..เครื่อง F-5 เราที่โดน ผกค สอยร่วงที่เขาคร้อ หรือ ที่ภูหินร่องเกล้า(เก็บไว้เป็นพิพธภัณฑ์ ใครเคยไปเที่ยวถ่ายรูปลงให้ดูน่าจะดี) ยุคที่เราปราบปรามช่วงปี22-25(จำไม่ได้) ไม่ทราบว่าเขาใช้อาวุธอะไรยิง เพราะเครื่องนี้เป็นเครื่องเจ๊ต และทันสมัยพอสมควรในช่วงนั้น..ถามเพื่ออยากรู้ ถ้าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ตอบผมหลังไมค์ก็ได้.. วีรกรรมของนักบินเอฟ-5 เอ ใน สมรภูมิเขาค้อ
โดย...พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์
ปี พุทธศักราช 2513
เมื่อกองทัพอากาศต้องสูญเสียนักบินและเครื่องบิน เอฟ-5 เอ เป็นเครื่องแรกในการรบ......
การโจมตีทางอากาศของกองทัพอากาศเพิ่มมากขึ้น
มีการใช้เครื่องบินขับไล่ไอพ่นเข้าโจมตีเป้าหมายของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
นอกเหนือจากการที่เคยใช้เครื่องบินโจมตีใบพัดแบบต่าง ๆ มาหลายปี
ในวันที่ 6 ตุลาคม พุทธศักราช 2513 เวลา 12.00 น.
กองทัพอากาศมีคำสั่งให้เครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ บ.ข.18 หรือ เอฟ-5 เอ
จากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 13 กองบิน 1 ดอนเมือง และ เครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ บ.ข.17 หรือ เอฟ-86 เอฟ
จากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 43 กองบิน 4 ตาคลี
เข้าโจมตีสองเป้าหมายที่มีการตรวจการณ์พบ เป็นหมู่บ้าน 40 หลัง
ซึ่งแหล่งข่าวยืนยันว่าเป็นบ้านพักของ ผกค. และมีบ้านพักของ ผกค.ระดับชั้นหัวหน้ารวมอยู่ด้วย
และอีกเป้าหมายเป็นบ้านถ้ำหวาย จังหวัดเพชรบูรณ์
การโจมตีทางอากาศครั้งนี้
ได้รับการสนับสนุนการชี้เป้าหมายจาก เครื่องบินตรวจการณ์แบบ โอ-1 จาก ฝูงบิน 71 กองบิน 7 สัตหีบ
ขณะเข้าโจมตีทางอากาศ เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-5 เอ หมายเลขเครื่อง 1313
(เลข ทอ. บข.18-3/10 Sel.No.66-9161 )
ถูกฝ่าย ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ยิงตกบริเวณ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทำให้ เรืออากาศเอกชาญชัย มหากาญจนะ ซึ่งเป็นนักบินเสียชีวิตภายในเครื่องบิน
กองกำลังร่วมได้เข้าทำการช่วยเหลือนักบินที่คาดว่ารอดชีวิต
โดยการส่งทั้งเครื่องบินโจมตี เฮลิคอปเตอร์
และกองกำลังทหารภาคพื้นดินของกองกำลังผสมตำรวจ ทหาร พลเรือน
ซึ่งในวันต่อมาเมื่อมีการเข้าถึงเครื่องบินและพบศพนักบินผู้เสียสละชีวิตตนเอง
เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในวันนั้นแล้ว ยังพบศพทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์จำนวนมากที่เสียชีวิตใกล้จุดที่เครื่องบินตก
อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศยังคงส่งเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-5 เอ
เข้าโจมตีเป้าหมายต่าง ๆ ในเขตงานจังหวัดเพชรบูรณ์อีกหลายภารกิจ
และหลายปีจนสงครามสงบ
อนึ่งกองทัพอากาศได้ปูนบำเหน็จเลื่อนยศขึ้นเป็น "นาวาอากาศโท"พร้อมเหรียญกล้าหาญ
ให้ เรืออากาศเอกชาญชัย มหากาญจนะ ซึ่งเป็นนักบินที่เสียชีวิต
พุทธศักราช 2519 ก่อนหน้านี้ การรบในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ถูกขยายตัวออกไปยังจังหวัดข้างเคียง
และมีการสนับสนุนอาวุธที่ทันสมัยจากประเทศที่ไม่หวังดีต่อประเทศไทย
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ การรบเป็นไปอย่างดุเดือด หน่วย พตท.1617 ต้องสูญเสีย ผบ.หน่วย
คือ พ.ท.เจริญ ทองนิ่ม ผบ.พัน.สอ.ที่ 1 ขณะออกปฏิบัติการรบตามแผนยุทธการดอนเจดีย์ 2 ในพื้นที่
กองทัพอากาศจึงส่งเครื่องบินเข้าปฏิบัติการจำนวนมากและหลายเที่ยวบินขึ้น
จนต้องเสียเครื่องบินโจมตีแบบ เอที-6 ไปหนึ่งเครื่องพร้อมชีวิตนักบิน
เรืออากาศโทสมจิตร พงษ์เพชร ในวันที่ 11 เมษายน ครั้นในวันที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2519 เวลา 11.13 น.
กองทัพอากาศมีคำสั่งให้ ฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 13 กองบิน 1 ดอนเมือง
(ขณะนั้นเริ่มที่จะย้ายกองบิน 1 ไปอยู่ที่โคราช แล้ว ) เข้าโจมตีเป้าหมายที่ 29 เป็นครั้งที่สอง
ภายหลังจากที่ เอฟ-5 เอ ซึ่งมี เรืออากาศเอกชวลิต ขยันกิจ และเรืออากาศโทพงษ์ณรงค์ เกสรศุกร์ เป็นนักบิน
ได้เข้าทิ้งระเบิดนาปาล์มไปครั้งหนึ่งเมื่อวันวาน
เช้านี้นักบินทั้งสองนายกลับเข้ามาโจมตีซ้ำอีกครั้งโดยเป้าหมายดังกล่าวเป็นหุบเขา
และที่พักขนาดใหญ่ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ประมาณ 23 หลัง
โดยมีพื้นที่ทำการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ในเขตเขาค้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ขณะที่ เรืออากาศโท พงษ์ณรงค์ เกสรศุกร์ ซึ่งเป็นหมายเลขสอง ( หมายเลข 1333 เลข ทอ. บข.18-17/17 Sel.No.71-0264 )
เข้าโจมตีถูกฝ่ายตรงข้ามยิงอาวุธไม่ทราบชนิด ในระยะสูงประมาณ 1,000 ฟุต
โดยเครื่องบินได้ทำการเลี้ยวซ้ายมุดลงระเบิดในกลางป่าห่างจากเป้าหมายประมาณ 2 กม.
ซึ่งจากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศที่เครื่องบินตรวจการณ์แบบ โอวัน
ได้ถ่ายภาพมาพบว่าเครื่องบินไฟไหม้ตกลงในหุบเขา เขตบ้านภูชัย เขาค้อ ห่างจากแม่น้ำเข็กราว 1 กม.
และมีลักษณะคล้ายนักบินดีดตัวออกจากเครื่อง การช่วยเหลือนักบินที่คาดว่ารอดชีวิตจึงเริ่มขึ้น
ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดินได้ถูกปฏิบัติทันที
ในขณะนั้น พลตรียุทธศิลป์ เกสรศุกร์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทางยุทธการ กองทัพภาคที่ 2
ซึ่งเป็นบิดาของนักบินผู้ที่ถูกยิงตก ได้มาร่วมปฏิบัติการค้นหาในครั้งนี้ด้วย
การค้นหาและช่วยเหลือมีการส่งเครื่องบินและทหารจำนวนมาก
เข้าไปค้นหาตามพิกัดที่ได้จากการแปลความภาพถ่ายทางอากาศ
ซึ่งการปฏิบัติครั้งนี้ฝ่ายตรงข้ามสูญเสียเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝ่ายเราส่งกำลังทหารหลายชุดเข้าปฏิบัติการ
อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้ามที่แฝงตัวอยู่ภายในจังหวัดพิษณุโลก
ได้แจกใบปลิวโจมตีบิดาของนักบินว่าใช้อำนาจพาคนไปตายเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือลูกชายตนเอง
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น หนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น ได้ลงภาพ
สหายที่ยืนแอ็คชั่นอยู่ข้างซากเครื่องบิน เอฟ-5 ที่ถูกยิงตก
ทำให้หน่วยข่าวกรองของเราประเมินได้ว่า ฝ่ายตรงข้ามได้ถอดเอาวิทยุค้นหาออก
แล้วเดินออกไปไกลจากเครื่องบิน
ทำให้ฝ่ายเราคาดการณ์ว่านักบินยังมีชีวิตอยู่
จึงไม่ทราบจุดที่ชัดเจนของนักบินเมื่ออยู่ในพื้นที่ป่าทึบ
อย่างไรก็ตามแม้ขณะนั้นเราก็ยังสรุปไม่ได้ว่านักบินยังมีชีวิตอยู่หรือสูญเสียชีวิตไปแล้ว
เวลาผ่านไปหลายปีโดยยังมีการรบอยู่จนถึงปีพุทธศักราช 2526
สงครามครั้งนี้จึงสงบลง
และเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พุทธศักราช 2526 ภายหลังสงครามสงบนั้นเอง
ได้มีชาวม้งสองคน ชื่อนายช่อ แซ่ลี หรือ สหายสามารถ และ นายแย๊ะ แซ่ลี หรือ สหายพิชัย
ได้เข้ามาติดต่อกับทหารอากาศที่ชุดสนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 331 ว่า
ได้เป็นผู้ฝังศพนักบิน เรืออากาศโทพงษ์ณรงค์ เกสรศุกร์ ที่เสียชีวิต
ซึ่งเขาเล่าว่าสภาพศพนั้นเริ่มเน่าอยู่ในลักษณะนอนหงาย จึงคาดว่าดีดตัวออกจากเครื่องบินแล้ว
แต่งชุดบินอยู่ครบ มีสิ่งของประกอบด้วยนาฬิกา เงิน 1,500.- บาท วิทยุสนาม ปืนพก
และรูปถ่ายหญิงสาว
โดยชาวม้งได้ทำการฝั่งศพใกล้กับซากเครื่องบินราว 10 เมตร
ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2519 ภายหลังจากที่เขาเข้าไปยังซากเครื่องบินที่เดิม
มีทหารฝ่าย ผกค.เต็มไปหมดได้
ทางเจ้าหน้าที่ทหารอากาศได้เข้าไปตรวจสอบและขุดศพนักบินที่ยังคงอยู่ในชุดบินกลับมาทำพิธีทางศาสนาต่อไป
โดยกองทัพอากาศได้ปูนบำเหน็จเลื่อนยศขึ้นเป็น "นาวาอากาศตรี"
ส่วนซากเครื่องบินส่วนหนึ่งได้นำไปตั้งแสดงอยู่ที่ ฐานอิทธิ บนเขาค้อ
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์ของ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่เสียชีวิตในการรบที่เขาค้อ
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...