อันนี้เอามาจาก เดลินิวส์ ครับ
....ปี 2548 นายพานทองแท้ ชินวัตร มีหุ้นอยู่ 293,950,220 หุ้น แต่กลับมีหุ้นเอามาขายบริษัทเทมาเส็ก 458,550,220 หุ้น มีส่วนต่างเกิดขึ้น 164,600,000 หุ้น ขณะที่นางสาว พิณทองทา เคยถือหุ้นอยู่ 440,000,000 หุ้น แต่มีหุ้นมาให้บริษัทเทมาเส็กฯ 604,000,000 หุ้น
..... ประเด็นที่น่าสงสัยก็คือ เมื่อปรากฏเป็นข่าวว่า 2 พี่น้องได้ซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากบริษัทแอมเพิลริชจำนวน 328,600,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ก่อนที่จะนำมารวมกับหุ้นเดิมของตัวเอง เพื่อขายกับบริษัทเทมาเส็ก ให้ครบสัดส่วน 49.595 เปอร์เซ็นต์ ....
...น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง วันนี้มีข่าวออกมาแล้วว่า
"ส.ต.ง. " ...ได้อาศัยอำนาจตาม.... มีคำสั่งเรียก ตั้งแต่
" ผู้อำนวยการ..ยันถึง...อธิบดีสรรพกร จำนวน 5 คน " เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงในการขายหุ้นของ ...นายและนางสาว....ชินวัตร ทั้งสองคน....
"
สตง."เตรียมออกคำสั่ง เรียก 5 บิ๊กสรรพากรสอบ ลูกนายกฯซื้อหุ้นเว้นภาษี สตง.เดินหน้าลุยสอบ"อธิบดีสรรพากร" และอีก 4 ขรก.ระดับสูง กรณี"พานทองแท้-พิณทองทา"ซื้อหุ้น"ชินคอร์ป"จากแอมเพิลริช เผยเตรียมออกคำสั่งเรียก คาดยื่นถึงกรมสรรพากรภายในสัปดาห์นี้
แหล่งข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมว่า สตง.เตรียมออกคำสั่งเรียกข้าราชการกรมสรรพากรจำนวน 5 ราย ประกอบด้วย นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร รองอธิบดีกรมสรรพากร นางเบญจา หลุยเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง น.ส.โมฬีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย และนายกริช วิปุลานุสาสน์ นิติกร 9 มาให้ข้อมูลกรณีนายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชาย และบุตรสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซื้อหุ้นของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากบริษัท แอมเพิลริช ทั้งนี้การออกคำสั่งเรียกอยู่ในระหว่างขออนุมัติจากผู้ว่าการ สตง.
ก่อนหน้านี้ สตง.ทำหนังสือเชิญไปยังข้าราชการกรมสรรพากรทั้ง 5 รายดังกล่าว เพื่อมาให้ข้อมูลการซื้อหุ้นของนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ต่อมากรมสรรพากรได้ทำหนังสือที่ กค 0706/6159 แจ้งว่าพร้อมจะให้ความร่วมมือ แต่ขอให้สตง.ระบุขอบเขต สาระสำคัญ และประเด็นของข้อมูลที่ต้องการทราบรายละเอียด เพื่อขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากกรมสรรพากรประกอบการพิจารณาตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในมาตรา 42 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อกรมสรรพากรต้องการให้ สตง.ระบุขอบเขตครอบคลุมเรื่องราวที่ขอให้มาตอบข้อซักถามทั้งหมด ทั้งที่หนังสือเชิญข้าราชการทั้ง 5 แต่เดิมชี้แจงไปแล้ว จากนี้ สตง.จึงอยู่ระหว่างร่างหนังสืออีกครั้ง แต่จะเป็นไปในลักษณะออกคำสั่งเรียกข้าราชการกรมสรรพากรทั้ง 5 คนแทน โดยเป็นการออกคำสั่งเรียก อาศัยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 จากนั้นจะขออนุมัติจากผู้ว่าการ สตง.ต่อไป คาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะส่งหนังสือถึงกรมสรรพากรได้
"การออกคำสั่งเรียกสอบถามข้อมูลครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากการซ้ำเติม หรือเช็คบิลผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือครอบครัวชินวัตร กรณีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป แต่ถือเป็นหน้าที่หลักของ สตง.เมื่อสังคมยังตั้งคำถามกับภาระภาษีจากการซื้อขายหุ้นดังกล่าว และหลายคนยังแคลงใจ สตง.ในฐานะพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบรายรับ รายจ่ายของแผ่นดิน จึงต้องหาข้อเท็จจริง ตรวจสอบเพื่อให้เกิดความป้องปราม และรักษาประโยชน์ของส่วนราชการ หากพบความผิดปกติต้องทำให้เกิดมาตรฐานที่ถูกต้องต่อไป" แหล่งข่าวระบุ
ทั้งนี้ การเรียกข้าราชการมาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายงบประมาณเป็นไปตามอำนาจของสตง.สามารถทำได้ และหากผู้ถูกเรียกปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มีโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 1 หมื่นบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสาเหตุที่ สตง.เข้ามาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวเพราะได้รับแจ้งผลการพิจารณาสอบสวนและศึกษาจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต วุฒิสภา โดย กมธ.วิสามัญมีความเห็นว่า ข้าราชการระดับสูงในกระทรวงการคลังและกรมสรรพากรหลายคนกระทำทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่โดยการละเว้นไม่เรียกเก็บภาษีอากรจากนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทาทำให้รัฐ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และประชาชนเสียหายเป็นเงินประมาณ 5,846 ล้านบาท ทั้งนี้ กมธ.วิสามัญฯเห็นว่าข้าราชการระดับสูงหลายคนละเว้นไม่เรียกเก็บภาษีจากนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทานั้นเป็นกรณีที่บริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เมนท์ จำกัด ขายหุ้นชินคอร์ป จำนวน 329.2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ให้แก่บุคคลทั้งสองนอกตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ราคาตลาด 49 บาทต่อหุ้น (เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549) ทำให้บุคคลทั้งสองได้รับประโยชน์จากส่วนต่างราคาหุ้น เป็นเงิน 15,501 ล้านบาท ส่วนต่างดังกล่าวเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึง
ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคิดเป็นเงิน 5,864 ล้านบาท ในรายงานของ กมธ.วิสามัญระบุว่าสำหรับข้ออ้างของกรมสรรพากรที่ว่าบุคคลทั้งสองขายหุ้นชินคอร์ปผ่านตลาดหลักทรัพย์ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 23 มกราคม ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนั้น จะเป็นส่วนต่างราคาหุ้นที่บุคคลทั้งสองขายให้แก่บริษัทเทมาเส็กในราคา 49.25 บาท จากที่ซื้อมาจากบริษัทแอมเพิลริช 49 บาท โดยมีส่วนต่างราคาหุ้นละ 25 สตางค์ รวมเป็นเงินทั้งเงิน 82.3 ล้านบาท
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0107310749&day=2006/07/31