอก" คือ
หัวเมืองตั้งแต่พนมเปญไปจนจรดเขตแดนภาคตะวันออกติดชายแดนญวน มีเจ้าเขมรปกครองต่างหาก
อนึ่ง ประเพณีกินเมืองสิ้นสุดลงภายหลังปี ค.ศ. ๑๘๙๒ (พ.ศ. ๒๔๓๕) เมื่อเกิดการปฏิรูปการปกครองขึ้น

การกินเมืองของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) มีลักษณะพิเศษคือ ถึงแม้จะขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
แต่เพราะเป็นเมืองเขมร จึงโปรดให้ปกครองกันเองตามประเพณีเขมร และให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)
เก็บภาษีอากรใช้จ่ายในการปกครองโดยลำพัง ตำแหน่งเจ้าเมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครอง
เขมรส่วนในจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลูกหลานเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ต้นสกุลอภัยวงศ์ตลอดมา
รวมเวลา ๑๑๒ ปี (ค.ศ. ๑๗๙๔-๑๙๐๖) นับได้ ๕ รัชกาล มีชื่อเจ้าเมืองสืบกันลงมาดังนี้

เจ้าเมืองคนที่ ๑ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)

คนที่ ๒ พระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) (เดิมชื่อพระยาพิบูลย์ราช ชื่อแบนเหมือนบิดา)

คนที่ ๓ พระยาอภัยภูเบศร์ (รส)

คนที่ ๔ พระยาอภัยภูเบศร์ (เชด)

คนที่ ๕ เจ้าองค์อิ่ม พระมหาอุปราช

คนที่ ๖ พระยาอภัยภูเบศร์ (ม่วง)

คนที่ ๗ เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย)

คนที่ ๘ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม) (เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย ก่อนคืนดินแดนให้ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๖)(๓)

ฝรั่งเศสเล็งเห็นความสำคัญของดินแดนเขมรความสำเร็จของเซอร์จอห์น เบาริ่ง (Sir John Bowring)
ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีอังกฤษในการทำสัญญาเบาริ่งกับสยามในปี ค.ศ. ๑๘๕๕ สร้างความหนักใจ
ให้ฝรั่งเศส เพราะฝรั่งเศสก็เป็นหนึ่งในผู้นำลัทธิจักรวรรดินิยมเช่นเดียวกับอังกฤษ ฝรั่งเศสไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้
จึงส่งมงติญี (Monsieur de Montigny) ทูตของตนเข้ามายังราชสำนักสยามบ้างในปี ค.ศ. ๑๘๕๖

ฝรั่งเศสพุ่งเป้าหมายอย่างรวดเร็วไปยังราชอาณา จักรเขมร ความทะเยอทะยานด้านอาณานิคมของฝรั่งเศส
ปรากฏชัดเจนขึ้น เมื่อบรรดานักการเมืองของฝรั่งเศสเข้าใจถึงความสำคัญของแม่น้ำโขง โดยหวังที่จะใช้แม่น้ำนี้
เป็นเส้นทางใหม่เข้าสู่เมืองจีนและทิเบตอันอุดมสมบูรณ์และเป็นดินแดนในฝันของบรรดามหาอำนาจในยุโรป
ความมั่งคั่งของทะเลสาบเขมร และแหล่งจับปลาขนาดใหญ่ดึงดูดความสนใจของฝรั่งเศสมากขึ้นเป็นลำดับ
เพราะมองเห็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะได้จากเขมร นอกจากชัยภูมิอันล้ำเลิศของเขมรที่ตั้งอยู่
ปากแม่น้ำโขงแล้ว เขมรยังมีทรัพยากรป่าไม้และแหล่งอัญมณีอันประเมินค่ามิได้ จำพวกพลอย ไพลินและนิล
จำนวนมหาศาล ซึ่งจะนำความมั่งคั่งร่ำรวยมาสู่ผู้เป็นเจ้าของ

ก่อนหน้านั้นเขมรเป็นอาณาจักรกว้างใหญ่กอปรด้วยเดชานุภาพ มาบัดนี้ลดอำนาจลงเหลือเพียงหัวเมืองไม่กี่แห่ง
ซึ่งทั้งญวนและสยามต่างก็แย่งชิงกันครอบครองช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ภายหลังที่ฝรั่งเศสรบชนะญวนจึงยึด
โคชินไชนา (ญวนใต้) ไป ฝ่ายสยามก็ได้เมืองมโนไพร ท่าราชปริวัตร พระตะบอง และเสียมราฐรวมทั้งนครวัด(๕)

ราชอาณาจักรเขมรจึงเป็นเพียง "รัฐกันชน" ระหว่างชาติทั้งสอง รัฐกันชนนี้เองจึงเป็นที่ฝรั่งเศสหมายมั่นที่จะได้ไป
ทั้งนี้เพราะต้องการสถาปนาโคชินไชนาให้สมบูรณ์ ซึ่งก็ใกล้จะเป็นของฝรั่งเศสในไม่ช้าและจะได้ใช้เป็นฐานสำหรับ
ขยายอิทธิพลให้กว้างไกลยิ่งขึ้นไปทางเหนือ

อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับวันที่ ๑๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๕๖ แทนที่จะกระชับสัมพันธไมตรีระหว่าง
สยามกับฝรั่งเศส กลับเปิดโอกาสให้ฝรั่งเศสยึดกรุงเทพฯ เป็นที่มั่น อันเป็นที่ที่ฝรั่งเศสจะใช้ก่อความเดือดร้อน
และความระแวงสงสัยแก่พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ดังที่ทรงหวาดระแวงอยู่แล้ว ทั้งยังเปิดโอกาสให้
ฝรั่งเศสเข้าใจถึงผลประโยชน์ อันจะเกิดจากการแผ่อำนาจไปยังราชอาณาจักรเขมร ซึ่งบังเอิญโชคร้ายที่ตกเป็น
ประเทศราชของสยาม การอ้างสิทธิ์ของฝรั่งเศสทำให้สยามลุกขึ้นต่อต้าน ด้วยสยามเป็นชาติที่หวงแหนสิทธิ
ความเป็นเจ้าอธิราชของตน และเคร่งครัดต่อการเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนที่ตนครอบครองอยู่(๕)


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:07:34 PM »

ต่อครับ...

รักสามเส้า
สยาม-เขมร-ฝรั่งเศส สมัย ร.๔

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงตระหนักถึงพิษภัยจากการคุกคามของฝรั่งเศส
มีมากกว่าอังกฤษ ในขณะที่พระองค์ทรงแสวง หาหนทางที่จะป้องกันมิให้ฝรั่งเศสคุกคามสยามประเทศ
พระองค์ก็ยังต้องทรงพะว้าพะวังกับการกีดขวางมิให้เขมรหันไปคบค้ากับฝรั่งเศส ทั้งๆ ที่รู้ว่าจะไม่ทรง
สามารถต้านทานความดื้อดึงของฝรั่งเศสได้ ท่าทีของสยามในยุคนี้ดำเนินอยู่แบบรักสามเส้าคือ
ไม่มีใครสมหวังได้ทั้งหมด กล่าวคือถึงแม้ว่ารัชกาลที่ ๔ จะทรงรักษาสัมพันธภาพกับฝรั่งเศสไว้ได้
พระองค์ก็ต้องทรงยอมให้ฝรั่งเศสเฉือนประเทศเขมรออกไปจากขอบขัณฑสีมาด้วยความขมขื่นพระทัย

เมื่อสิ้นสมเด็จพระหริรักษ์ฯ ในปี ค.ศ. ๑๘๖๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาพระนโรดมฯ
ผู้ซึ่งเติบโตในกรุงเทพฯ ให้ออกไปครองเมืองเขมร พระราชทานพระนามว่าสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์
กรุงปารีสเห็นเป็นจังหวะดีจึงส่งนายพลกรองดิแยร์เข้ามาขอเฝ้ากษัตริย์เขมรองค์ใหม่ แล้วเลยถือโอกาส
แย้มให้เห็นผลประโยชน์ที่เขมรจะได้รับถ้าทำสัญญากับฝรั่งเศส ข่าวนี้รั่วไหลเข้ามายังกรุงเทพฯ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงเล็งเห็นถึงอันตรายที่เมืองประเทศราชเขมรอันเป็นที่รัก
กำลังใกล้ที่จะแยก ตัวออกไปในไม่ช้า

ในปีเดียวกันนั้นเอง มีพระราชดำริให้รื้อปราสาทเขมร ๒ องค์ เข้ามาไว้ในกรุงเทพฯ
เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการรำลึกถึงตลอดไป ทรงกำหนดให้ขนย้ายมาไว้ที่เขามหาสวรรค์องค์หนึ่ง
และที่วัดปทุมวันอีกองค์หนึ่ง ทรงคัดเลือกปราสาทตาพรหมอันงดงามเป็นองค์แรกแต่ก็ไม่สำเร็จ
บังเอิญเกิดอาเพศมีกองทหารเขมรโบราณฮือออกมาจากป่าฆ่าขุนนางไทยผู้ควบคุมการรื้อถอนจนเสียชีวิต
จึงโปรดให้ระงับแผนทั้งหมดทันที แล้วโปรดให้จำลองปราสาทนครวัดอย่างย่อ เข้ามาสร้างไว้แทนภายใน
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

กระทั่งปี ค.ศ. ๑๘๖๓ สมเด็จพระนโรดมฯ ทรงยอมทำสัญญาอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของรัฐบาลกรุงปารีส
ฝ่ายฝรั่งเศสประกาศว่าเป็นไปโดยความสมัครใจของสมเด็จพระนโรดมฯ เอง เพราะอยู่ภายใต้อารักขาของ
สยามไม่ผาสุก ในขณะที่ตัวสมเด็จพระนโรดมฯ ทรงส่งพระราชสาส์นเข้ามากราบทูลว่า ถูกแม่ทัพฝรั่งเศส
บีบบังคับให้ทำสัญญาฉบับนี้ นายเดวิด แชนด์ เลอร์ ผู้เชี่ยวชาญพงศาวดารเขมรบันทึกเพิ่มเติมอีกว่า
สมเด็จพระนโรดมฯ ทรงยอมยกกรุงกัมพูชาให้อยู่ในความคุ้มครองของฝรั่ง เศส เพื่อปกป้องความมั่นคงของ
ราชบัลลังก์และพิทักษ์อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองของพระองค์ แต่ก็ระบุไว้อย่างสงสัยว่า
ไม่มีใครรู้อย่างแน่ชัดถึงพระราชประสงค์ที่แท้จริงในการตัดสินพระทัยครั้งนี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์ที่จะรักษาฐานะเจ้าอธิราชอันชอบธรรมของพระองค์ไว้
เพื่อผูกมัดราชสำนักเขมรไว้กับสยามต่อไป จึงได้ทำ "สัญญาลับ" กับเขมรขึ้นฉบับหนึ่ง
ในวันที่ ๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๖๓ ในสัญญานั้น ฝ่ายสยามอ้างสิทธิ์ในการประกอบพิธีราชาภิเษกกษัตริย์เขมร
ซึ่งในขณะนั้นพระนโรดมฯ ยังไม่ได้รับการราชาภิเษก แต่ฝรั่งเศสก็หาทางขัดขวางไว้เช่นเคย ในที่สุดฝ่ายไทย
ก็ต้องยอมให้พระนโรดมฯ ทำพิธีราชาภิเษกที่เมืองอุดงมีชัยในเขมรแทนที่กรุงเทพฯ

กงสุลฝรั่งเศสชื่อนายโอบาเรต์ (M. Aubaret) พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้สัญญาลับฉบับนี้เป็นโมฆะ
เพื่อให้รวดเร็วขึ้นฝรั่งเศสส่งเรือรบชื่อ "มิตราย" เข้ามาข่มขู่ในน่านน้ำเจ้าพระยา ในที่สุดเจ้าพระยากลาโหม
(ช่วง บุนนาค) จำยอมลงนามในสัญญากับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ค.ศ. ๑๘๖๕ สาระสำคัญ
มีเพียง ๔ ข้อ แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เขมรและสยามขาดกันโดยเด็ดขาด คือ

๑. พระเจ้าแผ่นดินไทยยอมรับว่าเขมรตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส

๒. สัญญาลับระหว่างสยามกับเขมรเป็นโมฆะ

๓. อาณาจักรเขมรเป็นอิสระ อยู่ระหว่างดินแดนในครอบครองของฝรั่งเศสและสยาม

๔. เขตแดน "เมืองบัตบอง นครเสียมราบ" และเมืองลาวของสยาม ซึ่งติดต่อเขตแดนเขมร
ฝรั่งเศสยอมรับให้คงอยู่กับสยามต่อไป(๕)

นับแต่นั้นมาฝรั่งเศสก็เดินหน้าขยายอำนาจในอินโดจีนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมีเขมรเป็นที่มั่นใหม่
และฐานส่งกำลังบำรุงอันแข็งแกร่ง ในขณะที่ฝ่ายสยามหันหลังกลับไปล้อมรั้วเมืองพระตะบอง
และเสียมราฐให้มั่นคง เพียงแค่รักษากรรมสิทธิ์ของขุนนางสยามเอาไว้ แต่ก็แทบจะไร้ความหมาย
ในระหว่างนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคตกะทันหัน ในปี ค.ศ. ๑๘๖๘ ภายหลังเสด็จไป
ทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ศักยภาพของสยามเหนือเขมรเข้าสู่ยุคอ่อนแอ
แบบไม่ทันตั้งตัวจนแทบจะเอาตัวไม่รอดเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสวยราชย์
ขณะพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา พระองค์ทรงไม่แข็งแรงพอที่จะเป็นเสาหลักให้หัวเมืองประเทศราช
ยึดเหนี่ยวได้เหมือนรัชกาลก่อนๆ

ความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ราชสำนักขาดสะบั้นลงแบบหักลำ เขมรส่วนในบัดนี้ตกอยู่ในความดูแลของครอบครัว
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์โดยสิ้นเชิง ตามกติกาเดิมสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ทุกฝ่ายยืนยันที่จะเคารพต่อไป
แต่ท่ามกลางบรรยากาศอึมครึมเต็มที

ความตกลงฉันมิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศส กดดันให้สยามหาทางออกเรื่องเมืองเขมรในสมัยรัชกาลที่ ๕
ฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่น่ากลัว และแสดงความก้าวร้าวเชิงนโยบายอย่างไม่ลดละ

ภายหลังการเสด็จประพาสยุโรป ในรัชกาลที่ ๕ ครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๘๙๗ สถานภาพของสยาม
เริ่มเป็นที่ยอมรับของผู้นำยุโรปชั้นแนวหน้ามากขึ้น แต่ชั่วเวลาไม่ถึง ๗ ปี หลังจากนั้นเมื่อปรากฏว่า
อิทธิพลของมหาอำนาจขั้วใหม่ คือรัสเซียและเยอรมนีเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคแถบนี้ อังกฤษ-ฝรั่งเศส
จึงหาวิธี ปรองดองกันเพื่อกีดกันกระแสนิยมของชาติยุโรปอื่นๆ ออกไป

Anglo-French Entente หรือบางทีเรียก Entente Cordiale 1904 เป็นความตกลงระหว่าง
อังกฤษกับฝรั่งเศส ภายหลังจากที่ทั้งสองมหาอำนาจตระหนักว่าผลประโยชน์ของตน
เร่งเร้าให้ต่างฝ่ายต่างต้องสามัคคีกันแทนที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อกันดังที่แล้วๆ มา
โดยมีเจตนารมณ์แห่งการประนีประนอม เพื่อขจัดปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับอียิปต์ โมร็อกโก
แอฟริกาตะวันตก มาดากัสการ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือประเทศสยาม(๗)

ท่ามกลางบรรยากาศของความสมานฉันท์ ซึ่งเป็นอานิสงส์ที่ได้มาจากการที่ฝรั่งเศสเองก็ต้องการ
ปรับความเข้าใจกับอังกฤษ ตามแนวคิดของความตกลงฉันมิตรนั่นเอง ในปีเดียวกันนั้นรัฐบาลสยาม
ก็สามารถตกลงกับทางฝรั่งเศส เพื่อผ่อนปรนความเสียเปรียบบางประการโดยเฉพาะเรื่องสิทธิสภาพ
นอกอาณาเขต และการให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี อันเป็นหอกข้างแคร่ของฝ่ายไทยตั้งแต่
อนุสัญญา ฉบับ ร.ศ. ๑๑๒ ถูกบังคับใช้เป็นต้นมา ข้อผ่อนผันนี้เรียกอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔
ฝรั่งเศสเร่งรัดอนุสัญญาฉบับนี้ให้เสร็จเร็วขึ้น ก็เพื่อรีบจัดโซนแนวชายแดนกับอังกฤษให้เป็นสัดส่วน
โดยเร็วตามข้อตกลงอังกฤษ-ฝรั่งเศส

ทว่าอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ ก็ยังมีจุดอ่อนเป็นข้อผูกมัดที่ฝ่ายไทยกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอยู่ดี
กล่าวคือ ฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากจันทบุรี แต่มีข้อแม้ว่าจะสามารถไปตั้งค่ายใหม่ไว้ที่ตราดแทน
นอกจากนั้นยังแสดงว่า ฝรั่งเศสเองก็ยังมีแผนการที่จะคงไว้ซึ่งอิทธิพลของตนในเขตแดนเขมรของไทยต่อไป
เช่น การเรียกร้องสิทธิ์ที่จะสร้างทางรถไฟ เส้นทางฮานอย-พนมเปญ-พระตะบอง และร้องขอสิทธิ์ในการ
บังคับบัญชาตำรวจท้องที่ ในเขตเขมรส่วนในซึ่งที่จริงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของสยาม

ความตั้งใจของฝรั่งเศสในการครอบครองเขมรส่วนที่เหลือ กดดันให้สยามผ่อนปรนอภิสิทธิ์เหนือเขตปกครองพิเศษ
พระตะบองและเสียมราฐ ฝรั่งเศสเกรงว่าการผูกขาดของสยามแต่เพียงผู้เดียวย่อมเป็นตัวถ่วงความเจริญ
มิให้อาณาจักรอินโดจีนของฝรั่งเศสครบถ้วนสมบูรณ์ได้ จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะยกเลิกเอกสิทธิ์พิเศษของ
ขุนนางตระกูลอภัยวงศ์ในรัชสมัยนี้


มีต่อครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:08:27 PM »

ต่อครับ...

เอกสารที่จิตร ภูมิศักดิ์ ตามหา

จิตร ภูมิศักดิ์ นักประวัติศาสตร์ไทยวิจารณ์ประเพณีกินเมืองสมัยรัตนโกสินทร์
ในหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทยเขียนพาดพิงถึงเขตปกครองพิเศษด้านพระตะบองและเสียมราฐเอาไว้
ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเนื้อหาน่ารู้ จึงนำมาเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

"การแบ่งสัดส่วนที่ดินยกให้แก่ข้าราชบริพารครอบครอง เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ครั้งยิ่งใหญ่
ในประวัติศาสตร์ไทย ก็คือ การยกเขตแดนเมืองพระตะบองและเสียมราฐให้แก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๗ ครั้งนั้นทรงพระราชดำริว่า เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)
ได้รั้งราชการกรุงกัมพูชาอยู่ช้านาน มีบำเหน็จความชอบแต่มิใช่พวกนักองค์เอง ซึ่งเป็นเจ้ากรุงกัมพูชาขึ้นใหม่
จึงมีพระราชดำรัสขอเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ให้เจ้า พระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) เป็นผู้สำเร็จราชการขึ้นตรงต่อ
กรุงเทพฯ นักองค์เองก็ยินดีถวายตามพระราชประสงค์ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) จึงได้เป็นผู้สำเร็จราชการ
เมืองพระตะบอง และเป็นต้นตระกูลวงศ์เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม) ซึ่งได้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองสืบมา

นี่เป็นหลักฐานเพียงบางส่วนเท่าที่หาได้จากเอกสารอันกระท่อนกระแท่นของเรา และก็เพราะเรามีเอกสาร
เหลืออยู่น้อยนี้เอง จึงทำให้เรามองไม่ค่อยเห็นกระจ่างชัดนักว่าเราได้เคยมีการมอบที่ดินให้แก่กันจริงจัง
ในครั้งใดเท่าใด และบางทีก็มองไม่เห็นว่าจะมอบให้กันอย่างไร แต่อย่างไรก็ดี ถ้าหากเราจะหันไปมองดู
ในประวัติศาสตร์ต่างประเทศที่มีการเก็บรักษาเอกสารไว้อย่างครบถ้วน เราก็จะมองเห็นได้ชัดขึ้น"(๒)

ความรู้ที่ได้จากสำนวนนี้ คือ

๑. การครอบครองพระตะบองและเสียมราฐของขุนนางไทย เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ครั้งยิ่งใหญ่
ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ตรงนี้เราไม่เคยทราบมาก่อน

๒. ข้อมูลเชิงลึกในเอกสารบ้านเราหาอ่านไม่ค่อยได้ ทำให้ต้องวิเคราะห์หาความจริงเอาเอง
ในขณะที่เอกสารจากต่างประเทศเปิดกว้างมากกว่า แต่ก็หาอ่านลำบากอยู่ดี

วารสารร่วมสมัยที่พบต่อไปนี้ จึงน่าจะเป็นฐานข้อมูลที่คุณจิตรถามหาอยู่บ่อยๆ ในสมัยของคุณจิตร

วารสารนักล่าอาณานิคม ตีแผ่สัญญารัชกาลที่ ๕ ค.ศ. ๑๙๐๗
การตอบโต้ความตกลงฉันมิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ คือการนำเอานโยบาย "ลู่ตามลม"
กลับมาใช้ตามแผน "ยุทธศาสตร์กันชน" อีกครั้ง เพื่อที่จะอยู่ได้ท่ามกลางมวลหมู่จักรวรรดินิยม
ที่จ้องเอารัดเอาเปรียบตลอดเวลา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงตัดสินพระทัยเสด็จประพาสยุโรป
อีกเป็นครั้งที่ ๒ ในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ก็เพื่อเดินหน้าหาเสียงสนับสนุนจากบรรดาผู้นำประเทศในยุโรป
ที่ฝรั่งเศสเกรงใจ และต่อรองกับฝรั่งเศสโดยตรงเพื่อแก้ไขปัญหาเก่าๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้

การเสด็จไปเยือนผู้นำยุโรปของรัชกาลที่ ๕ ในครั้งนี้สร้างความหนักใจให้ทางฝรั่งเศสอย่างมาก
พันโทแบร์นาร์ (Colonel Bernard) หัวหน้าคณะปักปันเขตแดนของฝรั่งเศสเตือนรัฐบาลกรุงปารีสว่า
การเสด็จมาจะเป็นอันตรายต่อแผนการของฝรั่งเศส เพราะพระเจ้าแผ่นดินสยามสามารถร้องขอความเป็นธรรม
ให้ชาติที่เป็นกลาง (หมายถึง เยอรมนี เดนมาร์ก และอิตาลี) ยอมสละสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของตน
อันจะเป็นการทำให้สิ่งที่ฝรั่งเศสพร้อมที่จะเสนอให้สยามหมดคุณค่าไป ดังนั้นการเจรจาใดๆ
เพื่อให้รัชกาลที่ ๕ ทรงตัดสินพระทัยโดยรีบด่วน จึงมีความสำคัญเพื่อตกลงกันให้เรียบร้อย
ก่อนการเสด็จประพาสยุโรปจะเกิดขึ้น

วารสารนักล่าอาณานิคม ชื่อ La D"pche Coloniale ฉบับวันที่ ๓๐ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๐๗
ชี้เบื้องหลังการเสด็จฯ ครั้งนี้ว่ามีเหตุผลทางการเมืองแฝงอยู่อย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศ
ทางการเมืองที่เปลี่ยนไปในยุโรป โดยเฉพาะความตกลงฉันมิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔
เพิ่มความกดดันให้ผู้นำประเทศเล็กๆ แสวงหาความชอบธรรมที่จะคงอยู่บนแผนที่โลกต่อไป
หนึ่งในหนทางที่เลือกใช้กันก็คือ "การประนีประนอม"(๙)

"แท้จริงแล้ว สนธิสัญญาฉบับวันที่ ๒๓ มีนาคม ๑๙๐๗ ระหว่างฝรั่งเศสและสยามก็คือ
เพชรจากยอดมงกุฎ ที่แสดงให้เห็นคุณค่าของความพยายามที่จะตกลงกันที่ต่อยอดมาจาก
สนธิสัญญา ฉบับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๑๙๐๔ และจากความพยายามที่จะปรองดองกัน
ทำให้ได้ข้อยุติอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยที่จะไม่มีการเสียเปรียบเกิดขึ้นอีกเลย...
เรายินดีที่จะยุติบทบาทของเราในเวลานี้ ขณะที่อำนาจของเรายังมีอยู่แลกกับดินแดนในอารักขาของเรา...
หากสยามคล้อยตามสิ่งที่เราเสนอแล้ว สยามเองก็จะได้ข้อยุติที่ชาวสยามปรารถนา"(๙)

และเนื่องจากวารสารฉบับนี้เป็นเอกสารกึ่งทางการ กึ่งข่าวสารมวลชน เนื้อหาของข่าวจึงได้รับ
การวิเคราะห์ให้เข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไป มากกว่าที่จะเป็นเอกสารของรัฐบาลอันกำกวม
ดังใจความบางตอนที่จะไม่พบในต้นฉบับของสัญญาตัวจริงดังนี้

"การรื้อฟื้นเขตแดนเขมรในคราวนี้ จะทำให้เราได้จังหวัดอันมีค่า
ที่เราสูญเสียไปกลับคืนมาด้วย รวมทั้ง

๑. ขวัญและกำลังใจของชนชาวเขมรโดยรวม

๒. ทรัพย์ในดินสินในน้ำอันมั่งคั่งร่ำรวยที่สุดของอินโดจีน

๓. โบราณสถานอันล้ำเลิศของนครวัด(๙)

เพื่อขจัดความบาดหมางและกินใจที่เคยมีต่อกันมา รัฐบาลฝรั่งเศสเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนดินแดนกัน
แต่ในตอนแรกก็มีปัญหาอีกจนได้ เพราะเขมรส่วนในที่ฝรั่งเศสต้องการเป็นดินแดนกว้างใหญ่
ถึง ๓๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และประชากรราว ๓ แสนคน ประกอบด้วยเมืองพระตะบอง เสียมราฐ
และศรีโสภณนั้นไม่สมดุลกับการแลกเปลี่ยนกับเมืองตราด ที่มีเนื้อที่เล็กน้อยเพียง ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
กับประชากรเพียง ๓ หมื่นคน ฝรั่งเศสจึงตกลงที่จะคืนเมืองด่านซ้าย (ในจังหวัดเลย) เพิ่มให้อีกและ
ยอมยกเลิกสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตให้ ซึ่งทำให้ฝ่ายสยามพอใจ"(๙)

หนังสือพิมพ์ข่าวสารอาณานิคมอีกฉบับหนึ่งชื่อ Le Petit Journal MILITAIRE MARITIME COLONIAL
ระบุอย่างโจ่งแจ้งว่า การเสด็จประพาสกรุงปารีสในรัชกาลที่ ๕ เป็นเหตุผลทางราชการมากกว่า
การเสด็จส่วนพระองค์ตามที่เข้าใจกัน และเพื่อจะได้ลงพระนามในสนธิสัญญาแลกเปลี่ยนดินแดน
กับทางฝรั่งเศส(๑๐)

ข้อต่อรองในสนธิสัญญาฉบับสุดท้ายนี้ ไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชนจนนาทีสุดท้าย
แต่ก็พอมีร่องรอยปรากฏอยู่บ้างในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน เช่น "อันที่จริงก็ไม่ใช่จะเที่ยวอย่างเดียว
เป็นราชการอยู่บ้าง" (พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๔ ในไกลบ้าน)

นายควง อภัยวงศ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ๔ สมัยของไทย บุตรชายของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์)
ผู้เป็นเจ้าเมืองพระตะบองคนสุดท้าย เล่าเหตุการณ์ขณะที่ครอบครัวของท่านกำลังถอยออกมา
และสยามยอมสละดินแดนประเทศราชที่สยามหวง แหนที่สุดให้คนอื่นไป

"เรา [หมายถึงบรรพชนของท่าน] ได้ช่วยกันรักษาพระราชอาณาจักรให้ตลอดรอดฝั่งมาจนกระทั่ง
ตอนหลังเขมรก็กลายเป็นประเทศในอารักขาของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสก็พยายามที่จะเอาแผ่นดินเหล่านี้
กลับคืนจึงขอตั้งกงสุลขึ้นที่จังหวัดพระตะบอง แล้วก็หาเรื่องหาราวต่างๆ ตระกูลของผมก็ช่วยกัน
ผ่อนหนักผ่อนเบาตลอดมา ภายหลังสัญญาปี ๑๙๐๔ ฝ่ายเราเจรจากันจนฝรั่งเศสยอมถอนทหาร
ออกจากจันทบุรี แต่ดันไปยึดตราดไว้แทน และขอเจรจาเรื่องมณฑลบูรพา (เขมรส่วนใน) ต่อไป
ทางไทยเราก็ไม่มีหนทางที่จะทำอย่างอื่น ต้องเอากุ้งฝอยแลกปลากะพง

ตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ผมฟังนั้น ได้มีพระบรมราชโองการเรียกเจ้าคุณพ่อของผมลงมากรุงเทพฯ
และทรงรับสั่งถามความเห็น คุณพ่อของผมก็กราบบังคมทูลว่า เราควรจะเอาจังหวัดที่เป็นของไทยไว้
ส่วนที่เป็นจังหวัดเขมรถ้าจำเป็นจะต้องเสีย ก็ควรยอมเสียจังหวัดที่เป็นเขมร รักษาจังหวัดไทยไว้ดีกว่า
ก็เป็นอันตกลงทำสัญญาคืนมณฑลบูรพาให้แก่เขมรไป ในการเจรจาขั้นต่อไปฝรั่งเศสได้บอกว่า
สำหรับเจ้าคุณพ่อผมนั้นจะอยู่ที่พระตะบองต่อไปก็ได้ เขาขอร้องให้อยู่ ส่วนเกียรติยศเกียรติศักดิ์
เคยมีมาอย่างไรก็จะขอให้อย่างนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ก็ทรงรับสั่งเรียกเข้ามาถามว่า
ว่ายังไงจะอยู่ทางโน้นหรือจะคิดอย่างไร แต่เจ้าคุณพ่อของผมได้กราบบังคมทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีนาย
แต่เพียงคนเดียว ขอกลับบ้านเดิม และเราก็อพยพมาในเวลานั้น...แน่ละการที่เราไปอยู่เมืองเขมรมา
ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนกระทั่งปลายรัชกาลที่ ๕ นั้น การปะปนระหว่างเขมรกับพวกผมนี่มีมากมาย
ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร คราวนี้ท่านก็พิจารณาเอาเองเถิดว่าผมจะเป็นเขมรหรือเป็นไทย"(๑)

ภายหลังเขมรตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์แล้ว สื่อมวลชนฝรั่งเศสตั้งตัวเป็นคนกลาง
สร้างกระแสนครวัด ให้เป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองของกษัตริย์เขมร นโยบายดังกล่าวคือ
การรณรงค์ให้มีการเพิ่มสำนึกในเอกลักษณ์ของชาติ โดยเชื่อมโยงเขมรเข้ากับยุคของเมืองพระนคร
การหยิบยกนครวัดขึ้นมาก็เพื่อใช้เป็นภาพแทนศักดิ์ศรีของชาติ ซึ่งสื่อความหมายได้โดยง่าย

แต่สำหรับชาวฝรั่งเศสแล้ว เมืองพระตะบองและเสียมราฐดูจะมีประโยชน์และความสำคัญ
แก่ระบบการปกครอง และนักวิชาการชาวฝรั่งเศสมากกว่าชาวเขมรทั่วไป ภาพของอารยธรรม
อันรุ่งโรจน์ของนครวัด จึงถูกดึงขึ้นมาแทนที่สัญลักษณ์อื่นๆ ที่อธิบายจุดมุ่งหมายไม่ได้
การที่ชาวเขมรได้นครวัดกลับคืนไป ก็เท่ากับฝรั่งเศสได้ดินแดนที่นครวัดตั้งอยู่คืนไปด้วย
ซึ่งหมายถึงอาณาเขตที่สมบูรณ์แบบของอินโดจีนที่ ฝรั่งเศสต้องการ ทฤษฎีอื่นๆ ที่ฝรั่งเศส
ใช้ในการปลุกจิตสำนึกอย่างได้ผลสำหรับการสร้างสัญลักษณ์ก็คือ การสร้างอนุสาวรีย์เจ้าศรีสวัสดิ์
รับมอบดินแดนคืนจากสยาม ในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ และการสร้างนครวัดจำลองไปอวดสายตาคนทั้งโลก
ตามงานมหกรรมโลกที่ตนถนัด ซึ่งจัดอย่างสม่ำเสมอในฝรั่งเศส เช่น ในปี ค.ศ. ๑๘๖๗, ๑๘๗๘, ๑๙๐๐,
๑๙๒๒ และ ๑๙๓๑ ตามลำดับ

สำหรับชาวสยาม การโอนคืนพระตะบองและเสียมราฐ ถือเป็นการตัดสินใจเพื่อเกียรติภูมิของชาติเช่นกัน
ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่ต้องปกปักรักษาไว้ก็คือเขตแดนสยามของเราเองโดยพฤตินัย ดังนั้นเมื่อข้อแลกเปลี่ยน
อยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้ การเก็บรักษานครวัด ซึ่งมิใช่ของของสยามแต่ดั้งเดิมจึงไม่มีคุณค่าและ
ไม่มีความหมายอีกต่อไป ในสถานการณ์เช่นนี้


มีต่อบรรณานุกรม...
บันทึกการเข้า
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:08:33 PM »

ตอบแบบคนไม่เคยสนใจเรื่องสถาปัตยกรรม ผมยกให้"กำแพงเมืองจีน"ยิ่งใหญ่ที่สุดครับ

สร้างขึ้นด้วยอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ คือเพื่อปกป้องประชาชนในชาติให้ปลอดภัยจากการปล้นฆ่าข่มขืนของผู้รุกราน

สิ่งก่อสร้างประเภทมหาวิหาร/มหาโปรเจกต์ทั้งหลายแหล่อื่นๆ ล้วนเพื่อตอบสนองกิเลสส่วนตัวเต็มที่ก็เพื่อผู้คนในกลุ่มเล็กๆ,ความอยากได้อยากมี,ความอยากโชว์,อยากขึ้นสวรรค์ส่วนบุคคลทั้งนั้น
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:09:16 PM »

บรรณานุกรม...

เอกสารประกอบการค้นคว้า
(๑) ควง อภัยวงศ์, พันตรี. สุนทรพจน์เรื่องชีวิตของข้าพเจ้า.
พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์, ๒๕๒๖.

(๒) จิตร ภูมิศักดิ์. โฉมหน้าศักดินาไทย. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, ๒๕๔๘.

(๓) ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. ๒๙ เจ้าพระยา (ฉบับพิสดาร). กรุงเทพฯ, ๒๕๐๙.

(๔) เติม สิงหัษฐิต. ฝั่งขวาแม่น้ำโขง, กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, ๒๔๙๐.

(๕) เพ็ญศรี ดุ๊ก, ศ.ดร. ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙.
กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๙.

(๖) สอ สัจจวาที. ความรู้เรื่องเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : สาส์นสวรรค์, ๒๕๐๗.

(๗) สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๑ อักษร A-B.
กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๑.

(๘) สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : เอเชีย เล่ม ๑.
กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๙.

(๙) La D"pche Coloniale. Paris, 30 Juin 1907.

(๑๐) Le Petit Journal MILITAIRE MARITIME, COLONIAL, Paris, 30 Juin 1907.


จบครับ... เย้...
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.124 วินาที กับ 22 คำสั่ง